โรคงูสวัด เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบประสาทจนทำให้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเปลี่ยนไป และยังสร้างอาการเจ็บแสบตามร่างกายได้หลายตำแหน่ง
การรักษาโรคงูสวัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยวิธีการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ทั้งการรับประทานยา การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1. การรักษาโรคงูสวัดด้วยยา
ยารักษาโรคงูสวัดจะมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น
- ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ รวมถึงบรรเทาอาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Iboprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) ยาแก้อักเสบกลุ่มไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยา NSAIDs ยากลุ่มอะมิทริปไทลีน (Tricyclic antidepressants: TCAs)
- ยาทาลดอาการผื่นคัน การอักเสบ เช่น ครีมแคปไซซีน (Capsaicin Cream) ยาลิโดเคน (Lidocaine) ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)
- ยาต้านไวรัส (Antiviral Medications) เพื่อบรรเทาการกระจายของผื่นโรคงูสวัด จะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดหากคุณใช้ยาภายใน 72 ชั่วโมงตั้งแต่มีอาการ เช่น อะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)
สำหรับยาที่ได้รับคำนิยมในการใช้เพื่อต้านเชื้อไวรัสโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสได้ดี คือ “อะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir)”
ยา Acyclovir
โดยการออกฤทธิ์ของยานี้จะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส อีกทั้งยังสามารถใช้รักษาโรคเริม (Herpes simplex) ได้อีกด้วย
ยาอะซัยโคลเวียร์มีจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาทา ยาฉีด การที่ผู้ป่วยจะใช้ยาในรูปแบบไหน ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ แต่ส่วนมากยารูปแบบทาภายนอกมักไม่ค่อยใช้รักษาโรคงูสวัด และอีสุกอีใสมากนัก แต่มักใช้เพื่อรักษาโรคเริมมากกว่า
ปริมาณการใช้ยาอะซัยโคลเวียร์รูปแบบเม็ดในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคงูสวัดคือ รับประทานในขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง ยกเว้นเวลากลางคืน ติดต่อกันเป็นเวลา 7-10 วัน
แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจให้ใช้ในรูปแบบยาฉีดเข้าสู่เส้นเลือดดำแทน โดยปริมาณการใช้ยาคือ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 5 ครั้ง ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ติดต่อกันนาน 7-10 วัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จุดเด่นที่ทำให้ยาอะซัยโคลเวียร์เป็นยาที่มักใช้เพื่อรักษาโรคงูสวัด เพราะส่วนมากผู้ป่วยรับประทานเพียงวันละ 1-2 วัน วันละ 5 ครั้ง ทุกๆ 4 ชั่วโมง ตุ่มใสก็มักจะหยุดลุกลามแล้ว
และเมื่อเวลาผ่านไป 4-5 ตุ่มน้ำใสก็จะตกสะเก็ด และหายเป็นปกติในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอะซัยโคลเวียร์อาจส่งผลข้างเคียงหลังจากใช้ได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ยังนับเป็นอาการข้างเคียงปกติ
แต่หากมีอาการข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะสีเข้ม มีเลือดปนในปัสสาวะ
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปวดหลัง
- ปวดสีข้าง
- รู้สึกสับสน กระสับกระส่าย
- ง่วงนอน อ่อนเพลียมาก
- หัวใจเต้นแรง หรือเต้นผิดปกติ
- การมองเห็นผิดปกติ
- มีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นขึ้น ตัวบวม ศีรษะบวม ลิ้นบวม คอบวม หายใจลำบาก
ยาสำหรับรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด
ในกรณีผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จากโรคงูสวัด แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาไปตามอาการ เช่น
- หากปวดแผล หรือแผลอักเสบ แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ให้ผื่นตุ่มน้ำติดเชื้อ หรือเป็นหนอง เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน (Dicloxacillin) อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
- หากผู้ป่วยผื่นงูสวัดขึ้นตา ทางจักษุแพทย์จะจ่ายยาเพื่อป้องกันอาการอักเสบในดวงตา และอาจลุกลามทำให้เกิดอาการร้ายแรงอื่นๆ ตามมา เช่น รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 800 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน ควบคู่ไปกับใช้ขี้ผึงป้ายตาอะไซโคลเวียร์ 3% ป้ายตาวันละ 5 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยรูม่านตาอักเสบ แพทย์จะจ่ายยาหยอดสเตียรอยด์ และยาหยอกอะโทรปีน 1% ให้
- ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซัก แพทย์จะให้รับประทานยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นยาในกลุ่มคอติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ช่วยลดการอักเสบ โดยรับประทานวันละ 45-60 มิลลิกรัม ติดต่อกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ จนกว่าผื่นจะหายไป
- ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก แพทย์อาจให้ยาฉีด ยาทา หรือยาพ่น หรือใช้แคปไซซิน (Capsacin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพริก ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดได้
ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคลมชัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประสาทร่วมด้วย เช่น คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) กาบาเพนติน (Gabapentin)
2. การดูแลตนเองขณะเป็นโรคงูสวัด
การดูแลแผลขณะรักษาโรคงูสวัดนั้นไม่ยาก และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ผ่านการทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- หมั่นทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำสะอาด
- อย่าปล่อยให้แผลอับชื้น เพราะจะยิ่งติดเชื้อได้ง่าย
- ไม่เกา หรือแกะแผลเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกเจ็บแผล และเสี่ยงติดเชื้อ หากรู้สึกคันแผล ให้ทาครีมยาแก้คัน หรือครีมลดผื่นแทน แต่ต้องให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นคนสั่งจ่ายยาเท่านั้น
- หมั่นใช้น้ำเกลือประคบแผลครั้งละ 10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง จะทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาพ่น หรือสมุนไพรทาลงบนแผลโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนแผลหายช้า และยังทำให้เป็นแผลเป็นในภายหลังด้วย
- หากมีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ จะช่วยให้อาการดีขึ้น
- ทายา หยอดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ประคบเย็นที่แผลเพื่อลดอาการปวด หรืออาการอักเสบจากแผลผื่น
- สวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ หรือเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าใยธรรมชาติ เพื่อลดความระคายเคืองผิวบริเวณที่มีผื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวผู้อื่นและปิดแผลผื่นให้มิดชิด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย มิฉะนั้นภูมิคุ้มกันร่างกายจะยิ่งอ่อนแอจนไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้หมด
3. การรับประทานอาหารเพื่อบรรเทาอาการโรคงูสวัด
นอกจากการดูแลแผลของโรคให้สะอาด การรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานร่างกายให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดียิ่งขึ้น ก็มีส่วนทำให้โรคงูสวัดหายได้เร็วเช่นกัน
อาหารที่แนะนำให้รับประทานในระหว่างรักษาโรคงูสวัดจะเป็นอาหารที่แฝงไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินอี มีสารไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นอีกชนิด เช่น
- ไข่
- ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนม
- อาหารประเภทเนื้อแดง
- เนื้อไก่
- อาหารประเภทธัญพืช เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง
- ผลไม้สีเหลือง หรือสีส้ม เช่น กล้วย ส้ม สัปปะรด
- ผักใบเขียว
- ชาเขียว
ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างที่โรคงูสวัดยังไม่หายดี ได้แก่
- อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- อาหารที่แฝงด้วยสารอาร์จินีน (Arginine) เช่น ช็อกโกแลต ถั่ว เจลาติน
- อาหารที่แฝงไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ปรุงแต่งแล้ว (Refined carbohydrates foods) เช่น ข้าวขัดสี เส้นพาสตา มักกะโรนี
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน ขนมปังเนยนม ชีส
วิธีป้องกันโรคงูสวัดที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ