กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Neuropathy (ความผิดปกติของเส้นประสาท)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

ความผิดปกติของเส้นประสาทพบได้ประมาณ 8% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี

ระบบประสาทของคุณประกอบขึ้นจาก 2 ส่วน คือระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย เส้นประสาทของระบบประสาทส่วนปลายทำหน้าที่ส่งสัญญาณติดต่อระหว่างระบบประสาทส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง กับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เส้นประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่หลายด้านในร่างกาย เช่นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแบบสั่งการได้ (เส้นประสาทกล้ามเนื้อ), กิจกรรมของอวัยวะที่ควบคุมไม่ได้ (เส้นประสาทอัตโนวัติ) และการรับความรู้สึก (เส้นประสาทรับความรู้สึก) ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย จึงเป็นภาวะที่เกิดเมื่อเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลายหรือผิดปกติ มีการประมาณว่าความผิดปกตินี้ส่งผลต่อ 2.4% ของประชากรทั้งหมด และ 8% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปอย่างไรก็ตาม การประมาณตัวเลขนี้ไม่ได้รวมผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทจากประสบอุบัติเหตุเข้าที่เส้นประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภทของความผิดปกติของเส้นประสาท

ความผิดปกติของเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้กับเส้นประสาทส่วนปลาย 3 ชนิด

  • เส้นประสาทรับความรู้สึก ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัส (ตา จมูก เป็นต้น) เข้าสู่สมอง
  • เส้นประสาทสั่งการ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใต้จิตใจ
  • เส้นประสาทอัตโนวัติ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ

บางครั้งความผิดปกตินี้อาจเกิดกับเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวได้ หรือที่เรียกว่า mononeuropathy ตัวอย่างเช่น

  • Ulnar neuropathy (ข้อศอก)
  • Radial neuropathy (แขน)
  • Peroneal neuropathy (เข่า)
  • Femoral neuropathy (ต้นขา)
  • Cervical neuropathy (คอ)

บางครั้งเส้นประสาทมากกว่า 2 เส้นที่อยู่คนละส่วนของร่างกายอาจถูกทำลายได้ เรียกว่านี้ว่า mononeuritis multiplex neuropathy อย่างไรก็ตามมักพบความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายหลายเส้นพร้อมกันได้บ่อย เรียกว่า polyneuropathy สถาบันความผิดปกติทางประสาทแห่งชาติ (National Institute for Neurological Disorders and Stroke – NINDS) ได้กล่าวว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายมากกว่า 100 ชนิด

สาเหตุของการเกิดความผิดปกติของเส้นประสาท

ความผิดปกติของเส้นประสาทอาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังในชีวิตได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะนี้แต่กำเนิดคือความผิดปกติทางระบบประสาทที่เรียกว่า Charcot-Marie-Tooth ซึ่งพบได้ 1 ใน 2500 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าแพทย์อาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทที่เกิดขึ้นภายหลังได้ (หรือที่เรียกว่า idiopathic neuropathy) แต่ก็มีหลายสาเหตุที่พบว่าทำให้เกิดภาวะนี้เช่นโรคที่กระทบกับร่างกายโดยรวม อุบัติเหตุทางกาย โรคติดเชื้อ และความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน สาเหตุของโรคในกลุ่มที่กระทบกับร่างกายโดยรวมที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจนเกิดการทำลายเส้นประสาท

สาเหตุอื่นๆ ในกลุ่มนี้เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ความผิดปกติของไต ซึ่งทำให้มีสารที่เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทในเลือดอยู่ในระดับสูง
  • สารพิษจากโลหะหนักเช่นสารหนู ตะกั่ว ปรอท และ thaillium
  • ยาบางชนิด เช่นยารักษาโรคมะเร็ง ยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะ
  • ความผิดปกติของสารเคมีในร่างกายจากโรคตับ
  • โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เช่นภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ ทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานผิดปกติ ส่งผลให้เนื้อเยื่อและส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการบวมและกดเส้นประสาท
  • การขาดวิตามินเช่นวิตามิน E, B1 (Thiamine), B6 (pyridoxine), B12 และ niacin ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาทปกติ
  • รับประทานแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้เกิดการขาดสิตามินและอาจทำลายเส้นประสาทโดยตรง
  • โรคมะเร็งหรือเนื้องอกที่ทำให้เกิดการกดเส้นประสาท
  • การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เนื้อเยื่อรอบเส้นประสาทได้รับออกซิเจนลดลงจึงถูกทำลาย

นอกจากนั้น หากเส้นประสาทได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางกาย ทำให้อาจถูกทำลายและเกิดภาวนะนี้ เส้นประสาทอาจได้รับผลจากแรงปะทะ แรงบด แรงอัด หรือแรงยืดที่กระทำต่อเส้นประสาท หรืออาจรุนแรงจนถึงทำให้เส้นประสาทขาดออกจากไขสันหลังได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยของอุบัติเหตุเหล่านี้คืออุบัติเหตุทางจราจร การตกจากที่สูงและอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา การทำลายเส้นประสาทยังอาจเกิดจากการมีแรงกดเส้นประสาทมาก เช่นเมื่อมีกระดูกหักและใส่เฝือกไม่เหมาะสม การเพิ่มความดันไปยังเส้นประสาทเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท เช่นในภาวะ Carpal tunnel syndrome ซึ่งเส้นประสาท median บริเวณข้อมือถูกรัดแน่นเกินไป และการเพิ่มความเครียดให้กับร่างกายซ้ำๆ ก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกได้ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดต่อเส้นประสาท

การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดสามารถทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทได้โดยการทำลายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น

นอกจากนั้นโรคความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการทำลายเซลล์ปกติในร่างกายยังอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทได้ เช่น

  • Multiple sclerosis
  • โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาติก
  • Guillain-Barré syndrome (acute inflammatory demyelinating neuropathy)
  • Chronic inflammatory demyelinating polyneuropathy
  • Lupus
  • Sjogren's syndrome

อาการของความผิดปกติของเส้นประสาท

อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของความผิดปกติของเส้นประสาทสั่งการคือกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่อาจพบอาการอื่นร่วมด้วยได้ เช่น

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เป็นตะคริว
  • กล้ามเนื้อหดตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้
  • เสียกล้ามเนื้อ
  • กระดูกถูกทำลาย
  • มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง ผม และเล็บ

ความผิดปกติของเส้นประสาทที่เกิดกับเส้นประสาทรับความรู้สึกมักทำให้เกิดอาการที่ซับซ้อนหลายอย่างเช่น

  • อาการชา
  • ไม่สามารถทรงตัวหรือประสานงานร่างกายได้
  • รู้สึกเหมือนถูกไหม้
  • เพิ่มความไวต่อความเจ็บปวด หรือไม่สามารถรู้สึกอาการเจ็บปวดได้
  • รู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มจิ้ม
  • อาการปวดจากปลายประสาท

และหากเส้นประสาทอัตโนวัติได้รับผลกระทบ อาจมีอาการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ท้องเสียหรือท้องผูก
  • กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ความดันโลหิตผิดปกติ ทำให้เกิดอาการเวียนหัว มึนงงได้ โดยเฉพาะเพื่อลุกขึ้นยืน
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • ต่อมเหงือทำงานมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ
  • ตาแห้งปากแห้ง
  • กินอาหารและกลืนอาหารลำบาก

อาการปวดใบหน้าจากการปวดปลายประสาท

อาการปวดใบหน้าจากการปวดปลายประสาท (Trigeminal neuralgia) เป็นโรคที่มักพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 30 ปี โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นคือประมาณ 50 ปี อาการจะรุนแรงเหมือนไฟชอร์ต ปวดแปล๊บบริเวณใบหน้า ซึ่งมักเป็นตามบริเวณใบหน้าส่วนที่เลี้ยงด้วยแขนงประสาทคู่ที่ 5 โดยบริเวณที่เป็นบ่อยคือ ตั้งแต่ระดับใต้ตาถึงมุมปากหรือบริเวณระหว่างมุมปากถึงคาง มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 5 ที่จะเกิดในบริเวณเหนือตาขึ้นไปและหน้าผาก (ยกเว้นในกรณีที่เคยเป็นงูสวัดบริเวณนี้) และร้อยละ 10-15 อาจเกิดทั้งใบหน้าครึ่งซีก ส่วนใหญ่เป็นเพียงข้างเดียว มีส่วนน้อย ร้อยละ 3-5 ที่มีอาการทั้งสองข้างของใบหน้า อาการจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ละครั้งปวดไม่กี่วินาทีแล้วหายไป อาจถูกกระตุ้นด้วยการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น แปรงฟัน เคี้ยว พูด ล้างหน้า ซึ่งผลการตรวจร่างกายจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ บางครั้งผู้ป่วยเข้าใจว่าเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับฟันและเหงือก จึงไปตรวจกับทันตแพทย์แต่ก็ไม่พบความผิดปกติ

การรักษาแบ่งเป็นการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยในกรณีที่ไม่มีสาเหตุนั้นแพทย์จะเริ่มรักษาด้วยยาก่อน ซึ่งการที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อยา ไม่ได้หมายความว่าอาการนี้ไม่มีสาเหตุเสมอไป โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยาภายใน 2-3 วัน

ยาที่นำมาใช้ ได้แก่ carbamazepine ซึ่งได้ผลร้อยละ 60-80 แต่อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วง ซึม มึนงง เดินเซ เป็นผื่นที่ผิวหนัง เม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อเลือกทุกชนิดต่ำ และระดับโซเดียมในร่างกายต่ำ การใช้ยา oxcarbazepine ได้ผลใกล้เคียงกับ carbamazepine แต่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาน้อยกว่า ไม่ต้องตรวจเช็กเม็ดเลือดและการทำงานของตับเป็นระยะ ยาอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เช่น baclofen, phenytoin, gabapentinclonazepam, valproic acid, lamotrigine และ pregabalin การเริ่มให้ยาควรเริ่มจากขนาดต่ำ ๆ และปรับจากขนาดยาช้า ๆ เมื่อรักษาได้ผลหรืออาการหายไปแล้ว 1-2 เดือน จึงค่อย ๆ ปรับลดขนาดยาลง

สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด จะพิจารณาทำในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาหรือในบางรายที่มีสาเหตุ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี แต่ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ อาการชาที่ใบหน้าหรือการรับความรู้สึกที่กระจกตาลดลง และทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้

การวินิจฉัยความผิดปกติของเส้นประสาท

ภาวะนี้มักสามารถวินิจฉัยได้ยากเนื่องจากมีอาการที่มาแสดงได้หลากหลาย แพทย์อาจเริ่มจากการซักประวัติและประวัติครอบครัวเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการ พฤติกรรมที่ทำบ่อยๆ การสัมผัสสารพิษ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือสถานะของการติดเชื้อ (รวมถึง HIV)

หลังจากนั้นแพทย์อาจทำการทดสอบและการตรวจหลายชนิด เช่น

  • ตรวจร่างกายเพื่อมองหาโรคที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท
  • ตรวจเลือด เพื่อประเมินโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่นโรคเบาหวาน ภาวะขาดวิตามิน ความผิดปกติทางเมตะบอลิก การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ และการทำงานของตับและไตที่ผิดปกติ
  • เจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจดูลักษณะของโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเส้นประสาท
  • การตรวจการทำงานของเส้นประสาทความรู้สึก เพื่อดูความสามารถในการรับสิ่งกระตุ้นหลายชนิดเช่นการสั่น แสง การสัมผัส อุณหภูมิ อาการปวด ท่ายืนของร่างกายและแขนขา
  • การตรวจกล้ามเนื้อ
  • การตัดเส้นประสาทและผิวหนังไปตรวจ
  • การตรวจทางภาพวินิจฉัยเพื่อมองหาเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นๆ

การรักษาอาการปวดจากปลายประสาท

อาการปวดจากปลายประสาทลักษณะนี้ไม่สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาแก้ปวดทั่วไป ยาใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อาจช่วยได้บางส่วน แต่มียากลุ่มอื่นที่สามารถใช้รักษาอาการปวดจากปลายประสาทนี้ได้ เช่น

นอกจากนั้น ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเช่น duloxetine (Cymbalta) และ venlafaxine (Effexor XR) ยังอาจช่วยรักษาอาการปวดจากปลายประสาทในโรคเบาหวานได้มีการรักษาภาวะนี้โดยการไม่ใช้ยาหลายวิธี เช่น การทำกายภาพบำบัด หรือ transcutaneous electrical nerve stimulation ( เป็นการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง) อาจช่วยรักษาอาการปวดได้ การฝังตัวกระตุ้นไขสันหลัง (spinal cord stimulator) ซึ่งจะคอยส่งสัญยาณไฟฟ้าเข้าไปที่ไขสันหลัง อาจช่วยรักษาอาการปวดจากปลายประสาทเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาคือการทำ nerve block ซึ่งเป็นการหยุดการส่งสัญญาณปวดเข้าสู่สมองโดยการใช้ยาชาฉีดเข้าสู่บริเวณที่ปวด การผ่าตัดอาจช่วยลดอาการปวดชนิดนี้ได้เช่นเดียวกัน เช่นในกลุ่มที่เกิดจากการกดเส้นประสาทจากเนื้องอกหรือ sciatica

ภาวะแทรกซ้อนของความผิดปกติของเส้นประสาท

ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างขึ้นกับโรคหรืออาการ อาการชาจากภาวะนี้จะทำให้ความไวต่ออาการปวดและอุณหภูมิลดลง ทำให้คุณอาจมีแผลไหม้หรือแผลรุนแรงได้ การสูญเสียความรู้สึกที่เท้ายังอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย (โดยเฉพาะในโรคเบาหวาน ซึ่งจะมีแผลหายช้ากว่าตนปกติ) เช่นการเกิดแผลที่เท้าหรือนิ้วตายนอกจากนั้นยังอาจเกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีลักษณะผิดปกติ เช่น pes cavus ซึ่งเป็นภาวะที่เท้ามีความโค้งมากกว่าปกติ และความผิดปกติของมือและเท้าในลักษณะเหมือนกรงเล็บ


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Peripheral neuropathy (https://www.nhs.uk/conditions/peripheral-neuropathy/), 24 April 2019
Deborah Weatherspoon, Ph.D., R.N., CRNA, What is peripheral neuropathy? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/147963.php), November 27, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ปวดหลังกว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมปวดหลังแล้วทำให้ขาไม่มีแรงเลยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปลายนิ้วมือชา มีสาเหตุจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การฉีดSNRB.เป็นทางเลือกดีที่สุด สำหรับปัญหากระดูกทับเส้นประสาทหรือมีวิธีใดดีกว่านี่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการชาที่ปลายนิ้วมือเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะคุณหมอ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)