กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เท้าแบน (Flat Foot)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เท้าแบน คือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกที่ทำให้เท้ามีสรีระแบนราบ ไม่มีส่วนเว้าโค้ง เมื่อลุกขึ้นยืนหรือดำเนินกิจกรรมทางร่างกายหนักๆ ก็จะทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น ภาวะนี้จัดเป็นภาวะทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทารก ซึ่งจะหายไปเองตอนที่เด็กมีอายุ 2-3 ปีตามความแน่นตัวขึ้นของเอ็นยึดกับเอ็นกล้ามเนื้อที่ขาและเท้า

แต่ในบางคนก็อาจมีภาวะเท้าแบนจนถึงวัยผู้ใหญ่ แม้ภาวะนี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงกับร่างกาย แต่ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทำให้เกิดปัญหากับการเดิน วิ่ง หรือยืนเป็นเวลานานๆ และอาจทำให้เท้าบิดเอนเข้าหากันได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะเท้าแบน สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) คือประเภทของภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด ผู้ที่มีภาวะนี้ จะมีฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นแบบเต็มๆ ขณะที่วางเท้าไว้บนพื้น มักเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กและไม่ได้สร้างความเจ็บปวดใดๆ ขึ้น
  2. เอ็นร้อยหวายสั้น (Achilles Tendon) หากมีเอ็นร้อยหวาย หรือเส้นเอ็นที่เชื่อมกระดูกส้นเท้าเข้ากับกล้ามเนื้อน่องขาสั้นกว่าปกติ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะเดินหรือวิ่งได้ ผู้ที่มีภาวะนี้ มักพบว่าส้นเท้ายกขึ้นเร็วเกินไปขณะเดินและวิ่ง
  3. เอ็นเท้าอักเสบ ภาวะเท้าแบนประเภทนี้ เกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมกล้ามเนื้อน่องขาเข้ากับภายในข้อเท้าเกิดความเสียหาย บวม หรือฉีกขาด หากส่วนอุ้งเท้าไม่ได้มีเอ็นนี้รองรับ จะทำให้เกิดความเจ็บปวดภายในเท้าและข้อเท้า ภาวะนี้มักพบได้ในผู้ใหญ่

สาเหตุของภาวะเท้าแบน

ภาวะเท้าแบนมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกภายในเท้าส่วนล่าง ภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับทารกและเด็กแรกเกิดเป็นเรื่องปกติ เพราะร่างกายพวกเขายังคงต้องใช้เวลาพัฒนาเอ็นต่างๆ ก่อนที่จะทำให้เท้าเกิดส่วนเว้าโค้งขึ้นมา แต่หากการรัดตัวของเท้ากับเอ็นไม่ได้เกิดขึ้นจนสมบูรณ์ จะทำให้เกิดภาวะเท้าแบนขึ้น

นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับโรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) และโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) อีกด้วย

การรักษาภาวะเท้าแบน

ภาวะเท้าแบน สามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รองเท้า แพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เสริมที่สอดเข้าภายในรองเท้าเพื่อรองรับอุ้งเท้า หรือแนะนำให้ใช้รองเท้าเพื่อสุขภาพ

อ่านวิธีเลือก รองเท้าเพื่อสุขภาพ

  • การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต แพทย์อาจแนะนำให้ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก รวมถึงแนะนำไม่ให้ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน เป็นต้น
  • การใช้ยา หากภาวะเท้าแบนทำให้เกิดความเจ็บปวดและอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจจ่ายยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Ibuprofen เพื่อลดอาการบวมและเจ็บปวด
  • การผ่าตัดเท้า การผ่าตัดเป็นตัวเลือกรักษากรณีเท้าแบนที่ร้ายแรง และเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นกล้ามเนื้อ หรือเชื่อมกระดูกและข้อต่อของใหม่ หากมีเส้นเอ็นร้อยหวายสั้นเกิน ศัลยแพทย์ก็สามารถเพิ่มความยาวของเอ็นขึ้นได้ด้วย

การป้องกันภาวะเท้าแบน

เท้าแบนเป็นภาวะทางพันธุกรรม จึงทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ แต่หากมีภาวะนี้ก็สามารถป้องกันไม่ให้อาการทรุดลงด้วยการสวมใส่รองเท้าที่พอดีและมีพื้นรองเท้ารองรับเท้าอย่างเหมาะสม


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Timothy Gossett, MD, What You Should Know About Flat Feet (https://www.healthline.com/health/pes-planus), November 5, 2019
nhs.uk, Flat feet (https://www.nhs.uk/conditions/flat-feet/), 18 September 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)