กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

​อึ่งคี้ (Milkvetch Root)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

ข้อมูลภาพรวมของอึ่งคี้

อึ่งคี้/ปักคี้/หวงฉีคือสมุนไพรที่มีการนำรากไปใช้ทำยา โดยมีข้อมูลคร่าว ๆ ว่ามีการใช้อึ่งคี้ในการรักษาภาวะสุขภาพหลายอย่างแต่ ณ ปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดถึงประสิทธิผลที่แท้จริงของพืชชนิดนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อึ่งคี้เป็นสมุนไพรที่ใช้กินเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล ภาวะหัวใจล้มเหลว เบาหวาน เสริมสร้างความแข็งแรงและควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะสุขภาพอื่น ๆ มากมาย

บางคนใช้อึ่งคี้เป็นยาบำรุงร่างกายทั่วไป เพื่อป้องกันตับ และใช้เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการใช้อึ่งคี้ในการลดผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งอีกด้วย

อึ่งคี้เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น โดยในบางครั้งมีการนำอึ่งคี้ทาลงบนผิวหนังเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตของบริเวณนั้น ๆ เพื่อเร่งกระบวนการสมานแผล การฉีดอึ่งคี้เข้าเส้นเลือดใช้สำหรับรักษาผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง, หัวใจล้มเหลว, เบาหวาน, โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง ( lupus (systemic lupus erythematosus)), และภาวะสุขภาพอื่น ๆ

อึ่งคี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยบางสายพันธุ์จะมีสารพิษที่เรียกว่า swainsonine ที่มักพบอยู่ในปศุสัตว์ โดยสายพันธุ์ที่มีพิษดังกล่าวมีทั้ง Astragalus lentiginosus, Astragalus mollissimus, และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามสายพันธุ์เหล่านี้ก็มักไม่ถูกนำมาใช้ทำอาหารเสริมสำหรับมนุษย์ โดยอาหารเสริมจากอึ่งคี้ส่วนมากจะใช้สายพันธุ์ Astragalus membranaceus 

อึ่งคี้ออกฤทธิ์อย่างไร?

อึ่งคี้สามารถกระตุ้นและเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันขึ้นได้

การใช้ยาและประสิทธิภาพของอึ่งคี้

ภาวะที่อาจใช้อึ่งคี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ใช้ในการลดผลข้างเคียงจากการเคมีบำบัด งานวิจัยกล่าวว่าการให้อึ่งคี้เข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) หรือการใช้ส่วนผสมสมุนไพรจีนที่มีอึ่งคี้นั้นอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, และการกดไขกระดูก (การลดลงของเซลล์ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน) (bone marrow suppression) ที่เกิดจากการรักษาเคมีบำบัดได้
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยได้กล่าวว่าอึ่งคี้ที่ให้ทางเส้นเลือดหรือชนิดกินที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ได้
  • ภูมิแพ้ตามฤดูกาล (Seasonal allergies) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากรากของอึ่งคี้ 160 mg ทุกวันเป็นเวลานาน 3-6 สัปดาห์จะช่วยลดอาการคัดจมูก, คัน, และจามในผู้ป่วยภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้
  • ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ (amenorrheaงานวิจัยพบว่าการกินยาผสมอึ่งคี้กับสมุนไพรอื่น ๆ จะช่วยควบคุมรอบเดือนของสตรีที่มีปัญหาประจำเดือนขาดได้
  • อาการเจ็บหน้าอก (angina) งานวิจัยพบว่าการกินอึ่งคี้ 20 กรัมสามครั้งต่อวันเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์จะช่วยในเรื่องการทำงานของหัวใจในผู้ที่มีปัญหาเจ็บหน้าอกได้
  • โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการให้อึ่งคี้ทางเส้นเลือดร่วมกับ steroid stanozolol จะช่วยทำให้อาการและจำนวนเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อดีขึ้นมากกว่าการใช้เพียงสเตียรอยด์อย่างเดียว
  • หอบหืด (Asthmaงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานส่วนผสมของอึ่งคี้, ถั่งเฉ้า (cordyceps), Radix stemone (Bai Bu), ชวนป๋วน (bulbus fritillariae cirrhosae), กับ Baikal skullcap เป็นเวลา 6 เดือนไม่ได้ช่วยให้อาการหอบหืดหรือการทำงานของปอดในเด็กที่เป็นหอบหืดระยะรุนแรงน้อยให้ดีขึ้นแต่อย่างใด
  • การลดลงของผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด งานวิจัยพบว่าการให้อึ่งคี้ทางเส้นเลือดทุกวัน เป็นเวลานาน 21 วันระหว่างการเข้ารับการทำเคมีบำบัดจะลดอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วงได้
  • อาการเหนื่อยล้าที่มาจากการทำเคมีบำบัด งานวิจัยกล่าวว่าการให้สารสกัดอึ่งคี้ 500 mg เข้าเส้นเลือดจำนวนสามครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ระหว่างการทำเคมีบำบัดช่วยปรับปรุงคะแนนความเหนื่อยล้า (fatigue scores) หลังจากทำเคมีบำบัดไปแล้วหนึ่งสัปดาห์ แต่ไม่ได้ช่วยลดความเหนื่อยล้าหลังจากทำเคมีบำบัดสองและสี่สัปดาห์
  • ภาวะที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้าต่อเนื่อง (Chronic fatigue syndrome) งานวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ประกอบด้วยอึ่งคี้และสมุนไพรชนิดอื่นสามารถลดอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่กับทุกกรณี อีกทั้งยังคงไม่ชัดเจนว่าได้ผลจากการใช้อึ่งคี้หรือจากสมุนไพรอื่น ๆ กันแน่
  • ตับแข็ง (cirrhosis) งานวิจัยได้กล่าวว่าการฉีดสารสกัดจากอึ่งคี้และตังเซียม (danshen) เข้าเส้นเลือดทุกวันเป็นเวลา 90 วันอาจช่วยเพิ่มการทำงานของตับของผู้ป่วยภาวะตับแข็งได้ กระนั้นก็ยังบอกไม่ได้ว่าผลเช่นนี้เกิดจากตัวอึ่งคี้หรือตังเซียมหรือเป็นผลจากสมุนไพรทั้งสองชนิดร่วมกัน
  • หัวใจล้มเหลว งานวิจัยพบว่าการใช้อึ่งคี้ 60 กรัมเข้าเส้นเลือดทุกวันเป็นเวลา 20 วันได้ช่วยให้อาการหัวใจล้มเหลวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอื่น ๆ ได้มีการใช้อึ่งคี้ในปริมาณเท่ากันแต่กลับไม่แสดงผลลัพธ์ใด ๆ และเมื่อใช้วิธีกินอึ่งคี้ร่วมกับยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวทางการแพทย์ทั่วไปพบว่าทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นและระยะทางการเดินที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลวเพียงอย่างเดียว
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการให้อึ่งคี้เข้าเส้นเลือดหรือด้วยวิธีการกินป็นเวลาต่อเนื่องนาน 4 เดือนได้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานหลังการทานอาหารได้ดี โดยวิธีการกินนั้นให้ผลดีกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือดอย่างมาก การกินอึ่งคี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลินในร่างกายอีกด้วย การกินอึ่งคี้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นไม่ได้ช่วยจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดหรืออินซูลินในร่างกายของผู้ป่วยแต่อย่างใด
  • ปัญหาสายตาของผู้ป่วยเบาหวาน (retinopathy) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอึ่งคี้เป็นเวลา 10 เดือนจะช่วยให้สายตาของผู้ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาดีขึ้น
  • สูญเสียการได้ยิน งานวิจัยกล่าวว่าการให้อึ่งคี้ทางเส้นเลือดทุกวันต่อเนื่องนาน 10 วันจะช่วยให้ปัญหาการได้ยินของผู้ที่มีภาวะหูหนวกเฉียบพลันหรือหูหนวกจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ดีขึ้น
  • HIV/AIDS หลักฐานด้านประสิทธิผลของอึ่งคี้กับผู้ป่วย HIV/AIDS ยังคงไม่แน่ชัด โดยผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีส่วนประกอบของราก Baikal skullcapglossy privet fruitรากอึ่งคี้, และ Eupolyphaga et polyphage (Ailing granules)  เป็นเวลานาน 4 เดือนจะมีอาการและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากเป็นการกินยาที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ (licorice), yin chenมัลเบอร์รี่ขาว (white mulberry), อึ่งคี้, และดอกคำฝอยเป็นเวลา 12 สัปดาห์กลับไม่ได้ให้ผลเหมือนชุดยาข้างต้น
  • โรคไต งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินอึ่งคี้ร่วมกับยารักษาโรคไตทางการแพทย์ทั่วไปจะช่วยให้การทำงานของไตดีขื้นเมื่อเทียบกับการกินยาทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ชัดเจนว่าอึ่งคี้สามารถป้องกันการเสียชีวิตหรือยืดระยะเวลาของการเข้ารับการฟอกไตลง อีกทั้งยังมีงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการกินอึ่งคี้นั้นสามารถลดการติดเชื้อในเด็กที่ป่วยเป็นโรคไตที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือ nephrotic syndrome ได้ด้วย
  • มะเร็งปอด การทำเคมีบำบัดที่ใช้แพลตตินัมถูกใช้รักษามะเร็งปอดที่เรียกว่า non-small-cell lung cancer จากการวิเคราะห์งานวิจัยได้กล่าวว่าการกินผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีอึ่งคี้ร่วมกับการทำเคมีบำบัดสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่เป็น non-small-cell lung cancer ระยะลุกลามที่เข้ารับการรักษามาแล้วหนึ่ง สอง และสามปีให้หลังเมื่อเทียบกับการทำเคมีบำบัดด้วยแพลตตินัมเพียงอย่างเดียว
  • อาการจากภาวะหมดประจำเดือน งานวิจัยกล่าวว่าการกินยาที่มีส่วนผสมของอึ่งคี้และตังกุย (dong quai) 3-6 กรัมอาจช่วยลดอาการร้อนวูบวาบของสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ อย่างก็ตามหากใช้ในปริมาณน้อยกว่านั้นอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) งานวิจัยหลายชิ้นได้มีการใช้อึ่งคี้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสภายในหัวใจ แต่ผลลัพธ์ของการวิจัยยังคงไม่แน่ชัด โดยหลักฐานที่ดีที่สุดกล่าวว่าการกินอึ่งคี้ร่วมกับยารักษาทางการแพทย์สามารถลดอาการหัวใจเต้นผิดปกติจากการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามการกินอึ่งคี่ช่วยได้เพียงบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด
  • อาการเหน็ดเหนื่อยหลังจากโรคเส้นเลือดสมอง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินอึ่งคี้ 4 สัปดาห์อาจช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองได้
  • ไตล้มเหลว ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดไตล้มเหลวหลังการผ่าตัดได้ ซึ่งการให้อึ่งคี้เข้าเส้นเลือดทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัดจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะไตวายหลังการผ่าตัดหัวใจได้
  • ภาวะอักเสบเรื้อรังที่เรียกว่าโรคภูมิแพ้ตนเอง (lupus) งานวิจัยพบว่าการใช้อึ่งคี้เข้าเส้นเลือดเป็นเวลา 12 วันในแต่ละเดือน ต่อเนื่องยาว 3 เดือนร่วมกับการใช้ยารักษาทางการแพทย์จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเองดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการติดเชื้อ
  • ภาวะหัวใจที่เรียกว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว (tetralogy of Fallot) ด้วยการใช้อึ่งคี้เข้าเส้นเลือดร่วมกับการรักษาตามปกตินาน 7 วันหลังการผ่าตัดจะช่วยแก้ไขภาวะหัวใจที่เรียกว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว ซึ่งจะเพิ่มการทำงานของหัวใจและลดระยะเวลาฟื้นตัวของคนไข้เมื่อเทียบกับการใช้การรักษาทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยกล่าวว่าการกินอึ่งคี้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ พร้อมกับกินอาหารแคลอรีต่ำไม่ได้ช่วยเพิ่มอัตราการลดน้ำหนักของผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วนแต่อย่างใด
  • มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)
  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia)
  • ภาวะสุขภาพอื่น ๆ

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้อึ่งคี้รักษาได้หรือไม่

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของอึ่งคี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของอึ่งคี้

อึ่งคี้ถูกจัดว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากเมื่อใช้รับประทานหรือให้ทางเส้นเลือดเมื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การกินยาในปริมาณมากกว่า 60 กรัมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือนถูกจัดว่าปลอดภัย ส่วนการฉีดเข้าเส้นเลือดนั้น ปริมาณ 80 กรัมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือนถูกจัดว่าปลอดภัยอยู่ เมื่อรับประทาน อึ่งคี้อาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่นขึ้นบนผิวหนัง แน่นจมูก หรือปวดท้อง อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อึ่งคี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้หากเป็นการใช้ด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตรณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้อึ่งคี้ในสตรีที่ให้นมบุตรและสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตามงานวิจัยในสัตว์ได้กล่าวว่าอึ่งคี้เป็นพิษกับทั้งมารดาและตัวอ่อนในครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของคนกลุ่มดังกล่าวจึงไม่ควรใช้อึ่งคี้

“โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง” อย่างเช่น โรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง multiple sclerosis (MS), โรคภูมิแพ้ตนเอง ( lupus (systemic lupus erythematosus, SLE)), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA)), หรือภาวะที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ : อึ่งคี้อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของทำงานมากขึ้น และอาจทำให้อาการจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองรุนแรงมากขึ้น หากป่วยเป็นโรคในกลุ่มนี้ควรเลี่ยงการใช้อึ่งคี้จะดีที่สุด

การใช้อึ่งคี้ร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้อึ่งคี้ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) กับอึ่งคี้

Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) เป็นยาที่ถูกใช้เพื่อกดภูมิคุ้มกัน อึ่งคี้เป็นสมุนไพรที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการกินอึ่งคี้ร่วมกับ Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) อาจลดประสิทธิผลของ Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) ได้

  • ลิเทียม (Lithium) กับอึ่งคี้

อึ่งคี้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ดังนั้นการกินอึ่งคี้อาจลดการกำจัดลิเทียมของร่างกายลง ซึ่งจะทำให้ลิเทียมตกค้างในร่างกายมากขึ้นจนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ผลิตภัณฑ์อึ่งคี้หากกำลังใช้ลิเทียมอยู่เพื่อทำการปรับขนาดยาลิเทียมที่ต้องรับประทาน

  • ยาที่ใช้กดภูมิคุ้มกัน

อึ่งคี้มีฤทธิ์เพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันขึ้น ดังนั้นการกินอึ่งคี้ร่วมกับยาที่กดภูมิคุ้มกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาเหล่านั้นลดลง โดยยาที่ใช้ลดภูมิคุ้มกันมีตัวอย่างดังนี้ azathioprine (Imuran), basiliximab (Simulect), cyclosporine (Neoral, Sandimmune), daclizumab (Zenapax), muromonab-CD3 (OKT3, Orthoclone OKT3), mycophenolate (CellCept), tacrolimus (FK506, Prograf), sirolimus (Rapamune), prednisone (Deltasone, Orasone), corticosteroids (glucocorticoids), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดที่เหมาะสมสำหรับอึ่งคี้นั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของอึ่งคี้ ดังนั้นต้องระลึกเสมอว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอ พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้อึ่งคี้ทุกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tian H, Lu J, He H, et al.The effect of Astragalus as an adjuvant treatment in type 2 diabetes mellitus: A (preliminary) meta-analysis. J Ethnopharmacol. 2016;191:206-215. doi: 10.1016/j.jep.2016.05.062. View abstract (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27269392)
Sun Y, Hersh EM, Lee SL, et al. Preliminary observations on the effects of the Chinese medicinal herbs Astragalus membranaceus and Ligustrum lucidum on lymphocyte blastogenic responses. J Biol Response Mod 1983;2:227-37.. View abstract. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6644339)
Stegelmeier BL, James LF, Panter KE, et al. The pathogenesis and toxicokinetics of locoweed (Astragalus and Oxytropis spp.) poisoning in livestock. J Nat Toxins 1999;8:35-45. View abstract. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10091126)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)