มะเร็งปอด (Lung Cancer) เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ในปอดที่ผิดปกติเป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนและมีการแพร่เชื้อไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
ข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 15 อันดับแรกทั้งเพศหญิงและเพศชาย พ.ศ. 2561 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคมะเร็งปอดและหลอดลมติดอยู่ในอันดับ 3 ของโรคมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย และอยู่ในอันดับ 5 ของผู้ป่วยเพศหญิง ถือว่า เป็นตัวเลขอันดับที่สูงมาก
ใครที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดบ้าง
- ผู้ที่สูบบุหรี่และดมควันบุหรี่มือสอง (Second hand smoker)
- ผู้ที่สัมผัสกับแก๊สเรดอน (Radon) ซึ่งแปลงสภาพมาจากธาตุยูเรเนียม (Uranium) ที่เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี แก๊สเหล่านี้สามารถมากับหิน ดิน ทราย ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารได้
- ผู้ที่สัมผัส หรือสูดดมโลหะหนัก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ได้แก่
- ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่น
- ผู้ที่มีโรคปอดเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งปอด
อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
ส่วนมากมักจะไม่แสดงให้เห็นจนกระทั่งเชื้อมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ระยะรักษาได้ยากไปแล้ว และเป็นเหตุผลว่า ทำไมอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจึงได้ต่ำกว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น
อาการของโรคมะเร็งปอดเป็นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและความรุนแรงของโรค เช่น
- ไอ หายใจเหนื่อย บางครั้งเวลาหายใจจะมีเสียงวี๊ดๆ เกิดจากก้อนมะเร็งไปกดเบียดหลอดลม หรือเนื้อปอด
- ไอเป็นเลือด เกิดจากเชื้อมะเร็งลุกลามสู่หลอดเลือด
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ เกิดจากก้อนมะเร็งทำให้เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือเชื้อมะเร็งลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดแล้ว
- เสียงแหบ เกิดจากมีก้อนมะเร็งไปกดเบียด หรือทำลายเส้นประสาทบริเวณช่องอกที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง
- ปวดศีรษะ หน้าบวม แขนบวม พบได้ในกรณีผู้ป่วยที่มีภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำซึ่งมีสาเหตุมาจากก้อนมะเร็งไปกดเบียด ทำให้เลือดดำของศีรษะ ใบหน้า และแขนไหลกลับสู่หัวใจไม่สะดวก ทำให้เกิดการคั่งของเลือดจึงมีอาการบวมเกิดขึ้น
- ในกรณีก้อนมะเร็งอยู่บริเวณยอดปอด จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้
- เกิดอาการปวดแขนและไหล่ จากการกดเบียดบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ
- เกิดอาการมืออ่อนแรง หากก้อนมะเร็งมีการกดเบียดถึงไขสันหลัง
- มีอาการหนังตาตก เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่ใกล้ยอดปอดถูกก้อนมะเร็งกดเบียด
- มีการติดเชื้อในปอดบ่อย เช่น เป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางรายยังอาจมีอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับปอดและการหายใจได้อีกด้วย เช่น
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- ปวดกระดูก หรือกระดูกหักง่าย
การตรวจวินิจฉัย
ส่วนมากแพทย์จะเอกซเรย์ปอดเบื้องต้นก่อน เพื่อตรวจดูว่า "มีก้อนมะเร็งหรือไม่"
แต่เพราะมีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนหนึ่งที่มีก้อนมะเร็งขนาดเล็กซึ่งจะตรวจจากการเอกซเรย์แล้วไม่พบก้อนมะเร็ง จึงทำให้แพทย์ต้องตรวจเพิ่มเติมเพื่อความละเอียดในการวินิจฉัย เช่น
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan (Computerised Tomography)
- การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพสิตรอน (Positron Emission Tomography: PET Scan)
- การตรวจเซลล์เสมหะ หากผู้ป่วยมีอาการไอ แล้วแพทย์จะนำตัวอย่างเสมหะไปตรวจหาเซลล์มะเร็งผ่านกล้องจุลทรรศน์
- การตัดชิ้นเนื้อปอด เป็นหัตถการที่นำสารน้ำ หรือเนื้อเยื่อที่ตัดจากปอดไปตรวจหาเซลล์มะเร็งผ่านกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งวิธีการตัดชิ้นเนื้อสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- วิธีการส่องกล้องทางหลอดลม (Bronchoscopy) โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องผ่านทางคอหอยเข้าไปสู่ปอด จากนั้นจะใส่เครื่องมือสำหรับตัดชิ้นเนื้อผ่านทางท่อส่องกล้องที่ใส่เข้าไป
- วิธีตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็ม โดยแพทย์จะทำการแทงเข็มผ่านบริเวณผนังทรวงอก และเข้าสู่ปอดเพื่อเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจ
ใครที่ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด
การตรวจมะเร็งปอดในประเทศไทยยังให้การคัดกรองมะเร็งเป็นแบบแล้วแต่โอกาส หมายถึง การคัดกรองที่ทำโดยอิสระและขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล
แตกต่างกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก ที่จะมีอยู่ในแผนสาธารณสุขระดับชาติและรัฐจะให้การสนับสนุน โดยการคัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่
ในการคัดกรองผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด จะมีการนับจำนวนแพ็คเยียร์ (Pack Year) หรือ "ประวัติสูบบุหรี่จัด" ในผู้ป่วยแต่ละราย
วิธีคำนวณค่าแพ็คเยียร์คือ จำนวนปีที่ผู้ป่วยสูบบุหรี่คูณด้วยจำนวนซองบุหรี่ที่สูบต่อวัน
ตัวอย่าง ผู้ป่วยสูบบุหรี่ 2 ซองต่อวันเป็นเวลา 15 ปี แพ็คเยียร์ของผู้ป่วยรายนั้นจะเท่ากับ 30 ผู้ป่วยที่มีค่าแพ็คเยียร์สูงกว่า 30 ถือว่า เป็นผู้ที่สูบบุหรี่จัด
สำหรับผู้อยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดสูง จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- อายุระหว่าง 55-74 ปี สูบบุหรี่มากกว่า 30 แพ็คเยียร์ และอยู่ในช่วงเวลาไม่เกิน 15 ปีหลังเลิกบุหรี่
- อายุมากกว่า 50 ปี สูบบุหรี่มากกว่า 20 แพ็คเยียร์ และมีความเสี่ยงอื่นๆ ของมะเร็งปอดด้วย
นอกจากนี้การคัดกรองโรคจะทำโดยการตรวจ CT Scan ด้วย ซึ่งแพทย์จะสามารถเห็นก้อนมะเร็งในปอดได้ชัดเจนกว่าการตรวจภาพเอกซเรย์ปอดทั่วไป
จากนั้นแพทย์จะมีการนัดติดตามการลุกลามของเชื้อมะเร็งเป็นระยะๆ ขึ้นกับว่า ตรวจ CT Scan แล้วพบอะไรบ้าง แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำเข้ารับการคัดกรอง
เนื่องจากการตรวจ CT Scan จะทำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำได้รับรังสีไปด้วยโดยไม่จำเป็น ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการตรวจหากไม่พบเจออะไรเลย
การรักษามะเร็งปอด
หลังจากตรวจก้อนมะเร็งและวินิจฉัยเรียบร้อยแล้วว่า ผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะไหน แพทย์จะให้การรักษาซึ่งประกอบด้วย
- การผ่าตัด จะกระทำได้ในกรณีที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้ทั้งหมด
- การฉายแสง
- การให้ยาเคมีบำบัด
- การให้สารเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ
- การใช้วิธีการทางภูมิคุ้มกัน เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
กลุ่มและระยะของโรคมะเร็งปอด
เราสามารถแบ่งโรคมะเร็งปอดออกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer: SCLC)
ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็ก แต่มีการแพร่กระจายได้เร็ว ส่วนมากมักรักษาด้วยการใช้ยา โดยจะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยได้เป็น 2 ระยะคือ
- ระยะโรคกำจัดที่ (Limited Stage) หมายถึง ระยะที่เชื้อมะเร็งจะอยู่ในปอดข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งเมื่อลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็จะลุกลามไปต่อมด้านเดียวกับปอดที่มีเชื้อมะเร็ง
- ระยะโรคกระจายไปแล้ว (Extensive Stage) หมายถึง ระยะที่เชื้อมะเร็งได้กระจายไปยังปอดอีกข้างรวมถึงอวัยวะอื่นๆ แล้ว
กลุ่มมะเร็งชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer: NSCLC)
เป็นกลุ่มมะเร็งที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า และมีโอกาสตรวจเจอเชื้อมะเร็งได้มากกว่ากลุ่มมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 6 ระยะ ได้แก่
- ระยะแอบแฝง (Occult Stage) คือ ระยะที่จะพบเชื้อมะเร็งในน้ำลาย หรือเสมหะเท่านั้น แต่ยังไม่พบเชื้อมะเร็งในปอด
- ระยะ 0 (Stage 0) คือ พบเชื้อมะเร็งในหลอดลมและยังอยู่เฉพาะที่ ยังไม่มีการกระจายตัว หรือลุกลามลงไปที่ปอด
- ระยะ I (Stage I) คือ พบเชื้อมะเร็งในปอดแล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปอวัยวะส่วนอื่น
- ระยะ II (Stage II) คือ เชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในปอดข้างเดียวกันแล้ว
- ระยะ III (Stage III) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ระยะ IIIA (Stage IIIA) เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบหลอดลม และอาจรวมไปถึงกระบังลมกับทรวงอกข้างเดียวกันด้วย
- ระยะ IIIB (Stage IIIB) เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยังปอดอีกข้างแล้ว
- ระยะ IV (Stage IV) คือ เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายแล้ว
การรักษาโรคมะเร็งปอด
การรักษาโรคมะเร็งปอดจะแบ่งออกตามกลุ่มของโรคมะเร็ง ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน
1. การรักษาโรคมะเร็งปอดกลุ่มชนิดมีเซลล์ขนาดเล็ก
- การให้ยาเคมีบำบัด เป็นวิธีรักษาหลักของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านมะเร็งหลายตัวซึ่งมีทั้งแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำและแบบรับประทาน และมักจะได้รับยาเคมีบำบัดประมาณ 4-6 รอบด้วย แต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ใน 1 รอบจะรวมเวลาที่ร่างกายผู้ป่วยได้รับยา (1-3 วัน) และตามด้วยช่วงเวลาที่จะให้ร่างกายผู้ป่วยได้พักฟื้นจากการรักษา
- การฉายรังสี เป็นวิธีรักษาโดยการฉายรังสีพลังงานสูงเพื่อฆ่าเชื้อมะเร็งออกไป วิธีการฉายรังสีจะฉายจากเครื่องภายนอกร่างกายและพุ่งเป้าที่ก้อนมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้อาจรักษาร่วมกับการรับยาเคมีบำบัดด้วย หรือหลังจากสิ้นสุดการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแล้ว ก็อาจใช้การฉายรังสีเป็นการรักษาถัดไป
- การผ่าตัด เป็นการผ่านำก้อนมะเร็งออกจากร่างกาย อาจเป็นทางเลือกในการรักษามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นได้ดี หรือในระยะที่ก้อนมะเร็งยังอยู่ในปอดข้างเดียวและยังไม่ลุกลามไปอวัยวะส่วนอื่น
2. การรักษาโรคมะเร็งปอดกลุ่มชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก
- การผ่าตัด เป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะเริ่มต้น และแพทย์อาจใช้การฉายรังสีกับการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
- การฉายรังสี อาจเป็นทางเลือกในการรักษาแทนการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจากขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็งในปอด นอกเหนือจากการฉายรังสีแล้ว ผู้ป่วยอาจรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
- การให้ยาเคมีบำบัด เป็นวิธีรักษาที่ขึ้นอยู่กับระยะของโรค หรือผู้ป่วยบางรายก็อาจใช้ยาเคมีบำบัดก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง หรืออาจใช้หลังผ่าตัดเพื่อกำจัดเชื้อมะเร็งที่เหลืออยู่ให้หมดไป นอกจากนี้การให้ยาเคมีบำบัดยังถือเป็นวิธีการรักษาหลักของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามด้วย
- การรักษาแบบจำเพาะ เป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อให้จำเพาะกับเชื้อมะเร็ง ซึ่งยากลุ่มนี้จะแตกต่างไปจากยาเคมีบำบัดทั่วไปและมักใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามแล้ว โดยตัวยาที่นิยมใช้ในการรักษาวิธีนี้ ประกอบด้วย
- Alectinib (Alecensa)
- Bevacizumab (Avastin)
- Ramucirumab (Cyramza)
- Pembrolizumab (Keytruda)
- Erlotinib) (Tarceva)
- Crizotinib (Xalkori)
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน เป็นการรักษาโดยใช้ยาไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าไปจับและฆ่าเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีนี้สามารถรักษากลุ่มโรคมะเร็งปอดชนิดมีเซลล์ขนาดเล็กได้ด้วย
วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายจะมีอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่ต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือ เช่น
- มีอาการไอและหายใจลำบาก หรือหายใจเร็ว หรือสั้นมากๆ หรืออาจมีอาการไอเป็นเลือด หายใจตื้นไม่เต็มปอดและอ่อนเพลียอย่างหนัก ควรจัดให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อนอย่างสบาย มีการให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจและให้ยาบรรเทาตามอาการที่เกิดขึ้น
- ความอ่อนแอของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยจะเริ่มไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีอาการหอบอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดความอ่อนเพลียเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ผู้ดูแลอาจต้องจัดให้ผู้ป่วยพักอยู่บนเก้าอี้ยาว หรือเตียง เตรียมรถเข็นสำหรับผู้ป่วยเพื่อให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น
- อาการปวดที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดสามารถเกิดอาการปวดลุกลามไปได้ถึงในหน้าอก หรือที่ไขสันหลังอย่างรุนแรง ผู้ดูแลจึงอาจต้องฝึกวิธีควบคุมอาการปวดเพื่อช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยผ่านช่วงเวลานั้นไปได้ หรืออาจเป็นการประคับประคองอาการในรูปของการใช้ยาบรรเทา
- มีอาการอยากอาหารลดลง ร่างกายของผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะเริ่มไม่ต้องการสารอาหารอีก รวมทั้งระบบลำไส้ยังเริ่มหยุดทำงาน ผู้ดูแลควรสอบถามผู้ป่วยได้ว่า อยากรับประทานอาหารอะไรเป็นพิเศษไหม หากผู้ป่วยไม่ต้องการ ก็ให้จัดอาหารอ่อนๆ ให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร
- อาการสับสน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีความวิตกกังวล อยู่ไม่นิ่ง ความจำเริ่มเลอะเลือน หรืออาจมีอาการเพ้อและกระสับกระส่าย ผู้ดูแลต้องใช้ความอดทนในการประคับประคองผู้ป่วย มิฉะนั้นจะรู้สึกรำคาญและไม่อยากอยู่ใกล้ผู้ป่วยอีก รูปแบบการดูแลอาจเป็นการหมั่นพูดคุยกับผู้ป่วยเรื่อยๆ เพื่อลดความวิตกกังวล ลดอาการสับสน
อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด 54% ที่ตรวจพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกจะมีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 5 ปีขึ้นไป และอีก 4% จะมาจากผู้ป่วยที่เชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายแล้ว
เมื่อคิดเป็นสัดส่วนโดยรวม จะมีผู้ป่วยมะเร็งปอดทุกชนิดที่มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 5 ปีขึ้นไป เป็นจำนวน 18%
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เสียชีวิตภายในปีแรกที่ได้รับการวินิจฉัย และมะเร็งปอดก็ยังเป็นชนิดของโรคมะเร็งที่มีอัตราการเกิดสูงมากในผู้คนทั่วไป
ทั้งปัจจัยจากมลภาวะที่เป็นพิษต่างๆ การสูบบุหรี่ และรับควันบุหรี่จากผู้อื่น
ดังนั้นการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง การป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ดูแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็ง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
มะเร็งปอด นอกจากการรักษาด้วยวิธีให้เคมี ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่นอีกไหมคะ