กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ชะเอมเทศ (Licorice)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที

ข้อมูลภาพรวมของชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Licorice) คือสมุนไพรที่อยู่ตามประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน, รัสเซียใต้และกลาง, และเอเชียน้อยถึงอิรัก แต่ ณ ปัจจุบันชะเอมเทศหลายสายพันธุ์ได้ถูกเพาะปลูกกันหลายประเทศในแถบยุโรป, เอเชีย, และตะวันออกกลาง ชะเอมเทศประกอบด้วยกรด glycyrrhizic ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้หากทานในปริมาณมาก ผลิตภัณฑ์จากชะเอมเทศหลายตัวได้ถูกผลิตขึ้นในสหรัฐอเมริกาไม่ได้ทำการใส่ชะเอมเทศจริง ๆ แต่พวกเขาใช้น้ำมันโป๊ยกั๊ก (anise)  แทน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นและรสคล้ายกับ “ชะเอมเทศดำ” (black licorice)

ชะเอมเทศถูกนำไปรับประทานเพื่อบรรเทาอาการที่ระบบย่อยอาหารหลายอย่าง เช่นแผลในกระเพาะอาหาร, แสบร้อนกลางอก, โคลิก (colic), และการอักเสบของผนังเยื่อบุกระเพาะอาหาร (chronic gastritis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางคนรับประทานชะเอมเทศเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ, หลอดลมอักเสบ (bronchitis), อาการไอ, และการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

ชะเอมเทศยังถูกนำไปรักษาโรคแอดดิสัน (Addison's disease), เบาจืด (diabetes insipidus), อาการวูบวาบหลังหมดประจำเดือน, โรคกระดูกพรุน (osteoporosis), ข้อเสื่อม (osteoarthritis), โรคพุ่มพวง (systemic lupus erythematosus (SLE)), ภาวะตับผิดปรกติจากไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (Chronic hepatitis C), มาลาเรีย, วัณโรค (tuberculosis), ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง, อาหารเป็นพิษ, อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome (CFS)), ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปกติ (hypertonia), ฝี, เพื่อการพักฟื้นหลังผ่าตัด, ผื่น, และคอเลสเตอรอลสูง 

บางคนใช้วิธีรับประทานชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรโสม (Panax ginseng) และ Bupleurum falcatum เพื่อเพิ่มการทำงานของต่อมหมวกไต (adrenal glands) โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังใช้ยาสเตียรอยด์ระยะยาว เนื่องจากสเตียรอยด์มักจะเข้าไปกดกิจกรรมของต่อมหมวกไตที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อความเครียด

ชะเอมเทศยังถูกนำไปรับประทานร่วมกับโบตั๋น (peony) เพื่อเพิ่มความสามารถในการมีบุตรของผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome), เพื่อรักษาผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติ อีกทั้งยังสามารถใช้ชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรอื่นเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากและภาวะผิวหนังผิดปรกติที่เรียกว่าโรคผิวหนังอักเสบ หรือใช้ร่วมกับฟ้าทลายโจร (andrographis), โสมไซบีเรีย (Siberian ginseng), และ schisandra ในการรักษา familial Mediterranean fever (FMF) ซึ่งเป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดอาการบวมในอก, กระเพาะ, หรือข้อต่อซ้ำซาก ส่วนยาที่ประกอบด้วยรากชะเอมเทศกับเปลือกไม้ slippery elm, lactulose, และรำข้าวโอ๊ต (oat bran) จะใช้เพื่อบรรเทาอาการจากกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome (IBS))

บางคนได้ใช้แชมพูที่ประกอบด้วยชะเอมเทศเพื่อลดความมันของเส้นผมลง อีกทั้งการทายาที่ประกอบด้วยสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยลดอาการคัน, ผิวหนังอักเสบ, และใช้เป็นยาหยุดการไหลของเลือดได้อีกด้วย โดยการใช้เป็นแผ่นปะในปากหรือผสมในน้ำยากลั้วคอสำหรับแผลร้อนใน, ใช้เป็นครีมสำหรับโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis), ลดน้ำหนัก, หรือภาวะผิวหนังที่ทำให้มีจุดสีน้ำตาลบนผิว (melisma), ใช้เป็นน้ำยากลั้วคอหลังการผ่าตัดเพื่อให้หายเจ็บคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจได้ไว และผสมในยาสีฟันเพื่อกำจัดคราบพราก

ชะเอมเทศสามารถนำไปฉีดเข้ากระแสเลือด (intravenously (by IV)) เพื่อรักษาโรคตับอักเสบ B และ C ได้ เช่นเดียวกับเพื่อลดแผลในปาก (lichen planus) ในผู้ป่วยโรคตับอักเสบ C ได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สามารถนำชะเอมเทศไปใช้แต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่มและในผลิตภัณฑ์ยาสูบได้

ชะเอมเทศออกฤทธิ์อย่างไร?

ชะเอมเทศประกอบด้วยเคมีที่ถูกคาดว่าช่วยลดอาการอักเสบ, ลดเสมหะ, ลดอาการไอ, และเพิ่มสารเคมีบนผิวหนังที่ช่วยในการสมานแผล

การใช้และประสิทธิภาพของชะเอมเทศ

ภาวะที่อาจใช้ชะเอมเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคผิวหนังคันและอักเสบ (eczema) มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการทาชะเอมเทศบนผิวสามารถลดอาการจากโรคผิวหนังอักเสบได้ โดยการทาเจลชะเอมเทศสามครั้งต่อวันนาน 2 สัปดาห์จะช่วยลดอาการบวมแดงและคันลงได้
  • แสบร้อนกลางอก (dyspepsia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยรากชะเอมเทศ (Iberogast, Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH; STW-5-S, Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH) อาจช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกได้ อีกทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์อีกตัว (STW 5-II, Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH) ก็อาจช่วยลดอาการนี้ได้มากกว่า 40% ซึ่งมากกว่าการรักษาด้วยยาหลอก (placebo) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าสามารถรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ดีพอๆกับยา cimetidine
  • พักฟื้นหลังผ่าตัด งานวิจัยกล่าวว่าการอมยาอมที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ (Sualin, Hamdard Pharma) 30 นาทีก่อนสอดท่อช่วยหายใจขณะดมยาสลบจะช่วยลดอาการไอหลังการผ่าตัดได้ประมาณ 50% อีกทั้งการกลั้วคอด้วยน้ำชะเอมเทศก่อนสอดท่อก็ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อต้องทำการดึงท่อหายใจออกได้ด้วย

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ชะเอมเทศรักษาได้หรือไม่

  • เลือดออก งานวิจัยกล่าวว่าการทาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยข่า (alpinia), ชะเอมเทศ, ไทม์ (thyme), stinging nettle, และเถาองุ่น (Ankaferd Blood Stopper) บนผิวหนังจะลดการเลือดออกระหว่างผ่าตัดได้ แต่ไม่อาจลดระยะเวลาของการผ่าตัดได้ งานวิจัยอีกชิ้นกล่าวว่าการทาผลิตภัณฑ์เดียวกันนั้นหลังการผ่าตัดช่องปากสามารถลดการเลือดออกได้เช่นกัน
  • แผลร้อนใน (Canker sores) งานวิจัยกล่าวว่าการปะแผ่นที่ประกอบด้วยชะเอมเทศภายในช่องปากเป็นเวลา 16 ชั่วโมงนาน 8 วันสามารถลดขนาดของแผลร้อนในได้แต่ไม่อาจเร่งกระบวนการสมานตัวของแผลได้ งานวิจัยอีกชิ้นกล่าวว่าการปะแผ่นปะและกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นที่ประกอบด้วยชะเอมเทศจะลดอาการปวดในผู้ที่มีแผลร้อนในได้
  • คราบหินปูน (Dental plaque) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ยาสีฟันที่ประกอบด้วยชะเอมเทศสองครั้งต่อวันไม่อาจลดคราบหินปูน, เหงือกอักเสบ (gingivitis), หรือเลือดออกได้เมื่อเทียบกับการใช้ยาสีฟันปราศจากชะเอมเทศ ส่วนการใช้น้ำยาบ้วนปากที่ประกอบด้วย glycyrrhizin ก็ไม่อาจลดคราบหินปูนได้เช่นกัน
  • ภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดอาการบวมในอก, กระเพาะอาหาร, หรือข้อต่อ (Familial Mediterranean fever) งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยฟ้าทะลายโจร, โสมไซบีเรีย, schisandra, และชะเอมเทศ (ImmunoGuard, Inspired Nutritionals) สามารถลดระยะเวลา, ความถี่, และความรุนแรงของอาการจากภาวะนี้ในเด็กได้
  • ตับอักเสบ (Hepatitis) มีหลักฐานว่าองค์ประกอบบางตัวของชะเอมเทศอาจสามารถรักษาโรคตับอักเสบ B และ C ได้เมื่อให้ทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) งานวิจัยกล่าวอีกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับฉีดเข้าร่างกาย (Stronger Neominophagen C, Minophagen Pharmaceutical Co. Ltd) อาจสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ 50% อย่างไรก็ตามการศึกษาที่ทำไปก็ยังคงใช้กลุ่มคนไข้น้อยมากเกินกว่าจะยืนยันการค้นพบนี้ จึงมักใช้หลังจากคนไข้ดื้อต่อยา IFN แล้ว 
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากรากชะเอมเทศทุกวันนาน 1 เดือนสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein (LDL)) หรือคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีกับไตรกลีเซอไรด์ของผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงลงได้
  • ระดับโพแทสเซียมสูง งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าสารบางตัวในชะเอมเทศสามารถลดระดับโพแทสเซียมในผู้ป่วยเบาหวานหรือโรคไตได้
  • ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินผิดปรกติ มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยโบตั๋นและชะเอมเทศ 45 กรัม (Peony-Glycyrrhiza Decoction, PGD) ทุกวันนาน 4 สัปดาห์สามารถลดระดับฮอร์โมนที่เรียกว่าโปรแลคติน (prolactin) ในผู้หญิงที่มีระดับโปรแลคตินสูงที่ไม่ได้ส่งผลต่อฮอร์โมนประเภทอื่นหรืออาการทางจิต งานวิจัยอื่นกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยชะเอมเทศและโบตั๋น (shakutaku-kanzo-to) สามารถลดระดับโปรแลคตินในผู้ชายได้ในระยะสั้น แต่ไม่ใช่ในระยะยาว
  • กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) งานวิจัยกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเปลือกไม้ slippery elm, lactulose, รำข้าวโอ๊ต, และรากชะเอมเทศสามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ในผู้ป่วยภาวะท้องผูกจาก IBS ได้ อีกทั้งยังช่วยลดอาการปวดท้องและท้องอืดลงเช่นกัน
  • แผลในปาก (lichen planus) มีหลักฐานว่าการฉีดสารบางชนิดจากชะเอมเทศเข้าเส้นเลือดจะช่วยให้แผลในปากของผู้ป่วยตับอักเสบ C ดีขึ้น
  • ผิวหนังตกสี (melasma) งานวิจัยกล่าวว่าการทาครีมที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ, มะขามป้อม (emblica), และ belides (Clariderm Clear, Stiefel Laboratories Inc.) สองครั้งต่อวันนาน 60 วันสามารถทำให้ผิวหนังของผู้ที่มีผิวหนังตกสีกระจ่างใสขึ้นได้ เพราะในชะเอมเทศมีสาร liquiritin ช่วยผลัดเซลล์ผิว และ Glabridin ช่วยในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี
  • ร้อนวูบวาบระหว่างช่วงหมดประจำเดือน งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการทานสารสกัดจากรากชะเอมเทศสามารถลดจำนวนและความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงหมดประจำเดือนได้ แต่งานวิจัยอื่นแสดงให้เห็นว่าการทานสารสกัดจากรากชะเอมเทศไม่อาจลดอาการร้อนวูบวาบในกลุ่มผู้หญิงหมดประจำเดือนได้
  • กล้ามเนื้อบิดเกร็ง งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยชะเอมเทศและโบตั๋น (Shakuyaku-kanzo-to) อาจลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งของผู้ป่วยโรคตับ (hepatic cirrhosis) หรือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการฟอกไตได้
  • โรคไตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแอลกอฮอล์ (nonalcoholic fatty liver disease) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากรากชะเอมเทศ 2 กรัมทุกวันนาน 2 เดือนจะช่วยลดรอยแผลบนตับของผู้ป่วยโรคตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้
  • ความเจ็บปวด งานวิจัยกล่าวว่าการทานรากชะเอมเทศกับรากโบตั๋นร่วมกับซุปผักยาจีนของชาวไต้หวันที่ประกอบด้วยแปะฮะ (lily bulb), เมล็ดบัว, และพุทรา (jujube fruit) สามารถลดความเจ็บปวดของคนไข้มะเร็งได้
  • แผลในกระเพาะอาหาร มีหลักฐานว่าการใช้ชะเอมเทศสามารถเร่งกระบวนการสมานตัวของแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยการทานยา 12 เม็ดที่ประกอบด้วยชะเอมเทศกับยาลดกรด (Caved-S, Cedona) ทุกวันนาน 4-16 สัปดาห์อาจเร่งการหายจากแผลได้ อย่างไรก็ตามการทานยาชะเอมเทศที่ไม่ได้ผสมยาลดกรดเข้าไป (Ulcedal, Cedona, และอื่น ๆ) ไม่อาจช่วยลดอาการจากแผลในกระเพาะได้
  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) มีหลักฐานว่าการทาครีมที่ประกอบด้วยชะเอมเทศและนมบนผิวหนังนาน 4 สัปดาห์ไม่อาจลดปริมาณของการรักษาตามปรกติลงได้ แต่อาจช่วยอาการผิวหนังหลุดลอกของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินได้
  • ลดน้ำหนัก ยังคงมีข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันในเรื่องของการใช้ชะเอมเทศลดน้ำหนัก แต่ชะเอมเทศก็สามารถทำให้เกิดการกักเก็บน้ำที่สามารถชดเชยการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของน้ำหนักร่างกายได้ งานวิจัยอื่น ๆ กล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ชะเอมเทศ (Glavonoid) ชนิดหนึ่งทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักหรือไขมันร่างกาย
  • ข้ออักเสบ (Arthritis)
  • อาการไอ
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome (CFS))
  • การติดเชื้อ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • โรคพุ่มพวง (SLE)
  • มาลาเรีย
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • วัณโรค (Tuberculosis)
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของชะเอมเทศเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของชะเอมเทศ

ชะเอมเทศจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อบริโภคในปริมาณเท่ากับที่พบในอาหาร สำหรับทางการแพทย์นั้นการใช้ชะเอมเทศในปริมาณที่มาก ๆ ทั้งวิธีรับประทานและทาบนผิวหนังในระยะเวลาสั้นจัดว่าอาจจะปลอดภัย อย่างไรก็ตามชะเอมเทศจะถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณมากนานกว่า 4 สัปดาห์หรือในปริมาณที่น้อยกว่านั้นแต่ภายในระยะเวลานาน การบริโภคชะเอมเทศทุกวันนานหลายสัปดาห์ขึ้นไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างความดันโลหิตสูงขึ้น, ระดับโพแทสเซียมต่ำลง, อ่อนแรง, อัมพาต, และความเสียหายบนสมองในคนสุขภาพดี สำหรับผู้ที่บริโภคเกลือมากหรือเป็นโรคหัวใจ, โรคไต, หรือความดันโลหิตสูงด้วยปริมาณเพียง 5 กรัมต่อวันก็อาจทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้

ผลข้างเคียงอื่น ๆ ของชะเอมเทศมีทั้งเหน็ดเหนื่อย, ประจำเดือนขาดช่วง, ปวดศีรษะ, ร่างกายกักเก็บน้ำและโซเดียมมากขึ้น,เสียการมองเห็นชั่วขณะ  หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น ลูกคลอดก่อนกำหนดในคนท้อง และลดความรู้สึกทางเพศของผู้ชายลง

ผู้ที่ชอบเคี้ยวยาสูบที่แต่งรสด้วยชะเอมเทศจะมีความดันโลหิตสูงและประสบกับผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: การรับประทานชะเอมเทศระหว่างมีครรภ์จัดว่าไม่ปลอดภัยเนื่องจากการบริโภคที่มากไปนั้นหรือประมาณ 250 กรัมต่อสัปดาห์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรขึ้นด้วย แต่ ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ชะเอมเทศในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ชะเอมเทศเพื่อความปลอดภัย

โรคหัวใจ: ชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำมากขึ้นและอาจทำให้โรคหัวใจล้มเหลวทรุดหนักลง อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ดังนั้นหากคุณเป็นโรคหัวใจไม่ควรบริโภคชะเอมเทศ

ภาวะอ่อนไหวต่อฮอร์โมนอย่างมะเร็งเต้านม, มะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก, มะเร็งรังไข่, ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis), หรือเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (uterine fibroids): ชะเอมเทศอาจออกฤทธิ์คล้ายกับเอสโทรเจนของร่างกาย หากคุณเป็นโรคที่อาจทรุดลงจากการสัมผัสกับเอสโทรเจนเพิ่มเติมควรงดการใช้ชะเอมเทศ

ความดันโลหิตสูง: ชะเอมเทศจะเพิ่มความดันเลือดขึ้น ดังนั้นหากคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ก่อน ไม่ควรบริโภคชะเอมเทศปริมาณมากเกินไป

ภาวะกล้ามเนื้อที่เกิดจากปัญหาทางประสาท (hypertonia): ชะเอมเทศอาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดตกลงได้ ซึ่งจะทำให้ภาวะ hypertonia ทรุดหนักลง ควรเลี่ยงการใช้ชะเอมหากคุณเป็นโรคนี้

ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia): ชะเอมเทศสามารถลดระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นหากคุณมีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำอยู่แล้วไม่ควรใช้ชะเอมเทศจะดีที่สุด

โรคไต: การบริโภคชะเอมเทศมากเกินไปอาจทำให้อาการจากโรคไตทรุดมากขึ้นได้

ปัญหาทางเพศของผู้ชาย: ชะเอมเทศสามารถลดความสนใจทางเพศของผู้ชายได้ และยังลดสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED)) ได้ด้วยการลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลง

การผ่าตัด: ชะเอมเทศอาจรบกวนการควบคุมความดันระหว่างและหลังการผ่าตัดได้ ดังนั้นควรหยุดการใช้ชะเอมเทศก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาเหล่านี้

Warfarin (Coumadin) ถูกใช้เพื่อชะลอการเกิดลิ่มเลือด ร่างกายจะทำลาย Warfarin (Coumadin) เพื่อกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งชะเอมเทศอาจลดกระบวนการทำลายดังกล่าว(ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4)ลง จะทำให้ประสิทธิภาพของ Warfarin (Coumadin) เพิ่มขึ้นเพราะยาเหลือค้างในร่างกาย เมื่อยา Warfarin มีปริมาณในเลือดมากกว่าปริมาณที่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดเลือดในบริเวณต่างๆ เช่น ทางเดินอาหาร เลือดออกในสมอง ซึ่งเป็นภาวะอันตราย ต้อง admit รพ.เพื่อแก้อาการเลือดออกและปรับระดับยาให้เหมาะสม

ใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • Digoxin (Lanoxin) กับชะเอมเทศ

การใช้ชะเอมเทศในปริมาณมากสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายลงได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้ประสบกับผลข้างเคียงจาก digoxin (Lanoxin) มากขึ้น 

เพราะหัวใจอาจเต้นผิดจังหวะได้

  • Estrogens กับชะเอมเทศ

ชะเอมเทศอาจเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายได้ ดังนั้นการทานชะเอมเทศรวมกับยาเอสโทรเจนอาจลดประสิทธิภาพของยาลง โดยตัวอย่างยาเอสโทรเจนมีดังนี้ conjugated equine estrogens (Premarin), ethinyl estradiol, estradiol, และอื่น ๆ

  • Ethacrynic Acid (Edecrin) กับชะเอมเทศ

ชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออก โดยยา Ethacrynic acid (Edecrin) เองก็ออกฤทธิ์กับโพแทสเซียมเช่นกัน ดังนั้นการทานยาทั้งสองร่วมกันจะทำให้โพแทสเซียมต่ำเกินไปได้ หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะได้

  • Furosemide (Lasix) กับชะเอมเทศ

ชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออก โดยยา Furosemide (Lasix) เองก็ออกฤทธิ์กับโพแทสเซียมเช่นกัน ดังนั้นการทานยาทั้งสองร่วมกันจะทำให้โพแทสเซียมต่ำเกินไปได้ หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะได้

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงในตับ (Cytochrome P450 2B6 (CYP2B6) substrates) กับชะเอมเทศ

ยาบางประเภทถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ ชะเอมเทศอาจลดความเร็วของกระบวนการดังกล่าวลง ดังนั้นการทานชะเอมเทศร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาขึ้น ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนทานชะเอมเทศ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับมีทั้ง ketamine (Ketalar), phenobarbital, orphenadrine (Norflex), secobarbital (Seconal), dexamethasone (Decadron), Tamoxifen และอื่น ๆ 

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงในตับ (Cytochrome P450 2C9 (CYP2C9) substrates) กับชะเอมเทศ

ยาบางประเภทถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ ชะเอมเทศอาจลดความเร็วของกระบวนการดังกล่าวลง ดังนั้นการทานชะเอมเทศร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ได้ ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนทานชะเอมเทศ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับมีทั้ง celecoxib (Celebrex), diclofenac (Voltaren), fluvastatin (Lescol), glipizide (Glucotrol), ibuprofen (Advil, Motrin), irbesartan (Avapro), losartan (Cozaar), phenytoin (Dilantin), piroxicam (Feldene), tolbutamide (Tolinase), torsemide (Demadex), และ warfarin (Coumadin)

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงในตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) substrates) กับชะเอมเทศ

ยาบางประเภทถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ ชะเอมเทศอาจลดความเร็วของกระบวนการดังกล่าวลง ดังนั้นการทานชะเอมเทศร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ได้ ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนทานชะเอมเทศ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับมีทั้ง lovastatin (Mevacor), ketoconazole (Nizoral), itraconazole (Sporanox), fexofenadine (Allegra), triazolam (Halcion),  และอื่น ๆ 

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Antihypertensive drugs) กับชะเอมเทศ

การบริโภคชะเอมเทศในปริมาณสูงอาจเพิ่มความดันโลหิตขึ้นได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นเช่นนี้อาจลดประสิทธิผลของยาควบคุมความดันสูงได้ โดยตัวอย่างยาที่ควบคุมความดันโลหิตสูงมีทั้ง captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), hydrochlorothiazide, amlodipine (Norvasc), hydrochlorothiazide (HydroDIURIL), furosemide (Lasix), และอื่น ๆ มากมาย

  • ยาสำหรับการอักเสบ (Corticosteroids) กับชะเอมเทศ

ยาสำหรับภาวะอักเสบบางตัวสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายลงได้ โดยชะเอมเทศเองก็มีฤทธิ์ลดระดับโพแทสเซียมเช่นกัน ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมต่ำเกินไป ตัวอย่างยาสำหรับลดอักเสบมีทั้ง dexamethasone (Decadron), hydrocortisone (Cortef), methylprednisolone (Medrol), prednisone (Deltasone), และอื่น ๆ

  • ยาขับน้ำ (Diuretic drugs) กับชะเอมเทศ

การบริโภคชะเอมเทศปริมาณสูงสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้ และยาขับน้ำเองก็มีฤทธิ์ลดระดับโพแทสเซียมเช่นกัน ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมต่ำเกินไป หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะได้ ตัวอย่างกลุ่มยาขับน้ำมีทั้ง  chlorothiazide (Diuril), chlorthalidone (Thalitone), furosemide (Lasix), hydrochlorothiazide (HCTZ, HydroDIURIL, Microzide), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับอาการไม่สบายท้อง: ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ, milk thistle, ใบเปปเปอร์มิ้นท์, ดอกคาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมัน, ยี่หร่า, celandine, ตังกุย, สะระแหน่, และต้น clown's mustard (Iberogast; Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH) สามครั้งต่อวันนาน 4 สัปดาห์ 1 mL ;ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ, milk thistle, ใบเปปเปอร์มิ้นท์, ดอกคาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมัน, ยี่หร่า, celandine, ตังกุย, และสะระแหน่ (STW-5-S, Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH) สามครั้งต่อวันนาน 4 สัปดาห์ 1 mL; ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยต้น clown's mustard, ดอกคาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมัน, ยี่หร่า, ชะเอมเทศ, และสะระแหน่ (STW 5-II, Steigerwald Arzneimittelwerk GmbH) สามครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์ 1 mL
  • สำหรับพักฟื้นหลังผ่าตัด: ยาลูกอม (Sualin, Hamdard Pharma) ที่ประกอบด้วยชะเอมเทศ 97 mg เป็นเวลา 30 นาทีก่อนรับยาระงับประสาท (anesthesia)

ทาบนผิวหนัง:

  • สำหรับอาการคันและผิวหนังอักเสบ (eczema): ผลิตภัณฑ์เจลที่ประกอบด้วยสารสกัดจากรากชะเอมเทศ 1-2% สามครั้งต่อวันนาน 2 สัปดาห์
  • สำหรับพักฟื้นหลังผ่าตัด: กลั้วคอด้วยน้ำที่ผสมชะเอมเทศ 0.5 กรัม ปริมาณ 30 mL นานอย่างน้อย 1 นาทีก่อนเข้ารับการสอดท่อหายใจ 5 นาที

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวทางการรักษาผู้ป่วย ด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Update Cytochrome P450, ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล April - June 1999 Vol.7 No.2 (https://med.mahidol.ac.th/pois...)
Marjan Nassiri Asl, Review of Pharmacological Effects of Glycyrrhiza sp. and its Bioactive Compounds (https://onlinelibrary.wiley.co...), 29 April 2008

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)