ตังกุย เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศจีน
สำหรับเมืองไทยก็เป็นที่รู้จักและนิยมใช้รักษาโรคมาช้านาน เพราะตังกุย เป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางยาและสรรพคุณอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่ด้อยหรือน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นเลย
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตังกุยคืออะไร?
ตังกุย หรือที่เรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า โกศเชียง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels จัดอยู่ในวงศ์ผักชี
ตังกุย มีลักษณะเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 40 – 100 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีร่อง เปลือกสีน้ำตาล – ม่วง มีส่วนที่อยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้าขนาดใหญ่ และอวบเป็นทรงกระบอก รสเผ็ดหวาน มีรากแขนงมาก เปลือกสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวแบบขนนก ออกดอกเป็นช่อสีขาวหรือม่วง ผลแห้งแยกมีท่อน้ำมันตามร่อง
สรรพคุณของตังกุย
ตังกุยมีสารสำคัญต่างๆ น้ำมันหอมระเหยที่ใช้เป็นยาหลายชนิด รวมทั้งสารอาหารอย่างเช่นวิตามินบีเอ วิตามินบี 12 และวิตามินอี ดังนั้นจึงมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้มากมาย โดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคภายในของสตรีอย่างครอบคลุม ยกตัวอย่างเช่น
- บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ บำรุงตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง บำรุงเลือด ฟอกเลือด ช่วยป้องกันภาวะเลือดจาง ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังพบว่า เหง้าของตังกุยมีวิตามินบี 2 ที่ช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล
- บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว แก้ปวดศีรษะ แก้วิงเวียน หูอื้อ ใจสั่น
- ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำไม่ให้หลงลืมง่าย และยังเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนจึงช่วยแก้อาการหนาวได้
- เป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ แก้หวัด แก้หืดหอบ ขับเสมหะ
- ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ลดอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากการบีบตัวของมดลูก รักษาประจำเดือนที่เป็นลิ่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ไวขึ้น ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ บรรเทาอาการช่องคลอดแห้งในผู้หญิงวัยทอง ป้องกันการเกิดซีสต์ในรังไข่และมดลูก รวมทั้งเป็นตัวช่วยทดแทนฮอร์โมนเพศหญิง
- เป็นส่วนผสมในยาหอมหลายยี่ห้อ โดยตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาได้อนุญาตให้ใช้ตังกุยเป็นยารักษาโรคต่างๆ ในระบบร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนของเลือด แก้อาการเป็นลม วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นไส้ และแก้อาการท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
- รักษาโรคผิวหนังเพราะสามารถต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ จึงช่วยรักษาอาการคันผิวหนังได้
- ช่วยต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ขยายหลอดเลือด ซึ่งจะมีผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้ภาวะความดันสูงมีระดับที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
วิธีใช้และวิธีรับประทานตังกุย
สำหรับตังกุยที่เป็นยาแห้งจะให้ใช้ครั้งละ 6 – 15 กรัม นำมาต้มน้ำดื่มร่วมกับยาตัวอื่นตามตำรับยาแผนโบราณ ถ้าเป็นผง หรือสารสกัดให้ใช้วันละ 5 – 9 กรัม
หากใส่ในอาหารบางชนิดเพื่อเป็นยาก็จะเข้ากันได้ดีกับโสมและขิง ซึ่งสามารถใส่ในข้าวต้มหรือโจ๊ก รวมทั้งใช้ตุ๋นร่วมกับเนื้อสัตว์ก็ได้เช่นกัน
ข้อควรระวังการใช้ตังกุยเป็นยาสมุนไพร
ปัจจุบันยังไม่พบความเป็นพิษ หรือผลเสียจากการรับประทานตังกุยเป็นเวลานานๆ แต่ก็ควรห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ หรือมีระบบขับถ่ายไม่ดี เช่น ท้องเสียบ่อยๆ อาเจียนเป็นเลือด และผู้ที่มีประจำเดือนครั้งละมากๆ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เนื่องจากตังกุยจะออกฤทธิ์กระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งอาจเป็นการเร่งให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
ผลิตภัณฑ์ตังกุยมีอะไรบ้าง?
ตังกุยเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับการวิจัยและสนับสนุนให้มีการใช้เป็นยาใส่ในแคปซูล บดเป็นผงเพื่อชงชา รวมทั้งอยู่ในรูปของส่วนผสมซุปไก่สกัด โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
หากเรานำตังกุยไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น โสม ถั่งเช่า หรือแป๊ะก๊วย ก็จะมีสรรพคุณรักษาโรคหรือใช้บำรุงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าการปลูกตังกุยในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ก็สามารถปลูกพอได้และมีต้นพันธุ์ขายมากมายตามร้านขายต้นไม้สมุนไพรทั่วไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เพื่อรักษาข้อเข่า จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android