ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โสมเกาหลี ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง และวิธีการกินเพื่อสุขภาพ

รวมข้อมูล สรรพคุณจากงานวิจัย และข้อควรระวังในการรับประทานโสมเกาหลี
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โสมเกาหลี ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง และวิธีการกินเพื่อสุขภาพ

โสม เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบประเทศจีนและเกาหลี มีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็ให้คุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโสมเอเชียหรือโสมเกาหลี (Panax Ginseng) เป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้เป็นยามากที่สุด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Panax ginseng C.A. Mey.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชื่อวงศ์ Araliaceae

ชื่อสามัญ จินเซ็ง, Panax, Korean ginseng, Asian ginseng, โสมคน, หยิ่งเซียม

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

โสมเป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้าน มีรากลึกประมาณ 30 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกเป็นแฉกทรงกระบอกสีเหลืองอ่อน ลำต้นมีความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ลักษณะของใบโสมนั้น จัดเป็นใบประกอบ แต่ละใบจะแตกออกเป็นแฉกๆ สีเขียว ดอกจะออกเป็นช่อในบริเวณส่วนยอด และง่ามใบสีของดอกจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดง

ชนิดของโสมเกาหลี

หากแบ่งตามขั้นตอนและวิธีการเก็บรักษา โสมอาจแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

  • โสมสด คือโสมที่เก็บเกี่ยวเมื่อยังมีอายุไม่เกิน 4 ปี
  • โสมขาว คือโสมที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 ปี ปอกเปลือกแล้วนำไปอบแห้ง
  • โสมแดง คือโสมที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป นำไปนึ่งด้วยไอน้ำแล้วนำไปทำให้แห้ง

การศึกษาผลของโสมเกาหลีที่มีต่อผู้ป่วยโรคต้อหิน

จากการศึกษาผลของโสมเกาหลีในผู้ป่วยโรคต้อหิน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงโสมเกาหลี ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ผลการศึกษาพบว่า โสมเกาหลีแดงจะช่วยให้ความคงตัวของผิวของน้ำตา และอาการตาแห้งของผู้ป่วยดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จึงสามารถสรุปได้ว่า โสมเกาหลีแดงอาจมีฤทธิ์ส่งเสริมในการรักษาอาการตาแห้งในผู้ป่วยโรคต้อหินได้

โสมเกาหลีสามารถปกป้องตับได้หรือไม่?

มีงานวิจัยที่ได้นำรากโสมเกาหลีไปผ่านการอบไอน้ำและอบแห้งจนมีสีดำ แล้วนำไปป้อนหนูแรทขนาด 300 หรือ 600 มิลลิกรัมของน้ำหนักตัวของหนูต่อเนื่องกัน 7 วัน ก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วยการป้อนยาพาราเซตามอลขนาด 250 มิลลิกรัมของน้ำหนักตัวของหนู แล้วสังเกตระดับเอนไซม์ในตับที่เป็นดัชนี้ชี้วัดความเป็นพิษต่อตับ

จากผลการทดลองพบว่า โสมเกาหลีช่วยปกป้องเนื้อเยื่อตับได้ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งสารที่เป็นอนูมูลอิสระได้อีกด้วย จึงสรุปได้ว่า โสมช่วยบรรเทาความเป็นพิษต่อตับจากการได้รับยาพาราเซตามอล ผ่านกลไกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ข้อควรระวังในการรับประทานโสม

  • การรับประทานโสมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น นอนไม่หลับ
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโสม เพราะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการรับประทานโสมในช่วงให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมารดาหรือทารกหรือไม่
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโสม เพราะโสมมีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลช้า
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโสม เนื่องจากโสมอาจส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตได้เล็กน้อย
  • การรับประทานโสมร่วมกับยารักษาเบาหวานหรืออินซูลินอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้นผู้ที่รับประทานยารักษาเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโสมพร้อมกับยา
  • การรับประทานโสมร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน อาจไปกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน และลดประสิทธิภาพของยา

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ฤทธิ์ปกป้องตับจากพิษของยาพาราเซตามอลของโสมดำ (2560)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผลของโสมเกาหลีแดงต่ออาการตาแห้งในผู้ป่วยโรคต้อหิน (2558)
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และ วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ (2542)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม