กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กินยาคุมแล้วสิวขึ้น ปัญหาสุดหนักใจของคุณผู้หญิง

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กินยาคุมแล้วสิวขึ้น ปัญหาสุดหนักใจของคุณผู้หญิง

สิวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละคนมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดได้จากปัจจัยภายนอกเช่น มลภาวะ ฝุ่นควัน หรือการแพ้เครื่องสำอางบางชนิด นอกจากนี้ยังเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเราเอง เช่น ผู้หญิงบางคนมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป หรือคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นก็อาจจะทำให้เกิดสิวได้มากกว่าปกติ แต่สำหรับคุณผู้หญิงบางคนที่เป็นสิวเพราะเกิดจากกินยาคุมนั้นเป็นเพราะอะไร จะแก้ไขอย่างไร บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจ ตามมาดูกันค่ะ

สารพันปัญหาที่เกิดจากการกินยาคุมแล้วสิวขึ้น

  • เปลี่ยนยาคุมแล้วสิวขึ้น
  • สงสัยว่าจะแพ้ยาคุมหรือไม่
  • ควรหยุดหรือทานต่อดี
  • กี่เดือนถึงจะเห็นผล

ทำความเข้าใจกับประเภทของยาคุม

หากพูดถึงประเภทของยาคุมทั้งหมดนั้น มีหลากหลายประเภททั้ง ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประเภทที่นิยามมากที่สุด มีทั้งชนิดกินต่อเนื่องและยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน นอกจากยาเม็ดก็ยังมี ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด หรือยาใช้ทางช่องคลอดเพื่อฆ่าอสุจิเป็นต้น ในที่นี้เราจะกล่าวถึงยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกินต่อเนื่องซึ่งเป็นชนิดที่นิยมมากที่สุด  

1. ยาคุมกำเนิดแบบรวม

เป็นยาคุมที่ทานกันโดยทั่วไป ในตัวยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นมีฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) กับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้จะมีหน้าที่ในการยับยั้งขัดขวาง หรือที่เรียกว่าสร้างอุปสรรค์ในการปฏิสนธิทำให้สามารถท้องได้ ในส่วนของฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นจะเป็นตัวที่ทำให้ไข่ไม่ตก แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงตามมา อย่างเช่น ทำให้ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ หน้าเป็นฝ้า คัดตึงเต้านม หรือที่แย่ที่สุดก็คือการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ในส่วนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้นจะมีหน้าที่ในการเสริมการทำงานของฮอรโมนเอสโตรเจน

2. ยาคุมกำเนิดชนิดตัวยาโปรเจสตินอย่างเดียว

มีข้อดีคือ ไม่มีเอสโตรเจน ทำให้เสี่ยงต่อโรคลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือด ลดน้อยลง, ทำให้ปวดประจำเดือนน้อยลง, เสียเลือดประจำเดือนน้อยลง, ลดอาการต่างๆ ที่มักเป็นในช่วงก่อนจะมีประจำเดือน และที่สำคัญเหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรด้วย

เหตุผลที่กินยาคุมแล้วสิวขึ้น

  1. จากปัญหาของคนที่กินยาคมและสิวขึ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เพราะยาคุมแต่ละยี่ห้อถึงแม้ตัวฮอร์โมนเดียวกันแต่สัดส่วนของฮอร์โมนแต่ละตัวจะแตกต่างกัน ทั้งนี้มีประโยชน์เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่นบางคนเพิ่งเคยกินยาคุมควรเลือกยี่ห่อนที่มีความเข้มข้นของฮอร์โมนน้อย บางคนมีฮอร์โมนเพศชายมากจะต้องเลือกยาคุมที่มีความเข้าข้นของฮอร์โมนสูง เป็นต้น
  2. ปัจจัยทั้งหมดทั้งมวลเหย่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เช่นเป็นไม่เกรน เลือดออกกะปริดกะปรอยรวมทั้งการที่เป็นสิวด้วยเช่นกัน อย่างเช่นการเปลี่ยนยาคุมจากยี่ห้อหนึ่งมาเป็นอีกยี่ห้อที่มีส่วนผสมของฮอร์โมน “Desogestrel” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนคล้ายกับฮอร์โมนเพศชายจึงอาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น
  3. บางคนเกิดสิวที่คาง แต่บางคนอาจเกิดทั่วไปหน้าทั้งนี้อาจเป็นเพราะจากเดิมมีสิวอุดตันอยู่ใต้ผิว ซึ่งเกิดจากการสะสมมาตั้งแต่กินยาคุมตัวแรก ทำให้คุณผู้หญิงตกใจว่าทำไมเปลี่ยนยาแล้วสิวขึ้น ปัญหาเหล่านี้พบได้บ่อยมาก และมักทำให้ไม่มั่นใจว่าควรทำอย่างไรต่อไปดี คำแนะนำก็คือ หากเป็นแผงแรกให้รับประทานต่อจนหมด สิวที่อุดตันอยู่น่าจะค่อย ๆ ลดลงไปจนสิวอุดตันอยู่ใต้ผิวหมดไป
  4. จากนั้นผิวจะค่อย ๆ เกิดการผลัดเซล์ผิวใหม่ สำหรับคนที่ไม่มั่นใจเมื่อเวลาที่เป็นสิวสามารถใช้ยาแต้มสิวร่วมด้วยเพื่อลดอาการอักเสบ ในระหว่างนี้ให้ทำความเข้าใจกับสภาพผิวให้มากและงดการบีบแกะสิว เพื่อป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น
  5. ทั้งนี้อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปหลังจากรับประทานไปแล้ว2-4 แผง บางคนอาจผิวกลับมาสวยใสได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่สำหรับคนที่อาการสิวยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของสิว เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่สิวฮอร์โมน เช่น แพ้เครื่องสำอาง ของใช้ น้ำหอม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยาคุม เป็นยาที่ต้องเลือกฮอร์โมนให้ถูกกับตัวเราโดยเฉพาะเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงไม่สามารถใช้ตามกันได้ บางคนใช้ยี่ห้อหนึ่งดีแต่บางคนทานตามเพื่อนกลับได้ผลลับที่แตกต่างกัน เพราะผู้หญิงแต่ละคนมีระดับฮอร์โมนที่ไม่เท่ากัน บางคนในร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายมากก็ต้องเลือกยาคุมชนิดที่ฮอร์โมนสูง นี่คือเหตุผลที่ทำให้แต่ละคนเกิดผลจากการใช้ยาคุมที่แตกต่างกัน สิ่งที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำได้ดีว่า แต่ละบุคคลนั้นควรเลือกยาคุมแบบใด ลำดับต่อมาคือปรึกษาเภสัชกรซึ่งจะช่วยเลือกยาคุมที่เหมาะสมกับเรารวมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้เช่นกัน 


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acne - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/acne/treatment/)
The Best Oral Acne Medication Options. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/oral-acne-medications-15633)
List of Acne Medications (306 Compared). Drugs.com. (https://www.drugs.com/condition/acne.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป