รู้จักการฝังยาคุม ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่ควรรู้ !

การฝังยาคุมกำเนิดเป็นอย่างไร? อันตรายหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้จักการฝังยาคุม ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่ควรรู้ !

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาคุมกำเนิดแบบฝัง เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.05% หรือ 1 ใน 2,000 คน
  • การฝังยาคุม 1 ครั้ง สามารถคุมกำเนิดได้ 3 ปี โดยจะต้องเข้ารับการฝังยาคุมและถอดยาคุมออกที่โรงพยาบาล หรือคลินิกสูตินรีเวชเท่านั้น
  • ผู้ที่เหมาะจะฝังยาคุมกำเนิด คือ ผู้ที่ชอบลืมรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือไม่สามารถรับประทานยาคุมได้ ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด 3-5 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เคยเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน
  • ผู้ที่ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด เช่น ผู้ที่ไม่แน่ใจว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ ผู้ที่มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคลมชัก
  • ยาคุมกำเนิดแบบฝังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรใช้ถุงยางอนามัยควบคู่กับยาคุมกำเนิดแบบฝังจะเป็นการดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

วิธีคุมกำเนิดโดยใช้การฝังยาคุมกำเนิด หรือ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการฝังฮอร์โมนที่ชื่อ โปรเจสติน (Progestin) ที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนข้างใดข้างหนึ่งซึ่งเป็นข้างที่ไม่ถนัด 

ฮอร์โมนนี้จะถูกเก็บอยู่ภายในหลอด หรือแท่งพลาสติกขนาดเล็กประมาณไม้จิ้มฟันชนิดกลม ซึ่งเมื่อฮอร์โมนโปรเจสตินได้ถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะมีผลให้การเจริญเติบโตของฟองไข่ถูกยับยั้ง ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ จึงไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาฝังคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?

การใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงชนิดเดียวเท่านั้น 

ซึ่งเมื่อซึมออกมาจากแท่งยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ฮอร์โมนนี้จะทำให้ฟองไข่หยุดการเจริญเติบโต จึงทำให้ไม่มีไข่ตกพร้อมที่จะผสมกับเชื้ออสุจิ 

ไม่เพียงเท่านั้น ฮอร์โมนโปรเจสตินยังส่งผลให้มูกที่ปากมดลูกมีลักษณะเหนียวข้น จึงสร้างความยากลำบากให้แก่อสุจิที่จะว่ายผ่านเข้าไป จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาสในการผสมกันระหว่างไข่กับอสุจิ 

อีกทั้งยังทำให้ผนังมดลูกบางลง เป็นการลดโอกาสในการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว การตั้งครรภ์จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน?

เมื่อเทียบกับวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ แล้วการฝังยาคุมกำเนิดถือเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะเป็นรองก็แต่การไม่มีเพศสัมพันธ์เลยเท่านั้น 

ซึ่งวิธีนี้จะทำให้มีโอกาสล้มเหลวที่จะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้เพียง 0.05% หรือ 1 ใน 2,000 คนเท่านั้น โดยการฝัง 1 ครั้ง ยาคุมที่ฝังไว้จะค่อยๆ ปลดปล่อยฮอร์โมนออกมา และสามารถคุมกำเนิดได้ยาวนานถึง 3 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขั้นตอนการฝังยาคุมกำเนิด

การฝังยาคุมกำเนิดสามารถทำได้ตลอดรอบเดือน แต่ก่อนจะเริ่มทำการฝังยาคุมกำเนิดจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่ หลังจากนั้นแพทย์จะทำรอยเล็กๆ เอาไว้ที่บริเวณท้องแขนด้านในข้างที่จะทำการฝังยาเข้าไป 

จากนั้นจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดผิวหนัง และฉีดยาชาที่บริเวณใต้ท้องแขน เสร็จแล้วแพทย์จะเปิดแผลที่ท้องแขนออกโดยการใช้เข็มนำ ซึ่งแผลที่เปิดออกนี้จะมีความกว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตร จากนั้นจึงจะนำแท่งตัวนำหลอดบรรจุยาสอดใส่เข้าไปข้างใน

พอฝังหลอดยาเข้าภายในร่างกายแล้ว แท่งนำยากับเข็มนำก็จะถูกถอนออก จากนั้นจะใช้ปลาสเตอร์เล็กๆ ปิดแผลแล้วใช้ผ้าพันแผลพันทับอีกทีหนึ่งก็เป็นอันเรียบร้อย โดยจะพันแผลทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง 

เมื่อนำผ้าพันแผลออกแล้วจะปรากฏเป็นรอยฟกช้ำ และมีอาการเจ็บแขนตรงจุดที่ฝังยาเล็กน้อยอยู่ราวๆ 1 สัปดาห์ จากนั้นรอยฟกช้ำจะเริ่มหายไป และภายในระยะเวลา 3 – 5 วัน แผลก็จะค่อยๆ หายเป็นปกติ

แต่ในระยะเวลา 7 วันหลังจากที่ทำ ห้ามให้แผลถูกน้ำ และแพทย์จะนัดตรวจดูบาดแผลหลังจากที่ทำไปได้ 7 วัน

ขั้นตอนของการถอดยาฝังคุมกำเนิดออก

ในขั้นตอนการถอดยาฝังคุมกำเนิดออกจะทำให้เกิดบาดแผลที่ใหญ่กว่าตอนใส่เข้าไปเล็กน้อย และอาจจำเป็นต้องใช้ไหมในการเย็บแผล 1 เข็ม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์จะฉีดยาชาแต่เพียงเล็กน้อยบริเวณด้านใต้ส่วนปลายของแท่งฮอร์โมน แล้วจึงกรีดผิวหนังออกเป็นแผลขนาดเล็ก เสร็จแล้วจึงใช้อุปกรณ์ดึงเอาแท่งฮอร์โมนออกมา 

โดยจะกลับมามีประจำเดือนตามปกติภายในเวลา 1–12 เดือนหลังจากที่ได้ถอดยาออกไปแล้ว และจะเริ่มมีไข่ตกประมาณ 1–3 เดือน

เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดได้ที่ไหนบ้าง?

ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดแบบการฝังยา สามารถติดต่อขอรับบริการฝังยาคุมกำเนิดได้ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด หรืออาจจะสอบถามไปที่คลินิกสูตินรีเวชต่างๆ ก็ได้ โดยจะใช้ระยะเวลาในการทำไม่เกิน 10–20 นาทีเท่านั้น

ผู้ที่เหมาะจะฝังยาคุมกำเนิด

ผู้ที่เหมาะกับการใช้วิธีฝังยาคุมกำเนิดนั้น คือ ผู้ที่มักจะลืมรับประทานยาคุมกำเนิดอยู่เป็นประจำ หรือต้องการวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ และต้องการที่จะคุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 3–5 ปีขึ้นไป 

หรือผู้ที่ไม่สามารถที่จะใช้วิธีคุมกำเนิดรูปแบบอื่นซึ่งต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เช่น ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างให้นมลูก (จะใช้วิธีฝังยาคุมกำเนิดได้เมื่อทารกอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป) 

หรือผู้ที่เคยเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน เนื่องจากการฝังยาคุมกำเนิดซึ่งมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันน้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบรวม

ผู้ที่ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด

การฝังยาคุมกำเนิดอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยารักษาโรคบางชนิด หรืออาการผิดปกติต่างๆ บุคคลเหล่านี้จึงไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด ซึ่งได้แก่

  • ผู้ที่สงสัย หรือไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ ซึ่งหากต้องการฝังยาคุมกำเนิด ก็ควรลองทดสอบการตั้งครรภ์ดูก่อน

  • ผู้ที่บริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศมีเลือดออกผิดปกติ โดยไม่รู้สาเหตุ รวมถึงผู้ที่มีเลือดออกง่ายด้วย

  • ผู้ที่เป็นมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม หรือว่าเคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน หรือมีเนื้องอกที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน เพราะการฝังยาอาจไปกระตุ้นได้นั่นเอง

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคลมชัก โรคถุงน้ำดี หากต้องการฝังยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด

  • ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดที่ทำให้ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพลดลง เช่น ยารักษาอาการติดเชื้อ HIV ยาต้านชัก ยารักษาวัณโรค และยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น rifabutin rifampicin หรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด เช่น St John's wort

ผลข้างเคียงยาฝังคุมกำเนิด

แม้ว่ายาฝังคุมกำเนิดจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุด และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ แต่ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้

  • ในช่วง 2–3 เดือนแรก อาจพบว่าประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะมาแบบกะปริดกะปรอย หรือมีอาการตกขาวมาก หรือบางรายอาจจะมีประจำเดือนมามากติดต่อกันนานหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนอาจขาดไปเลยก็มีซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดแต่ไม่เป็นอันตราย

    สามารถช่วยให้อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยลดน้อยลงได้ โดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.05 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน

  • อาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนในช่วง 2 – 3 เดือนแรก และอาจรู้สึกปวดแขนตรงบริเวณที่ฝังยาคุมกำเนิดได้

  • แผลที่ฝังยาอาจมีอาการอักเสบหรือเกิดเป็นรอยแผลเป็นได้

  • มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ในช่วงแรก

  • มีอารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดและอารมณ์เสียบ่อยๆ

  • รู้สึกปวดหรือเจ็บบริเวณเต้านม และอาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดต่ำ

  • หากมีการตั้งครรภ์ อาจเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกขึ้นได้ง่าย

  • อาจเกิดสิว มีขนดก และมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลจากตัวยานั่นเอง

ฝังแล้วประจำเดือนไม่มา เป็นอันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้วหลังจากฝังยาคุมกำเนิด คนส่วนใหญ่มักจะไม่มีประจำเดือนมา เนื่องจากเป็นผลของฮอร์โมนในยาคุมที่ฝังเข้าไปนั่นเอง ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ไม่เป็นอันตรายใดใด

สำหรับบางคนอาจมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยได้ แต่ปัญหาเหล่านี้จะลดน้อยลงหลังจากผ่านหนึ่งปีไปแล้ว 

ดังนั้นหากประจำเดือนมาก็ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ยิ่งในคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 70 กิโลกรัมด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสที่ประจำเดือนมาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เว้นแต่ประจำเดือนมามากและมาแบบไม่หยุด ควรไปพบแพทย์โดยด่วน

การฝังยาคุมกำเนิด เป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ และคุมได้ในระยะยาว เพราะฉะนั้นใครที่ต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ก็เหมาะที่จะคุมกำเนิดด้วยการฝังยาคุมกำเนิดมากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม วิธีการฝังยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นควรใช้วิธีการคุมกำเนิดชนิดนี้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยจะเป็นการดีที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Andrea R. Resseguie, Contraception Choices for Women at Risk for Venous Thromboembolism (https://www.pharmacytimes.com/publications/issue/2014/june2014/contraception-choices-for-women-at-risk-for-venous-thromboembolism ), 16 June 2014
NHS, Contraceptive implant (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/contraceptive-implant/), 22 January 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนเป็นประจําเดือน
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้

อ่านเพิ่ม
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่

อ่านเพิ่ม