ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่?

มีผู้หญิงรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงระดับของเอสโตรเจนส่งผลต่อน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในช่วงวัยทอง พวกเขาอาจสังเกตว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือลดน้ำหนักได้ยากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูความสัมพันธ์ระหว่างระดับของเอสโตรเจนในผู้หญิงและน้ำหนักตัว รวมถึงสิ่งที่เราต้องทำ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

วัยทอง เอสโตรเจน และน้ำหนักตัว

มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เอสโตรเจนในผู้หญิงมีระดับต่ำลง ซึ่งหนึ่งในสาเหตุทั่วไปที่พบได้มากที่สุดคือ วัยทองซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ลดลง ผู้หญิงหลายคนสังเกตว่าตัวเองมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้อย่างไรก็ดี การมีระดับของฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปก็สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นกัน เอสโตรเจนในรูปแบบที่เรียกว่า Estradiol จะลดลงในช่วงวัยทอง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยควบคุมเมทาบอลิซึมและน้ำหนักตัว การมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำอาจทำให้คุณอ้วนขึ้นนอกจากเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับเอสโตรเจนแล้ว ผู้หญิงสูงอายุมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวน้อยลง และมีมวลกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งหมายความว่าพวกเธอเผาผลาญแคลอรีในระหว่างวันได้น้อยลง จึงไม่แปลกว่าทำไมน้ำหนักตัวถึงเพิ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เอสโตรเจนเสียสมดุล

  • โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome - PCOS): ผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS จะรู้สึกเจ็บที่ท้อง และมีซีสต์ที่รังไข่ ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมน ทั้งนี้ PCOS เป็นโรคที่ผู้หญิงมีซีสต์ขนาดเล็กในรังไข่ และเกิดการเสียสมดุลของฮอร์โมนหลายชนิด พวกเธออาจมีระดับของเทสโทสเตอโรนสูง และมีเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรนที่ไม่สมดุล ผู้หญิงที่เป็นโรคดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีปัญหากับการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเป็นโรคหัวใจ
  • ช่วงให้นมลูก: ระดับของเอสโตรเจนจะยังคงต่ำหลังจากที่ผู้หญิงคลอดลูกและในขณะที่ให้นมลูก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังกล่าวช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมและป้องกันการตกไข่
  • ไม่มีรังไข่: ผู้หญิงที่ผ่าตัดนำรังไข่ออกจะเข้าสู่วัยทองอย่างฉับพลัน ร่างกายจะไม่ปล่อยไข่ออกมา หรือไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป
  • โรคอะนอเร็กเซีย: โรคอะนอเร็กเซียเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการทานอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับแคลอรีไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะหิวกระหาย และทำให้ร่างกายผลิตเอสโตรเจนลดลง
  • ออกกำลังกายอย่างหนัก: การออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เพราะมีระดับของไขมันในร่างกายต่ำ

เอสโตรเจนคืออะไร?

เอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่ง และจะมีบทบาทเมื่อเราเข้าสู่วัยหนุ่มสาวและมีประจำเดือน นอกจากนี้เอสโตรเจนยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ช่วยควบคุมระดับของคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้กระดูกมีสุขภาพดี ปกป้องสมองและอารมณ์ ฯลฯ ทั้งนี้รังไข่เป็นอวัยวะหลักที่มีหน้าที่ผลิตเอสโตรเจน ในขณะที่ต่อมหมวกไต และเนื้อเยื่อไขมันก็มีส่วนช่วยในการผลิตเอสโตรเจน แต่เป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการของคนที่มีเอสโตรเจนต่ำ

  • ประจำเดือนมาผิดปกติหรือขาดประจำเดือน
  • ร้อนวูบวาบ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • เป็นโรคนอนไม่หลับ
  • ช่องคลอดแห้ง
  • ความต้องการทางเพศต่ำ
  • อารมณ์แปรปรวนหรือหงุดหงิดง่าย
  • ปวดศีรษะ
  • ผิวแห้ง

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีอาการใดอาการหนึ่งควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน และตัดสินว่ามันเป็นเพราะเอสโตรเจนเสียสมดุลหรือไม่

วิธีรับมือกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการมีเอสโตรเจนที่ไม่สมดุลหรือไม่ก็ตาม คุณก็ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและหมั่นออกกำลังกาย สำหรับการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักหมายถึงสิ่งเหล่านี้

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป
  • ทานผลไม้และผักในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก
  • ดื่มน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่ผสมน้ำตาล และแอลกอฮอล์
  • ทานธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนแบบลีน และไขมันชนิดดีที่พบได้ในพืช

นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องสำคัญต่อการจัดการกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเอสโตรเจน นอกจากการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ หรือเดิน คุณควรเพิ่มการออกกำลังกายชนิดที่เรียกว่า Strength training เพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อและช่วยให้กระดูกมีสุขภาพดี

การมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในผู้หญิงวัยทอง การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณรับมือกับน้ำหนักได้ดีที่สุด หากพบความผิดปกติใดๆ คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...321837.php

 

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hormone Therapy Helps Prevent Belly Fat in Midlife. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/menopause/can-hormone-therapy-menopause-prevent-weight-gain/)
Menopause weight gain: Stop the middle age spread. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/menopause-weight-gain/art-20046058)
What is the impact of estrogen on weight gain and menopause?. WebMD. (https://www.webmd.com/menopause/qa/what-is-the-impact-of-estrogen-on-weight-gain-and-menopause)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป