6 วิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดขณะแว็กซ์ขน

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดขณะแว็กซ์ขน

การมีผิวที่เรียบเนียนอาจเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่นอกจากเราจะใช้วิธีโกนขนหรือถอนขนแล้ว การแว็กซ์ขนก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากไม่แพ้กัน เพราะมันช่วยกำจัดเส้นขนได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแว็กซ์ขนจะมีข้อดีตามที่เรากล่าวไป แต่มันก็สามารถทำให้เรารู้สึกเจ็บเช่นกัน หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มักประสบปัญหานี้ วันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดขณะแว็กซ์ขน มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. หลีกเลี่ยงการแว็กซ์ขนระหว่างมีประจำเดือน

มีงานวิจัยพบว่า เอสโตรเจนจะส่งผลต่อกระบวนการรับความรู้สึกของร่างกาย ในระหว่างที่มีประจำเดือน เอสโตรเจนจะอยู่ในระดับสูงสุด ทำให้เรารู้สึกไวต่อความเจ็บปวดมากเป็นพิเศษ  ดังนั้นถ้าอยากรู้สึกเจ็บน้อยลง ให้คุณหลีกเลี่ยงการไปร้านแว็กซ์ขนในช่วงเวลานี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

2. ขัดผิวและเติมความชุ่มชื้นให้ผิว

การขัดผิวก่อนแว็กซ์ขนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันสามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและลดปัญหาขนคุด ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บขณะแว็กซ์ขน อย่างไรก็ตาม ให้คุณขัดผิวก่อนแว็กซ์ขน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ถ้าคุณมีผิวแห้งและผิวตกสะเก็ดที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนในขณะที่แว็กซ์ขน ให้คุณเติมความชุ่มชื้นให้ขาหลังอาบน้ำ โดยให้ทำ 2-3 ชั่วโมงก่อนกำจัดขน

3. ฟังเพลง

ครั้งต่อไปที่คุณมีนัดแว็กซ์ขนที่ร้านเสริมความงาม ให้คุณพกหูฟังไปด้วยค่ะ เพราะมีหลายงานวิจัยพบว่า การใช้เพลงที่ชอบมาดึงความสนใจอาจช่วยให้ความเจ็บมีความรุนแรงน้อยลง อย่างไรก็ตาม นอกจากฟังดนตรีแล้ว คุณอาจเลือกฟังเป็น Audio books หรือ Podcast ก็ได้ค่ะ

4. ใช้เทคนิคช่วยบรรเทาความปวด

หากความเจ็บปวดมากเกินกว่าที่คุณจะทนไหว ให้คุณลองหาซื้อยาชาแบบครีมที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และให้คุณทาครีมที่ผิว 30 นาทีก่อนแว็กซ์ขน นอกจากนี้คุณอาจทานยาช่วยบรรเทาปวดอย่างไอบูโพรเฟน 30 นาทีก่อนกำจัดขน ซึ่งการทำสองอย่างนี้จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเจ็บ อย่างไรก็ตาม ถ้าผิวของคุณมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือคุณกำลังอยู่ในช่วงทานยาบางชนิด ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีนี้

5. แว็กซ์ขนเป็นประจำ

การมีผิวที่เรียบเนียนไม่ได้เป็นเพียงแรงจูงใจเดียวที่ทำให้เราแว็กซ์ขนเท่านั้น แต่การแว็กซ์ขนเป็นประจำยังช่วยให้เส้นขนมีความอ่อนตัวลง ทำให้การแว็กซ์ขนง่ายขึ้น และทำให้คุณรู้สึกเจ็บน้อยลง นอกจากนี้ร่างกายจะสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ถ้าคุณลองแว็กซ์ขนที่บ้าน ให้คุณดึงขนในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับทิศทางการงอกของเส้นขน ซึ่งมันอาจช่วยให้คุณรู้สึกเจ็บน้อยลงเช่นกัน

6. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน

ก่อนที่คุณจะแว็กซ์ขน ให้คุณหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนค่ะ เพราะมีงานวิจัยพบว่า คาเฟอีนจะทำให้ความทนทานต่อความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในผู้หญิง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มแรกเท่านั้น และนักวิจัยยังไม่สามารถพบความเชื่อมโยงระหว่างคาเฟอีน และความทนทานต่อความเจ็บปวดได้อย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การไปแว็กซ์ขนที่ร้านก็นับว่าเป็นความคิดที่ดี เพราะการทำด้วยตัวเองอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ไม่ว่าคุณจะแว็กซ์ขนเป็นประจำหรือบางครั้ง การทำตามวิธีที่เราแนะนำข้างต้นก็อาจช่วยให้ความเจ็บบรรเทาลงได้ค่ะ

ที่มา: https://india.curejoy.com/cont...


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The No BS Guide to Safe At-Home Waxing. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/at-home-diy-waxing)
Waxing at Home: Products, Pros and Cons, What to Expect. WebMD. (https://www.webmd.com/beauty/features/pros-and-cons-of-diy-waxing#1)
Dealing With the Side Effects of Waxing. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/dealing-with-the-side-effects-of-waxing-2616682)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม

คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมง่ายๆ ทำให้สามารถเพิ่มการขยับร่างกายได้มากขึ้น

อ่านเพิ่ม
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่

อ่านเพิ่ม
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม