กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการ PMS เป็นอาการที่ร่างกายผู้หญิงจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน มีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงส่งต่อได้ทางพันธุกรรม
  • อาการ PMS ทางกายโดยหลักๆ คือ สิวขึ้น ใจสั่น ปวดศีรษะ อยากอาหารมากกว่าปกติ คัดตึงเต้านม รู้สึกร้อนวูบวาบกว่าปกติ
  • อาการ PMS ทางจิตใจโดยหลักๆ คือ หงุดหงิดง่ายขึ้น อารมณ์แปรปรวน อ่อนไหว หรือรู้สึกเศร้าง่ายกว่าปกติ ไม่มีสมาธิในการทำงาน
  • การพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย งดรับประทานอาหารบางชนิดอย่างไข่ เนื้อสัตว์ รับประทานวิตามินเพิ่มเติม ก็มีส่วนทำให้อาการ PMS เบาลงได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยมีความทุกข์เป็นประจำในทุกๆ เดือนจากอาการ "PMS (พีเอมเอส)" ย่อมาจาก "Premenstrual syndrome" ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นราว 7-10 วัน ก่อนมีประจำเดือนในแต่ละรอบ 

อาการ PMS นี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่จะมีอาการ PMS

ผู้หญิงราว 75 %  โดยเฉพาะช่วงอายุ 25-40 ปี  มีอาการ PMS ก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 5-11 วัน และอาการจะดีขึ้นหลังประจำเดือนมาได้ 4-7 วัน  

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางคนก็มีอาการ PMS เป็นครั้งคราว ไม่ทุกรอบเดือน  อาการ PMS เกิดได้ตลอดระยะเวลาที่มีประจำเดือน คือ ตั้งแต่เริ่มแรกของการมีประจำเดือนเมื่ออายุราว 15 ปีขึ้นไป และสิ้นสุดลงต่อเมื่อหมดประจำเดือนแล้ว 

เมื่ออายุราว 48 ปี ขึ้นไป นับว่าเป็นระยะเวลานานหลายสิบปีที่ผู้หญิงหลายคนต้องมีความทุกข์ทรมานจากกลุ่มอาการ PMS เนื่องจากเป็นอาการมีผลทั้งต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจ

กลุ่มอาการ PMS 

อาการ PMS จะแสดงออกมาหลักๆ 2 ส่วนได้แก่

1. อาการแสดงออกทางร่างกาย 

  • กระหายน้ำ 
  • สิวขึ้น  
  • หลงลืมง่าย 
  • นอนไม่หลับ 
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ ใจสั่นเป็นครั้งคราว 
  • ปวดศีรษะ เวียนหัวง่าย 
  • ปวดท้อง 
  • คลื่นไส้ ท้องอืด กินมากกว่าปกติ 
  • ความอยากอาหารและความชอบอาหารเปลี่ยนไป เช่น อยากกินอาหารหวานจัด หรือเค็มจัด  
  • มักมีน้ำคั่งในตัวมาก ทำให้อึดอัด มือ เท้า และหน้าบวม 
  • เจ็บ หรือคัดตึงเต้านม 

เมื่อประจำเดือนมาอาการเหล่านี้มักจะดีขึ้น บางคนอาจหายราวกับปลิดทิ้ง แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาใหม่ในรอบเดือนต่อไป และเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดประจำเดือน

2. อาการที่แสดงออกทางจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก 

  • อารมณ์แปรปรวนง่าย  
  • หงุดหงิด  
  • ฉุนเฉียว 
  • หุนหันพลันแล่น 
  • ซึมเศร้า  ร้องไห้ง่าย 
  • กระวนกระวาย 
  • ไม่มีสมาธิ 

กลุ่มอาการ PMS หรืออาการที่มีก่อนประจำเดือนจะมานั้น ไม่เพียงแต่จะทำให้เจ้าตัวเดือดร้อนเท่านั้นแต่ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อผู้คนรอบข้าง ทั้งคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และคนในที่ทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานก็อาจจะลดลงด้วย บางคนมีอาการรุนแรงมาก บังคับตัวเองไม่อยู่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุการเกิดอาการ PMS 

ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงบางคนมีอาการ PMS ในขณะที่ผู้หญิงอีกจำนวนหนึ่งไม่เคยมีอาการดังกล่าวเลย สันนิษฐานว่า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮฮร์โมนเพศหญิง และสารเคมีบางอย่างในแต่ละรอบเดือน 

1. ความไม่สมดุลของสารเคมี และฮอร์โมนหลายตัวในระยะที่ไข่สุกแล้ว 

อาจแบ่ง 28 วัน ของหนึ่งรอบประจำเดือนเป็น 2 ระยะ   ระยะแรก คือ ระยะที่ไข่เติบโต ในระยะนี้ไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ระยะที่สองเป็นระยะที่ไข่สุก เมื่อไข่ตกจากรังไข่ไปรอการผสมพันธุ์ที่มดลูกจึงมีอาการ PMS เกิดขึ้น  

โดยอาการ PMS นั้นเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมี และฮอร์โมนหลายตัวในระยะที่ไข่สุกแล้ว  โดยสารที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ เอสโตรเจน (estrogen) โปรเจสเตอร์โรน (Progesterone) เอนดรอฟิน (endrophin)  และระดับเซโรโทนิน (serotonin) ในสมอง 

ดังนั้นจึงแนะนำให้แก้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนด้วยการให้ฮอร์โมนเป็นยา แต่ก็ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการ PMS ของผู้หญิงทุกคนได้ แสดงว่า อาการนี้ไม่ได้เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเท่านั้น

2. ปัจจัยด้านพันธุกรรม  

ผู้ที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็น PMS มาก่อน ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดอาการ PMS ได้เช่นกัน โดยพบว่า  ในคู่ฝาแฝดมีโอกาสสูงที่จะเป็น PMS ได้ทั้งคู่ โดยมีปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย 

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า มีความสัมพันธ์ของอาการของรอบประจำเดือนระหว่างแม่ และลูกสาว และระหว่างพี่สาว และน้องสาว ซึ่งสนับสนุนเรื่องปัจจัยด้านพันธุกรรมมีผลต่อเกิด PMS 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมถือเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั่น ยังมีอีกหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะเฉพาะบุคคล ระดับความเครียด กลไกการเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งยังมีหลักฐานจากการศึกษาน้อยในการสนับสนุนสมมติฐาน

3. การดื่มแอลกอฮอล์   

ผู้หญิงที่เป็น PMS ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิงปกติ และในผู้หญิงที่มีประวัติอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีคนติดแอลกอฮอล์ มักมีอาการของ premenstrual anxiety และอาการทางพฤติกรรมอื่นๆ มากกว่า 

วิธีบรรเทาอาการ PMS 

ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถค้นคว้าหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ PMS ได้  ต้องหาวิธีบรรเทาอาการไปพลางก่อน ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายวีธีแล้วแต่ต้องการบรรเทาอาการใด 

ผู้หญิงที่มีอาการ PMS บางรายจะใช้ยาแก้ไข้ยาแก้ปวด ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ยาแก้อาการแพ้ ยาระงับประสาท ยาบำบัดความอยากอาหาร ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำคั่ง คนที่มีอาการทางจิตอย่างหนักอาจต้องอาศัยยากลุ่มประสาทตามคำสั่งของจิตแพทย์

  1. ยาที่มีหลักฐานพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการรักษา PMS ได้แก่ ยา สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ยาอัลปราโซแลม (alprazolam) ยาคุมกำเนิด GnRH agonist oral contraceptives  (Drospirenone combined with low estrogen)  
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือหากิจกรรมที่ชอบทำ เพื่อไม่ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับภาวะอารมณ์ระหว่างเกิดอาการ PMS
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะอาการอ่อนเพลียก็มีส่วนทำให้อาการ PMS รุนแรงขึ้นได้
  4. ตรวจสุขภาพ ตรวจภายใน หรือตรวจระดับฮอร์โมน เมื่อประจำเดือนรอบนั้นหมด เพื่อที่หากมีความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการ PMS รุนแรงขึ้น ก็จะได้รีบทำการรักษาอย่างเหมาะสม หรือรับคำแนะนำในการดูแลตนเองจากแพทย์
  5. อาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่บางคนคิดว่าอาจใช้บำบัดอาการ PMS ได้   บางคนงดอาหารบางอย่าง เช่น ไข่ หรือเนื้อสัตว์ ก่อนประจำเดือนจะมา แต่ยังไม่ปรากฏว่า อาหารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ หรือบรรเทาอาการดังกล่าวได้ 
  6. การลดน้ำหนักเป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจช่วยให้อาการ PMS คลายความรุนแรงลง เข้าใจว่า เมื่อผู้หญิงที่น้ำหนักเกินเกณฑ์เมื่อลดน้ำหนักตัวลงจะช่วยให้ฮอร์โมนในเลือดสมดุลขึ้น
  7. วิตามินบี 6 อาจช่วยบรรเทาอาการได้จนทำให้ผู้หญิงบางคนกินวิตามินบี 6 ชนิดเม็ดเสริมมากเกินขนาด ถึงขั้นทำลายเส้นประสาท ปัจจุบันรู้กันแล้วว่า การเสริมวิตามินบี 6 ไม่มีผลอย่างไรต่ออาการ พีเอมเอส. (PMS)
  8. พักผ่อนให้เพียงพอ  

สังเกตตัวเองว่ามี อาการ PMS หรือไม่ แล้วลองทำตามคำแนะนำนี้ เชื่อแน่ว่า อาการ PMS ที่แสนทรมานใจคุณผู้หญิงทั้งหลายในแต่ละรอบเดือนอาจจะลดน้อยลงบ้าง ไม่มากก็น้อย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Steiner M, Born L. Diagnosis and treatment of premenstrual dysphoric disorder: an update. International clinical psychopharmacology. 2000
Fritz MA, Speroff L. Clinical gynecologic endocrinology and infertility. 8th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2011

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาเลื่อนประจำเดือน
ยาเลื่อนประจำเดือน

วิธีการใช้ยาเลื่อนประจำเดือนและการใช้ยาเลื่อนประจำเดือนให้มาเร็วขึ้น

อ่านเพิ่ม
ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน
ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน

ก่อนจะมาเป็นผ้าอนามัยแบบปัจจุบันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? และผู้หญิงสมัยก่อนจัดการกับประจำเดือนกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม