ฮอร์โมนโพรแลคตินนี้จะช่วยควบคุมการมีประจำเดือนของผู้หญิงและการผลิตอสุจิของผู้ชาย
โพรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ใกล้กับส่วนล่างของสมอง การสร้างโพรแลคตินนั้นจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนอื่นๆที่เรียกว่า prolactin-inhibiting factors ซึ่งได้แก่ โดพามีน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมักจะมีโพรแลคตินในเลือดน้อยอยู่แล้ว ในผู้ชายนั้น โพรแลคตินจะช่วยในเรื่องของการผลิตตัวอสุจิ ส่วนในผู้หญิงจะช่วยควบคุมวงจรของประจำเดือนและทำให้หน้าอกขยายและโตขึ้น เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ระดับโพรแลคตินจะเพิ่มขึ้น และพอเด็กคลอดออกมาแล้วระดับโพรแลคตินที่สูงมากๆนั้นจะทำให้มีการผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารกนั่นเอง
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ภาวะโพรแลคตินในเลือดสูงคืออะไร
หญิงหรือชายที่มีโพรแลคตินในเลือดสูงเกินไปจะมีภาวะที่เรียกว่า ภาวะโพรแลคตินในเลือดสูง (hyperprolactinemia) การที่ระดับโพรแลคตินสูงขึ้นอาจส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนได้ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ข้อมูลจาก สมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งอเมริกา (ASRM) กล่าวว่า ในปีที่ให้กำเนิดบุตรนั้น หญิงที่คลอดบุตรจะมีรอบเดือนผิดปกติแต่รังไข่ก็ยังเป็นปกติดี ซึ่งหนึ่งในสามของหญิงเหล่านี้จะมีภาวะโพรแลคตินในเลือดสูงหญิงที่มีภาวะโพรแลคตินในเลือดสูงยังสามารถใช้ยาคุมกำเนิดได้ เพื่อไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นหรือเพื่อดูแลรอบของประจำเดือนให้เป็นปกติ แม้จะมีโพรแลคตินนเลือดสูง แต่ผู้หญิงบางคนก็ไม่มีอาการใดๆบ่งบอกเลย ในขณะที่บางคนอาจมีอาการต่อไปนี้:
- มีปัญหาในการตั้งครรภ์
- มีน้ำนมไหลถึงแม้จะไม่ได้ท้อง
- เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีการตกไข่เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเตอโรนเปลี่ยนไป
- ประจำเดือนมาผิดปกติหรือประจำเดือนไม่มา
ในผู้ชายนั้น หากระดับโพรแลคตินสูงๆสามารถทำให้:
- มีน้ำนมไหลออกจากหัวนม
- อวัยวะไม่แข็งตัว
- ความต้องการทางเพศลดลง
- มีบุตรยาก
- ผลิตอสุจิได้น้อยหรือไม่สามารถผลิตอสุจิได้
หากคุณมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อวัดระดับโพรแลคติน
ระดับโพรแลคตินสูงอาจบ่งบอกว่าร่างกายคุณกำลังมีอาการดังต่อไปนี้:
- เกิดการระคายเคืองหรือมีบาดแผลที่ผนังหน้าอก เกิดจากรอยแผลเป็นจากการผ่าาตัด โรคงูสวัด หรือปัจจัยอื่นๆ
- โรค Hypothalamic disease (ปัญหาเกี่ยวกับส่วนหนึ่งของสมองที่ชื่อว่า ไฮโปทาลามัส)
- ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ)
- โรคไต
- เนื้องอก prolactinoma เป็นเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองที่จะผลิตโพรแลคติน (ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้ในหญิงอายุต่ำกว่า 50 ปี)
- เนื้องอกต่อมใต้สมองและโรคอื่น ๆ
แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยที่มีภาวะโพรแลคตินในเลือดสูงมากถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ภาวะดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจาก:
- ยาบางชนิดที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้า โรคจิต หรือความดันโลหิตสูง
- สมุนไพร เช่น ลูกซัด เม็ดยี่หร่า และเรด โคลอเวอร์
- ความเครียดที่มากเกินไปหรือการออกกำลังกายที่รุนแรง
- อาหารบางชนิด
- การกระตุ้นหัวนม
การรักษาระดับฮอร์โมนโพรแลคติน
ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกในการรักษาโรคขาดโพรแลคตินหรือการมีโพรแลคดตินสูง ถ้าแพทย์ไม่สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของระดับโดรแลคตินที่ผิดปกติของคุณได้ หรือหากระดับโพรแลคตินคุณสูงขึ้นเนื่องจากเนื้องอกเล็กๆที่ต่อมใต้สมองแต่ร่างกายคุณยังสามารถผลิตเอสโทรเจนได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ในผู้ป่วยบางรายจะพบว่าอาจต้องใช้ยาหรือการผ่าตัดในการรักษา ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าภาวะโพรแลคตินที่ผิดปกตินี้เกิดมาจากสาเหตุใด โดยส่วนใหญ่แล้วยาที่ใช้ในการรักษาคือ cabergoline และ bromocriptine ซึ่งจะต้องทานยานี้จนกว่าระดับโพรแลคตินจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรือจนกว่าคุณจะท้อง (ในกรณีที่คุณอยากจะท้องอยู่แล้ว) ถ้าเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองมีขนาดใหญ่และเป็นเหตุให้ระดับโพรแลคตินของคุณสูงขึ้น อีกทั้งการทานยาก็ไม่ช่วยรักษาอาการของคุณได้แล้วล่ะก็ หมออาจจะต้องแนะนำให้คุณใช้วิธีผ่าตัดเอาเนื้องอกนั้นออก
เป็นเนื้องอกในมดลูกอันตรายมากไหมค่ะ