กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ลูกซัด (Fenugreek)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

ข้อมูลภาพรวมของลูกซัด

ลูกซัด (Fenugreek) คือสมุนไพรที่คล้ายกับโคลเวอร์ที่พบตามภูมิภาคแถบเมอร์ดิเทอร์เรเนียน, ยุโรปใต้, และเอเชียตะวันตก เมล็ดลูกซัดถูกใช้ประกอบอาหาร, ใช้ทำยา, หรือใช้กลบรสชาติของยาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากลูกซัดเป็นเมล็ดที่มีกลิ่นแรงและมีรสชาติคล้ายกับไซรัปเมเปิ้ล อีกทั้งใบจากต้นลูกซัดเองก็สามารถรับประทานเป็นผักได้อีกด้วย

ผู้คนรับประทานลูกซัดเพื่อบรรเทาปัญหาในระบบย่อยอาหารต่างๆ เช่น ภาวะเบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องผูก กระเพาะอักเสบ (gastritis) อีกทั้งยังมีการใช้ลูกซัดรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปวดประจำเดือน สตรีวัยหมดประจำเดือน โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) ข้ออักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และโรคอ้วน (obesity) ลูกซัดยังถูกใช้กับภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของหัวใจอย่าง “หลอดเลือดแดงแข็ง” (atherosclerosis) และระดับไขมันบางชนิดในเลือดอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์สูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลูกซัดถูกใช้รักษาโรคไต, ภาวะที่เกิดจากการขาดขาดวิตามินอย่างโรคเหน็บชา (beriberi), แผลในปาก, แผลน้ำร้อนลวก, หลอดลมอักเสบ (bronchitis), เนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังติดเชื้อ (cellulitis), วัณโรค (tuberculosis), ไอเรื้อรัง, ปากแตก, หัวล้าน, มะเร็ง, โรคพากินสัน (Parkinson's disease), และเพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกาย

สำหรับผู้ชายบางคนได้ใช้ลูกซัดเพื่อรักษาโรคไส้เลื่อน (hernia), ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED), มีบุตรยาก, และปัญหาทางเพศชายอื่นๆ อีกทั้งลูกซัดยังถูกใช้เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศของทั้งเพศชายและหญิงได้

ผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรก็สามารถทานลูกซัดเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำนมได้ด้วย

ลูกซัดสามารถนำไปใช้เป็นยาพอกได้ด้วย ซึ่งก็คือการนำผ้าพันรอบลูกซัด นำไปอุ่น และประคบที่ผิวหนังรักษาอาการเจ็บปวดและอักเสบเฉพาะจุด, ปวดกล้ามเนื้อ, และเจ็บปวดจากต่อมน้ำเหลือง (lymphadenitis), เจ็บข้อจากโรคเก๊าท์, ประคบบาดแผล, แผลเท้า, และโรคผิวหนัง (eczema) ได้ด้วย

ลูกซัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารได้อีกเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นพืชที่นำไปผลิตเลียนกลิ่นเมเปิ้ลไซรัป, แต่งกลิ่นในอาหาร, เครื่องดื่ม, หรือแม้แต่ยาสูบ

ในอุตสาหกรรมมีการใช้สารสกัดจากลูกซัดในสบู่และเครื่องสำอางต่าง ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลูกซัดออกฤทธิ์อย่างไร?

ลูกซัดมีฤทธิ์ในการค่อย ๆ ดูดซับน้ำตาลในกระเพาะอาหารและกระตุ้นอินซูลินขึ้น โดยสรรพคุณทั้งสองประการนี้จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้

การใช้และประสิทธิภาพของลูกซัด

ภาวะที่อาจใช้ลูกซัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยบางชิ้นได้พบว่าการบริโภคเมล็ดลูกซัดร่วม/ผสมกับอาหารจะลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ลง อย่างไรก็ตามการทานเมล็ดลูกซัดเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันในปริมาณ 5-50 กรัมเท่านั้นที่อาจจะได้ผล ปริมาณที่น้อยกว่า 2.5 กรัมอาจไม่แสดงผลลัพธ์ใด ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1 การทานผงจากเมล็ดลูกซัด 50 กรัมสองครั้งต่อวันอาจสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะได้
  • ปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) การทานผงเมล็ดลูกซัด 1800-2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงที่ประจำเดือนหยุดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดในผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือนได้ ซึ่งหมายความว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ลูกซัดรักษาได้หรือไม่

  • ศักยภาพในการออกกำลังกาย ข้อสรุปจากงานวิจัยต่าง ๆ เรื่องของการรับประทานเมล็ดลูกซัดกับการออกกำลังกายยังคงขัดแย้งกันอยู่ บ้างพบว่าการทานอาหารเสริมลูกซัด (Indus Biotech) 500 mg นาน 8 สัปดาห์จะลดไขมันร่างกายและเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือความทนทานของผู้ชายอายุน้อย ส่วนงานวิจัยชิ้นอื่นพบว่าการทานสารสกัดจากลูกซัด (Torabolic, Indus Biotech) 500 mg ทุก ๆ วันนาน 8 สัปดาห์จะลดไขมันร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังแบบ bench press ของกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุและเพศเดียวกับข้างต้น อีกทั้งยังพบว่าการทานสารเคมีลูกซัด 300 mg (Fenu-FG, Indus Biotech Private Limited) ต่อวันอาจช่วยให้ผู้ชายสามารถออกกำลังแบบ bench press ได้นานขึ้น แต่ลูกซัดไม่ได้ช่วยให้พวกเขายกน้ำหนักได้มากขึ้น
  • แสบร้อนกลางอก (Heartburn) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์จากลูกซัดชนิดหนึ่ง (FenuLife, Frutarom Belgium) ก่อนรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวันสองมื้อจะลดอาการแสบร้อนกลางอกได้
  • คอเลสเตอรอลสูง มีข้อสรุปจากการศึกษาเรื่องของผลกระทบจากลูกซัดกับระดับคอเลสเตอรอลที่แย้งกันอยู่บ้าง พบว่าการรับประทานเมล็ดลูกซัดจะลดระดับไขมันความหนาแน่นไลโพโปรตีนต่ำ (low-density lipoprotein (LDL หรือไขมันไม่ดี) แต่ผลกระทบกับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นไลโพโปรตีนสูง (HDL หรือไขมันดี) และไตรกลีเซอร์ไรด์ยังคงไม่สอดคล้องกัน

  • กระบวนการผลิตน้ำนม มีรายงานว่าการทานแคปซูลหรือดื่มชาลูกซัดทันทีหลังคลอดจะเพิ่มการผลิตน้ำนมของมารดาขึ้น ลูกซัดยังอาจช่วยกระบวนการนี้มากขึ้นหากเริ่มทานหลังคลอดหนึ่งหรือสองวัน แต่ก็ไม่ใช่การศึกษาทุกชิ้นจะเห็นพ้องเช่นนี้เนื่องจากมีรายงานแย้งว่าการทานลูกซัดจะให้ผลดีน้อยลงเมื่อทานหูเสือ (Indian borage) หรืออินทผลัม (palm date)
  • ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย (Male infertility) งานวิจัยกล่าวว่าหยดน้ำมันลูกซัดเข้าปากสามครั้งต่อวันนาน 4 เดือนจะเพิ่มจำนวนสเปิร์มของผู้ชายที่มีปัญหาความเข้มข้นของน้ำเชื้อต่ำได้ แต่การทานส่วนอื่น ๆ จากเมล็ดลูกซัดอาจไม่ได้ให้สรรพคุณเช่นนี้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดสามารถลดปริมาณการบริโภคไขมันของผู้ที่มีน้ำหนักเกินได้เมื่อรับประทานในปริมาณ 392 mg สามครั้งต่อวันนาน 2-6 สัปดาห์ แต่หากเป็นปริมาณน้อยกว่านี้จะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ การเพิ่มกากใยอาหารลูกซัดในอาหารเช้า 8 กรัมอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มและลดความหิวในมื้อเที่ยงไดด้วย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการทำเช่นนี้จะช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยพบว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Indus Biotech Private Limited) สองครั้งต่อวันนาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยลดอาการของผู้ป่วยพากินสัน
  • โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) มีข้อมูลเรื่องผลลัพธ์จากการทานลูกซัดกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Goldarou Pharmaceutical Co.) ทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่ยลดอาการของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่งานวิจัยชิ้นอื่น ๆ กลับกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Furocyst, Cepham Inc.) 1000 mg ทุกวันอาจช่วยลดขนาดของถุงน้ำรังไข่ได้ และช่วยควบคุมความยาวของรอบเดือนและช่วงเวลาของประจำเดือนแต่ละรอบได้ด้วย
  • หัวล้าน
  • มะเร็ง
  • ปากแตก
  • อาการไอเรื้อรัง
  • ท้องผูก
  • โรคผิวหนัง (Eczema)
  • ไข้
  • เก๊าท์ (Gout)
  • หลอดเลือดแดงแข็งตัว” (atherosclerosis)
  • ไส้เลื่อน (Hernias)
  • โรคไต
  • แผลในปาก
  • ปัญหาทางเพศ (เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ)
  • ปวดท้อง
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของลูกซัดเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของลูกซัด

ลูกซัดถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับรับประทานในปริมาณที่พบในอาหารตามปรกติ และจัดว่าอาจจะปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณที่ใช้กันทางการแพทย์ (ปริมาณมากกว่ามากกว่าที่พบในอาหาร) นาน 6 เดือน ผลข้างเคียงจากการรับประทานลูกซัดมีทั้งท้องร่วง, ปวดท้อง, ท้องอืด, วิงเวียน, ปวดศีรษะ, และมีกลิ่นของ “เมเปิ้ลไซรัป” ในปัสสาวะ ลูกซัดยังอาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก, ไอ, หายใจเสียงหวีดสูง, หน้าบวม, และปฏิกิริยาแพ้รุนแรงในผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวสูง และที่สำคัญคือลูกซัดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์: ลูกซัดถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่อทานในปริมาณมากกว่าที่พบในอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ทารกเจริญผิดปกติ หรือทำให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูกเร็วกว่ากำหนดได้ การทานลูกซัดก่อนคลอดยังอาจทำให้ทารกมีกลิ่นตัวผิดปรกติซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจผิดว่าเป็น “โรคปัสสาวะเมเปิ้ลไซรัป” ได้ กระนั้นกลิ่นที่ติดตัวนี้ก็ไม่ส่งผลระยะยาวใด ๆ 

แม่ที่ต้องให้นมบุตร: ลูกซัดจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำนมในระยะสั้น บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานลูกซัด 1725 กรัมสามครั้งต่อวันยาว 21 วันไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลข้างเคียงกับตัวทารกแต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เด็ก: ลูกซัดจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อจัดให้เด็กรับประทานเนื่องจากมีรายงานว่าชาลูกซัดทำให้เด็กหมดสติ อีกทั้งเด็กที่ดื่มชาลูกซับอาจจะมีกลิ่นตัวคล้ายเมเปิลไซรัปได้

ผู้ที่แพ้ต้นไม้ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae): ผู้ที่แพ้พืชนิดอื่น ๆ ในตระกูลถั่วอย่างถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, และถั่วเขียวอาจจะมีอาการแพ้ลูกซัดเช่นเดียวกัน

เบาหวาน (Diabetes): ลูกซัดส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นควรเฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และใช้ลูกซัดอย่างระมัดระวังหากคุณป่วยเป็นเบาหวาน

การใช้ลูกซัดร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้ลูกซัดร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับโรคเบาหวาน (Antidiabetes drugs) กับลูกซัด

ลูกซัดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลงเช่นเดียวกับยาสำหรับเบาหวานที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกัน การทานลูกซัดร่วมกับยาเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงต่ำเกินไปได้ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและทำการปรับเปลี่ยนปริมาณยาเบาหวานตามความจำเป็น ตัวอย่างยาสำหรับเบาหวานมีดังนี้ glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่น ๆ

  • ยาสำหรับชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) กับลูกซัด

ลูกซัดอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นการทานลูกซัดร่วมกับยาชะลอลิ่มเลือดอาจเพิ่มโอกาสฟกช้ำและเลือดออกขึ้น โดยตัวอย่างยาชะลอลิ่มเลือดคือ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, และอื่น ๆ), ibuprofen (Advil, Motrin, และอื่น ๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn, และอื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ

Warfarin (Coumadin) ถูกใช้เพื่อชะลอการเกิดลิ่มเลือดเช่นเดียวกับลูกซัดและอาจเพิ่มโอกาสฟกช้ำและเลือดออกขึ้น ควรทำการตรวจเลือดบ่อยครั้งและอาจต้องทำการปรับเปลี่ยนขนาดยา warfarin (Coumadin) ตามความจำเป็น

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับโรคเบาหวาน: ใช้ผงเมล็ดลูกซัด 5-100 กรัมในอาหารหนึ่งหรือสองมื้อต่อวันนาน 4 วันถึง 4 ปี 
  • สำหรับภาวะปวดประจำเดือน: ผงเมล็ดลูกซัด 1800-2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงประจำเดือนหยุด
  • สำหรับเพิ่มความต้องการทางเพศ: สารสกัดเมล็ดลูกซัด (Libifem, Gencor Pacific Ltd.) 600 mg ในแต่ละวันที่รอบเดือนหยุด
  • เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ: สารสกัดเมล็ดลูกซัด (Testofen, Gencor Pacific Ltd) 600 mg ต่อวันเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับแมกนีเซียม 34 mg, สังกะสี 30 mg, และวิตามิน B6 10 mg นาน 6-12 สัปดาห์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
V. A. Parthasarathy, K. Kandinnan and V. Srinivasan (ed.). "Fenugreek". Organic Spices. New India Publishing Agencies. p. 694.
"Fenugreek". Drugs.com. 2019. Retrieved 17 March 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)