ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)

บทนำ

ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) คือ กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า หรือป้องกันอาการซึมเศร้า และยังรักษากลุ่มโรคอื่นๆ ได้อีก ดังเช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder, OCD) โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalised Anxiety Disorder, GAD) โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) หรือบางกรณีอาจใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังได้

กลไกการออกฤทธิ์ของยารักษาโรคซึมเศร้า

กลไกการออกฤทธิ์ของยาส่วนมากจะไปเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทภายในสมองบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์แอดรีนาลี (Noradrenaline) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่พัฒนาทางด้านอารมณ์ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของระดับสารสื่อประสาทในสมองสามารถส่งผลถึงการลดเจ็บปวดที่เกิดจากกระแสประสาทเหล่านั้นได้เช่นกัน จึงทำให้ยาต้านโรคซึมเศร้าบางชนิดสามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรังได้ ในบางกรณีจะใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นในการรักษาโรคซึมเศร้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษายิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยารักษาอาการซึมเศร้าได้ผลดีหรือไม่

ส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้ยาต้านโรคซึมเศร้าจะได้ผลดี ตัวโรคมีอาการดีขึ้น แต่ในกรณีที่ยังมีอาการซึมเศร้าระดับต่ำยาอาจจะยังไม่ได้ผลดีมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยาจะออกฤทธิ์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่มีอาการรุนแรง มีการศึกษาพบว่าประมาณ 50 - 65% พบว่ามีการพัฒนาของโรคไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ 25-30 % ของผู้ที่ใช้ยาหลอก

ขนาดการใช้และระยะเวลาในการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้า

ยารักษาอาการซึมเศร้าส่วนมากจะเป็นรูปแบบเม็ด โดยเริ่มที่ขนาดยาต่ำสุดทีสามารถรักษาอาการได้ โดยระยะเวลาส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 7 วันในการแสดงประสิทธิภาพ เห็นผลการรักษา ดังนั้นการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลืมกินยาจึงมีความสำคัญมาก ถ้าใช้ยานานเกิน 4 สัปดาห์แล้วยังไม่รู้สึกว่าอาการดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเพิ่มขนาดยาหรือเปลี่ยนยา

ระยะเวลาทั้งหมดในการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หรืออาจยาวนานได้ถึง 2 ปี แล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค

ผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

ชนิดของยาที่แตกต่างกันจะทำให้มีผลข้างเคียงแตกต่างกัน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นระดับไม่รุนแรงและจะหายไปได้เองในระยะเวลาไม่กี่วันเนื่องจากร่างกายสามารถปรับตัวและชินไปได้เอง

ประเภทของยารักษาโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้ามีหลายชนิด ดังนี้

  1. กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับ serotonin หรือ SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitors) ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่นิยมใช้มากเนื่องจากมีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มอื่น หากได้รับยาเกินขนาดก็จะมีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มอื่น ยาที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มนี้คือฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือชื่อการค้าว่าโพรเซค (Prozac) หรือยาชนิดอื่นๆในกลุ่มนี้ ได้แก่ ซิตาโลแพรม (citalopram) พารอกซิทีน (paroxetine) และเซอทราลีน (sertraline)
  2. กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับ serotonin และ noradrenaline หรือ SNRIs (Serotonin-noradrenaline reuptake inhibitors) กลุ่มนี้จะคล้ายกับยากลุ่ม SSRIs โดยออกแบบมาให้ออกฤทธิ์ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า ในบางรายมีการตอบสนองต่อยากลุ่ม SSRIs มากกว่าและบางรายก็ตอบสนองต่อ SNRIs ดีกว่า ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ดูลอกซิทีน (duloxetine) และ เวนลาฟาซีน (venlafaxine) เป็นต้น
  3. ยากลุ่มที่มีความจำเพาะเจาะจงกับตัวรับของ noradrenaline และ serotonin หรือ NASSAs (Noradrenaline and specific serotonergic antidepressants) ยากลุ่มนี้เหมาะกับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRIs ไม่ได้ผลหรือไม่สามารถใช้ยากลุ่ม SSRIs ไม่ได้ ผลข้างเคียงของยากลุ่ม NASSAs จะคล้ายคลึงกับยากลุ่ม SSRIs แต่จะมีปัญหาต่อสมรรถภาพทางเพศที่น้อยกว่าแต่จะมีอาการง่วงซึมได้ในการใช้ระยะแรก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เมอร์ตาซาปีน (mirtazapine)
  4. ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants, TCAs) ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มยาชนิดเก่า ไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูงกว่ากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ยากลุ่ม TCAs จะใช้รักษากลุ่มอาการอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ และ โรคไบโพล่า ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ amitriptyline-antidepressant' target='_blank'>อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) อิมิพรามีน (imipramine) และ นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline)

ทางเลือกอื่นแทนการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

ทางเลือกอื่นในการรักษา เช่น การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy, CBT)  โดยอาจจะใช้การรักษาแบบบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยารักษาในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าในระดับรุนแรง โดยยาจะลดอาการได้รวดเร็วกว่าและการรักษาแบบบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมจะใช้เวลามากกว่า การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยลดอาการของโรคได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไรควรใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

ยาจะใช้ในกรณีการรักษาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ หรืออาจใช้ในการรักษาอาการทางจิตอื่น หรืออาการปวดเรื้อรังได้ โดยส่วนมากจะเริ่มใช้ยาในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการระดับปานกลางถึงรุนแรง และอาจจะใช้ร่วมกับวิธีการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมด้วยเพื่อปรับเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มีอาการในระดับไม่รุนแรงเนื่องจากจะให้ผลการรักษาไม่ดีนัก แต่อย่างไรก็ตามบางกรณีแพทย์อาจสั่งใช้ยาในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าระดับอ่อนได้แต่จะใช้เพียงระยะสั้นเพื่อดูว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อยาดีหรือไม่

ในระยะแรกแพทย์จะสั่งใช้ยาในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับ serotonin หรือ SSRIs และสังเกตอาการการตอบสนองของผู้ป่วยประมาณ 4 สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้นอาจใช้วิธีอื่นหรือเพิ่มขนาดยาขึ้น

การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้ารักษาอาการอื่น

ยารักษาโรคซึมเศร้าสามารถนำมาใช้เป็นยาในการรักษาอาการอื่นได้เช่นกัน ดังนี้

  • โรควิตกกังวล
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคแพนิค (Panic Disorder)
  • โรคกลัว (Phobia)
  • โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)
  • โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ
  • โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Post-traumatic stress disorder, PTSD)

การใช้ยาในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง

สามารถใช้ยากลุ่ม TCAs ในการเป็นยารักษาอาการปวดเรื้อรังได้ในบางราย อาการปวดเรื้อรังหรือเรียกว่า อาการปวดเส้นประสาทเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ประสาทถูกทำลาย และจะไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาพาราเซตามอลในการรักษาอาการปวด

ยารักษาอาการซึมเศร้าสามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากระบบประสาทได้เช่นกัน เช่น อาการของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia) ปวดหลังเรื้อรัง หรือ ปวดคอเรื้อรัง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้ารักษาอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก

ยากลุ่ม TCAs สามารถใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็กได้ เนื่องจากยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เพิ่มปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะได้ทำให้เด็กปวดปัสสาวะน้อยลงขณะหลับ

ข้อควรระวังในการใช้ยาและปฏิกิริยาระหว่างยาชนิดอื่น

ยารักษาโรคซึมเศร้าสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้ เช่น ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ดังนั้นก่อนซื้อยามาใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์

ไม่แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้อาจจะใช้ได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้

  • แท้งบุตร
  • ทารกที่เกิดมาอาจพิการ หรือหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
  • ทารกมีความดันในปอดสูงผิดปกติ ทำให้หายใจลำบาก (pulmonary hypertension)

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ อาจจะใช้ยากลุ่ม SSRIs เช่น ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ในการรักษา

การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในหญิงให้นมบุตร

ไม่แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในหญิงให้นมบุตร แต่มีบางกรณีที่สามารถยกเว้นได้คือการใช้ยาเป็นประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับการให้นมบุตร ยาที่นิยมให้ในหญิงให้นมบุตร คือ พารอกซิทีน (paroxetine) หรือ เซอทราลีน (sertraline)

การใช้ยาในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อย

ในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยที่มีอาการของโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงควรได้รับการรักษาโดยวิธีจิตบำบัดก่อนเป็นลำดับแรก อย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน บางกรณีแพทย์อาจให้ยากลุ่ม SSRIs ชื่อว่า ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) ร่วมกับวิธีจิตบำบัดในเด็กที่อายุ 12-18 ปี

ไม่ควรใช้ยาในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากอาจจะกระตุ้นการเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ ทั้งยังอาจทำให้สมองมีพัฒนาการช้า อาจมีกรณียกเว้นในการใช้ยาในเด็กหรือผู้มีอายุน้อยได้ เมื่อเด็กไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น เช่น จิตบำบัด เป็นต้น อาจต้องใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าร่วมกับวิธีอื่นๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด

ยารักษาโรคซึมเศร้ากับการดื่มแอลกอฮอล์

ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลง หากผู้ป่วยใช้ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม TCAs ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนและง่วงซึมได้

สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St John's Wort)

สมุนไพร เซนต์จอห์นเวิร์ต (St John's Wort) เป็นสมุนไพรที่ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ มีหลักฐานว่าสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการรักษา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารสำคัญที่ใช้ ในบางล็อตการผลิตหรือแตกต่างยี่ห้อ อาจมีปริมาณตัวยาสำคัญต่างกันได้

การใช้สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ตร่วมกับการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านการชัก ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด ยาคุมกำเนิดบางชนิด เป็นต้น อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ และไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจน

ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าแต่ละกลุ่ม

ยากลุ่ม SSRIs

ยากลุ่ม SSRIs อาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • เป็นโรคไบโพล่า และอยู่ในช่วงมีอาการมาเนีย (mania) แต่สามารถใช้ยาได้ถ้าอยู่ในช่วงอาการซึมเศร้า
  • เป็นโรคเลือดไหลได้ง่าย หรือใช้ยาวาร์ฟารินอยู่
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2
  • เป็นโรคลมชักที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
  • เป็นโรคไต

ยากลุ่ม SNRIs

ยากลุ่ม SNRIs อาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจ หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

ยากลุ่ม TCAs

ยากลุ่ม TCAs อาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • มีประวัติโรคหัวใจ
  • เป็นโรคตับ
  • เป็นโรคพอร์ฟิเรีย(Porphyria) ซึ่งคือกลุ่มโรคที่พบยาก ที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • เป็นโรคไบโพล่า
  • เป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • เป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma)
  • เป็นโรคต่อมลูกหมากโต
  • เป็นโรคต้อกระจก
  • เป็นโรคลมชัก

ขนาดการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

ในการรักษาโรคซึมเศร้า แพทย์จะให้เริ่มใช้ยาในขนาดที่ต่ำสุดที่มีฤทธิ์ในการรักษาได้ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงต่ำที่สุด จากนั้นค่อยๆเพิ่มขนาดขึ้นหากยังอาการไม่ดีขึ้น

ยารักษาโรคซึมเศร้าส่วนมากจะเป็นรูปแบบเม็ด และนิยมใช้ในขนาด 1-3 เม็ดต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค โดยจะใช้เวลาประมาณ 7 วันถึงจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของอาการของโรค ถ้าหากใช้ยาเกิน 4 สัปดาห์แต่อาการยังไม่ดีขึ้นนั้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาต่อไป โดยจะแนะนำให้ใช้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อการรักษา ถ้าอาการของโรคไม่รุนแรงจะยังไม่แนะนำให้เริ่มใช้ยา 

การลืมกินยาหรือกินยาเกินขนาด

ควรกินยาให้ครบถ้วน เพราะหากลืมกินยาจะส่งผลต่อผลการรักษาได้ หากลืมกินยาให้กินยาทันทีที่นึกได้ นอกเสียจากว่าจะนึกได้ใกล้เวลาของมื้อถัดไป ให้กินมื้อถัดไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาทดแทนมื้อที่ลืมกิน และควรรีบไปโรงพยาบาลหากกินยาเกินขนาด และไม่ควรหยุดกินยาเองถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่าตนมีอาการดีขึ้นแล้ว เนื่องจากหากหยุดยากะทันหันอาจมีอาการข้างเคียงได้ดังเช่น ปวดท้อง อาการคล้ายหวัด วิตกกังวล วิงเวียน อาจมีอาการชัก เป็นต้น

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้า

จะมีอาการข้างเคียงได้ในช่วงแรก แต่จะค่อยๆหายไปเอง การกินยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาจึงมีความสำคัญมาก ในการใช้ยาช่วงเดือนแรกจะมีการนัดเจอแพทย์เพื่อติดตามผลและอาการข้างเคียงต่างๆ ทุก 2-4 สัปดาห์

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ผลข้างเคียงทั่วไป อาจมีได้ดังนี้

อาการเหล่านี้จะลดลงในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม TCAs

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

กลุ่มอาการซีโรโทนิน (Serotonon syndrome)

กลุ่มอาการซีโรโทนิน (Serotonon syndrome) นั้นเกิดขึ้นได้น้อยแต่มีความรุนแรง โดยอาการจะเหมือนกับผลข้างเคียงของยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ซึ่งกลุ่มอาการนี้เกิดจากมีปริมาณของสารซีโรโทนินในสมองมากเกินไป ซึ่งโดยมากเกิดจากการใช้ยา SSRIs หรือ SNRIs ร่วมกันกับยาชนิดอื่นที่สามารถเพิ่มระดับซีโรโทนินได้ เช่น ยาต้านการซึมเศร้าชนิดอื่น หรือสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต อาการอาจมีได้ดังนี้

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)

ในผู้สูงอายุที่ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะกลุ่ม SSRIs อาจพบภาวะโซเดียมในเลือดต่ำรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการของเหลวคั่งภายในร่างกายก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากยากลุ่ม SSRIs จะยับยั้งฮอร์โมนที่คอยควบคุมสมดุลของระดับโซเดียมและของเหลวในร่างกาย ทั้งนี้ร่างกายของผู้สูงอายุจะจะปรับสมดุลของเหลวได้น้อยลงกว่าปกติ จึงเกิดภาวะนี้ได้ง่ายในผู้สูงอายุ อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) มีดังนี้

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไม่อยากอาหาร
  • เหนื่อยล้า
  • ไม่มีสติ มึนงง
  • ชัก
  • ใจสั่น

โรคเบาหวาน (Diabetes)

ในผู้ที่ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่ม SSRIs และ TCAs เป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้ ยังไม่มีหลักฐานหรือสาเหตุที่ชัดเจนว่าเหตุใดยารักษาอาการซึมเศร้าถึงก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ แต่อาจเกิดขึ้นจากน้ำหนัดตัวของผู้ป่วยที่มากขึ้นจากการใช้ยาเป็นเวลานาน

ความคิดฆ่าตัวตาย (Suicidal thoughts)

เกิดขึ้นได้น้อยมาก ในบางรายมีความคิดฆ่าตัวตายหรือมีความคิดทำร้ายตัวเองได้เมื่อเริ่มต้นใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 25 ปี

ทางเลือกอื่นแทนการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy, CBT)

เป็นทางเลือกที่อาจใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้าได้ และมีความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ใช้วิธีนี้ในผู้ที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง หรือใช้วิธีนี้ร่วมกับการใช้ยา การบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในความคิดและพฤติกรรมของตนมากขึ้นว่าส่งผลกับตนอย่างไรและสามารถปรับปรุงได้อย่างไร  และรวมถึงการปรับความคิดเชิงลบออกไป

การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal therapy)

เป็นการบำบัดที่มุ่งเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับบุคคลอื่น หรือเน้นเรื่องปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จะคล้ายคลึงกับการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การให้คำปรึกษา (Counseling)

เป็นการบำบัดรักษาโดยช่วยแนะนำให้ผู้ป่วยเห็นถึงปัญหาของตนและแนะนำแนวทางแก้ไข จัดการกับปัญหาเหล่านั้นและให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือกนำทางเลือกต่างๆ ไปใช้ด้วยตนเอง

การให้คำปรึกษานั้นจะเหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพดีแต่มีปัญหาเกิดขึ้นในบางช่วงเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ปัญหาการจัดการความโกรธ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ความสูญเสีย หรือการเป็นโรครุนแรง เป็นต้น

การออกกำลังกาย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้การออกกำลังกายในการบำบัดผู้ที่มีอาการซึมเศร้าระดับอ่อน โดยการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการหลั่งสารซีโรโทนินและโดปามีนในสมองได้ ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างความมั่นใจได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า

กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (Self help groups)

เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า มีประสบการณ์เดียวกันและนำข้อมูลมาแบ่งปันกัน และเป็นกลุ่มที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นคล้ายเพื่อนมาคุยกัน

ยาลิเทียม (Lithium)

จะใช้ยาลิเทียมเมื่อผู้ป่วยลองใช้ยารักษาอาการซึมเศร้าแบบปกติแล้วไม่ได้ผล โดยจะให้ใช้ร่วมกับยาเดิม ยาลิเทียมนั้นหากมีปริมาณยาในเลือดสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดพิษได้ ดังนั้นจึงมีการตรวจเลือดเพื่อติดตามปริมาณยาอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electric shock treatment)

ใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรงและใช้การรักษาอื่นแล้วไม่ตอบสนองเท่านั้น โดยก่อนการใช้กระสไฟฟ้าจะมีการให้ยาชาและยาคลายกล้ามเนื้อก่อน และมีการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านสมอง โดยจะให้เป็นช่วง และจะรักษา 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 3-6 สัปดาห์

 

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Antidepressants Work: SSRIs, MAOIs, Tricyclics, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/depression/how-different-antidepressants-work#1)
Antidepressants: Selecting one that's right for you. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/in-depth/antidepressants/art-20046273)
28 Antidepressants Types, Side Effects, List & Alcohol Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/antidepressants/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)