ขอบเขตการออกฤทธิ์ของยา

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 32 นาที
ขอบเขตการออกฤทธิ์ของยา

ขอบเขตการออกฤทธิ์ของยา

ยาปฏิชีวนะมีขอบเขตการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรีย 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. ขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ

    หมายความว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น เช่น กลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ มีฤทธิ์ทำลายเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่ง ยาบางตัวในกลุ่มเพนิซิลลินหรือกลุ่มมะโครไลด์มีฤทธิ์ส่วนใหญ่ต่อแบคทีเรียแกรมบวกรูปกลมและรูปแท่ง เป็นต้น

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  2. ขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างปานกลาง

    เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบบางชนิด แต่ไม่มีผลต่อจุลชีพอื่น เช่น กลุ่มซัลโฟนาไมด์ แอมพิซิลลิน และอะม็อกซิซิลลิน มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบหลายชนิด หรือกลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่หนึ่งและรุ่นที่สอง ออกฤทธิ์เจาะจงต่อแบคทีเรียแกรมบวกหลายชนิดและแบคทีเรียแกรมลบบางชนิดเท่านั้น ไม่มีผลทำลายจุลชีพอื่น เป็นต้น

  3. ขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างมาก

    ยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้นอกจากมีผลทำลายแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบแล้วยังมีผลทำลายจุลชีพอื่นด้วย เช่น สามารถทำลายเชื้อไวรัส เชื้อราและโปรโตซัวได้ด้วย ตัวอย่างยาที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างมาก เช่น คลอแรมเฟนิคอล (ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาควบคุมพิเศษ” ห้ามจำหน่ายในร้านยา) สามารถออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียทั้งชนิดที่ใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต หรือกลุ่มเตตร้าซัยคลิน ซึ่งทำลายแบคทีเรียหลายชนิด แม้แต่แบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศในการดำรงชีวิต ตลอดจนจุลชีพอื่น เช่น เชื้อราและโปรโตซัว เป็นต้น

    ในส่วนต่อไป จะกล่าวถึงรายละเอียดที่สำคัญของยาแต่ละกลุ่ม ดังนี้

    • กลุ่มเพนิซิลลิน

    กลุ่มเพนิซิลลินจัดเป็นยาปฏิชีวนะที่มีการใช้กันมาก ยากลุ่มนี้มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้กับทารก เด็ก หญิงตั้งครรภ์ได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ

    กลไกการออกฤทธิ์             ยาออกฤทธิ์โดยยับยั้งไม่ให้แบคทีเรียสร้างผนังเซลล์มีผลให้แบคทีเรียตาย (Bactericidal)

    ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ยาแบ่งย่อยเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีขอบเขตการออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิดได้แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแกรมลบ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    แบคทีเรียแกรมลบที่ยังพอจะใช้ได้ผลคือ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งทำให้เกิดโรคหนองใน แต่ในระยะหลังพบว่าเชื้อดื้อยาสูงรักษาไม่ค่อยได้ผล

    ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดทั้งที่เป็นรูปยาฉีด และรับประทาน โดยแต่ละชนิดมีขอบเขตการฆ่าแบคทีเรีย ดังนี้

ตารางแสดงยากลุ่มเพนิซิลลิน  และความแตกต่างของยาแต่ละชนิด

ขอบเขตการออกฤทธิ์ ตัวอย่างยา ตัวอย่างแบคทีเรียที่ยามีผลในการทำลาย
1.  มีขอบเขตทำลายแบคทีเรียแกรมบวกได้มากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ  และถูกทำลายด้วยเอนไซม์เพนิซิลิเนส Penicillin G.

Penicillin V.

(Pen G มีฤทธิ์แรงกว่า Pen V 5-10 เท่า)

Streptococcus spp.

Nelsseria spp.

ไม่ได้ผลต่อ Staphylococcus aureus

2.  มีขอบเขตทำลายแลคทีเรียแกรมบวกและตัวยาทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนส Methicillin

Nafcillin

Oxacillin

Cloxacillin

Dicloxacillin

Staphylococcus aureus

Staphylococcus epidermidis

3.  มีขอบเขตทำลายแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบได้แต่ยาถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์เพนิซิลิเนส Ampiccillin

Amoxycillin

Bacampicillin

Amoxiclav

(สูตรผสมระหว่าง Amoxycillin + Clavulanic acid)

Streptococcus spp.

Neisseria gonorrhoeae

Haemophilus influenza

Escherichia coli (E.coli)

Proteus mirabilis

Enterococci

4.  มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างทำลายแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ Carbenicillin

Ticarcillin

Aziocillin

Meziocillin

Piperacillin

เหมือน  3  กลุ่มแรก  และยังมีผลต่อเชื้อดังต่อไปนี้

Pseudomonas aeruginosa

Enterobacter spp.

Proteus mirabills

Klebsiella spp.

แบคทีเรียแอนแอโรปส์บางชนิด  รวมทั้ง

Bacteroides fragilis

5.  ได้ผลดีมากกับแบคทีเรียแกรมลบแต่ไม่ได้ผลกับแบคทีเรียแกรมบวก Micillinam

Pivmecillinam

E.coli

Shigella spp.

Klebsiella

Enterobacter

Salmonella spp.

หมายเหตุ  เอนไซม์เพนิซิลิเนสหรือเรียกอีกอย่างว่าเอนไซม์เบต้าแลคทาเมสเป็นเอนไซม์ที่แบคทีเรียบางสายพันธุ์สร้างขึ้น  และสามารถทำลายยาปฏิชีวนะหลายชนิดได้  ทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล  และแบคทีเรียเกิดการดื้อยา

ยากลุ่มนี้ที่มีการใช้กันมากสำหรับร้านยา  มีรายละเอียดปลีกย่อย  ดังนี้

ตารางแสดงยากลุ่มเพนิซิลลินที่ใช้มากในร้านยา

ชื่อยา ขอบเขตการฆ่าเชื้อ รูปแบบทางการค้า ขนาดรับประทาน ข้อบ่งใช้
แอมพิซิลลิน ยามีความสามารถฆ่าได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบบางชนิด  แต่ตัวยาไม่ทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนส แคปซูล

250 มก. และ 500 มก.

ชนิดน้ำ

125 มก./ช้อนชา

250 มก./ช้อนชา

ผู้ใหญ่

500 มก.วันละ  4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอนกรณีใช้รักษาหนองในควรให้โปรเบนีซิด 1 กรัม ครึ่งชั่วโมงล่วงหน้า  หลังจากนั้นจึงให้แอมพิซิลลิน 35 กรัม ครั้งเดียว  โปรเบนีซิดจะทำให้ระดับแอมพิซิลลินสูงขึ้นและอยู่ในเลือดได้นานขึ้น

โรคที่เกิดจากแบคทีเรียแกรมบวกเช่น  โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบบางชนิด  เช่น  ท้องเดินจากเชื้อซัลโมเนลลาไทฟอยด์  หรือใช้รากสาดน้อย  ท้องเดินจากบิดไม่มีตัวซิเกลล่า หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากอีโคไล โรคหนองใน(ปัจจุบันพบเชื้อหนองในดื้อต่อแอมพิซิลลินสูง  มักใช้ไม่ค่อยได้ผล)
คลอกซาซิลลิน ยามีผลทำลายแบคทีเรียแกรมบวกและไม่ถูกทำลายด้วยเอนไซม์เพนิซิลิเนส แคปซูล

250 มก.และ 500 มก.

ชนิดน้ำ

125 มก./ช้อนชา

ผู้ใหญ่

500 มก. ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง วันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน

เป็นยาอันดับแรกที่นิยมใช้รักษาและป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังเนื่องจากมักเกิดจากแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus ที่สร้างเอนไซม์เพนิซิลิเนส  และยังใช้ในการติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมบวกอื่น ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และไข้รูมาติก  เป็นต้น
อะม็อกซิซิลลินผสมกับกรดคลาวูลานิก

(อะม็อกซิคลาฟ)

ยามีผลฆ่าแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ  แบคทีเรียกลุ่มแอนแอโรปส์และไม่ถูกทำลายด้วยเอนไซม์เพนิซิลิเนส แคปซูล 357 มก.

(อะม็อกซิซิลลิน 250 มก.+ กรดคลาวูลานิก 125 มก.)

แคปซูล 625 มก.

(อะม็อกซิซิลลิน 500 มก.

กรดคลาวูลานิก 125 มก.)

แคปซูล 1 กรัม

(อะม็อกซิซิลลิน 875 มก.

กรดคลาวูลานิก 125 มก.)

ชนิดน้ำ

288 มก./ 5 มล.

457 มก./ ช้อนชา

มี 3 ขนาดคือ

ชนิด 375 มก. สำหรับเด็ก

625 มก. และ 1 ก. สำหรับผู้ใหญ่

รับประทานวันละ 2 ครั้ง  หลังอาหาร  เช้า-เย็น  ยกเว้น  ขนาด 1 ก.  วันละ  1  ครั้ง

ใช้กับโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เรือรังหรือเฉียบพลันได้ทุกระบบ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจผิวหนัง  ท้องเดินกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  เป็นต้น

 

แอมพิซิลลินและอะม็อกซิซิลลินแตกต่างกันอย่างไร ?

คำตอบ              ยาทั้ง  2  ชนิด  มีขอบเขตการฆ่าเชื้อแบคทีเรียเหมือนกันจึงมีข้อบ่งใช้เช่นเดียวกัน  ต่างกันที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ความเข้มข้นของยาในเลือด โดยในขนาดยาที่เท่ากัน  เช่น  แอมพิซิลลิน  500  มก.  และอะม็อกซิซิลลิน  500 มก.  เมื่อรับประทานแล้ว  อะม็อกซิซิลลินจะมีความเข้มข้นของยาในเลือดมากกว่า  แอมพิซิลลิน  2.5  เท่า  เปรียบเทียบให้เข้าใจชัดเจนและง่ายขึ้นดังนี้
    • อะม็อกซิซิลลิน 250  มก.  มีระดับยาในเลือดสูงกว่า แอมพิซิลลิน  250  มก.  ประมาณ  5  เท่า
    • อะม็อกซิซิลลิน 500  มก.  มีระดับยาในเลือดสูงกว่า แอมพิซิลลิน  500  มก.  ประมาณ  5  เท่า

    ข้อมูลข้างต้นนี้ให้ประโยชน์อย่างไร ?

    คำตอบ              ผู้ใหญ่ตัวเล็กอาจใช้อะม็อกซิซิลลิน  250  มก.  ก็มีประสิทธิภาพใกล้เคียงแอมพิซิลลิน  500  มก.  ทำให้ราคายาต่อการรักษาแต่ละครั้งต่ำลง  อาการข้างเคียงลดลง

  2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำลายแบคทีเรียแกรมลบพบว่าแอมพิซิลลินดีกว่าอะม็อกซิซิลลิน โดยเฉพาะการทำลายเชื้อบิดไม่มีตัวซิเกลล่าจะดีกว่าอะม็อกซิซิลลิน

    ข้อมูลข้างต้นนี้บอกอะไรเราได้บ้าง ?

    คำตอบ              ส่วนใหญ่โรคติดเชื้อส่วนล่างของร่างกาย  เช่น  ท้องเดิน  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  หนองใน  มักมาจากแบคทีเรียแกรมลบ  ดังนั้นการรักษาโรคติดเชื้อส่วนล่าง  เมื่อเทียบระหว่าง  2  ชนิดนี้แอมพิซิลลินจะดีกว่าอะม็อกซิซิลลิน  แม้ว่าอะม็อกซิซิลลินจะมีความเข้มข้นของยาในเลือดมากกว่าก็ตาม

    ทราบหรือไม่ว่าคลิกซาซิลลินและไดคลอกซาซิลลินต่างกันอย่างไร ?

    คำตอบ              ยาทั้ง  2  ชนิดมีขอบเขตการฆ่าแบคทีเรียเหมือนกัน  คือ  ทำลายแบคทีเรียแกรมบวมเป็นหลักและไม่ถูกทำลายด้วยเอนไซม์เพนิซิลิเนส  นิยมใช้เป็นยาอันดับแรกในการป้องกันหรือรักษาโรคผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรียที่มาจาก Staphylococcus Aureus สายพันธุ์ที่สร้างเพนิซิลิเนส

    สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างยา  2  ชนิด  คือ  ในประมาณยาที่เท่ากัน  ไดคลอกซาซิลลินจะมีระดับความเข้มข้น  หรือการดูดซึมยาเข้ากระแสเลือดสูงกว่า  คลอกซาซิลลิน  0.6-0.7  เท่า  สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้

    • ไดคลอกซาซิลลิน 250  มก.  มีความเข้มข้นของยาในเลือดมากกว่าคลอกซาซิลลิน  250  มก.  ประมาณ  6-0.7  เท่า
    • ไดคลอกซาซิลลิน 500  มก.  มีความเข้มข้นของยาในเลือดมากกว่าคลอกซาซิลลิน  500  มก.  ประมาณ  6-0.7  เท่า

    เราใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ได้อย่างไร ?

    คำตอบ              ผู้ใหญ่ตัวเล็กอาจใช้ไดคลอกซาซิลลิน  250  มก.  แทนการใช้คลอกซาซิลลิน  500  มก.  เพราะราคาต่อการรักษา  1  ครั้งจะต่ำกว่าการใช้คลอกซาซิลลิน  500  มก.  ในขณะที่ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อใกล้เคียงกัน

เกร็ดเล็ก ๆ แต่สำคัญ

กลุ่มเพนิซิลลิต  จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยกว่ากลุ่มอื่น  เพราะยามีกลไกทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรีย  จึงไม่มีผลต่อเซลล์ของคน  เนื่องจากเซลล์ของคนไม่มีผนังเซลล์  กลุ่มเพนิซิลลิน  สามารถใช้ได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุก ๆ ระยะของการตั้งครรภ์  กลุ่มเพนิซิลลิน  สามารถใช้ได้กับผู้เป็นโรคเลือดชนิดขาดเอนไซม์ G-6PD

โดยส่วนใหญ่ยากลุ่มเพนิซิลลินออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแกรมลบ  เนื่องจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบมีไขมันมากและยังมีผนังหุ้มชั้นนอกอีก  1  ชั้น ทำให้ยาซึมเข้าไปทำลายได้ยาก

  • อาการข้างเคียงของกลุ่มเพนิซิลลิน

    แม้ว่ายากลุ่มนี้จะมีความปลอดภัยสูง  แต่ก็จัดเป็นยาที่พบอาการแพ้บ่อย  จากสถิติพบถึง  5-10 %  ของผู้ที่ใช้ยา

    อย่างไรก็ตาม  อาการแพ้ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงอะไร  เช่น  เกิดผื่นคัน  หรือลมพิษที่ผิวหนัง  หรืออาจพบอาการท้องเดิน  คลื่นไส้เล็กน้อย  อาการเหล่านี้เมื่อหยุดใช้ยาก็จะหายได้  แต่อาการข้างเคียงอีกประเภทที่พบน้อยกว่าแบบแรก  แต่ค่อนข้างรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้ถ้าแก้ไขไม่ทัน  คือ  การช็อกจากการแพ้ยา  โดยผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นเต็มตัว  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก  หอบ  ความดันโลหิตต่ำ  หน้ามืดและอาจเกิดภาวะช็อกจนเกิดเสียชีวิตได้

    ดังนั้น  ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้  โรคหอบหืด  ไข้ละอองฟาง  หรือแพ้ยาง่าย  โดยเลี่ยงไปใช้กลุ่มอื่นแทน  เช่น  กลุ่มมะโครไลด์  หรือกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน  เป็นต้น

    กรณีแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่ม  ก็ไม่ควรใช้ตัวอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันเช่นกัน

  • คำแนะนำการใช้ยา

    ยากลุ่มนี้ควรรับประทานขณะท้องว่าง  เช่น  ก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง  หรือหลังอาหาร  2  ชั่วโมง  เนื่องจากยาถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร  ซึ่งจะหลั่งออกมามากขณะมีอาหารในกระเพาะ  นอกจากนั้นอาหารจะดูดซับยาไว้ส่วนหนึ่งทำให้ยาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดลดลง  จนอาจมีความเข้มข้นไม่มากพอที่จะทำลายเชื้อได้  ดังนั้น  จึงไม่ควรให้ยาใกล้เคียงเวลารับประทานอาหารยกเว้นอะม็อกซิซิลลินที่อาหารไม่มีผลรบกวนการดูดซึมของยาและไม่ถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร  จึงสามารถรับประทานก่อนอาหารหรือหลังอาหารก็ได้

    และเนื่องจากยากลุ่มนี้ถูกทำลายด้วยกรดจึงไม่ควรรับประทานร่วมกับผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด  เช่น  น้ำส้ม  น้ำมะนาว  เป็นต้น  เพราะสารที่มีรสเปรี้ยวจะมีฤทธิ์เป็นกรด  ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

    กรณีที่รับประทานแอมพิซิลลินหรือเพนิซิลลินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด  อาจทำให้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพลดลง  จึงควรระมัดระวังขณะที่ใช้ยา  2  กลุ่มนี้ในช่วงเวลาเดียวกัน

      กลุ่มเซฟาโลสปอริน

    กลุ่มเซฟาโลสปอรินเป็นยาที่มีโครงสร้างคล้ายกลุ่มเพนิซิลลิน  สามารถใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลินได้  แต่ควรระวังการใช้  เพราะพบว่าเกิดการแพ้ยาข้ามกลุ่มได้ประมาณ  15-20 %  หมายความว่า  ใน  100  คนที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน  เมื่อมาใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินแล้วเกิดอาการแพ้กลุ่มเซฟาโลสปอรินได้มากถึง  15-20  คน

    กลไกการออกฤทธิ์                        เซฟาโลสปอรินออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียมีผลให้แบคทีเรียตาย (Bactericidal)

    ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ยากลุ่มนี้แบ่งออกเป็น  4  รุ่น  แต่ละรุ่นมีขอบเขตการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียดังนี้

    เซฟาโลสปอรินรุ่นที่หนึ่ง

    ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกเป็นส่วนใหญ่  ในการยังยั้งแกรมลบต้องเพิ่มขนาดให้สูงขึ้น  เพราะยาผ่านผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบได้ยากกว่า  และได้ผลเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบบางตัว  เช่น  Escherichia coli. Proteus mirabilis  และ  Moraxella catarrhalis  ยาทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนสได้เล็กน้อย

    ยามีผลทำลายแบคทีเรียกลุ่มแอนแอโรปส์ได้  ยกเว้น  Baccteroides fragilis

    เซฟาโลสปิรินรุ่นที่สอง

    ออกฤทธิ์ยังยั้งแกรมบวกได้ใกล้เคียงกับรุ่นที่หนึ่งและออกฤทธิ์ต่อแกรมลบได้มากขึ้นโดยเฉพาะซีฟาคลอร์ที่ได้ผลดีมากต่อ  H. Influenzae  ยายังทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนสได้มากกว่ารุ่นที่หนึ่งและทำลายแอนแอโรปส์ตลอดจนสามารถทำลาย  Bacteroides fragilis  ได้ด้วย

    เซฟาโลสปอรินรุ่นที่สาม

    ยารุ่นนี้มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกน้อยกว่ารุ่นที่หนึ่ง และรุ่นที่สอง แต่ประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียแกรมลบมากขึ้นและใช้ได้ผลดีมากต่อแบคทีเรียแกรมลบดังต่อไปนี้

    • Pseudomonas aeruginosa
    • gonorrhoeae เชื้อหนองใน
    • influenzae เชื้อไข้หวัดใหญ่
    • coli ทำให้เกิดอาการท้องเดินหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
    • spp
    • Proteus spp.

    เซฟาโลสปอรินรุ่นที่สี่

    ยารุ่นนี้ มีแต่ในรูปยาฉีด ออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียแกรมลบได้มากกว่าทุกรุ่นที่ผ่านมาและทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนสมากขึ้น

ตารางแสดงยาและประสิทธิภาพของยากลุ่มเซฟาโลสปอรินแต่ละรุ่น

รุ่น ชื่อยา ตัวอย่างชื่อการค้า ผลต่อ

เชื้อแบค

ทีเรีย

แกรมบวก

ผลต่อเชื้อแบคทีเรีย

แกรมลบ

ความทนต่อเอนไซม์

เพนิซิลิเนส

หรือเบต้า

แลคทาเมส

ผลต่อ

แบคทีเรีย

แอนแอโรปส์

รุ่นที่หนึ่ง Cephalothin

Cephapirin

Cefazolin

Cephalexin

Cephradine

Cefadroxil

Keflin®

Cefadly®

Cefazolin Meiji®

Keflex® ,lbliex®

Anspor® ,Velosef®

Cefadril®

Uricef® ,Furicef®

++++ +

เฉพาะ

Moraxella

catarrhalis,

E.coli,

Proteus mirabilis

 

+ +++

ยกเว้น

Bacteroides

fragilis

รุ่นที่สอง Cefamandole

Cefoxitin

Cefaclor

Cefuroxime

Cefonicid

Cefotetan

Ceforanide

Cefprozil

Mandol®

Cefoxin®

Distaclor®,Vercef®

Zinnat®

Monocid®

Cafotan®

 

Procef®

+++ ++ +++ +++
รุ่นที่สาม Cefotaxime

Cetizoxime

Cefixime

Ceftriaxone

Cefoperazone

Ceftibuten

Ceftazidime

Cefsulodin

Cefdinir

Cefpodoxime

Moxalactam

Claforan®

Cefizox®

Cefspan®

Rocephin®

Cefobid®

Cedax®

Fortum®

Monaspor®

Omnicef®

Banan®

Moxam®

+ถึง+++

แต่ไวน้อย

กว่ารุ่น

ที่หนึ่ง

และรุ่นที่

สอง

+++

ทำลาย

Pseudomonas

Aeruginosa

ได้ดีมาก

+++ +++
รุ่นที่สี่ Cefpirome

Cefepime

Ceform®

Maxipime®

++++ +++ถึง++++ทำลาย

Pseudomonas

Aeruginosa

ได้ดีมาก ยามีผล

ทำลายเชื้อแกรมลบที่ดื้อต่อรุ่นที่สามได้ดีอีกด้วย

+++ +++

 

หมายเหตุ จำนวน + มากหมายความว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าจำนวน + น้อย

เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเซฟาโลสปอรินทั้ง 4 รุ่น จะเห็นว่ารุ่นที่หนึ่งมีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียแกรมบวกดีที่สุด ใกล้เคียงกับรุ่นที่สี่ ส่วนรุ่นที่สองมีฤทธิ์ยับยั้งแกรมลบดีกว่ารุ่นที่หนึ่ง โดยเฉพาะเชื้อหนองใน (N.gonorrhoeae) และเชื้อไข้หวัดใหญ่ (H.influenzae) ส่วนรุ่นที่สามมีฤทธิ์ทำลายแกรมลบและยังสามารถทำลาย P.aeruginosa ได้อีกด้วย

ทุกตัวของกลุ่มเซฟาโลสปอรินทนต่อเอนไซม์เพนิชิลิเนส

            n  ข้อบ่งใช้สำหรับกลุ่มเซฟาโลสปอริน

เซฟาโลสปอริน เป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคมีเรียหลายชนิด ส่วนใหญ่ยากลุ่มนี้อยู่ในรูปยาฉีด แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสูตรโครงสร้างที่ทำให้ได้เซฟาโลสปอรินชนิดรับประทานหลายชนิดซึ่งสะดวกในการใช้มากกว่ายาฉีดและผู้ป่วยทนต่อยาได้ดีกว่ายารุ่นที่หนึ่ง

ซีฟาเล็กชินซึ่งอยู่ในรุ่นที่หนึ่ง สามารถเลือกใช้เป็นยาอันดับแรกในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ทอนซิลอักเสบ คออักเสบ ไซนัสอักเสบ และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ

ปอดบวม ตลอดจนการติดเชื้อในหูชั้นกลาง เป็นต้น

นอกจากนั้น เซฟาโลสปอรินรุ่นที่สาม ยังสามารถนำมาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเซฟทริเอโซนนิยมนำมาใช้ในการรักษาหนองใน และแผลริมอ่อน เป็นต้น

แนวทางกว้าง ๆ ในการใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินชนิดรับประทาน  คือ

รุ่นที่หนึ่ง            ใช้กรณีติดเชื้อแกรมบวกเป็นหลัก เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง คออักเสบ การติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน

รุ่นที่สอง            ใช้กับการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แผลผิวหนังติดเชื้อของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนั้นแพทย์ยังนิยมให้รุ่นที่สองกับผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ และผ่าตัดทางสูตินรีเวช เพื่อป้องกันการติดเชื้อขณะและหลังผ่าตัดโดยเฉพาะการติดเชื้อ E.coli

รุ่นที่สาม            รุ่นนี้ทั้งหมดสามารถใช้รักษาการติดเชื้อแกรมลบหลายชนิด เช่น ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ผิวหนังติดเชื้อ การติดเชื้อในช่องท้อง โดยเฉพาะเซฟทริเอโซนซึ่งเป็นยาฉีดจะใช้กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในหรือแผลริมอ่อน ได้ดี

รุ่นที่สี่                ยารุ่นนี้สามารถใช้กับโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้ทุกระบบและมีเฉพาะในรูปที่เป็นยาฉีดเท่านั้น

  • ข้อควรทราบอื่น ๆ ของยากลุ่มนี้ได้แก่
    1. ควรรับประทานซีฟาเล็กซิน และซีฟาดรีนก่อนอาหารเพราะถ้ามีอาหารอยู่ อาหารจะดูดซับยาไว้ ทำให้ยาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้น้อย ประสิทธิภาพการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร
    2. ถ้าให้โปรเบนีซิตขนาด 1 กรัม ล่วงหน้า 1 ชั่วโมงก่อนให้เซฟาโลสปอริน จะทำให้ยาอยู่ในร่างกายนานขึ้นและมีระดับยาในเลือดสูงขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาดี
  • ขนาดรับประทาน

    สำหรับยาในรูปแบบรับประทานมีขนาดการใช้ดังนี้

    รุ่นที่หนึ่ง

    ซีฟาเล็กซิน                                 1  กรัม               ทุก  6  ชม.

    ซีฟาดร็อกซิล                              1  กรับ               ทุก 12 ชม.

    รุ่นที่สอง

    ซีฟาคลร์                                   1  กรัม               ทุก  8  ชม.

    เซฟูร็อกซีม อะซีติล                      500 มก.             ทุก  12  ชม.

    รุ่นที่สาม

    เซฟโปด็อกซีม โปรซีติล                 200-400  มก.     ทุก  12  ชม.

    เซฟดิเนียร์                                  100  มก.            ทุก 8 ชม.  รับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร

    กลุ่มเซฟาโลสปอรินจัดเป็นยาที่สามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์

  • อาการข้างเคียง

    เซฟาโลสปอรินเป็นยาที่พัฒนาโครงสร้างมาจากกลุ่มเพนิซิลลิน กลไกการทำลายแบคทีเรียจึงเหมือนกัน คือ ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยต่อคนสูงเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลินเช่นกัน

    อาการข้างเคียงที่พบโดยทั่วไป คือ ผื่นคัน ลมพิษ เช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน ส่วนการแพ้แบบช็อกจากการแพ้ยาพบน้อย

    สิ่งที่ควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หวัด หรือไข้ละอองฟาง โรคหอบหืด เพราะเป็นผู้ที่ไวต่อการแพ้อยู่แล้ว นอกจากนั้นแม้ว่าจะสามารถใช้ได้กับผู้ที่แพ้กลุ่มเพนิซิลลินก็ตาม แต่น่าจะหลีกเลี่ยงในกลุ่มที่แพ้เพนิซิลลินด้วย เพราะพบว่าผู้แพ้เพนิซิลลินเมื่อมาใช้เซฟาโลสปอรินจะเกิดการแพ้กลุ่มนี้มากถึง 15-20% เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของยาใกล้เคียงกัน

    อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้บ้าง เช่น ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือ มึนงง ซึ่งเมื่อใช้ยาไประยะเวลาหนึ่ง หรือหยุดใช้อาการจะหายไปได้เอง

กลุ่มมะโครไลด์

            ยากลุ่มนี้มักนำมาใช้กับผู้แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน นอกจากนั้นยังนิยมใช้กับการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างและการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

กลไกการออกฤทธิ์                        ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนที่ไรโบโซม บริเวณส่วนที่ 50s มีผลทำใหแบคทีเรียหยุดการเจริญเติบโต (Bacteriostatic)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ทั้งกลุ่มทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนสได้ดี ตัวที่เป็นรุ่นแรก คือ อิริโธรมัยชิน มีการออกฤทธิ์คล้ายเพนิซิลลิน คือได้ผลดีต่อแบคทีเรียแกรมบวก ส่วนผลต่อ

แกรมลบจะน้อยยกเว้นที่สังเคราะห์มาในระยะหลัง เช่น ร็อกซิโธรมัยซิน สไปรามัยซิน คลาริโธรมัยซิน และเอซิโธรมัยซิน จะมีประสิทธิภาพทำลายแกรมลบบางชนิดได้ดีขึ้น

ยากลุ่มนี้ที่ใช้กันทั่วไปมี 6 ตัว ดังนี้

  1. อิริโธรมัยซิน
  2. ร็อกซิโธรมัยซิน
  3. ไมดิกามัยซิน
  4. สไปรามัยซิน
  5. คลาริโธรมัยซิน
  6. เอซิโธรมัยซิน
  7. อิริโธรมัยซิน

            อิริโธรมัยซินไม่ถูกทำลายจากเอนไซม์เพนิซิลิเนส ออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี โดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus pneumonia, Streptococcus pyogenes (Group A Streptococcus) และ Staphylococcus spp.

ยาไม่ค่อยได้ผลต่อแบคทีเรียแกรมลบ แกรมลบที่พอจะได้ผลอยู่บ้าง คือ

  • Neisseria gonorrhoeae ทำให้เกิดโรคหนองใน
  • Haemophilus ducreyi ทำให้เกิดโรคแผลริมอ่อน

นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนบางตัว ได้แก่

  • Propionibacterium acne ทำให้เกิดสิว
  • Mycoplasma pneumonia ทำให้ทอนซิลอักเสบ และปอดบวม
  • Chlamydia trachomatis ทำให้เกิดโรคริดสีดวงตา

อิริโธรมัยซิน มี 4 รูปแบบ ดังนี้

            1.1 อิริโธรมัยซินเบส

เป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียโดยตรง ซึ่งอิริโธรมัยซินรูปแบบอื่น เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะต้องเปลี่ยนเป็นอิริโธรมัยซินเบสก่อนจึงมีผลต่อแบคทีเรีย

            1.2 อิริโธรมัยซินสเตียเรต

อิธิโธรมัยซินสเตียเรต เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นอิริโธรมัยซินเบสจึงออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย เนื่องจากยารูปแบบนี้สามารถถูกทำลายด้วยกรดในกระเพราะอาหาร จึงต้องทำเป็นยาเม็ดเคลื่อนชนิดทนกรด ตัวอย่างชื่อการค้า ได้แก่ อิริโธรซิน (Erythrocin®)

อิริโธรมัยซินเบสและอิริโธรมัยซินสเตียเรตควรให้ก่อนอาหารและดื่มน้ำตาม 2 แก้วจึงจะทำให้ดูดซึมเข้าเลือดได้เต็มที่และผลการรักษาดี กรณีรับประทานก่อนอาหารแล้วรู้สึกคลื่นไส้ อนุโลมให้เปลี่ยนมารับประทานหลังอาหารแทน แต่ประสิทธิภาพน้อยกว่าการรับประทานก่อนอาหาร

อิริโธรมัยซินเบสและอิริโธรมัยซินสเตียเรตเป็นรูปแบบที่สามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตรได้อย่างปลอดภัย

1.3 อิริโธรมัยซินเอสโตเลต

            เป็นรูปแบบที่ทนต่อกรดได้ดีจึงสามารถทำให้รูปแคปซูลและทำในรูปยาน้ำแขวนตะกอน สามารถให้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นอิริโธรมัยซินเบส แล้วจึงออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย อิริโธรมัยซินรูปแบบนี้มีผลเสียต่อตับมากกว่าแบบอื่น ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานมากเกิน 10 วัน เพราะจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ

1.4 อิริโธรมัยซินเอทิลซัคซิเนส

            ดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้น้อยกว่ารูปแบบเอสโตเลต สามารถให้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้เช่นกัน เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นอิริโธรมัยซินเบสแล้วจึงออกฤทธิ์ ยามีรสขมน้อยกว่าแบบอื่นและทนต่อกรดได้ดีจึงนิยมนำมาทำในรูปยาน้ำแขวนตะกอน

แม้ว่ารูปแบบของอิริโธรมัยซินทั้ง 4 แบบจะมีการดูดซึมต่างกัน แต่ขอบเขตการทำลายแบคทีเรียและผลการรักษาไม่ต่างกัน

  • ข้อบ่งใช้

อิริโธรมัยซินทุกชนิดเป็นยาที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้ในทารก เด็ก ผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีแนวโน้มแพ้ยาง่าย ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด ตลอดจนผู้เป็นโรคเลือดชนิดขาดเอนไซม์ G-6PD โดยเฉพาะอิริโธรมัยซินสเตียเรต เป็นรูปแบบที่ใช้กับคนท้องได้ทุกๆ ระยะของการตั้งครรภ์

โรคติดเชื้อที่ยังสามารถใช้อิริโธรมัยซินได้ผลดี คือ

  • การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน

ขนาดรับประทาน              ผู้ใหญ่ ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอนติดต่อกัน 5-7 วัน

เด็ก 30 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง

  • ป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อแผล มี หนองที่ผิวหนัง

ขนาดรับประทาน              ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 5-7 วัน

ขนาดรับประทาน              ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 15 วัน

  • ข้อควรทราบคือ
  1. ขนาดรับประทานที่กำหนดเป็นปริมาณที่เทียบเท่ากับอิริโธรมัยซินเบส
  2. กรณีให้ก่อนอาหารแล้วคลื่นไส้ อาเจียน ให้เปลี่ยนมารับประทานหลังอาหารแทน แต่ประสิทธิภาพอาจจะน้อยกว่าการรับประทานก่อนอาหาร
  3. สิ่งที่ควรระวัง คือ อิริโธรมัยซิน ขับออกทางตับและสะสมในตับเป็นส่วนใหญ่ จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ตับทำงานบกพร่อง และกรณีที่ต้องใช้ยาติดต่อกันนานหลายวันไม่ควรให้อิริโธรมัยซินในรูปของเอสโตเลต เพราะเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดอาการอักเสบของตับสูง โดยผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลือง ส่วนใหญ่อาการจะเกิดหลังจากใช้ยาติดต่อกันนาน 10-20 วัน เมื่อพบอาการเช่นนี้ให้หยุดยาทันที แล้วอาการจะหายได้เอง

อย่างไรก็ตาม ยาขับออกทางไตน้อยมากจึงไม่จำเป็นต้องลดขนาดยาในผู้ป่วยที่ไตไม่ดีหรือเป็นโรคไต

  • อาการข้างเคียง

อาการข้างเคียงที่พบได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง หลีกเลี่ยงได้โดยดื่มน้ำตามมากๆ และอาจให้รับประทานหลังอาหาร

แม้ว่ายาตัวนี้จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงและพบการแพ้น้อยมาก แต่กรณีผู้ป่วยใช้ยาหลายตัว เช่น ยาแก้หอบหืดหรือยาอื่น ควรหลีกเลี่ยงการใช้อิริโธรมัยซิน เนื่องจากมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาต่อกันกับยาได้หลายชนิด

  1. ร็อกซิโธรมัยซิน

ตัวอย่างชื่อการค้า เช่น รูลิด (Rulid®)

ร็อกซิโธรมัยซินมีขอบเขตการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกเช่นเดียวกันกับอิริโธรมัยซิน และมีประสิทธิภาพทำลายแกรมลบได้เล็กน้อย สิ่งที่ต่างจากอิริโธรมัยซินคือ ระยะเวลาการออกฤทธิ์นานกว่า จึงรับประทานเพียงวันละ 2 ครั้ง นอกจากนั้นยังไม่ค่อยพบอาการคลื่นไส้อาเจียน ตัวยาทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้ดี สามารถให้หลังอาหารได้ แต่พบว่าการให้ก่อนอาหาร 15 นาที จะทำให้ผลการรักษาดีที่สุด

นอกจากนั้นยายังสามารถซึมผ่านเยื่อบุผิวได้ดี จึงนิยมใช้ในการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ หู คอ จมูก ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อนขนาดที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ คือ ครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร 15 นาที เด็กครั้งละ 2.5-5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร

ยาทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้อยกว่าอิริโธรมัยซินขับออกจากร่างกายทั้งทางตับและไต แต่ไม่สะสมในผู้ที่ไตทำงานบกพร่อง จึงไม่ต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต ยกเว้นผู้ป่วยโรคตับแข็งให้ปรับขนาดยาลงเป็นครั้งละ 150 มก. วันละ 1 ครั้ง

  1. ไมดิกามัยชิน

ได้ผลดีต่อแบคทีเรียแกรมบวกและ Mycoplasma pneumoniae ที่ทำให้ทอนซิลอักเสบและปอดบวม นิยมใช้กับการติดเชื้อเป็นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ในช่องปาก

ชื่อการค้า คือ ไมดิกามัยซิน เมจิ                                  ชนิดแคปซูล 200 มก.

(Midecamycin Meiji®)                          ชนิดเม็ด ขนาด 200 มก.

ไมโอติน (Miotin®)                                ชนิดน้ำเชื่อม ขนาด 100 และ 200 มก. ต่อช้อนชา

ขนาดรับประทาน  ผู้ใหญ่ ครั้งละ 200 – 400 มก. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เด็ก ครั้งละ 20 – 40 มก. ต่อ กก. ต่อวัน แบ่งให้ 3 ครั้ง

  1. สไปรามัยซิน

ปัจจุบันมีการใช้น้อยมาก

ชื่อการค้า คือ โรวามัยซิน (Rovamycin®) ยามีอาการข้างเคียงสูงโดยเฉพาะการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง ท้องเดิน ผิวหนังมีผื่นขึ้น และยาทำให้ฟันมีสีน้ำตาลติดฟันเช่นเดียวกับเตตร้าชัยคลิน

โรคที่ยังมีการใช้สไปรามัยซินอยู่บ้าง ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ทอกซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ โพรงจมูกอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบ

ขนาดรับประทาน              ครั้งละ 500 มก. วันละ 3 ครั้งหลังอาหารหรือกรณีอาการรุนแรง ใช้ครั้งละ 1000 มก. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น

เนื่องจากสไปรามัยซิมีผลเสียต่อตับค่อนข้างมาก จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ หรือตับทำงานบกพร่อง

  1. คลาริโธรมัยซิน

ชื่อการค้า คือ คลาซิด (Klacid®)

ยามีขอบเขตการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบคล้ายคลึงกับอิริโธรมัยซิน แต่ผลต่อ  H.influenzae ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ และ M.catarrthalis ดีกว่า นอกจากนั้นยังครอบคลุม Mycoplasma pneumoniae ด้วย

คลาริโธรมัยซินเหมาะจะใช้ในการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างที่มีอาการเรื้อรังหรือรุนแรง หรือใช้ยาพื้นฐานมาแล้วแต่ผลการรักษายังไม่ดี

ขนาดรับประทาน               ครั้งละ 250 มก. วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน สามารถให้ก่อนอาหารหรือหลังอาหารก็ได้

คลาริโธรมัยซิน ยังสามารถใช้กับการติดเชื้อ Helicobacter pyroli ได้ดี แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดแผลบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยใช้ขนาดครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง

  1. เอซิโธรมัยซิน

ชื่อการค้า คือ ซิโธรแม็ก (Zithromax®)

เอซิโธรมัยซินมีผลยับยั้งแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบได้ดีกว่าคลาริโธรมัยซิน โดยเฉพาะยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลริมอ่อนและหนองในได้ดีกว่ากลุ่มมะโครไลด์ทุกตัว แต่อย่างไรก็ตามควรนำมาใช้ในกรณีที่ใช้ยาพื้นฐานแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง

ข้อบ่งใช้ของเอซิโธรมัยซินเช่นเดียวกับคลาริโธรมัยซิน โดยมีขนาดรับประทาน คือ

  • กรณีติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ใช้ครั้งละ 500 มก. วันละ 1 ครั้งก่อนอาหาร ติดต่อกัน 3 วัน
  • กรณีใช้รักษาหนองในและแผลริมอ่อน ตลอดจนการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะใช้ขนาด 1 กรัม เพียงครั้งเดียวขณะท้องว่างหรือก่อนอาหาร

เอซิโธรมัยซินเป็นยาที่มีประสิทธิภาพรักษาได้ทั้งหนองในแท้และหนองในเทียม

อาการข้างเคียงที่เกิดจากยาพบได้บ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือถ่ายเหลว

กล่าวโดยสรุปของยากลุ่มมะโครไลด์ คือ ออกฤทธิ์ครอบคลุมแบคทีเรียแกรมบวกเป็นหลักและได้ผลต่อแกรมลบบางชนิดเท่านั้นตัวยาทนต่อเอนไซม์เพนิซิลิเนสได้ดี ยาในรุ่นหลังเช่น ร็อกซิโธรมัยซินคลาริโธรมัยซิน เอซิโธรมัยซิน จะสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น คลื่นไส้ อาเจียนน้อยลง ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แต่ละตัวไม่แตกต่างกันมากนัก

สิ่งที่ควรระวังของยากลุ่มนี้คือ ส่วนใหญ่ขับออกจากร่างกายทางตับมากกว่าทางไต โดยเฉพาะอิริโธรมัยซิน จึงควรระวังและหลีกเลียงในผู้ป่วยที่ตับไม่ดี โดยเฉพาะร็อกซิโธรมัยซิน ถ้าใช้กับผู้ป่วยตับแข็ง ต้องลดขนาดลงเหลือครั้งละ 150 มก. วันละ 1 ครั้ง เป็นต้น แต่ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาลงในผู้ป่วยโรคไตหรือไตไม่ดี

  • กลุ่มเตตร้าซัยคลิน

กลไกการออกฤทธิ์                        ออกฤทธิ์ยังยั้งการสร้างโปรตีนที่ไรโบโซมส่วนที่ 30s มีผลทำให้แบคทีเรียหยุดการเจริญเติบโต (Bacteriostaic)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ยากลุ่มเตตร้าซัยคลินมีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมเชื้อจุลชีพหลายชนิดดังนี้

  • แบคทีเรียแกรมบวกรูปกลมหลายชนิดยกเว้น Group A Streptococcus และ Staphylococcus aureus ที่เป็นสาเหตุหลักของการอักเสบบริเวณคอและต่อมทอนซิล
  • ยามีผลต่อแกรมลบหลายชนิด โดยเฉพาะ Neisseria gonorrhoeae ที่ทำให้เกิดโรคหนองใน
  • Haemophilus influenzae ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่
  • Haemophilus ducreyi ที่เป็นสาเหตุของแผลริมอ่อน
  • Escherichia coli ที่ทำให้เกิดอาการท้องเดิน
  • Vibrio cholera ซึ่งทำให้เกิดอหิวาต์
  • Propionibacterium acne ที่เป็นสาเหตุของสิว
  • Treponema pallidum ที่เป็นสาเหตุของซิฟิลิส

ยากลุ่มนี้ยังมีผลต่อแบคทีเรียบางชนิดที่ไม่ใช้อากาศในการดำรงชีวิตหรือแบคทีเรียกลุ่มแอนแอโรปส์ เช่น

  • Chlamydia trachomatis ที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงตา
  • Mycoplasma pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของปอดบวม
  • Helicobacter pyroli ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นแผล

นอกจากจะมีประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียหลายชนิดแล้ว ยังสามารถทำลายจุลชีพอื่น เช่น โปรโตซัวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคบิดมีตัวและมาลาเรีย ตลอดจนเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ด้วย

กลุ่มเตตร้าซัยคลินแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย ตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ในร่างกาย ดังนี้

  1. ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น ได้แก่
    • คลอร์เตตร้าซัยคลิน ชื่อการค้าคือ ออริโอมัยซิน (Aureomycin® )
    • อ็อกซีเตตร้าซัยคลิน
    • เตตร้าซัยคลิน

ยาทั้ง 3 ชนิด รับประทานครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

  1. ระยะเวลาการออกฤทธิ์ยาว ได้แก่
    • ด็อกซีซัยคลิน ชื่อการค้าคือ ไวบรามัยซิน (Vibramycin® ) ขนาดรับประทาน ครั้งแรก 200 มก. วันละ 1 ครั้ง ต่อไปครั้งละ 100 มก. วันละ 1 ครั้ง
    • ไมโนซัยคลิน ชื่อการค้าคือ ไมโนซิน (Minocin® ) ขนาดรับประทาน ครั้งละ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น กรณีใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง รับประทานครั้งละ 50 มก. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น

 

  • ข้อบ่งใช้ของยากลุ่มเตตร้าซัยคลินทุกตัว

เนื่องจากยามีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง จึงสามารถใช้กับการติดเชื้อได้ทุกระบบ เช่น ระบบหายใจ ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร หนองใน

นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังนำมาใช้รักษาสิวอักเสบได้ดี เนื่องจากมีประสิทธิภาพทำลาย P.acne ที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ และเป็นต้นเหตุที่ทำให้ต่อมไขมันบริเวณหน้าทำงานมาก ดังนั้นเมื่อใช้เตตร้าซัยคลินในการรักษาสิว จะทำให้ความมันของหน้าลดลง หน้าแห้งขึ้น และไม่เพิ่มจำนวนหัวสิวใหม่ โดยไมโนไซคลินจัดว่าเป็นยารักษาสิวที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดสำหรับกลุ่มนี้ แต่ยามีข้อด้อย คือ คลื่นไส้อาเจียนสูงและมีราคาแพง

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องระวังคือปัญหาการดื้อยา ซึ่งพบสูงกว่ายาปฏิชีวนะกลุ่มอื่น เนื่องจากเป็นยาเก่าและมีการใช้พร่ำเพรื่อหรือใช้ไม่ถูกต้อง จากการสุ่มประชากรทั่วประเทศ พบว่าประชากรไทยดื้อต่อเตตร้าซัยคลินทั้งประเทศ (เฉพาะเตตร้าซัยคลิน ไม่ได้หมายความถึงยาอื่นในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน)

  • อาการข้างเคียง
  1. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

ยาทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไขโดย แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่ควรรับประทานพร้อมกับนมหรือยาลดกรดเพราะจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงอย่างมาก ยกเว้นด็อกซีซัยคลินซึ่งเป็นตัวเดียวในกลุ่มที่รับประทานร่วมกับนมหรือยาลดกรดได้โดยอาหารและนม ไม่มีผลขัดขวางการดูดซึมของด็อกซีซัยคลินเข้าสู่กระแสเลือด

  1. ผลต่อไต

ผงยาเตตร้าซัยคลินที่ถูกต้องจะมีสีเหลืองนวล ถ้าผงยาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาล แสดงว่ายาเสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใช้ เพราะมีพิษต่อไตสูงมาก อาจทำให้ไตพิการถาวร ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กลูโคสและแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้สูญเสียสารอาหารเหล่านั้นออกมากับปัสสาวะเกิดอาการบวมทั้งตัวเราเรียกว่ากลุ่มอาการแฟนโคนิซินโดรม

ดังนั้น ก่อนใช้ยากลุ่มนี้ ควรตรวจดูว่ายาเสื่อมสภาพหรือหมดอายุหรือไม่ โดยดูสีของผงยาในแคปซูล ถ้าเปลี่ยนจากสีเหลืองนวลเป็นสีเหลืองเข้ม สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มแสดงว่ายาเสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด

  1. ผลต่อกระดูกและฟัน

เตตร้าซัยคลิน สามารถจับกัลแคลเซียมที่กระดูกและฟันแล้วทำให้กระดูกไม่แข็งแรงและฟันมีสีน้ำตาลอย่างถาวร จึงห้ามใช้ยานี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน เพราะยาจะไปรบกวนการก่อตัวของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกไม่เจริญเท่าที่ควรและฟันมีสีน้ำตาลถาวร

นอกจากนี้เตตร้าซัยคลินยังสามารถผ่านจากรกไปสู่ทารกในครรภ์และผ่านออกทางน้ำนมได้ มีผลยับยั้งการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์และเด็ก ทำให้การเจริญของสมองลดลง ทารกหรือเด็กอาจพิการหรือสติปัญญาเสื่อม จึงห้ามใช้เด็ดขาดในหญิงตั้งครรภ์และระยะให้นมบุตร

  1. ผลต่อผิวหนัง

อาจพบมีอาการแพ้เกิดขึ้น แต่ไม่บ่อย อาการที่พบ เช่น ผื่นคัน

สิ่งที่ต้องระวัง คือ ยากลุ่มเตตร้าซัยคลินทำให้ผิวหนังแพ้แสง ไวต่อแสงมากกว่าปกติ ถ้าใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อถูกแดดผู้ป่วยจะมีอาการผิวแดง ไหม้ รู้สึกชาบริเวณที่ถูกแสง โดยเฉพาะด็อกซีซัยคลินทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อผิวหนังมากที่สุด ส่วนไมโนซัยคลินทำให้เกิดอาการต่อผิวหนังน้อยที่สุด แม้ว่าจะใช้เป็นเวลานาน แต่ไมโนซัยคลินก็เป็นยาตัวเดียวในกลุ่มที่ทำให้ระบบการทรงตัวเสียไป เกิดอาการเวียนศีรษะได้ง่ายระหว่างที่ใช้ยา

  1. ผลต่อตับและไต

เตตร้าซัยคลินในขนาดสูงอาจทำลายตับ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าน ตับอ่อนอักเสบ อาการเป็นพิษต่อตับมักพบร่วมกับพิษต่อไตหรือรายที่มีภาวะไตเสื่อมร่วมด้วยจึงห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับที่มีอาการรุนแรง ในกรณีผู้ป่วยโรคไต หากจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่มนี้ ควรใช้ด็อกซีซัยคลินเพราะยาขับออกทางไตในรูปที่หมดฤทธิ์แล้ว

  1. การติดเชื้อแทรกซ้อน

เนื่องจากยามีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลชีพหลายชนิด ฉะนั้น เมื่อใช้ยานี้เป็นระยะเวลานาน ยาจะไปทำลายจุลชีพเจ้าถิ่นในร่างกายด้วย ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย ที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อราแคนดิด้าในบริเวณช่องปาก ลำคอ ช่องคลอด และทางดินอาหาร

  • ข้อแนะนำการใช้ยา
  1. ไม่ควรรับประทานยากลุ่มเตตร้าซัยคลินร่วมกับนม ยาลดกรด หรือยาบำรุงโลหิต ทั้งนี้เพราะยาจะรวมกับแคลเซียมในนม หรือเกลืออะลูมิเนียมในยาลดกรด หรือเหล็กในยาบำรุงโลหิต จะทำให้ยาถูกดูดซึมได้น้อยลง เหลือปริมาณยาในกระแสเลือดไม่เพียงพอในการรักษา ยกเว้นด็อกซีซัยคลินไม่มีผลนี้
  2. ควรรับประทานหลังอาหารครึ่งชั่วโมง เพื่อให้การดูดซึมดีที่สุดโดยไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  3. ไม่ควรใช้เตตร้าซัยคลินรักษาการติดเชื้อบริเวณทอนซิลหลอดคอ ไซนัส หรือระบบทางเดินหายใจทุกส่วน เนื่องจากพบว่ามีการดื้อยาสูง โดยเฉพาะหากเป็นการติดเชื้อ Gr.A Streptococcus ยาจะไม่ได้ผลเลย นอกจากไม่หายแล้วยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่า ถ้าเชื้อนี้หลุดไปอยู่ในกระแสเลือดและไปตามบริเวณต่างๆ เช่น ถ้าไปที่ผิวหนังจะเกิดผิวหนังอักเสบ บวมแดง เป็นบริเวณกว้างที่เรียกว่า ไฟลามทุ่ง ถ้าไปบริเวณข้อ กระดูกต่างๆ จะทำให้ข้อปวด บวม แดง ร้อน และมีไข้ ที่เรียกว่า ข้ออักเสบจากไข้รูมาติก หรือถ้าไปที่ไต เชื้อจะทำลายเนื้อไต กรวยไต ทำให้อักเสบ มีไข้ และมีอาการกรวยไตอักเสบ
  • กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน

ยากลุ่มนี้มี 4 รุ่น รุ่นที่หนึ่งได้ยกเลิกแล้ว ทุกรุ่นจะนิยมใช้กับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบเป็นหลัก เช่น การติดเชื้อระบบปัสสาวะ ท้องเดิน ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง

กลไกการออกฤทธิ์                        ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลิอิกของแบคทีเรีย มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Bacteriostatic)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    เฉพาะนอร์ฟล็อกซาซินเท่านั้นที่ยับยั้งเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบ ไม่มีผลทำลายแกรมบวก ส่วนตัวอื่นมีผลต่อแกรมบวกด้วย

ตารางยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนที่ใช้ในร้านยา

ชื่อสามัญ

ทางยา

ชื่อการค้าต้นแบบ รูปแบบทางการค้า ข้อบ่งใช้และขนาดรับประทาน หมายเหตุเพิ่มเติม
นอร์ฟล็อกซาซิน เล็กซีนอร์

(Lexinor®)

ยาเม็ดขนาด 100 มก.,

200 มก.

และ 400 มก.

ยามีฤทธิ์ครอบคลุมได้เฉพาะแกรมลบ นำมาใช้กับการติดเชื้อเพียง 3 โรค คือ

1. ท้องเดินที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (ท้องเดินเฉียบพลันและค่อนข้างรุนแรง หรือท้องเดินต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง)

– ขนาดรับประทานครั้งละ 200-400 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร 1 ชม. หรือหลังอาหาร 2 ชม. ติดต่อกัน 3-5 วัน

การที่นอร์ฟล็อกซาซินใช้กับการติดเชื้อเพียง 3 โรค ที่กล่าว ไม่ได้นำไปใช้กับการติดเชื้อส่วนอื่น เพราะว่ายาถูกดูดซึมได้น้อยทำให้ความเข้มข้นของยาในเลือดน้อยไม่มากพอที่จะไปยังตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกาย
      2. กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เป็นครั้งแรก หรือมีอาการไม่รุนแรง เรื้อรัง

– ขนาดรับประทานครั้งละ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7-10 วันก่อนอาหาร 1 ชม.

3. หนองในแท้ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

– ขนาดรับประทานครั้งเดียว 800 มก.

 
โอฟล็อกซาซิน ทาร์ริวิด

(Tarivid®)

100 มก./เม็ด

 

ยาครอบคลุมแกรมลบได้เช่นเดียวกับนอร์ฟล็อกซิน แต่สามารถมีผลต่อแกรมบวกได้ด้วย จึงมีการใช้กว้างกว่า ปัจจุบันนิยมใช้เป็นยาอันดับแรกในการรักษาการติดเชื้อระบบปัสสาวะ โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขนาดรับประทาน ครั้งละ 100-200 มก. วันละ 2 ครั้งก่อนอาหารติดต่อกัน 7-10 วัน อีกโรคที่ใช้ คือ หนองใน ถ้าเป็นหนองในแท้ให้ 400 มก. ครั้งเดียว ถ้าเป็นหนองในเทียมให้ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง ทั้งหมดให้ก่อนอาหาร 1 ชม. หรือหลังอาหาร 2 ชม. ติดต่อกัน 10 วัน โอฟล็อกซาซิน จะถูกขับออกจากร่างกายทางไตสูงกว่าตัวอื่นในกลุ่มนี้ จึงนิยมนำมาใช้เป็นตัวแรกในการรักษาการติดเชื้อระบบปัสสาวะ
ไซโปรฟล็อก-   ซาซิน ไซโปรเบย์

(Ciprobay®)

250 มก./เม็ด และ 500 มก./เม็ด ครอบคลุมแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกได้ดีกว่า 2 ตัวแรก สามารถใช้กับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ทุกระบบ นอกจากนั้นยังมีประสิทธิภาพต่อแอน-แอโรปส์และ Pseudomonas spp. ยาตัวนี้ควรสงวนไว้ใช้กรณีเป็นการติดเชื้อเรื้อรังหรือรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ใช้ยาพื้นฐานแล้วไม่หาย  
      ข้อบ่งใช้และขนาดรับประทาน

1. หนองในแท้ รับประทานครั้งละ 500 มก. ครั้งเดียว

2. แผลริมอ่อน ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารติดต่อกัน 3 วัน

3. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดหรือระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่เรื้อรังหรือรุนแรง ใช้ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 5 วัน

4. การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อนที่มีสาเหตุจาก Staphylococcus spp. และ Streptococcus spp. ที่ใช้กลุ่มเพนิซิลลิน และเซ- ฟาโลสปอรินแล้วไม่ได้ผล หรือแพ้ยา 2 กลุ่มข้างต้น โดยเฉพาะแผลเบาหวานที่เรื้อรังมีการติดเชื้อหลายชนิด

 
ลิโวฟล็อกซาซิน เครวิด

(Cravid® )

100 มก./เม็ด และ 500 มก./เม็ด และมีรูปแบบฉีด 500 มก./100 มล.

 

ยาตัวนี้ครอบคลุมเชื้อได้กว้างกว่านอร์ฟล็อกซา-ซิน โอฟล็อกซาซิน และ ไซโปรฟล็อกซาซิน แต่ควรสงวนไว้ใช้กรณีใช้ยาอื่นแล้วไม่หายและโรคมีอาหารเรื้อรัง สามารถใช้ในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง โดยเฉพาะไซนัสอักเสบเรื้อรังและปอดอักเสบ ขนาดรับประทาน ครั้งละ 500 มก. วันละ  1 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน

1. หนองในแท้และหนองในเทียม ครั้งละ 300 มก. ครั้งเดียว

2. การติดเชื้อระบบปัสสาวะที่มีอาการเรื้อรังหรือรุนแรงครั้งละ 200 มก. วันละ 3 ครั้งติดต่อกัน  7 วัน

3. การติดเชื้อผิวหนังเรื้อรัง ครั้งละ 500 มก. วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 10 วัน

 
      ข้อบ่งใช้และขนาดรับประทาน

1. หนองในแท้ รับประทานครั้งละ 500 มก. ครั้งเดียว

2. แผลริมอ่อน ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารติดต่อกัน 3 วัน

3. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอมลมอักเสบ ปอดหรือระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่เรื้อรังหรือรุนแรง ใช้ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 5 วัน

4. การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อนที่มีสาเหตุจาก Staphylococcus spp. และ streptococcus spp. ที่ใช้กลุ่มเพนิซิลลิน และเซฟาโลสปอรินแล้วไม่ได้ผล หรือแพ้ยา 2 กลุ่มข้างต้น โดยเฉพาะแผลเบาหวานที่เรื้อรังมีการติดเชื้อหลายชนิด

 

 
ลีโวฟล็อกซาซิน เครวิด (Cravit®) 100 มก./เม็ด และ 500 มก./เม็ด และมีรูปแบบฉีด 500 มก./ 100 มล. ยาตัวนี้ครอบคลุมเชื้อได้กว้างกว่านอร์ฟล็อกซาซิน โอฟล็อกซาซิน และ ไซโปรฟล็อกซาซิน แต่ควรสงวนไว้ใช้ในกรณีใช้ยาอื่นแล้วไม่หายและโรคมีอาการเรื้อรัง สามารถใช้ในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง โดยเฉพาะไซนัสอักเสบเรื้อรังและปอดอักเสบ ขนาดรับประทาน ครั้งละ 500 มก. วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน

1. หนองในแท้และหนองในเทียม ครั้งละ       300 มก. ครั้งเดียว

2. การติดเชื้อระบบปัสสาวะที่มีอาการเรื้องรังหรือรุนแรงครั้งละ 200 มก. วันละ 3 ครั้งติดต่อกัน 7 วัน

3. การติดเชื้อผิวหนังเรื้อรัง ครั้งละ 500 มก. วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 10 วัน

 

 

นอกจากยาดังกล่าวข้างต้น ยังมีตัวใหม่ ซึ่งอยู่ในระยะทดลองใช้ คือ

ม็อกซิฟลอกซาซิน ชื่อการค้า คือ เอวีล็อก (Avelox®)ยาตัวนี้เพิ่มความสามารถในการครอบคลุมเชื้อแอนแอโรปส์ได้ดี โดยยังคงมีฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกเช่นเดียวกับตัวแรกๆ แต่ยังต้องศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของยาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเราจะไม่นิยมนำม็อกซิฟลอกซาซินมาใช้กับการติดเชื้อระบบปัสสาวะ เพราะระดับยาที่ถูกขับออกทางไตต่ำ ไม่เพียงพอในการให้ผลการรักษา ขณะที่ตัวอื่นของกลุ่มนี้ขับออกทางปัสสาวะในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ในปริมาณที่มากพอที่จะรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะโอฟล็อกซาซิน

ยากลุ่มนี้ทั้งกลุ่มควรรับประทานก่อนอาหาร 1 ชม. หรือ หลังอาหาร 2 ชม. และกรณีรับประทานนมหรือยาลดกรดร่วมด้วยให้รับประทานยาห่างกันประมาณ 2 ชม.

  • อาการข้างเคียง

พบอาการข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน อาเจียน เบื่ออาหาร อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนงง นอนไม่หลับได้บ้าง

  • ข้อควรระวัง
    1. ปฏิกิริยาต่อกันกับยาบางตัว กรณีผู้ป่วยใช้ยาขยายหลอดลมธีโอฟีลลิน ให้ระวังการใช้ เพราะยามีผลทำให้ระดับความเข้มข้นของธีโอฟีลลินเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะไซโปรฟล็อกซาซิน
    2. ห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงระยะให้นมบุตร เพราะพบรายงานว่ายามีผลต่อการเจริญของกระดูกอ่อนในข้อของลูกสุนัข มีผลทำให้การพัฒนาของกระดูกไม่สมบูรณ์และเคยมีรายงานว่าเกิดอาการปวดกระดูก ปวดข้อและข้อเข่าบวมในเด็กที่ใช้ยากลุ่มนี้
    3. ไม่ควรใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนกับผู้ขาดเอนไซม์ G-6 PD
    4. ยากลุ่มนี้ทั้งกลุ่มขับออกทางไตเป็นส่วนใหญ่ กรณีผู้ป่วยเป็นโรคไต หรือมีการทำงานของไตบกพร่อง ควรลดปริมาณยาลง
    5. ไม่ควรรับประทานเวลาใกล้กับนมหรือยาลดกรด เพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมได้น้อยลง
  • กลุ่มคลอแรมเฟนิคอล

กลไกการออกฤทธิ์                        ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซม ส่วนที่ 50s มีผลทำให้แบคทีเรียหยุดเจริญเติบโต (Bacteriostatic)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมเชื้อหลายชนิดทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ ตลอดจนเชื้อราและโปรโตซัว

ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่

  • คลอแรมเฟนิคอล
  • ไธแอมเฟริคอล

ปัจจุบันคลอแรมเฟนิคอลจัดเป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ห้ามจำหน่ายในร้านยา เนื่องจากมีอาการข้างเคียงรุนแรง ส่วนไธแอมเฟนิคอลเป็นยาเก่ามากปัจจุบันแทบไม่มีการใช้

  • ข้อบ่งใช้

สำหรับคอลแรมเฟนิคอลจะนำมาใช้เฉพาะการรักษาโรคติดเชื้อไทฟอยด์หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไม่นำมาใช้กับการติดเชื้อทั่วไป เนื่องจากยากดการทำงานของไขกระดูกทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดอะพลาสติก

ส่วนไธแอมเฟนิคอลชื่อการค้า เออร์ฟามัยซิน (Urfamycin®) เป็นยาที่เปลี่ยนแปลงมาจากคลอ-แรมเฟนิคอล ออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมเชื้อหลายชนิด แต่น้อยกว่าคลอมแรมเฟนิคอล อย่างไรก็ตามยามีข้อดีกว่าคือไม่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดอะพลาสติก

  • อาการข้างเคียง
  1. กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดอะพลาสติก ซึ่งเป็นภาวะของไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดทำงานน้อยลง ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการซีด โลหิตจาง การสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และการสร้างเกล็ดเลือดลดลง มีเลือดออกง่ายและเลือดหยุดช้า อาการข้างเคียงนี้ไม่ขึ้นกับขนาดของยาที่ได้รับ ไม่ว่าจะได้รับยาในปริมาณมากหรือน้อยก็จะเกิดอาการนี้ได้เท่าๆ กัน อาการอาจเกิดได้ แม้ว่าจะได้รับยาเพียงครั้งเดียวก็ตาม และอาการจะไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะหยุดยาแล้ว
  2. เนื่องจากยาถูกทำลายที่ตับเป็นส่วนใหญ่ การใช้ยานี้ในเด็กแรงเกิดที่การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการสะสมของยาในเลือดมากจนเกิดเป็นพิษต่อเด็กได้ โดยจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า เกรย์ซินโดรม เด็กจะมีอาการ อาเจียน ท้องเดิน ท้องอืด อุณหภูมิร่างกายต่ำ การไหลเวียนของเลือดติดขัด ตัวเขียวหรือซีดเป็นสีเทา ร่างกายอ่อนปวกเปียก หมดสติ และความดันโลหิตต่ำจนอาจเสียชีวิตได้ จึงห้ามใช้ยานี้ในทารกอย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะในระยะ 1 ปีแรก
  3. อาจเกิดอาการแพ้ยาในรูปของผื่นคันหรือมีไข้ได้
  • กลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์

กลไกการออกฤทธิ์                        อะมิโนกลัยโคไซด์ ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซมส่วนที่ 30s มีผลฆ่าแบคทีเรียโดยตรง (Bactericidal)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ยากลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์เป็นยาที่ออกฤทธิ์แคบมีผลต่อเชื้อแกรมลบรูปแท่งเป็นส่วนใหญ่ทั้งชนิดที่ต้องใช้ออกซิเจน และชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต

เนื่องจากยาถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อย จึงไม่ทำในรูปรับประทาน แต่ทำในรูปยาฉีดหรือผสมอยู่ในยาที่ทาผิวหนังหรือยาหยอดตา ป้ายตา

ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่

  • สเตร็ปโตมัยซิน
  • โทบรามัยซิน
  • สเป็คทิโนมัยซิน
  • นีโอมัยซิน
  • เอมิเคซิน
  • ไดบิเคซิน
  • พาโรโมมัยซิน
  • กานามัยซิน
  • เจนตามัยซิน

 

  • ข้อบ่งใช้

แพทย์มักนำยากลุ่มนี้มาใช้กับการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเดิน แต่จะใช้เมื่อกรณีจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากยามีอาการข้างเคียงรุนแรง

ยากลุ่มนี้หลายตัวนิยมนำมาผสมเป็นยาใช้ภายนอก เช่น นีโอมัย ผสมอยู่ในยาใช้ภายนอก เช่น ยาหยอดตาหลายชนิด ยาทาแผลภายนอก ตัวอย่างชื่อการค้า เช่น เบทโนเวท เอ็น (Betnovate® -N) ตัว N ที่ต่อท้าย คือ นีโอมัยซิน

เจนตามัยซินผสมรวมอยู่ในยาทาแผลภายนอกได้ผลดีในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ และแบคทีเรียแกรมบวก โดยเฉพาะ Staphylococcus spp สายพันธุ์ที่สร้างเอมไซม์เพนิซิลิเนส ข้อด้อยของเจนตามัยซิน คือ เชื้อเกิดการดื้อยาได้ง่าย

 

  • อาการข้างเคียง

กลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ในรูปของยาฉีดเป็นยาที่มีอาการข้างเคียงรุนแรง แพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้เมื่อจำเป็นจริงๆ อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่

  1. อาจทำให้เกิดอาการทางหูจนทำให้หูหนวก เนื่องจากยาไปทำลายเส้นประสามสมองหรืออาจทำลายเส้นประสาทหูที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
  2. ยาทำให้การทำงานของระบบควบคุมการทรงตัวเสียไปเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และการทรงตัวไม่ดี
  3. เป็นพิษต่อไต แต่ในขนาดที่ใช้รักษาทั่วไปไม่ค่อยพบอาการนี้มากนัก
  4. ทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า หรือบริเวณรอบๆ ปาก
  5. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ยา เช่น เป็นไข้ ผื่นคัน ผมร่วง บางรายอาจถึงขั้นแพ้รุนแรงที่เรียกว่า ช็อกจากการแพ้ยา
  • กลุ่มซัลโฟนาไมด้

ยากลุ่มนี้เรียกกันทั่วไปว่า “ยาซัลฟา” เป็นยากลุ่มแรกที่นำมาใช้ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียมีการดื้อยากลุ่มนี้สูง อาการข้างเคียงรุนแรงและมีการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ ขึ้นมามาก ทำให้การใช้ยากลุ่มนี้ลดลง

กลไกการออกฤทธิ์                        ซัลโฟนาไมด์ออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการเมตาบอลิซึมของแบคทีเรียมีผลให้แบคทีเรียหยุดการเจริญเติบโต (Bacteriostatic)

ขอบเขตการออกฤทธิ์                    ซัลโฟนาไมด์ออกฤทธิ์กว้าง มีผลต่อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ และยังใช้ได้ผลกับเชื้อโปรโตซัวบางตัว เช่น เชื้อมาลาเรีย เป็นต้น

ชนิดของยากลุ่มซัลโฟนาไมด์

ซัลโฟนาไมด์สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มตามประสิทธิภาพในการถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารและการขับถ่ายทางปัสสาวะ ดังนี้

  1. ยาที่ถูกดูดซึมเร็วและขับถ่ายออกจากร่างกายเร็ว

ยากลุ่มนี้ละลายน้ำได้ดีและขับออกทางปัสสาวะได้เร็ว ทำให้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์สั้นเหมาะสำหรับใช้ในโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่

  • ซัลฟิซ็อกซาโซล ใช้เป็นยารักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ซัลฟาไดอะซีน ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เพราะพบว่าแบคทีเรียส่วนใหญ่ดื้อต่อยาตัวนี้
  1. ยาที่ถูกดูดซึมเร็วแต่ขับถ่ายออกจากร่างกายช้า

ยากลุ่มนี้จะมีฤทธิ์อยู่ในร่างกายนาน จึงให้เพียงวันละ 1 ครั้ง แต่มีการใช้น้อย เนื่องจากพบอาการแพ้ยาได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการแพ้ยาที่เรียกว่า “โรคตาหยี ปากกระโถน” หรือ “สตีเว่นจอห์นสัน ซินโดรม”

ยากลุ่มนี้ได้แก่

  • ซัลฟาเมธ็อกซาโซล
  • ซัลฟาเมธ็อกซีไพริดาซีน
  • ซัลฟาไดเมธ็อกซีน
  • ซัลฟาด็อกซีน ยาตัวนี้ใช้รักษาและป้องกันมาลาเรียโดยผสมรวมกับไพริเมทธามีน ในชื่อการค้าต่าง ๆ เช่น ไววาซีน (Vivaxine®) เป็นต้น
  1. พวกที่ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร

ตัวอย่างยาได้แก่

  • ซัลฟาซาลาซีน
  • ซัลฟากัวนิดีน เดิมยาตัวนี้ใช้ในการรักษาท้องเดินจากการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เพราะพบว่าแบคทีเรียส่วนใหญ่ดื้อต่อยาตัวนี้

ส่วนซัลฟาซาลาซีน แพทย์นำไปใช้ในโรคที่มีการอักเสบปวด บวม แดง ร้อน ของกระดูกและกล้ามเนื้อ เนื่องจากยาสามารถลดสารอักเสบบางตัวได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ)

  1. ยาซัลฟาที่นำมาใช้เฉพาะภายนอก

ยากลุ่มนี้ได้นำมาทำในรูปรับประทานหรือฉีด แต่นะยมนำมาผสมในรูปใช้ภายนอก ได้แก่

  • ซัลฟาเซตาไมด์นำมาผสมในยาหยอดตาเพื่อรักษาอาการเยื่อหุ้มตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย และใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคริดสีดวงตา
  • เมฟีไนด์นำมาทำในรูปครีมใช้เป็นยาทาแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก โดยทาให้ทั่วบริเวณแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ
  • ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอะซีน มีข้อบ่งใช้เช่นเดียวกับเมฟีไนด์ คือ เป็นยาทาแผลไฟไหม้ ยามีข้อดีกว่าเมฟีไนด์ คือ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญของเชื้อราได้ และไม่แสบผิวหนังเวลาทา

ปัจจุบันยากลุ่มนี้ในรูปรับประทานแทบไม่มีการใช้ ที่ยังใช้อยู่บ้างจะเป็นยาที่ผสมกันระหว่างซัลฟาเมธ็อกซาโซลและไตรเมโธพริม ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าสูตรโคไตรม็อกซาโซล ตัวอย่างชื่อการค้า คือ แบคทริม (Bactrim®)

  • ข้อบ่งใช้

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงข้อบ่งใช้ของยาสูตรโคไตรม็อกซาโซลเท่านั้น โดยปัจจุบันนำมาใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เพิ่งเริ่มเป็นยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะจากเชื้อ coli
  • ใช้รักษาโรคริดสีดวงตา
  • การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเดินจากบิดไม่มีตัวและไทฟอยด์

สิ่งที่เน้นย้ำคือยาสูตรโคไตรม็อกซาโซล จะยังใช้ได้ผลบ้างเฉพาะกรณีการติดเชื้อไม่รุนแรง อาการของโรคไม่รุนแรง และไม่นิยมใช้กับโรคผิวหนังที่มีหนอง เพราะในกรณีเป็นฝีหนอง ความเป็นกรดของหนองจะยับยั้งประสิทธิภาพของยา ทำให้ผลการรักษาไม่ดีและเกิดการดื้อยาได้ง่าย

นอกเหนือจากสูตรโคไตรม็อกซาโซล ยากลุ่มนี้บางตัวยังนำมาใช้รักษาโรคอื่นบางโรค เช่น

ซัลฟาซาลาซีนนำมาใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และข้อกระดูกและกล้ามเนื้ออักเสบที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลโปซีจีเนส ทำให้ลดการสร้างสารอักเสบ ชื่อลูโคไตรอีนส์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือร้านยาเรื่องโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ)

  • อาการข้างเคียง

กลุ่มซัลโฟนาไมด์ เกิดอาการข้างเคียงสูงถึง 5% ของผู้ใช้ยาอาการข้างเคียงที่พบได้แก่

  1. อาการแพ้ยา

มักพบอาการแสดงที่บริเวณผิวหนัง เช่น ผิวหนังเกิดผื่นแดงคัน ลมพิษ ตุ่มน้ำ ผิวหนังลอก แพ้แสง ฯลฯ บางครั้งอาจรุนแรงมากจนถึงมีอาการของโรคตาหยี ปากกระโถนหรือที่เรียกว่า สตีเว่น จอห์นสัน ซินโดรม ซึ่งเป็นการแพ้ยาที่มีอาการเกิดขึ้นทั่วร่างกาย มีแผลพุพองตามผิวหนัง รอบปากและตาจะบวมเป่ง นอกจากนี้อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารด้วย

ผู้ใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง เมื่อถูกแสงแดดผิวอาจจะแดงจนกระทั่งไหม้ จึงควรระมัดระวังขณะใช้

  1. ยาอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์จี 6 พีดี (G-6 PD) ซึ่งคนกลุ่มนี้เม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายได้ง่ายอยู่แล้ว การได้รับยาซัลฟาจะยิ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเร็วขึ้นและมากขึ้น
  2. ซัลโฟนาไมด์ส่วนใหญ่จับกับโปรตีนได้ดี กรณีที่จับกับบิริลูบินในเลือดจะทำให้เกิดดีซ่าน จึงไม่ควรให้ยากลุ่มนี้กับทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงในระยะให้นมบุตร เพราะยาจะทำให้ทารกและเด็กมีความผิดปกติทางสมองและปัญญาอ่อน เรียกกลุ่มอาการนี้ว่าเคอร์นิคเทอรัส
  3. อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งพบได้ประมาณ 12% ของผู้ใช้ยา
  • ข้อแนะนำการใช้ยา

ยากลุ่มนี้ทุกตัวละลายน้ำยาก ดังนั้นเมื่อรับประทานยาควรดื่มน้ำตาม 2-3 แก้ว เพื่อป้องกันยาตกตะกอนตามทางเดินปัสสาวะ



1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Duration of drug action. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7352385)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)