ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เกิดจากการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ นับเป็นภาวะติดเชื้อทางระบบปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะกับผู้หญิง ภาวะนี้มักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงแต่สร้างความรำคาญเล็กน้อยเท่านั้น กรณีที่เป็นไม่รุนแรงมักจะดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่วัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยกว่าคนทั่วไปและอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นประจำ หรือระยะยาว อีกทั้งยังมีโอกาสที่ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะนำไปสู่ภาวะติดเชื้อที่ไตที่ร้ายแรงได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนมากถูกคาดว่า มีสาเหตุเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ หรือแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนังตามปกติเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ (ท่อที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย) แบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุด คือ อี.โคไล (E. coli)

ยังไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ท่อปัสสาวะแต่ก็อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ การเช็ดก้นหลังจากอุจจาระโดยเฉพาะหากเช็ดจากหลังไปหน้า การสวมใส่ผ้าอนามัยแบบสอด หรือใส่สายสวนท่อปัสสาวะ หรือการใช้หมวกครอบปากมดลูก (Diaphragm) เพื่อการคุมกำเนิด 

ผู้หญิงจะเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีทวารหนักใกล้กับท่อปัสสาวะมาก และท่อดังกล่าวก็มีขนาดสั้นกว่ามากทำให้แบคทีเรียสามารถขยับเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง 

สัญญาณและอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการทั่วไปของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนี้

  • เจ็บปวด แสบร้อน หรือเจ็บแปลบขณะปัสสาวะ 
  • ปัสสาวะบ่อยและอย่างเร่งด่วนกว่าปกติ
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม ขุ่น หรือมีกลิ่นแรง 
  • เจ็บปวดใต้ท้องน้อย
  • รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว
  • คันตามร่างกาย
  • คลื่นไส้ และเหน็ดเหนื่อย
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ใหญ่มักจะไม่มีไข้สูง หากมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีอาการเจ็บหลัง หรือข้างลำตัวอาจเป็นสัญญาณของภาวะไตติดเชื้อแทน

สำหรับในเด็กแล้ว เป็นการยากที่จะสังเกตภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพราะอาการของเด็กเล็กจะมีความกำกวมมาก อีกทั้งเด็กยังไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกได้อย่างชัดเจน แต่อาการที่อาจปรากฏกับผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก มีดังนี้

  • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป อ่อนแรง ฉุนเฉียว ความอยากอาหารลดลง และอาเจียน
  • เด็กที่ป่วยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเกิดอาการคล้ายกับที่เกิดกับผู้ใหญ่ เช่น เจ็บปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และเจ็บท้อง เป็นต้น แต่ค่อนข้างยาก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

  • เมื่อคุณมีอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นครั้งแรก แล้วอาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปไม่กี่วัน
  • คุณประสบกับภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้ง และมีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดปนปัสสาวะออกมา 
  • คุณกำลังตั้งครรภ์และมีอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย 
  • คุณเป็นผู้ชายและมีอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ลูกของคุณมีอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

แพทย์ผู้ดูแลจะสามารถวินิจฉัยภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้จากการสอบถามอาการ และอาจมีการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียมายืนยันการวินิจฉัยอีกที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยปกติแล้ว ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักจะไม่เป็นภาวะร้ายแรง แต่อาการที่เกิดจะมีความคล้ายกับภาวะร้ายแรงอื่นๆ ดังนั้นคุณจึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยให้ถูกต้องจะดีที่สุด ผู้หญิงที่เคยประสบกับภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก่อนไม่จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เมื่อมีภาวะกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากกรณีที่เป็นไม่รุนแรงจะหายได้เองแม้จะไม่ได้รับการรักษา คุณสามารถปฏิบัติตามวิธีดูแลตนเองที่บ้านได้ง่ายๆ หรือสอบถามกับเภสัชกรแทนก็ได้

อะไรบ้างที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ไม่สามารถถ่ายให้หมดกระเพาะปัสสาวะได้ภายในครั้งเดียว

หากคุณไม่สามารถปัสสาวะให้หมดกระเพาะปัสสาวะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในกระเพาะตกค้างอยู่และทำให้เพิ่มจำนวนง่ายขึ้น ปัจจัยนี้อาจเกิดจากคุณมีระบบขับถ่ายอุดตัน เช่น เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกดันตัวเข้าไปขวางกระเพาะปัสสาวะ ภาวะต่อมลูกหมากโต (สำหรับผู้ชาย) จนกดทับท่อปัสสาวะ เป็นต้น

  • วัยหมดประจำเดือน

สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผ่านช่วงหมดประจำเดือนมาแล้ว ผนังเยื่อบุของท่อปัสสาวะอาจหดตัวลงจนทำให้ท่อบางลง เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนซึ่งทำให้สมดุลแบคทีเรียในช่องคลอดเสียไปด้วยจนทำให้เชื้อแบคทีเรียอันตรายเพิ่มจำนวนขึ้น

ภาวะเช่นนี้จะทำให้ร่างกายอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากขึ้นจนทำให้เชื้อแพร่จำนวนเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะได้

ความเสี่ยงต่อภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีมากขึ้นหากคุณเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในปัสสาวะที่สูงเกินไปทำให้ปัสสาวะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อชั้นยอด ดังนั้นจึงทำให้แบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะก่อให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบง่ายขึ้นมาก

สาเหตุอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ความเสียหายจากการมีเพศสัมพันธ์
  • ความระคายเคืองสารเคมี เช่น สบู่หอม หรือสบู่อาบน้ำ
  • ความเสียหายจากการใช้สายสวน หรือการผ่าตัดที่กระเพาะปัสสาวะ
  • การบำบัดด้วยรังสีที่บริเวณเชิงกราน หรือการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
  • อวัยวะเพศของผู้หญิงอาจเกิดความเสียหายจากการตัดกรีดด้วยเหตุผลตามวัฒนธรรม ขนบประเพณี หรือเหตุผลทางสังคมอื่นๆ
  • อีกทั้งภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบยังเชื่อมโยงกับการใช้ยาเคทามินด้วย

การป้องกันภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากประสบกับภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้ง คุณสามารถป้องกันการเกิดภาวะนี้ซ้ำซากได้ แม้จะยังไม่มีหลักฐานว่า วิธีป้องกันต่อไปนี้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหนก็ตาม ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ไม่ใช้สบู่อาบน้ำผสมแป้งฝุ่น หรือสบู่น้ำหอมล้างบริเวณรอบอวัยวะเพศ ควรใช้สารทำความสะอาดร่างกายที่ไม่ใส่น้ำหอมแทน
  • อาบน้ำฝักบัวแทนการอาบในอ่างเพื่อเลี่ยงไม่ให้อวัยวะเพศต้องกับสารเคมีนานเกินไป
  • เข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะและต้องถ่ายให้หมดกระเพาะปัสสาวะจริงๆ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ เพราะการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเพิ่มจำนวนในกระเพาะปัสสาวะ
  • เช็ดทวารหนักให้สะอาดหมดจดหลังทำธุระเสร็จ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
  • ขับถ่ายให้หมดกระเพาะปัสสาวะทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น ถุงยางอนามัย
  • สวมกางเกงชั้นในที่ทอจากผ้าไหมแทนใยสังเคราะห์อย่างผ้าไนลอน และไม่สวมกางเกงที่คับจนเกินไป

มีรายงานว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ แต่งานวิจัยส่วนมากกลับรายงานขัดกันว่า น้ำผลไม้ชนิดนี้ไม่ได้ช่วยสร้างความแตกต่างอะไรมากมาย

การรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากคุณไปพบแพทย์เนื่องจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะมาใช้รักษาการติดเชื้อนี้ ยาดังกล่าวควรเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่ง หรือสองวัน

หากคุณเคยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก่อนและไม่ได้เป็นรุนแรงมากขนาดที่ควรต้องไปพบแพทย์ คุณก็สามารถรักษาตนเองได้ที่บ้านโดยใช้วิธีรักษาต่อไปนี้ได้ด้วยตนเองจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น ได้แก่

  • รับประทานยาพาราเซตตามอล หรือไอบูโพรเฟน
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ประคบขวดน้ำร้อน เหนือหน้าท้อง หรือระหว่างต้นขา
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

ผู้ป่วยบางรายสามารถใช้ยาลดความเป็นกรดของปัสสาวะที่วางขายตามร้านขายยาได้ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) หรือ โพแทสเซียมซิเตรต (Potassium citrate) แต่ก็ยังคงขาดหลักฐานว่า ยาเหล่านี้ได้ผลจริงหรือไม่

ยาปฏิชีวนะ

ในบางกรณีแพทย์จะจัดจ่ายยาปฏิชีวนะให้แก่คุณ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งยาเม็ด หรือแคปซูลที่ต้องรับประทาน 2 -4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลานาน 3 วันต่อกัน โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษา เช่น Trimethoprim/sulfamethoxazole  Fosfomycin  Nitrofurantoin  Cephalexin และ Ceftriaxone

ปกติยาปฏิชีวนะควรจะเริ่มออกฤทธิ์ทันทีที่ใช้ยา คุณควรกลับไปพบแพทย์หากว่า อาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ยาไปแล้ว 1 - 2 วัน ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่ประสบกับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ แต่หากเกิดขึ้นก็มักจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ คันตามร่างกาย ผื่นขึ้น และท้องร่วงเท่านั้น

ถ้าคุณเป็นภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำซาก แพทย์จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะสำรอง หรือยาปฏิชีวนะใช้ต่อเนื่อง ดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะสำรอง (stand-by antibiotic) เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา เมื่อมีอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถใช้ยานี้ได้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์
  • ยาปฏิชีวนะแบบใช้ต่อเนื่อง (Continuous antibiotic) จะเป็นยาที่ต้องใช้ต่อเนื่องนานหลายเดือนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกครั้ง โดยอาจจ่ายยาเหล่านี้ให้เมื่อมีข้อบ่งใช้ดังนี้

      หากมีอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์: อาจได้รับยาปฏิชีวนะมารับประทานภายใน 2 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์

      หากมีอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยไม่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์: อาจได้รับยาปฏิชีวนะขนาดยาต่ำมาทดลองใช้ก่อนเป็นระยะเวลา 6 เดือน

แพทย์ผู้ดูแลยังสามารถแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ แม้ว่า จะยังไม่มีหลักฐานว่าวิธีเหล่านั้นใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดก็ตาม

ที่มาของข้อมูล

Urinary tract infection (UTI) (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/diagnosis-treatment/drc-20353453)

Urinary Tract Infections (https://www.ucsfhealth.org/conditions/urinary_tract_infections/)

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
โรคมะเร็งที่ไต
โรคมะเร็งที่ไต
บทความต่อไป
ไตติดเชื้อ
ไตติดเชื้อ