ความหมาย เป็นการอักเสบของไตและกรวยไตทั้งสองข้าง เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรียมักเกิดตามหลังการติดเชื้อ Group A beta hemolytic streptococci เช่น ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) พบบ่อยในเด็ก เกิดหลังจากติดเชื้อ 1-3 สัปดาห์ และเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่ใช่เชื้อ Streptococcus เช่น Bacterial endocarditis, Sepsis และอาจเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น Systemic lupus erythematosus (SLE), Vasculitis เป็นต้น
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พยาธิสรีรภาพ เมื่อเชื้อแบคทีเรียมาถึงไต เชื้อจะเพิ่มจำนวนและทำให้ไตอักเสบอย่างกว้างขวาง ไตอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื้อไตมีพังผืด เป็นแผลเป็น มีฝีกระจายอยู่ทั่วไต ไตจะมีขนาดเล็กลงและเกิดภาวะไตวายในที่สุด
อาการ มีอาการปวดบริเวณเอวด้านข้าง กดเจ็บบริเวณ Costovertebral ปวดศีรษะ มีปัญหาการมองเห็น อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เบื่ออาหาร หอบเหนื่อยเนื่องจากมีเกลือและน้ำคั่ง มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ปัสสาวะน้อย ตาและหน้าบวม มีเลือดปนในปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะ มียูเรียในเลือดมากเกินไป ปัสสาวะออกน้อยเป็นบางครั้ง มีน้ำและเกลือคั่ง
การวินิจฉัยโรค จากอาการและตรวจปัสสาวะพบมีเลือดและโปรตีนปนในปัสสาวะ มี Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูง ซีด
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลิน เพื่อรักษาการติดเชื้อ ควบคุมอาหารเค็ม น้ำ และโปรตีน ให้ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันเลือดเพื่อควบคุมความดันเลือด ให้พักผ่อน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อไม่มีเลือดและโปรตีนในปัสสาวะ หากเกิดจาก SLE ใช้ Glucocorticoids ร่วมกับ Cytotoxin agents เช่น ให้ Cyclophosphamide หรือให้ Azathioprine ทางหลอดเลือดดำเดือนละครั้ง
การพยาบาล บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก ชั่งน้ำหนักทุกวัน ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อป้องกันจากการติดเชื้อ ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม สังเกตภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว และมีอาการทางสมองเนื่องจากความดันเลือดสูง ติดตามผลการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับ Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr) กระตุ้นการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง ติดต่อสังคมสงเคราะห์หากผู้ป่วยมีปัญหาด้านเศรษฐกิจหรือปัญหาครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย