ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure; ARF)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure) เป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างทันทีทันใด มีอัตราการกรองลดลงในระยะเวลาอันสั้นภายใน 1 ชั่วโมง ถึง 3 วัน มีผลทำให้เกิดของเสียคั่งในเลือด เช่น ยูเรีย  ไนโตรเจน ครีอะตินีน เป็นต้น เรียกภาวะนี้ว่า "อะโซทีเมีย (Azotemia)"  แต่หากมีอาการแสดงของของเสียคั่งในเลือด จะเรียกว่า "ภาวะยูรีเมีย (Uremia)" เมื่อไตวายเฉียบพลัน  ไตจะขับปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มิลลิลิตร/วัน เรียกว่า "ภาวะปัสสาวะน้อย (Oliguria)" และหากปัสสาวะออกน้อยกว่า 100 มิลลิลิตร/วัน จะเรียกว่า "ไม่มีปัสสาวะ (Anuria)"

สาเหตุ

พยาธิสรีรภาพ 

ไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้นตามมาเมื่อมีเลือดไปเลี้ยงไตลดลง เช่น ภาวะปริมาตรเลือดลดลง ความดันโลหิตต่ำ หลอดเลือดหดตัว หรือเลือดที่บีบออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ โลหิตเป็นพิษเนื่องจากมีไนโตรเจน หรือมียูเรียในเลือด หรือมีของเสียไนโตรเจนสูงในเลือด (Azotemia) เมื่อเลือดไปเลี้ยงไตถูกขัดขวาง ทำให้นำออกซิเจนต่ำลงและขาดเลือดทำให้ไตสูญเสียการทำหน้าที่ไป  ท่อไตมีออกซิเจนไปเลี้ยงลดลง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Azotemia เป็นผลที่ตามมาของเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้อัตราการกรองของหน่วยกรองปัสสาวะ (Glomerular filtration rate; GFR) ลดลง และเพิ่มการดูดซึมโซเดียมและน้ำของท่อไต  GFR ที่ลดลงนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์และภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากความผิดปกติของการเผาผลาญสารอาหารทำให้ตัวกรองของไตเสียหน้าที่ แบ่งออกเป็น 

Nephrotoxic, Inflammatory หรือ Ischemic Postrenal failure เกิดจากการอุดตันของปัสสาวะจากไตทั้งสองข้างซึ่งนำไปสู่ Postrenal failure สาเหตุอาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะ  ท่อไต  และท่อปัสสาวะอุดตัน  เป็นผลมาจากการใช้ยาต้านโคลิเนอร์จิก   ระบบประสารทอัตโนมัติเสียหน้าที่ ติดเชื้อ มีก้อนเนื้องอก ท่อไตอุดตันทำให้ปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะน้อยลง ซึ่งเกิดจากมีก้อนเลือดอุดตัน มีนิ่ว บวมหรืออักเสบ มีเนื้อตายที่ไต มีพังผืด หรือมีเลือดออกด้านหลังเยื่อบุช่องท้อง การผ่าตัด ก้อนเนื้องอก  หรือผลึกของกรดยูริก การอุดตันจากท่อปัสสาวะเกิดจากก้อนเนื้องอกหรือมีการตีบแคบ

ไตวายชนิดที่กล่าวมานี้จะมีปัสสาวะน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ 400 มิลลิลิตรต่อวัน 2-3 วันต่อสัปดาห์ ระบบยูเรีย ครีอะตินิน และยูริกในซีรัมสูง การเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ มีอาการท่อไตและเซลล์ภายในบวม ปัสสาวะมาก (Diuretic phase) ระยะนี้ไม่สามารถเก็บโซเดียมและน้ำไว้ มีอาการปัสสาวะมากกว่า 400 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมง เป็นสาเหตุให้ขาดน้ำและเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ในเลือดมี BUN สูง ต่อมามีการสูญเสียโพแทสเซียม โซเดียม และน้ำ ระยะนี้อาจมีอาการเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ และระยะฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิม (Recovery phase) หากระยะถ่ายปัสสาวะมากได้รับการแก้ไข อาการจะดีขึ้นกลับสู่ภาวะปกติ หรือไตมีหน้าที่ใกล้เคียงกับปกติได้

อาการ 

มีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวันอย่างทันทีทันใด  หรือไม่มีปัสสาวะออกเลย  มีของเสียคั่ง (Blood urea nitrogen และ Creatinine สูง) ทำให้มีอาการของภาวะยูรีเมีย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เยื่อบุช่องปากอักเสบ ท้องผูก ท้องเสีย เลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึม ชัก หรือไม่รู้สึกตัว มีภาวะเป็นกรดจากการเผาผลาญ (Metabolic acidosis) ทำให้มีอาการหายใจเร็วลึก บวม อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ปอดบวมน้ำ มีโพแทสเซียมในเลือดสูง โซเดียมในเลือดต่ำ  เมื่อพ้นระยะ 2 สัปดาห์แล้วผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกมากขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติ

การวินิจฉัยโรค 

จากประวัติมีการเสียเลือด มีการทำลายของเม็ดเลือดแดง กล้ามเนื้อถูกทำลาย มีนิ่วอุดตันทางเดินปัสสาวะ จากการตรวจร่างกายพบหลอดเลือดดำที่คอโป่ง มีอาการหอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีเลือดออกในทางเดินอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการสับสน  หรือชัก  จากการตรวจปัสสาวะจะพบความถ่วงจำเพาะมีค่าคงที่ หรือสูงขึ้น  การตรวจเลือดจะพบค่า BUN, Creatinine  สูงกว่าปกติ BUN : CR = 10 : 1 หรือต่ำกว่าค่าอิเล็กโทรไลต์ พบค่า HCO3 ต่ำ   การตรวจจำนวนเม็ดเลือด (CBC) พบระดับฮีมาโตคริทและระดับฮีโมโกลบิลต่ำ อาจวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ทรวงอก  พบภาวะน้ำเกิน หัวใจล้มเหลว ปอดบวมน้ำ ตรวจอัลตราซาวนด์ดูขนาดของไตและการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ

การรักษา 

ให้การรักษา หรือภาวะที่เป็นสาเหตุและแก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น จำกัดปริมาณน้ำ จำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียม เช่น ผัก ผลไม้ เป็นต้น กำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกายโดยให้ Kayexalate ร่วมกับ Sorbitol เพื่อช่วยขับโพแทสเซียมออกทางอุจจาระ หรือให้ Regular insulin (RI) + 50% Glucose ทาง IV    ทั้งนี้ Insulin จะพา Glucose เข้าเซลล์ และนำ K+ ในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ให้ NaHCO3 ทาง IV ช่วยแก้ภาวะ Metabolic acidosis ช่วยให้ K+ เข้าเซลล์ได้มากขึ้น จำกัดอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ให้อาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น และป้องกันการติดเชื้อ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การพยาบาล 

  • ให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการให้ยาที่มีผลข้างเคียง หรือมีพิษต่อไต 
  • ติดตามผลเลือด Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr), Electrolyte 
  • บันทึกจำนวนปัสสาวะ ระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ และชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน 
  • ระวังการเปลี่ยนท่า 
  • ดูแลผู้ป่วยในระยะที่ทำการฟอกล้างของเสีย 
  • ประเมินอาการ K+ ในเลือดสูง เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หายใจเร็ว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น รักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ และแคลอรี่ รวมทั้งการรักษาสมดุลกรด-ด่าง โดยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอกับที่เสียไปในแต่ละวัน ป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน การรักษาสมดุลเกลือแร่ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม รักษาสมดุลกรด-ด่าง ให้อาหารที่มีแคลอรี่เพียงพอ
  • การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การติดเชื้อจากการคาสายสวนตามที่ต่างๆ จากแผลผ่าตัดและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยแยกผู้ป่วยให้อยู่ห่างจากผู้ป่วยอื่นที่มีการติดเชื้อ และรักษาความสะอาดบริเวณที่มีการสวนคา 
  • กำจัดของเสียออกจากร่างกายผู้ป่วย 
  • ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย โดยจัดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจในภาวะวิกฤตของโรค 
  • จัดอาหารให้เหมาะสมกับโรค เช่น อาหารที่มีแคลอรี่สูง โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ เกลือแร่ วิตามินจากผัก ผลไม้ 
  • ติดตามอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น จำนวนปัสสาวะ ระดับยูเรียในเลือด (BUN) ครีอะตินีน (creatinine) ในเลือด

ที่มาของข้อมูล

ปราณี ทู้ไพเราะ, "คู่มือโรค", โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Rachel Nall, What to know about acute renal failure (https://www.medicalnewstoday.c... March 2019

Biruh T WorkenehAcute Kidney Injury (https://emedicine.medscape.com/article/243492-overview), 6 December 2018

นพ. วสันต์ สุเมธกุล, Patients with Oliguria (https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Patients%20with%20Oliguria.pdf)

ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ พ.บ. และ เกรียง ตั้งสง่า พ.บ, โรคไตวายเฉียบพลัน (http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/content/org/webpageJDMS_30/demo/data/2560/2560-06/2560-06-11-4.pdf)

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
นิ่วในไต
นิ่วในไต
บทความต่อไป
ท่อปัสสาวะอักเสบ
ท่อปัสสาวะอักเสบ