กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นการอักเสบของต่อมทอนซิล หรือที่เรียกว่าต่อมพาลาทีนทอนซิล ซึ่งอยู่ 2 ข้าง ซ้ายและขวาของผนังคอ ผู้ป่วยมักมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย และอาจมีเสียงเปลี่ยนไป

สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ

ส่วนใหญ่ต่อมอาการทอนซิลอกัเสบมักเกิดจากการติดเชื้อ Beta hemolytic streptococcus group A เชื้อ Hemophilus influenza และเชื้อ Staphylococcus aureus หรืออาจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสได้เช่นกัน เช่น เชื้อ Adeno virus และเชื้อ Ebstein-Barr virus  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ต่อมทอนซิลเป็นด่านแรกของร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค โดยมีพาลาทีนทอนซิลเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ด้านข้างของช่องคอ ซึ่งการถ่ายเทน้ำเหลืองจะไหลไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ดังนั้นเมื่อมีการอักเสบของต่อมทอนซิลจึงทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ มีอาการบวม และกดเจ็บ ต่อมทอนซิลจะมีแขนงของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 มาเลี้ยงซึ่งเส้นประสาทนี้จะไปเลี้ยงที่หู ดังนั้นเมื่อมีต่อมทอนซิลอักเสบจึงมีอาการปวดร้าวไปที่หูด้วย และในรายที่มีการอักเสบเรื้อรังมักมีอาการเกิดตามหลังการอักเสบติดเชื้อของอวัยละข้างเคียง เช่น ไซนัสอักเสบ ฟันผุ เป็นต้น

อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ 

ในระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีอาการที่เด่นชัด คือ เจ็บคอเวลากลืน รวมถึงอาจมีเสียงเปลี่ยนไปเนื่องจากต่อมทอนซิลโต และมีน้ำลายมากเนื่องจากมีอาการเจ็บคอมาก เพดานอ่อนและลิ้นเคลื่อนไหวได้น้อยลง และกลืนน้ำลายไม่ค่อยได้ 

อาการอาจส่งผลให้ปวดร้าวไปถึงหู ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต กดเจ็บ และในรายที่มีการอักเสบเรื้อรัง อาการเจ็บคอจะเป็นๆ หายๆ รู้สึกเจ็บไม่มาก และมีไข้ต่ำๆ เมื่อตรวจดูจะพบต่อมทอนซิลบวม แดง และมีหนองติดอยู่ในหลืบของต่อม บางรายอาจพบต่อมทอนซิลแดงเพียงอย่างเดียว หากเป็นเรื้อรังจะพบต่อมทอนซิลแดงไม่มาก แต่อาจพบว่าต่อมทอนซิลโตมากจนมีปัญหาในการกลืน

การวินิจฉัยต่อมทอนซิลอักเสบ 

เบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีอาการทอนซิลอักเสบมักมีอาการเจ็บคอมาก กลืนอาหารแล้วเจ็บมากขึ้น มีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต กดเจ็บ หลังจากนั้นจะตรวจดูบริเวณต่อมทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองที่คอด้วยการสังเกตและกดคลำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่อมทอนซิลแดงและโต มีหนอง หากยังไม่แน่ใจแพทย์อาจให้เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ ซึ่งผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลอักเสบจะมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ หรือส่งเก็บตัวอย่างหนองไปเพาะเชื้อเพื่อดูว่ามีเชื้อแบคทีเรียหรือไม่

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ 

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งมักเริ่มด้วยการให้ยาฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยารับประทาน หากผู้ป่วยแพ้เพนิซิลลิน แพทย์มักให้ยาอิริโทรมัยชินแทน รวมทั้งอาจให้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น 

ผู้ที่มีภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะมีต่อมทอนซิลโตมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดเอาทอนซิลออก (Tonsillectomy) ซึ่งจะพิจารณาจากความจำเป็นต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยมีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยๆ ประมาณปีละ 4-5 ครั้งขั้นไป
  • เคยมีฝีที่ต่อมทอนซิลหรือต่อมทอนซิลโตข้างเดียว
  • มีปัญหาในการกลืน พูดไม่ชัด หรือหายใจลำบาก เนื่องจากต่อมทอนซิลโตมาก

การดูแลผู้ป่วยทอนซิลอักเสบ 

การปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้ฟื้นตัวจากอาการทอนซิลอักเสบได้เร็วขึ้น

  • รับประทานยาบรรเทาปวด ลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาละลายเสมหะ ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ งดออกแรงมาก 
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อขจัดเสมหะ 
  • แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ 
  • ดื่มน้ำให้มาก 
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองที่จะทำให้ไอมากขึ้นหรือหายใจไม่สะดวก

ผู้ดูแลผู้ป่วยควรคอยเตือนให้ผู้ป่วยกินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 7-10 วัน ตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไปแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ รวมทั้งควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด ใช้ผ้าปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจาม และใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tonsillitis: Symptoms, pictures, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156497)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ต่อมทอมซินถ้าตัดออกจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้างครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นต่อมทอมซิสอับเสบ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นทอนซิลโตรักษายังไงครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทอลซิลอักเสบบ่อยแต่ไม่อยากผ่าตัดควรป้องกันอย่างไรดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)