ยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) คือ ยาปฏิชีวนะ(antibiotic) ชนิดหนึ่งที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค
ลักษณะเป็นยาผงสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือดดำ ประกอบด้วยเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ขนาด 250, 500, 1000 และ 2,000 มิลลิกรัม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
- Cef-3
- Ceftriaxone T.P.
- Cef-Zone
- Ceftrex
- Ceftriphin
- Rocephin
- Trixophin
- Triacef
- Trixone
- Gomcephin
- Sedalin
- Uto Ceftriaxone
- Zontrixone
- Zefaxone
กลไกการออกฤทธิ์ของ Ceftriaxone
กลไกการออกฤทธิ์ของยา Ceftriaxone คือ เซฟไตรอะโซนเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin)
ตัวยามีฤทธิ์เข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์
เซฟไตรอะโซน(Ceftriaxone) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่กว้าง ในแบคทีเรียที่มีเอนไซม์บีต้า เลคแตมเมส เพื่อทำลายยาพบว่า เซฟไตรอะโซนมีความคงตัวมากที่สุด
ข้อบ่งใช้ Ceftriaxone ในกรณีต่างๆ
ยาเซฟไตรอะโซน(Ceftriaxone) ชนิดยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีข้อบ่งใช้คือ รักษาการติดเชื้อโกนอร์เรีย ชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 250 มิลลิกรัม 1 ครั้ง 1 โดส
ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียจากการผ่าตัด
ขนาดการใช้ยา Ceftriaxone ในผู้ใหญ่ 1,000 มิลลิกรัม 1 ครั้ง 1 โดส 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ผ่านการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือค่อยๆ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างน้อย 2-4 นาที ให้ยาแบบ infusion อัตราการปล่อยยาให้เวลาอย่างน้อย 30 นาที
ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ
ขนาดการใช้ยา ceftriaxone ในผู้ใหญ่ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ผ่านการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือค่อยๆ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างน้อย 2 - 4 นาที ให้ยาแบบ infusion อัตราการปล่อยยาให้เวลาอย่างน้อย 30 นาที สามารถเพิ่มขนาดเป็น 2 - 4 กรัม วันละ 1 ครั้ง ฉีด 1 โดส ในกรณีติดเชื้อรุนแรง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ข้อควรระวังของการใช้ยา Ceftriaxone
- ไม่ใช้ยาในทารกที่มีอายุน้อยกว่า 41 สัปดาห์ หรือทารกอายุมากกว่า 41 สัปดาห์ที่เป็นดีซ่าน
- ระวังการใช้ยาผู้ที่มีประวัติการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน (penicillin)
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติของโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคถุงน้ำดี
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ
- ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ หรือเลือดเป็นกรด
- ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยทารกที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
- ไม่ใช้ยาผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือมีการแพ้ยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน
- ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Ceftriaxone
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ไข้ หนาวสั่น
- เม็ดเลือดขาวสูง
- การเพิ่มขึ้นของระดับ AST, ALT และ BUN ในกระแสเลือด
- ปวดบริเวณที่ฉีด
- โลหิตจาง
- ผื่นแดง
ผลข้างเคียงที่รุนแรง
- การแพ้ยา
- อาการท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ Clostridium difficile (CDAD)
- ภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงสลาย
ข้อมูลการใช้ยา Ceftriaxone ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
สำหรับการใช้ยา ceftriaxoneในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์
ประเภทของยา Ceftriaxone ตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยา ceftriaxone จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น
ข้อมูลการเก็บรักษา
- เก็บให้พ้นจากแสงแดด
- ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20ถึง 25 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาโดยเฉพาะในทารก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
ก่อนใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้ง และใช้ยาตามปริมาณที่กำหนดเท่านั้น
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android