Albumin

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจโปรตีน Albumin ในเลือด เพื่อประเมินผลสุขภาพโดยรวม พร้อมรายละเอียดการตรวจ และผลการตรวจที่สามารถหมายถึงอะไรได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Albumin

การตรวจ Albumin โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพโดยรวม ถ้าหากปริมาณของอัลบูมินต่ำลง อาจบ่งชี้ได้ว่าเกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย

ชื่ออื่น: ALB

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Albumin, serum

จุดประสงค์ของการตรวจ Albumin

การตรวจ Albumin เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพ เช่น Comprehensive Metabolic Panel (CMP) เพื่อช่วยประเมินสุขภาพโดยรวม เนื่องจากมีหลายโรคและหลายความผิดปกติที่สามารถทำให้อัลบูมินมีปริมาณต่ำ จึงมีการตรวจอัลบูมินเพื่อจุดประสงค์ดังนี้

  • ช่วยวินิจฉัยโรค
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ หลังจากที่ได้รับการรักษาหรือโรคลุกลาม
  • ใช้ตรวจคัดกรองเพื่อจะได้รู้ความจำเป็นที่จะต้องใช้การตรวจประเภทอื่นๆ

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Albumin?

แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจอัลบูมินควบคู่กับการตรวจอื่นๆ เมื่อผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ มีอาการที่บ่งชี้ว่าตับผิดปกติ เช่น

  • ตาหรือผิวเป็นสีเหลือง
  • อ่อนแอ อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องบวม หรือเจ็บท้อง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีอ่อน
  • คัน

นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งให้ตรวจอัลบูมิน หากผู้ป่วยมีอาการอยู่ในกลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome) เช่น

  • มีอาการบวม โดยเฉพาะรอบๆ ดวงตา ที่ใบหน้า ข้อมือ ท้อง ต้นขา หรือข้อเท้า
  • ปัสสาวะมีฟอง เลือด หรือมีสีกาแฟ
  • ปัสสาวะมีปริมาณน้อยลง
  • มีปัญหากับการขับปัสสาวะ เช่น รู้สึกแสบร้อน มีของเหลวที่ผิดปกติในระหว่างที่ปัสสาวะ หรือความถี่ของการปัสสาวะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • ปวดหลังระดับเบาใต้ซี่โครงที่อยู่ใกล้ไต
  • ความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งให้ตรวจอัลบูมินเพื่อตรวจหรือติดตามภาวะโภชนาการของผู้ป่วย แต่เนื่องจากความเข้มข้นของอัลบูมินตอบสนองต่อหลายภาวะ นอกเหนือจากภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นจึงต้องประเมินการลดลงของอัลบูมินอย่างระมัดระวัง

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Albumin

แพทย์จะตรวจ Acetaminophen จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขนของผู้เข้ารับการตรวจ ควรงดรับประทานอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

รายละเอียดการตรวจ Albumin

อัลบูมิน (Albumin) เป็นโปรตีนที่ผลิตโดยตับ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60% ของโปรตีนทั้งหมดในเลือด ซึ่งอัลบูมินมีหน้าที่ดังนี้

  • ช่วยรักษาไม่ให้น้ำรั่วซึมออกจากหลอดเลือด
  • หล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ลำเลียงฮอร์โมน วิตามิน ยา และแคลเซียมไปทั่วทั้งร่างกาย

มี 2 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัลบูมินลดลง ได้แก่

  • โรคตับระดับรุนแรง: เมื่อตับทำงานแย่ลง ระดับของอัลบูมินก็จะลดลงตามไปด้วย
  • โรคไต: หนึ่งในหน้าที่ของไตคือ รักษาโปรตีนในพลาสมา เช่น อัลบูมิน เพื่อไม่ให้ถูกปล่อยออกมาพร้อมกับของเสียเมื่อร่างกายผลิตปัสสาวะ เราสามารถพบอัลบูมินในเลือดเป็นจำนวนมาก เมื่อไตทำงานอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าไตเสียหาย อัลบูมินจำนวนมากจะถูกทำลายผ่านไต

ความหมายของผลตรวจ Albumin

แพทย์จะประเมินผลตรวจของอัลบูมินพร้อมกับผลตรวจอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน การมีอัลบูมินต่ำอาจเป็นสัญญาณเตือน และเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะที่เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ซึ่งระดับของอัลบูมินอาจลดลงด้วยสาเหตุดังนี้

  • ภาวะต่างๆ ขัดขวางการผลิตอัลบูมิน
  • การสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น
  • การทำลายโปรตีนเพิ่มขึ้น
  • ปริมาตรของพลาสมาเพิ่มขึ้น

แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมหากอัลบูมินมีค่าต่ำ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประวัติการเจ็บป่วย สัญญาณและอาการ และการตรวจร่างกาย

ในกรณีที่มีการบ่งชี้ถึงโรคตับ แพทย์อาจตรวจเอนไซม์ตับ หรือทำ Liver Panel เพื่อยืนยันผลว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับชนิดใด แต่ต้องระวังผู้ป่วยที่มีระดับอัลบูมินปกติหรือใกล้เคียงปกติ ทั้งที่มีอาการของโรคในระยะลุกลามแล้ว เช่น ผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะมีค่าอัลบูมินต่ำ ในขณะที่ผู้เป็นโรคตับเรื้อรัง (ที่ยังไม่พัฒนาจนกลายเป็นภาวะตับแข็ง) มักมีค่าอัลบูมินอยู่ในระดับปกติ

นอกจากนี้ การมีอัลบูมินต่ำสามารถสะท้อนถึงการเป็นโรคที่ไตได้อีกด้วย ในกรณีนี้อาจต้องวัดปริมาณของอัลบูมินหรือโปรตีนในปัสสาวะ ตรวจครีเอตินิน ตรวจ BUN หรืออาจต้องทำ Renal panel เพิ่มเติม

ในบางครั้ง ผู้ที่มีภาวะดังนี้ ก็อาจมีอัลบูมินต่ำได้ เช่น

  • เกิดการอักเสบในร่างกาย
  • อยู่ในสภาวะช็อก
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • เป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมและย่อยโปรตีนได้อย่างสมบูรณ์ เช่น โรคโครห์น หรือโรคเซลิแอค
  • โปรตีนปริมาณมากถูกทำลายจากลำไส้เล็ก
  • บาดเจ็บจากไฟไหม้
  • การผ่าตัด
  • เจ็บป่วยเรื้อรัง
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะขาดไทรอยด์
  • กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์
  • ปริมาตรของพลาสมาในร่างกายเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือในบางครั้งเกิดจากการตั้งครรภ์

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Albumin

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, Albumin (https://labtestsonline.org/tests/albumin), 19 December 2018


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)