ยาปฏิชีวนะ เป็นกลุ่มยาที่มักถูกสั่งจ่ายเพื่อรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หลายชนิด โดยจะแบ่งออกได้หลายกลุ่มด้วยกัน
ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มมีผลฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง หรือที่เรียกว่า “Bactericidal” (cidal = ตาย) บางกลุ่มไว้สำหรับทำให้เชื้อแบคทีเรียอ่อนแรง ไม่ขยายพันธุ์เพิ่มจนเม็ดเลือดขาวในร่างกายเข้ามากำจัดออกไป มีชื่อเรียกว่า “Bacteriostatic” (static = หยุดนิ่ง)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ยาปฏิชีวนะสามารถบรรเทาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ แต่จะไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา หรือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา หรือ ไข้หวัดใหญ่ แต่ว่ายังมียาอีกหลายประเภทที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา หรือไวรัส
ประเภทของยาปฏิชีวนะ
ประเภทของยาปฏิชีวนะจะแบ่งออกได้ต่อไปนี้
หมายเหตุ ชื่อ® = ชื่อการค้าของยาแต่ละประเภท, ชื่อในวงเล็บ = ชื่อสามัญของยาปฏิชีวนะ)
- กลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillins) ได้แก่ Amoxil® Augmentin® (amoxicillin) และ Unasyn® (ampicillin)
- กลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) ได้แก่ Cefdinir, Rocephin® (ceftriaxone) และ Keflex® (cephalexin)
- กลุ่มยาฟลูโอโลควิโนโลน (Fluoroquinolones) ได้แก่ Levaquin® (levofloxacin), Cipro® (ciprofloxacin), และ Avelox® (moxifloxacin)
- กลุ่มยาแมโครไลด์ (Macrolides) ได้แก่ Zithromax® หรือ Z-pak® (azithromycin); Ery-Tab®, Akne-Mycin®, E.E.S.®, Eryc®, และ Pediamycin® (erythromycin); Cleocin®, Cleocin T®, ClindaGel®, และ Clinda-Derm® (clindamycin)
- กลุ่มยาเตตราไซคลีน (Tetracyclines) ได้แก่ tetracycline และ Vibramycin® (doxycycline)
- กลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ได้แก่ amikacin; Genoptic® และ Gentak® (gentamicin); Aktob®, Bethkis®, Kitabis Pak®, Tobi®, TobiPodhaler®, Tobradex® และ Tobrex® (tobramycin); Neo-Fradin® (neomycin)
- กลุ่มยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) หรือยาซัลฟา ได้แก่ Septra® และ Bactrim® (sulfamethoxazole with trimethoprim)
กลไกการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ
ยาแต่ละกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแตกต่างกัน ดังนี้
1. ออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
แบคทีเรียทุกชนิดยกเว้น "มัยโคพลาสมา (Mycoplasma") จะมีผนังแข็งหุ้มรอบเซลล์เพื่อให้เซลล์แข็งแรงคงรูปร่างอยู่ได้ แต่ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์รบกวนการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ทำให้เซลล์แตก และตายทันที (Bactericidal)
ยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์แบบนี้จัดว่า เป็นยาที่ปลอดภัยต่อคนมากที่สุด เพราะยาแทบจะไม่มีผลต่อคนเลย เนื่องจากเซลล์ของคนไม่มีผนังเซลล์ ซึ่งได้แก่
- กลุ่มเพนิซิลลิน
- กลุ่มเซฟาโลสปอริน
- ยาอื่นๆ เช่น บาซิทราซินและแวนโคมัยซิน
- ยาฆ่าเชื้อราบางชนิด เช่น กลุ่มอิมิดาโซล และกริสซิโอฟูลวิน
ยาที่ออกฤทธิ์เช่นนี้มักจะมีผลทำลายแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ เนื่องจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมบวกมีความซับซ้อนน้อยกว่าแบคทีเรียแกรมลบ ยาจึงเข้าไปในผนังเซลล์แบคทีเรียแกรมบวกได้ง่ายกว่าแบคทีเรียแกรมลบ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ออกฤทธิ์ต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย
ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้การเข้าออกของสารต่าง ๆ ที่อยู่ในเซลล์ และอยู่นอกเซลล์แบคทีเรียผิดปกติ
โดยปกติแล้ว เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีเยื่อหุ้มบางๆ ล้อมรอบเซลล์เพื่อเก็บสารสำคัญต่างๆ ไว้เป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเราสามารถเรียกเยื่อบางๆ นี้ได้ว่า "เยื่อหุ้มเซลล์" หรือ "เซลล์เมมเบรน"
ซึ่งยากลุ่มนี้จะทำให้เยื่อหุ้มบางเซลล์ทำงานผิดปกติ ทำให้การผ่านของสารต่างๆ ที่เข้าออกตัวเซลล์ผิดไปจากเดิม ส่งผลให้แบคทีเรียตายในที่สุด โดยยากลุ่มนี้ได้แก่ โพลิมิกซิน บี โคลิสติน แอมโฟเทอริซิน บี กรามิซิดิน ตลอดจนยาฆ่าเชื้อราชื่อนิสเตติน
ยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์เช่นนี้จัดว่า เป็นพิษต่อเซลล์ของคนมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะเซลล์ของคนก็มีเยื่อหุ้มเซลล์ ยาจึงมีผลต่อการทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ของคนเช่นกัน แต่ไม่มีผลมากเท่าเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย
3. ออกฤทธิ์ทำให้การสร้างโปรตีนผิดปกติ
แบคทีเรียนั้นมีกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนเช่นเดียวกับเซลล์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพื่อใช้สำหรับซ่อมแซม และสร้างเสริมตัวมันเองให้ทวีจำนวนขึ้น โดยส่วนของเซลล์ที่ใช้สร้างโปรตีนเรียกว่า “ไรโบโซม (Ribosome)”
กระบวนการสร้างโปรตีนในแบคทีเรียจะเกิดขึ้นที่ไรโบโซมชนิด 70s ซึ่งไรโบโซมชนิด 70s มีส่วนประกอบ 2 ส่วนอยู่ด้วยกัน คือ ส่วนที่เรียกว่า 50s และส่วนที่เรียกว่า 30s
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์รบกวนขั้นตอนต่างๆ ในการสังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซมส่วนที่เป็น 30s ส่งผลให้แบคทีเรียสร้างโปรตีนที่ผิดปกติ ไม่สามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ และตายในที่สุด โดยตัวอย่างยา ได้แก่ กลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์
4. ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน
ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มมีกลไกทำให้แบคทีเรียไม่สามารถสร้างโปรตีนได้ และทำให้แบคทีเรียหยุดการเจริญเติบโต หยุดการแบ่งตัว แต่จะยังไม่ตายในทันที
ถ้าผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็จะสามารถกำจัดมันออกไปจากร่างกายได้ หรือต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่งจึงจะกำจัดมันได้
ตัวยาที่จะออกฤทธิ์ยับยับการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรียได้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยตามตำแหน่งที่ยาไปมีผลต่อการทำงานของไรโบโซม ดังนี้
4.1 ออกฤทธิ์ที่ไรโบโซมส่วนที่เป็น 30s ได้แก่ กลุ่มเตตร้าซัยคลิน
ยาจะจับกับไรโบโซนของแบคทีเรียชนิด 30s โดยยับยั้งการสร้างโปรตีน และมีผลให้แบคทีเรียหยุดการเติบโต และถ้าให้ยาต่อไป หรือใช้ยาในขนาดสูงจะมีผลให้แบคทีเรียตายได้
แต่จากการทดลองในห้องทดลอง ถ้าให้ยาในขนาดสูงจะมีผลยับยั้งการสร้างโปรตีนของคนด้วยเช่นกัน เราจึงควรระมัดระวังการใช้ยากลุ่มนี้ให้มาก
4.2 ออกฤทธิ์ที่ไรโบโซมส่วนที่เป็น 50s ได้แก่ กลุ่มคลอแรมเฟนิคอล กลุ่มมะโครไลด์ ยายาอื่นๆ ได้แก่ คลินดามัยซิน และลินโคมัยซิน
ยาจะจับกับไรโบโซมส่วนที่เป็น 50s ทำให้ยับยั้งการสร้างโปรตีนของแบคทีเรีย มีผลทำให้แบคทีเรียหยุดเจริญเติบโตเช่นเดียวกับกลุ่มเตตร้าซัยคลิน
นอกจากนี้ คลอแรมเฟนิคอลยังมีผลยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดแดงในคน ทำให้คนที่ใช้ยากลุ่มนี้มีโอกาสขาดเม็ดลือดแดง และเป็นโรคโลหิตจางจนเสียชีวิตได้
ดังนั้นปัจจุบันองค์การอาหาร และยา กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดคลอแรมเฟนิคอลอยู่ในกลุ่ม “ยาควบคุมพิเศษ” ห้ามจำหน่ายในร้านยา
5. ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลิอิก
กรดนิคคลิอิกเป็นส่วนประกอบของสารพันธุกรรมดีเอ็นเอซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียไม่สามารถสร้างดีเอ็นเอได้ จึงไม่สามารถเจริญเติบโต และแบ่งตัวได้
ยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์เช่นนี้จัดเป็น Bacteriostatic ยากลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ยาชนิดอื่นๆ เช่น เมโทรนิดาโซล และไรแฟมพิซิน
6. ออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์
เซลล์ที่มีชีวิตทุกเซลล์จะมีกระบวนการสร้างและสลายสารต่างๆ ในเซลล์เกิดขึ้นตลอดเวลา เราเรียกกระบวนการที่มีทั้งการสร้า งและการสลายสารต่างๆ นี้ว่า "กระบวนการเมตาบอลิซึม" ถ้ากระบวนการเหล่านี้ถูกขัดขวาง หรือถูกรบกวน จะมีผลให้แบคทีเรียหยุดชะงักการเจริญเติบโต และหยุดขยายพันธุ์
ยาที่มีผลรบกวนกระบวนการเมตาบอลิซึมของแบคทีเรีย ได้แก่ กลุ่มซัลโฟนาไมด์ ยาชนิดอื่นๆ เช่น ไตรเมโธพริม และไอโสนัยอะซิด ซึ่งเป็นยารักษาวัณโรค
ข้อควรระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะ
- เพื่อลดความสับสนในการใช้ยา และลดโอกาสแพ้ยา โดยเฉพาะในกลุ่ม Penicillins และยาซัลฟาจึงเป็นเรื่องที่ดีที่คุณควรจะหาว่ายาปฏิชีวนะที่คุณได้รับอยู่นั้นอยู่ในประเภทใด
- รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งให้หมดตามกำหนด เพื่อให้ตัวยาสามารถฆ่าเชื้อโรคไปได้จนหมด และไม่ทำให้เกิดอาการดื้อยาขึ้นในภายหลัง
- รับประทานยาก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีนม เนยแข็ง และถั่วเปลือกแข็ง เพราะอาจทำให้ยาออก แต่ในกลุ่มยาบางกลุ่ม เช่น fluoroquinolonesและ tetracyclines ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ดี
- ยาที่มีผลฆ่าแบคทีเรียโดยตรง ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เพราะจะทำให้ยาต้านฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ใช้ยาไม่ได้ผลและเชื้อเกิดการดื้อยา
การดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistance)
ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และสามารถที่จะเติบโต และเพิ่มจำนวนได้ ถึงแม้ว่าจะรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่แล้วก็ตาม
การดื้อยาสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อยาปฏิชีวนะถูกจ่ายให้กับภาวะหรือโรคตที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งนอกจากยาปฏิชีวนะจะไม่มีประโยชน์ต่อภาวะ และโรคต่างๆ ดังนี้แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการดื้อยาด้วย ได้แก่
- ไข้หวัดธรรมดา (Cold)
- โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Viral gastroenteritis)
- อาการไอ (Coughs)
- อาการเจ็บคอ (Sore throats)
อาการผลข้างเคียงทั่วไป
โดยปกติแล้ว ยาปฏิชีวนะมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงอะไร แต่คุณก็ควรรู้ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เอาไว้ เช่น
- ผิวไวต่อแสงมากขึ้น (sun sensitivity)
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- การติดเชื้อราในช่องคลอด
- การรู้สึกรับรสโลหะ (metallic taste in the mouth)
- เกิดผื่นคัน หรืออาการแพ้ยาอื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ หายใจไม่สะดวก
- ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อก หรือเสียชีวิตได้
หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงดังข้างต้น ให้หยุดการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นทันที และไปพบแพทย์เพื่อขอเปลี่ยนยา นอกจากนี้ ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง เช่น ฟันเหลืองดำ หรือฟันตกกระในฟันน้ำนม สูญเสียการได้ยิน หรือมีอันตรายต่อไต
คำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้ยาปฏิชีวนะ
1. ใช้เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีผลทำลายแบคทีเรีย การใช้ยากลุ่มนี้จึงเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ในโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุติดเชื้อแบคทีเรีย
เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ แล้ว ยังมีแต่ผลเสียกับผู้ใช้ยา เช่น เสียเงิน ร่างกายทำงานต่อยาโดยไม่จำเป็น ยายังไปมีผลต่อแบคทีเรียกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่เป็นภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอเกิดการเจ็บป่วยบ่อย หรือติดเชื้อง่าย เกิดการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงต่าง ๆ
โดยตัวอย่างอาการไข้ที่มีสัญญาณติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่
- ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการท้องเดิน
- ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการเจ็บคอ ผนังคอแดง มีจุดหนอง
- ระบบผิวหนัง ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับผิวหนังอักเสบเป็นหนอง บวมแดง
2. ระมัดระวังการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงตั้งครรภ์
โดยกลุ่มยาที่หญิงตั้งครรภ์สามารถรักษาได้ ได้แก่
- กลุ่มเพนิซิลลิน
- กลุ่มเซฟาโลสปอริน
- กลุ่มอิริโธรมัยซินสเตียเรต หรือ อิริโธรมันซินเบส
- เอซิโธรมัยซิน
- เมโทรนิดาโซล อนุโลมให้ใช้ได้ในระยะที่ตั้งครรภ์ผ่านไปแล้ว 3 เดือน
3. ควรใช้ยาเพียงชนิดเดียวในการรักษาแต่ละครั้ง
คุณไม่ควรใช้หลายชนิดร่วมกัน เพราะอาจเกิดผลเสียตามมา เช่น
- ไม่ได้ผลในการรักษาและเชื้อเกิดการดื้อยา
- มีโอกาสแพ้ยาได้มากขึ้น
- มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนง่ายกว่าเดิม
- สิ้นเปลืองเงินมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
4. พิจารณาถึงขนาด และระยะเวลาในการให้ยา
การรักษาจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นกับระดับของยาที่ได้รับซึ่งต้องมีระดับสูงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อได้ การให้ยาจึงควรให้ในขนาดที่เพียงพอไม่ต่ำเกินไป
เพราะถ้าให้ขนาดต่ำเกินไป นอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังกระตุ้นให้เชื้อดื้อยา ขนาดยาที่ใช้จึงควรเป็นขนาดที่กำจัดเชื้อได้มากที่สุด และทำให้เกิดอาการพิษหรืออาการข้างเคียงต่ำที่สุด
โดยปกติผู้ป่วยมีสภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันปกติ การติดเชื้อไม่รุนแรง ควรจะใช้ยานานติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ และป้องกันเชื้อดื้อยาด้วย
หรือกรณีที่โรคนั้นรักษาได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น หนองใน สามารถใช้ยาขนาดสูงเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอในการรักษา
แต่บางกรณีโรคบางอย่างอาจต้องใช้ยานานกว่า 7 วัน เช่น โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน ควรให้ใช้ยาประมาณ 14 วัน แต่ถ้าอาการนั้นเรื้อรังก็อาจต้องใช้ยานานถึง 6 สัปดาห์ เป็นต้น
นอกจากนี้ การใช้ยาไม่ครบตามระยะเวลาที่เหมาะสมจะทำให้โรคไม่หายขาด อาจมีอาการเกิดขึ้นมาอีกหลังหยุดย าและทำให้เชื้อโรคมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงระยะเวลาในการรักษา และเหตุผลที่ควรรับประทานยาให้หมด แม้ว่าอาการแสดงของโรคจะหายแล้วก็ตาม
5. พิจารณาถึงอายุของผู้ป่วยและผู้ป่วยลักษณะพิเศษบางกลุ่ม
ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็ก ยาที่สามารถใช้ในเด็กได้ค่อนข้างปลอดภัย ได้แก่ ยากลุ่มเพนิซิลลิน และยากลุ่มเซฟาโรสปอริน ส่วนยาที่ไม่ให้ใช้ในทารก และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ได้แก่
- กลุ่มเตตราซัยคลิน เพราะยายับยั้งการสร้างกระดูก และฟัน ทำให้กระดูกไม่แข็งแรงและฟันมีสีน้ำตาลถาวร
- กลุ่มซัลโฟนาไมด์ ไม่ควรนำมาใช้ในทารกเพราะทำให้เด็กตัวเหลือง และสมองถูกทำลาย
นอกจากนี้ คุณยังไม่ควรใช้ยาคลอแรมเฟนิคอล และอิริโธรมัยซินในทารก รวมถึงเด็กเล็ก เพราะตับ และไตยังทำงานไม่สมบูรณ์ ส่วนกรณีหญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร ยาที่สามารถใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัย ได้แก่ กลุ่มเพนิซิลลิน ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน
6. คำนึงถึงสุขภาพโดยรวมของตนเอง
ถ้าผู้ป่วยปกติที่ไม่มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลไกการป้องกันโรคในตัวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ก็อาจเลือกใช้ยากลุ่มที่ทำให้แบคทีเรียหยุดเจริญเติบโต หยุดขยายพันธุ์ เพราะร่างกายแข็งแรงพอที่จะสามารถกำจัดแบคทีเรียที่อ่อนแรงออกไปได้
แต่ถ้าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ค่อยแข็งแรง ควรเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียโดยตรงมากกว่าที่จะออกฤทธิ์เพียงยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
7. โรคประจำตัวของผู้ป่วย
ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคประจำตัวอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว และจำเป็นต้องใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาจนทำให้อาการของผู้ป่วยเลวร้ายลง เช่น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับไตทำงานบกพร่อง หรือเป็นโรคไตก็ต้องปรับขนาดยาลง ถ้ายานั้นถูกขับออกจากร่างกาย
เพื่อความปลอดภัย คุณควรให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้พิจารณาการจ่ายยาให้ เพื่อที่คุณจะได้ยาซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายออกไปได้หมด และยังทำให้คุณไม่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาด้วย
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android