ทำความรู้จักตับอ่อน
ตับอ่อน (Pancreas) มีขนาดประมาณ 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) เป็นอวัยวะที่มีต่อม และอยู่ตรงบริเวณท้องด้านบนซ้ายหลังกระเพาะอาหาร มีหน้าที่หลัก คือ หลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารเพื่อย่อยอาหารในลำไส้เล็ก และหลั่งฮอร์โมน (โดยเฉพาะอินซูลิน และกลูคากอน) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ตับอ่อนอาจมีกระเปาะลักษณะคล้ายถุงเกิดขึ้นที่ผิว หรือในเนื้อตับอ่อน เรียกว่า "ซีสต์ตับอ่อน (Pancreatic cyst)" หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "เนื้อตับอ่อนตายที่มีผนังล้อมรอบ (Walled-off pancreatic necrosis)"
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
ซีสต์ตับอ่อน สามารถเรียกอีกชื่อว่า “ถุงน้ำ” แบ่งออกเป็นถุงน้ำแท้ และถุงน้ำเทียม ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดถุงน้ำแท้ ในขณะที่ถุงน้ำเทียมนั้น เกิดจากการอักเสบของตับอ่อน
ถุงน้ำของตับอ่อนจำนวนมากเป็นถุงน้ำเทียม ซึ่งไม่มีทางเป็นมะเร็งได้ มีลักษณะเป็นโพรง หรือที่ว่างในตับอ่อน ล้อมรอบด้วยไยพังผืดที่ไม่ใช่เอพิธีเลียล (Non-epithelial tissue) ส่วนถุงน้ำแท้ คือถุงที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีชื่อว่า เอพิธีเลียลเซลล์ (Epithelial cell)
ถุงน้ำแท้ของตับอ่อนมี 2 กลุ่มใหญ่ แบ่งตามชนิดของของเหลวในถุงน้ำ ได้แก่
- ซีรัสซีสต์ (Serouscysts) เป็นถุงน้ำที่มีน้ำเหลวใส หรือถึงน้ำเทียม ไม่มีทางเป็นมะเร็งได้
- มิวซินัสซีสต์ (Mucinous cysts) เป็นถุงน้ำที่มีน้ำที่หนืดข้นกว่า หรือถุงน้ำแท้ หากไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็งได้ มิวซินัสซีสต์สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยอีก เช่น
- มิวซินัส ซีสติก นีโอพลาสซึม (Mucinous cystic neoplasms) ซึ่งมีเนื้อเยื่อรังไข่อยู่ในถุงน้ำ
- อินทราดัคตอล ปาปิลลารี มิวซินัส นีโอพลาสซึม (Intraductal papillary mucinous neoplasms) ซึ่งเกิดที่ท่อตับอ่อนหลัก
สาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำเทียมในตับอ่อน
- เกิดจากการอักเสบของตับอ่อน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเอนไซม์ย่อยอาหารทำงานเร็วกว่าปกติ จนย่อยเซลล์ของตับอ่อนเอง
- เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นเวลานานจนกลายเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
- ภาวะตับอ่อนอักเสบฉับพลันมักเกิดจากนิ่วในทางเดินน้ำดี
- ประมาณ 5-16% ของผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบฉับพลัน จะเกิดถุงน้ำเทียมของตับอ่อน
- ประมาณ 20-40% ของผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จะเกิดถุงน้ำเทียมของตับอ่อน
- อ้างอิงจากรายงานในปี ค.ศ. 2006 ของวารสารโรคระบบตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี (Journal HPB)
สาเหตุการเกิดถุงน้ำแท้
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดถุงน้ำแท้ในตับอ่อน แต่คาดว่า เกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก เช่น โรควอน ฮิปเปิ้ล-ลินเดา (Von Hippel-Lindau disease) และโรคถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ซึ่งทั้ง 2 โรคมีแนวโน้มที่จะเกิดถุงน้ำในหลายๆ อวัยวะ
อาการ และภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำที่ตับอ่อน
ถุงน้ำแท้ และถุงน้ำเทียมที่ตับอ่อน มักจะไม่แสดงอาการอะไร แต่หากมีอาการ จะมีลักษณะอาการ ดังนี้
- คลื่นไส้ และอาเจียน
- ปวดท้องส่วนบน และอาจร้าวไปถึงหลัง และไหล่ จะปวดมากขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร หรือดื่มแอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นอาการของตับอ่อนอักเสบเช่นกัน)
- ท้องอืด
ถุงน้ำที่ตับอ่อนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น
- การติดเชื้อที่ถุงน้ำ
- ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง) จะเกิดเมื่อถุงน้ำขนาดใหญ่ไปอุดกั้นท่อน้ำดีรวม (Common bile duct)
- ความดันในระบบพอร์ทัลสูง (Portal hypertension) คือมีความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดดำพอร์ทัล (Portal vein) ของระบบทางเดินอาหาร
- ถุงน้ำเทียมอาจแตกได้ และทำให้เส้นเลือดใกล้เคียงเสียหายจนเกิดเลือดออกปริมาณมาก ถุงน้ำเทียมที่แตกนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นการติดเชื้อของเยื่อบุผนังช่องท้อง (Peritoneum) ที่อันตรายถึงชีวิต
การตรวจหาถุงน้ำที่ตับอ่อน
ถุงน้ำที่ตับอ่อนสามารถตรวจด้วยการถ่ายภาพหลายวิธี ได้แก่
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
- อัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้อง
- อัลตร้าซาวด์ส่องกล้อง (Endoscopic) ซึ่งเป็นอัลตร้าซาวด์โดยใช้ท่อบางๆ ยาวๆ ที่เรียกว่า เอนโดสโคป (Endoscope) ใส่เข้าไปทางปากลงไปตามทางเดินอาหาร
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน (Computerized Tomography Scan: CT Scan)
- การสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) และมีเอ็มอาร์ไอแบบพิเศษที่ใช้สำหรับตับ ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี และตับอ่อน เรียกว่า คอแลงจีโอแพนครีเอโตกราฟฟี (Cholangiopancreatography)
- การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน เป็นวิธีการใช้กล้องเอนโดสโคปรวมกับการเอกซเรย์ เพื่อดูทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน
การรักษาถุงน้ำที่ตับอ่อน
การผ่าตัดเป็นการรักษาขั้นแรกของถุงน้ำที่เป็นมะเร็ง รวมถึงถุงน้ำธรรมดาที่มีขนาดใหญ่ และถุงน้ำธรรมดาที่มีโอกาสกลายเป็นโรคมะเร็งสูง โดยเทคนิคการผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของถุงน้ำ
ถุงน้ำเทียมนั้น มักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจจำเป็นต้องเจาะถุงน้ำถ้ามีอาการตลอด ไม่ลดลง หรือมีขนาดใหญ่กว่า 2.3 นิ้ว (6 เซนติเมตร) หรือถุงน้ำไปอุดกั้นท่อตับอ่อน หรือท่อน้ำดี
ศัลยแพทย์อาจทำทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำกับอวัยวะข้างเคียง แทนที่จะระบายน้ำจากถุงน้ำโดยตรง ซึ่งทำให้น้ำย่อยจากตับอ่อนที่อยู่ในถุงน้ำระบายออกจากร่างกายได้ โดยมีการเชื่อมทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้
- ซีสโตแกสตรอสโตมี (Cystogastrostomy) การทำทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำกับผนังด้านหลังของกระเพาะอาหาร
- ซีสโตเจจูนอสโตมี (Cystojejunostomy) การทำทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำกับลำไส้เล็ก
- ซีสโตดูโอดีนอสโตมี (Cystoduodenostomy) การทำทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำกับลำไส้ส่วนแรก
โรคถุงน้ำในตับอ่อนเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนเพศทุกวัย เพื่อให้สามารถตรวจพบโรคนี้ได้ทันเวลา และรีบรักษา คุณจึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยของตนเองว่า ใกล้เคียงโรคถุงน้ำในตับอ่อนหรือ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตับ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
อยากทราบว่าคนที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบจะดูแลตัวเองอย่างไรบ้างคะ