ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

บทนำ

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ใช้สำหรับรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ออกฤทธิ์โดยการไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียได้ ซึ่งยาปฏิชีวนะจะไม่มีผลในการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ อาการไอ เป็นต้น การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดนั้นก็สามารถหาเองได้ด้วยภูมิคุ้มกันภายในร่างกายโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจึงต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และให้เหมาะสมและตรงตามชนิดของการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ

ควรใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อใด

ยาปฏิชีวนะนั้นใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรจะใช้ยาในกรณีดังนี้ เป็นการติดเชื้อที่หายเองไม่ได้ อาจเป็นโรคติดต่อหากไม่รักษา หรือจะหายช้าถ้าไม่ใช้ยารักษาหรือเป็นการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ

วิธีการใช้ยาคือให้กินยาตามฉลากที่แพทย์สั่งเสมอ โดยรูปแบบการใช้ยานั้นจะแตกต่างกันไป ดังนี้

  • รูปแบบยารับประทาน ได้แก่เม็ดตอก หรือเม็ดแคปซูล รวมถึงยาน้ำสำหรับรับประทาน ทั้งหมดนี้ใช้รักษาการติดเชื้อระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • รูปแบบยาใช้เฉพาะที่ ได้แก่ รูปแบบยาครีม โลชั่น สเปรย์ หรือแบบหยด โดยจะนิยมใช้ในการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง
  • รูปแบบยาฉีด คือ ยาฉีดที่ให้ผ่านเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ซึ่งจะใช้เมื่อเป็นการตืดเชื้อระดับรุนแรง

การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นมากที่จะต้องกินยาให้ครบถ้วน ถูกต้องตามขนาดการใช้และระยะเวลาการใช้ที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เนื้อจากเชื้อจะเกิดการดื้อต่อยานั้นได้

การลืมกินยาปฏิชีวนะ

หากลืมกินยาให้กินยาทันทีที่นึกได้ และกินมื้อต่อไปตามปกติ แต่หากนึกขึ้นได้ตอนใกล้มื้อถัดไปให้รอกินมื้อถัดไปโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า เนื่องจากอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยาได้

การกินยาเกินขนาด อาจเกิดผลข้างเคียงได้แต่ไม่รุนแรง โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ได้แก่ ปวดท้อง ท้องเสีย และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะส่วนมากก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ผลข้างเคียงที่รุนแรงนั้นเกิดได้น้อย ผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องอืดและอาหารไม่ย่อย
  • ท้องเสีย
  • ในบางรายอาจมีอาการแพ้ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะตัวยาเพนิซิลลิน (penicillin) และกลุ่มเซฟาโลสปอริน (cephalosporins)

กลุ่มยาปฏิชีวนะ

กลุ่มยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • กลุ่มยาเพนิซิลลิน (penicillins) เช่น เพนิซิลลิน และ อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อได้หลากหลายชนิด เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ติดเชื้อในปอด และติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  • กลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (cephalosporins) นิยมใช้ในการรักษาการติดเชื้อหลายหลายชนิด แต่ยาบางตัวในกลุ่มนนี้จะเป็นยารักษาการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides) เช่น ยาเจนตามัยซิน (gentamicin) โทบรามัยซิน (tobramycin) กลุ่มนี้จะนิยมใช้เฉพาะในโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด และยากลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง คือ สูญเสียการได้ยิน ทำลายไต เป็นต้น โดยมากยาจะเป็นรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
  • กลุ่มยาเตตราซัยคลีน (Tetracyclines) เช่น ด๊อกซีซัยคลีน (Doxycycline) นิยมใช้ในการรักษาสิวอักเสบรุนแรง
  • กลุ่มยาแมคโครไลด์ (Macrolides) เช่น อิริโทรมัยซิน (erythromycin) ใช้ในการรักษาการติดเชื้อในช่องปอด หรือเป็นทางเลือกในการใช้รักษาผู้ที่มีอาการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน หรือใช้กับเชื้อที่ดื้อต่อยากลุ่มเพนิซิลลิน (penicillin-resistant strains of bacteria)
  • กลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) เช่น ซิโปรฟล็อกซาซิน (ciprofloxacin) เป็นกลุ่มยาที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง สามารถรักษาการติดเชื้อได้หลากหลายชนิด

การดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistance)

ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ใช้ยาปฏิชีวนะน้อยลง เลือกใช้อย่างเหมาะสมและตรงกับโรคเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการดื้อยา โดยปัจจุบันมียาปฏิชีวนะที่ใช้ไม่ได้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น โดยอาจเรียกเชื้อดื้อยาเหล่านี้ว่า Superbugs ซึ่งคือแบคทีเรียที่มีพัฒนาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) , Clostridium difficile (C. diff), multi-drug-resistant tuberculosis (MDR-TB) และ carbapenemase-producing Enterobacteriaceae (CPE) เป็นต้น โดยเชื้อแบคทีเรียข้างต้นเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อร้ายแรงและรักษาได้ยาก

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะจะถูกแนะนำให้ใช้ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสูง โดยคนกลุ่มนี้ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี)
  • ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 72 ชั่วโมงและมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ
  • ผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน (insulin) ในการรักษาโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เช่น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือผู้ที่ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย

การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือในทางการแพทย์เรียกว่า antibiotic prophylaxis เป็นการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยมากจะให้ก่อนการเข้ารับการผ่าตัดในบริเวณที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียสูง ดังนี้

  • การผ่าตัดบริเวณดวงตา เช่น ต้อหิน ต้อเนื้อ เป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อ (joint replacement surgery)
  • การผ่าตัดเสริมหน้าอก
  • การผ่าตัดในช่องท้อง เช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง หรือ ถุงน้ำดี เป็นต้น

หรือการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัด หรือต้องสัมผัสกับแบคทีเรีย หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัยก็ได้

ข้อควรพิจารณาก่อนเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ

1.ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลิน (Penicillins)

  • ห้ามใช้ในกลุ่มผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลินมาก่อน
  • ระวังการใช้ในกลุ่มผู้ที่มีกลุ่มอาการภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลินอย่างรุนแรงได้ (anaphylaxis)
  • ระวังการใช้หรือใช้ยากลุ่มเพนิซิลินขนาดต่ำหากผู้ใช้เป็นโรคตับหรือไต
  • ในผู้ที่ให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์สามารถใช้ยากลุ่มเพนิซิลินได้

2.ยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)

  • ห้ามใช้ในกลุ่มผู้ที่แพ้ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน หรือแพ้ยากลุ่มเพนิซิลินมาก่อน
  • ใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินขนาดต่ำหากผู้ใช้มีโรคไต
  • ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือมีอาการพอร์ฟิเรีย (Porphyria) ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้ 

3.ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides)

  • ยากลุ่มนี้จะใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงถึงชีวิต และใช้เฉพาะในโรงพยาบาล เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น เนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรงต่อไตได้
  • ใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ได้เมื่อแพทย์สั่งใช้เท่านั้น

4.ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าไซคลิน (Tetracyclines)

  • ระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคไต ยกเว้นตัวยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) สามารถใช้ได้
  • ระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคตับ
  • ผู้ที่มีโรคลูปัส หรือโรคทางภูมิคุ้มกัน อาจเกิดปัญหาจากการใช้ยา เช่น ปัญหาทางผิวหนัง ปวดข้อ และเหนื่อยล้าได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรใช้ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน
  • ระวังการใช้ยาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

5.ยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides)

  • ห้ามใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคพอร์ฟิเรีย (Porphyria)
  • กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ได้เพียงยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) ตัวยาอื่นในกลุ่มแมคโครไลด์ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

6.ยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)

  • ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ

ผลข้างเคียงทั่วไปของยาปฏิชีวนะโดยมากจะเป็นผลกระทบทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่อาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยอาการเหล่านี้จะหายได้เองหลังจากการใช้ยาไประยะหนึ่ง หากมีอาการนอกเหนือจากนี้ควรแจ้งแพทย์

การแพ้ยาปฏิชีวนะ

การแพ้ยาปฏิชีวนะจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 คนใน 15 คนที่ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะกลุ่มยาเพนิซิลินและเซฟาโลสปอริน โดยมากจะเป็นการแพ้แบบเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งอาการคืือ มีผื่นแดง คัน ไอ หายใจติดขัด เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาแก้แพ้กลุ่มแอนติฮิสตามีน (antihistamines) แต่หากอาการเหล่านั้นไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที

กรณีการแพ้ยาปฏิชีวนะแบบรุนแรงนั้น เกิดได้น้อยแต่อาจรุนแรงถึงชีวิต (anaphylaxis) โดยอาการเริ่มต้นนั้นจะคล้ายอาการแพ้แบบน้อยถึงปานกลาง แต่อาการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหน้า ปากและลำคอจะบวม หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการวิงเวียนหน้ามืด และมึนงงสับสนและเป็นลม ไม่มีสติ หากพบเห็นอาการดังนี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาปฏิชีวนะกับยาอื่น

การใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแอลกอฮอล์

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) หรือ ทินิดาโซล (tinidazole) และควรงดแอลกอฮอล์หลังการใช้ยาไป 48 ชั่วโมงเนื่องจากจะก่อให้เกิดอาการดังนี้

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • มีอาการร้อนวูบวาบ
  • ปวดศีรษะ

เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ควรหลีกเลี่ยงการกินแอลกอฮอล์กับยาปฏิชีวนะทุกชนิด

การใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ยาปฏิชีวนะบางชนิด โดยเฉพาะยาไรแฟมพิซิน (rifampicin) สามารถลดประสิทธิภาพการคุมกำเนิดของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้ ดังนั้นต้องใช้ถุงยางในการคุมกำเนิดร่วมด้วยในขณะที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะไรแฟมพิซิน

การใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาชนิดอื่น

1.ยากลุ่มเพนิซิลิน

โดยมากจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มเพนิซิลินร่วมกับยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) ซึ่งเป็นตัวยาที่ใช้ในการรักษางูสวัด ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และมะเร็งบาชนิด เนื่องจากการใช้ยาสองชนิดนี้ร่วมกันนั้นก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มเพนิซิลินบางชนิด เช่น อะม็อกซีซิลิน (amoxicillin) สามารถนำมาใช้ร่วมกับเมโธเทรกเซทได้

ในบางรายอาจพบผื่นขึ้นตามผิวหนังเมื่อใช้ยากลุ่มเพนิซิลินร่วมกับยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ซึ่งเป็นยารักษาโรคเกาต์

2.ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน

การใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินร่วมกับwarfarin-anticoagulant' target='_blank'>ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮปาริน (heparin) หรือ วาฟาร์ริน (warfarin) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดไหลไม่หยุด ดังนั้นอาจต้องลดขนาดการใช้ของยาต้านการแข็งตัวของเลือดลง หรือหมั่นตรวจเลือดอยู่เสมอ

3.ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์

ยากลุ่มนี้จะส่งผลเสียต่อไตและการได้ยินเสียงเพิ่มขึ้นได้ หากใช้ยาร่วมกลุ่มยาดังนี้

  • ยากลุ่มฆ่าเชื้อรา
  • ยาไซโคลสปอริน ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกัน
  • ยากลุ่มขับปัสสาวะ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ

4.ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน

ไม่ควรใช้ยากลุ่มเตตร้าไซคลินร่วมกับยาดังนี้

  • อาหารเสริมที่มีวิตามินเอเป็นส่วนผสม
  • ยากลุ่มเรตินอยด์ (retinoids) เช่น ไอโซเตตริโนอิน (isotretinoin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาสิวชนิดรุนแรง
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน (insulin)
  • ยาลดกรด
  • ซูคราลเฟท (sucralfate) ซึ่งเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • ยาลิเธียม (lithium) ใช้ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) หรือโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง
  • ยาไดจอกซิน (digoxin) รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ยาโคเลสติโพล (colestipol) หรือ คลอเลสไทรามีน (colestyramine)
  • ยารักษาโรคปวดศรีษะไมเกรน

5.ยากลุ่มแมคโครไลด์

ไม่ควรใช้ยากลุ่มแมคโครไลด์ร่วมกับยาดังนี้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้

  • ยาโทลเทอโรดีน (tolterodine) ใช้ในการรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ยากลุ่มสเตติน (statins) ใช้ในการรักษาโรคไขมันในเลือดสูง

6.กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)

ไม่ควรใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนร่วมกับยาดังนี้

  • ยาธีโอฟิลลีน (Theophylline) ใช้ในการขยายหลอดลม รักษาโรคหอบหืด
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
  • ยาไซโคลสปอริน
  • ยาโพรเบเนสิด (probenecid) ใช้ในการรักษาโรคเกาต์
  • ยาคลอซาปีน (clozapine) และยาต้านซึมเศร้า
  • ยาไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide) ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
  • ยากลุ่มนี้อาจไปเสริมฤทธิ์ของคาเฟอีนได้ ดังนั้น อาจมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับได้ หากใช้ยาร่วมกับคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้อาหารหรือวิตามินเสริมที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กสูง เช่น ยาลดกรด วิตามินรวม เป็นต้นเนื่องจากจะไปลดประสิทธิภาพของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนลง 

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antibiotics - Interactions. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/antibiotics/interactions/)
Antibiotics | Infection Treatment | Types, Uses and Side Effects. Patient. (https://patient.info/infections/antibiotics-leaflet)
Antibiotics: Uses, resistance, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/10278)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)