ยาเซฟาลอสปอรินส์ (Cephalosporins)

เซฟาลอสปอรินส์คืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยาเซฟาลอสปอรินส์ (Cephalosporins)

เซฟาลอสปอรินส์ (Cephalosporins) เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เรียกว่า beta-lactams ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อในหู ปอดอักเสบ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน การติดเชื้อที่กระดูก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยากลุ่มนี้สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้โดยตรง เนื่องจากเป็นยาปฏิชีวนะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 รุ่น ตามการพัฒนายา โดยทั่วไปแล้วแต่ละรุ่นจะมีประสิทธิภาพต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดที่จำเพาะ ยาเซฟาลอสปอรินส์ กลุ่มแรกทำงานต่อต้านการติดเชื้อชนิดง่ายๆ ในขณะที่ในรุ่นถัดๆ มาจะใช้รักษาการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น 

เซฟาลอสปอรินส์ มีโครงสร้างทางโมเลกุลที่คล้ายกับเพนนิซิลิน ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้ยาในผู้ที่แพ้ยาเพนนิซิลินได้ แต่หากอาการแพ้ไม่ได้รุนแรงมาก ผู้ป่วยก็ยังสามารถใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยารุ่นที่ 1 หรือรุ่นที่ 2

ตัวอย่างยาในกลุ่มเซฟาลอสปอรินส์ ประกอบไปด้วย

  • Ancef และ Kefazol (Cefazolin)
  • Ceclor และ Cefaclor (Cefaclor)
  • Cefdinir
  • Ceftin และ Zinacef (Cefuroxime)
  • Duricef (Cefadroxil)
  • Keflex และ Keftabs (Cephalexin)
  • Maxipime (Cefepime)
  • Rocephin (Ceftriaxone)
  • Suprax (Cefixime)
  • Teflaro (Ceftaroline fosamil)

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้เซฟาลอสปอรินส์

ไม่ควรใช้ยากลุ่มเซฟาลอสปอรินส์ หากกำลังใช้ยา Theracrys (BCG live intravesical)

และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มนี้ หากกำลังรับประทานยาดังต่อไปนี้

  • ยารักษาโรคกรดไหลย้อน เช่น Pepcid (Famotidine) Tagamet (Cimetidine) หรือ Zantac (Ranitidine)
  • ยารักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกชนิดอื่นๆ เช่น Aciphex (Rabeprazole) Dexilant (Dexlansoprazole) Nexium (Esomeprazole)
  • Vivotif (วัคซีนไทฟอยด์ชนิดเชื้อเป็น)

ผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มเซฟาลอสปอรินส์ หรือส่วนผสมที่พบในยาเหล่านี้ไม่ควรใช้ยาโดยเด็ดขาด และเช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะทุกชนิด ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้มั่นใจว่าการติดเชื้อนั้นได้หายไปแล้วจริงๆ มิเช่นนั้นอาจมีการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจจะรักษาได้ยากกว่าการติดเชื้อครั้งแรก

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาเซฟาลอสปอรินส์

การรับประทานยาในกลุ่มเซฟาลอสปอรินส์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
drugbank.ca, Cephalosporins (https://www.drugbank.ca/categories/DBCAT000568)
healthline.com, Cephalosporins (https://www.healthline.com/health/cephalosporins), January 28, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป