ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิตามินรวม (Multivitamin)

รู้ครบเรื่องวิตามินรวม ตัวอย่างวิตามินรวมในท้องตลาด คำแนะนำการใช้ และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิตามินรวม (Multivitamin)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วิตามินรวม เป็นวิตามินเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินหลายชนิดรวมกันในหนึ่งเม็ด ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันการขาดวิตามิน บำรุงร่างกายและระบบประสาท ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ
  • ตัวอย่างวิตามินตามท้องตลาด เช่น  บีรอคคา® เพอร์ฟอร์มานซ์, แบล็คมอร์® มัลติวิตามินและมิเนอร์รัล, วิสตร้า® มัลติวิตามิน และมิเนอร์รัลบวกกรดอะมิโน
  • การเลือกวิตามินควรมีแพทย์ให้คำแนะนำ ควรแจ้งแพทย์ถึงอาหารที่แพ้ ยาที่กินอยู่ และโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์ให้คำแนะนำได้ถูก เวลากินวิตามินควรกินกับน้ำเปล่า ไม่ควรกินกับนมที่จะลดการดูดซึมลง 
  • กรณีลืมกินวิตามินรวม ควรกินทันทีที่นึกได้ หากใกล้ถึงเวลามื้อต่อไปให้ข้ามไปรับประทานมื้อต่อไปได้เลย ไม่ต้องเพิ่มปริมาณการใช้เป็น 2 เท่า และไม่ควรกินหลายยี่ห้อพร้อมกัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวิตามิน รับวิตามินบำรุง

วิตามินรวม เป็นวิตามินเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินหลายชนิดรวมกันในหนึ่งเม็ด ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันการขาดวิตามินในร่างกาย ช่วยบำรุงร่างกายและระบบประสาท รวมถึงช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ 

นิยมให้รับประทานวิตามินรวมในผู้ที่อาจได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ หรือเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินที่อาจเกิดจากอาการป่วยบางชนิด เช่น ขาดสารอาหาร โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร รวมถึงผู้ที่อยู่ในระหว่างพักฟื้นหรือหลังผ่าตัด เป็นต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินรวมจัดเป็นกลุ่มยาที่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ใช้ได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ซึ่งมีทั้งรูปแบบชนิดเม็ดและชนิดน้ำสำหรับผู้ที่มีปัญหาการกลืน

ตัวอย่างวิตามินรวมที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

  1. บีรอคคา® เพอร์ฟอร์มานซ์ (Berocca® performance) เป็นวิตามินรวมชนิดเม็ดฟู่ ประกอบด้วยวิตามินบี 1 (ไธอะมีน) วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) วิตามินบี 3 (นิโคตินามายด์) วิตามินบี 5 (กรดแพนโทธีนิก) วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน) วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน) วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ไบโอติน กรดโฟลิก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี
  2. แบล็คมอร์® มัลติวิตามินและมิเนอร์รัล (Blackmores® Multivitamins+Minerals) ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1, 2, 3, 5, 6 วิตามินซี วิตามินดี 3 วิตามินอี ไบโอติน กรดโฟลิก แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส  เหล็ก ไอโนซิทอล วิตามิน
  3. วิสตร้า® มัลติวิตามิน และมิเนอร์รัลบวกกรดอะมิโน (VISTRA® Multivitamins & Minerals plus Amino Acid) ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1, 2, 3, 6, 12 วิตามินซี วิตามินดี 3 วิตามินอี วิตามินเค แคลเซียม แอล-ไลซีน โมโนไฮโดรคลอไรด์ (L-Lysine Monohydrochloride) แอล-ออร์นิทีน ไฮโดรคลอไรด์ (L-Ornithine Hydrochloride) แอล-เมไธโอนีน (L-Methionine) แอล-ไอโซลูซีน (L-lsoleucine) แอล-วาลีน (L-Valine) แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี เหล็ก คอปเปอร์ โบรอน ซีลีเมียม

ข้อแนะนำในการใช้วิตามินรวม

ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์วิตามินรวมหลากหลายสูตรให้เลือกใช้ โดยแต่ละยี่ห้ออาจมีสัดส่วนของวิตามินแตกต่างกันไป นอกจากนี้อาจมีส่วนผสมของแร่ธาตุชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สังกะสี แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ดังนั้นการเลือกสูตรของวิตามินรวม ปริมาณ และระยะเวลาในการใช้ จึงต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และเภสัชกรผู้ให้คำแนะนำ ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานวิตามินรวมเบื้องต้น มีดังนี้

  1. ให้รับประทานวิตามินรวมตามปริมาณและระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และปฏิบัติตามฉลากกำกับการใช้
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติการแพ้ยา หญิงตั้งครรภ์ กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนรับวิตามินรวม
  3. วิตามินรวมอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด หากกำลังใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริม ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนเริ่มใช้ยา
  4. ควรรับประทานวิตามินรวมร่วมกับน้ำเปล่า ไม่ควรรับประทานร่วมกับนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม รวมทั้งแคลเซียมเสริม หรือยาที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากแคลเซียมอาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบางชนิดได้ไม่ดี
  5. กรณีลืมรับประทานวิตามินรวม ควรรับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงเวลามื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานมื้อต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณการใช้เป็น 2 เท่า
  6. ไม่ควรรับประทานวิตามินรวมหลายยี่ห้อในคราวเดียวกัน ยกเว้นเมื่อแพทย์สั่ง เพราะอาจทำให้ได้รับวิตามินในปริมาณมากเกินจนเกิดผลข้างเคียงตามมาได้
  7. บางผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินรวมหลายชนิดมักมีส่วนผสมของแร่ธาตุอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม และสังกะสี ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อรับประทานในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดคราบที่ฟัน ปัสสาวะมากขึ้น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการสับสน กล้ามเนื้อหรือแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
  8. หากอยู่ในภาวะที่ต้องรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ มีภาวะโรคไตหรือตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้วิตามินรวม เนื่องจากการใช้วิตามินรวมมีผลทำให้อวัยวะภายในทำงานหนักขึ้น
  9. เก็บวิตามินรวมไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25º C) หลีกเลี่ยงจากความชื้น แสงแดด และความร้อน

ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาอาการภูมิแพ้

การรับประทานวิตามินรวมในปริมาณที่เหมาะสมมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงใดๆ โดยผลข้างเคียงที่พบได้ปกติ ได้แก่ อาหารไม่ย่อย รู้สึกถึงรสชาติผิดปกติในปาก ปวดศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากพบอาการที่แสดงถึงการแพ้รุนแรงต่อไปนี้ ได้แก่ มีผื่นลมพิษ หายใจลำบาก มีอาการบวมที่เยื่อบุอ่อน โดยเฉพาะใบหน้า ลำคอ ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น ให้หยุดรับประทานและรีบไปพบแพทย์ทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวิตามิน รับวิตามินบำรุง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป