กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาในประเทศไทย จำแนกประเภทตามความเข้มงวดในการจำหน่าย

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที
ยาในประเทศไทย จำแนกประเภทตามความเข้มงวดในการจำหน่าย

การแบ่งยาตามความเข้มงวดในการจัดจำหน่ายนั้น ในประเทศไทยสามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ยาสมัญประจำบ้าน ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และกลุ่มที่ไม่เข้าเกณฑ์อีกสามประเภทก่อนหน้า คือยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

1. ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรือง ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบัน 

โดยในพระราชบัญญิตมีการกำหนดขนาด ความแรง การบรรจุ ฉลาก สรรพคุณ ซึ่งต้องตรงกับหลักเกณฑ์จึงจะถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นมีใบอนุญาตขายยา ไม่จำเป็นต้องส่งมอบโดยเภสัชกร และไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยรายชื่อยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1.1 ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึน ท้องเฟ้อ

  • ยาเม็ดลดกรดและยาน้ำลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์ ที่มีส่วนประกอบคือ Sodium Bicarbonate และ Peppermint Oil
  • ยาขับลม ที่มีส่วนประกอบคือ Capsicum Tincture Compound Cardamom Tincture Strong Ginger Tincture
  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
  • ยานําแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์

  1.2 ยาแก้ท้องเสีย

  • ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

  1.3 ยาระบาย

  • ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสําหรับเด็กและผู้ใหญ่
  • ยาระบายแมกนีเซีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบาย โซเดียม คลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

  1.4 ยาถ่ายพยาธิลําไส้

  • ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล

  1.5 ยาบรรเทาปวด ลดไข้

  • ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้แอสไพริน
  • ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก.
  • ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 325 มก.
  • ยานําบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล
  • พลาสเตอร์บรรเทาปวด ที่มีส่วนประกอบของสารหอมระเหย
  • ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
  • ยาเม็ดแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

  1.6 ยาแก้ไอ ขับเสมหะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะสําหรับเด็ก
  • ยาแก้ไอน้ำดํา

  1.7 ยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

  • ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
  • ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก ที่มีส่วนประกอบของสารหอมระเหย
  • ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึง ที่มี่ส่วนประกอบของสารหอมระเหย

  1.8 ยาแก้เมารถ เมาเรือ

  • ยาเม็ดแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

  1.9 ยาสําหรับโรคตา

  1.10 ยาสําหรับโรคปากและลําคอ

  • ยากวาดคอ
  • ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชียนไวโอเลต
  • ยาแก้ปวดฟัน ที่มีส่วนประกอบของ chlorobutanol และ clove oil
  • ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ ที่มีส่วนประกอบของสารหอมระเหย

1.11 ยาใส่แผล ล้างแผล

  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
  • ยาใส่แผล โพวิโดน-ไอโอดีน
  • ยาไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์
  • ยาเอทิล แอลกอฮอล์
  • น้ำเกลือล้างแผล

1.12 ยารักษาแผลติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
  • ยารักษาแผลติดเชื้อ ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

1.13 ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

  • ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง ที่มีส่วนประกอบของสารหอมระเหย

1.14 ยาสําหรับโรคผิวหนัง

  • ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
  • ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกํามะถัน
  • ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า benzoic acid และ salicylic acid
  • ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง coal tar
  • ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
  • ยารักษาเกลื้อน โซเดียม ไทโอซัลเฟต

1.15 ยาบํารุงร่างกาย

  • ยาเม็ดวิตามินบีรวม
  • ยาเม็ดวิตามินซี
  • ยาเม็ดบํารุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
  • ยาเม็ดวิตามินรวม
  • น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล
  • น้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

2. ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ 

ยาประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาแผนปัจจุบันและร้านขายยาบรรจุเสร็จ ที่มีบุคคลากรของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ปฏิบัติการ ไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ รายชื่อของยาไม่มีระบุไว้ ยาที่เข้าเกณฑ์นี้คือยาอื่นที่ไม่เข้าข่ายประเภทยาในข้อ 3 และ 4

3. ยาอันตราย 

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ยาประเภทนี้สามารถหาซื้อได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และต้องมีเภสัชกรเป็นผู้ส่งมอบ โดยรายชื่อยาที่เป็นยาอันตรายมีดังนี้

  • ยาจำพวกลดความดันเลือด (Hypotensive drugs)
  • ยาจำพวกขยายหลอดเลือดส่วนขอบ (Peripheral vasodilators) ยกเว้น ก.ไนอาซิน (Niacin) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมตอ่ขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ ข. ยาจำพวกขยายหลอดเลือดที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง
  • ยาจำพวกขยายหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary vasodilators) ยกเว้นที่ใช้สำหรับสูดดม                 
  • ยาจำพวกดิจิตาลอยด์ (Digitaloid drugs) ยกเว้นสะควิลล์ (Squill) ที่ใช้สำหรับขับเสมหะ                  
  • ยาจำพวกรักษาอาการภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Antiarrhythmic drugs)
  • ยาจำพวกที่มีผลต่อไขมันในเลือด (Drugs affecting blood lipids) ยกเว้นไนอาซีน (Niacin) ที่มีปริมาณไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
  • ยาจำพวกแสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหรือหลอดเลือด (Cardiovascular drugs)
  • ยาจำพวกแก้ไอ (Antitussive drugs) ยกเว้น ที่ใช้สำหรับขับเสมหะ (Expectorants)                   
  • ยาจำพวกแอดรีเนอร์ยิค (Adrenergic drugs) ยกเว้น ก. ที่ใช้สำหรับหยอดจมูกตามที่รัฐมนตรีประกาศ ข. เอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ephedrine hydrochloride) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม ผสมกับทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส (Theophylline anhydrous) ขนาด 60-150 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด ค. ที่ประกาศเป็นยาควบคมุพิเศษ ง. ฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัมผสมกับคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม หรือบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล จ. ฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ผสมกับพาราเซตามอล (Paracetamol) และคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม หรือบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล
  • ยาจำพวกโคลิเนอร์ยิค (Cholinergic drugs)  
  • ยาจำพวกสกัดกั้นแอดรีเนอร์ยิค (Adrenergic blocking drugs)
  • ยาจำพวกสกัดกั้นโคลิเนอร์ยิค (Cholinergic blocking drugs) ทั้งที่ได้จากพฤกษชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งแอลคาลอยด์และเกลือของแอลคาลอยด์ที่ได้จากพฤกษชาติ เหล่านั้น ยกเว้น ก.    ยาสกัดเบลลาดอนนา (Belladonna  Extract) ทิงเจอร์เบลลาดอนนา (Belladonna Tincture) ยาสกัดไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Extract) ทิงเจอร์ไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Tincture) หรือทิงเจอร์สะตราโมเนียม (Stramonium Tincture) ที่มีขนาดรับประทานใน มื้อหนึ่งไม่เกินขนาดรับประทานอย่างต่ำสุดของยาเหล่านั้นที่กำหนดไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ ข. ไฮออสไซยามีนซัลเฟต (Hyoscyamine Sulphate) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 125 ไมโครกรัม ค. อะโทรปีนซัลเฟต (Atropine Sulphate) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 250 ไมโครกรัม
  • ยาจำพวกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง (Centrally acting muscle relaxants) รวมทั้งยารักษาอาการโรคปาร์กินสัน (Antiparkinson drugs)
  • ยาจำพวกขับปัสสาวะ (Diuretic drugs) ยกเว้น ก. ยาขับปัสสาวะจำพวกออสโมติค (Osmotic diuretic drugs) ข. อูวาเออร์ซี (Uva Ursi) ค. บูชู (Buchu) ง. ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก (Oxytocic drugs) ยกเว้นที่ประกาศ เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมปิตูอิตารี (Pituitary hormones)
  • ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จาก การสังเคราะห์สำหรับใช้เฉพาะที่
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของตับอ่อน  (Pancreatic hormones) รวมทั้งยาจำพวกที่ใช้รับประทานเพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง (Oral hypoglycemic drugs)
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมพาราธัยรอยด์ (Parathyroid hormones) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ (Thyroid hormones) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์
  • ยาจำพวกแอนติธัยรอยด์ (Antithyroid drugs)
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของรังไข่ (Ovarian hormones) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์ ยกเว้น ก. เอทินิลเอสตราไดออล (Ethinylestradiol) ขนาด 0.03 - 0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล (Norgestrel) ขนาด 0.25 - 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล (Levonorgestrel) ขนาด 0.125 - 0.25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน (Norethisterone) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต (Norethisterone acetate) ขนาด  1.0-2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล (Lynestrenol) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด ข. เมสตรานอล (Mestranol)  ขนาด 0.03 – 0.05 มิลลิกรัม  ผสมกับนอร์เจสตรีล (Norgestrel) ขนาด 0.25 -  0.5 มิลลิกรัม  เลโวนอร์เจสตรีล (Levonorgestrel)  ขนาด 0.125 – 0. 25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน (Norethisterone) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต (Norethisterone acetate) ขนาด 1.0 –2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล (Lynestrenol) ขนาด 1.0 – 2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกฮอร์โมนของอัณฑะ (Testicular hormones) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์รวมทั้งยาจำพวกอนาบอลิค (Anabolic drugs)
  • ยาจำพวกทาให้ชาเฉพาะที่ (Local Anesthetics) ยกเว้น ก. น้ำมันกานพลู (Clove oil) ที่ใช้สำหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด ข. ยูจีนอล (Eugenol) ที่ใช้สำหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด
  • ยาจำพวกระงับประสาทและทำให้นอนหลับ (Sedatives and hypnotics) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  • ยาจำพวกรักษาลมบ้าหมู (Antiepileptics)  หรือยารักษาอาการชัก (Anticonvulsants) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท  
  • ยาจำพวกสงบประสาท (Tranquilizing drugs) นอกจากที่ประกาศเป็น วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
  • ยาจำพวกกระตุ้นประสาทไซโคมอเตอร์ (Psychomotor stimulants) นอกจากที่ ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  • ยาจำพวกบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้ (Analgesics or Antipyretics)  ยกเว้น ก แอสไพริน (Aspirin) ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จ และมีข้อบ่งใช้บรรเทาปวด โดยมี รายละเอียดของความแรง รูปแบบยา บรรจุภัณฑ์ ขนาดบรรจุ การแสดงฉลาก การแสดงเอกสารกำกับยา สำหรับประชาชนและเอกสารกำกับยาสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะตามที่ กำหนดท้ายประกาศฉบับนี้ ข ฟีนาซีติน (Phenacetin) ค โซเดียมซาลิไซเลท (Sodium Salicylate) ง ซาลิไซลาไมด์ (Salicylamide) จ อะเซตามิโนเฟน หรือ พาราเซตามอล (Acetaminophen or Paracetamol) ฉ ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ                                            
  • ยาจำพวกลดอาการอักเสบที่ไมใช่สเตอรอยด์ (Non–steroids anti–inflammatory- drugs) ยาจำพวกลดกรดยรูิค (Uricosuric drugs)  ยาจำพวกรักษาโรคข้ออักเสบที่ไมใช่สเตอรอยด์ (Non-steroids anti-arthritic-drugs) ยกเว้น ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคมุพิเศษ ข. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง ค. แอสไพริน (Aspirin) หรือเกลือของแอสไพริน ง.  โซเดียมซาลิซีเลท (Sodium Salicylate)
  • ยาจำพวกฮิสตามีน และแอนติฮิสตามีน (Histamine and antihistamine drugs) ยกเว้น ก. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง ข. ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด ค. คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 2 มิลลิกรัม ที่ผลิต ขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด ง. คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 1-2  มิลลิกรัมผสม กับพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาด 300 -  500 มิลลิกรัม  ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด จ. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมหรือบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ผสมกับฟีนิลเอฟรีน(Phenylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล ฉ. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมหรือบรอมเฟนิรามีน  (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมผสมกับพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาดไม่เกิน 325 มิลลิกรัมและฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด หรือแคปซูล”   (33) ยาจำพวกแซนธีน (Xanthines) ยกเว้น9 ก.    แคฟเฟอีน (Caffeine) ไม่เกิน100 มิลลิกรัม ตอ่ขนาดรับประทานหนงึ่มือ้ ข.    อะมิโนฟิลลีน (Aminophylline) ขนาด 100 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จ ชนิดเม็ด ค. ทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส (Theophylline anhydrous) ขนาด  60 – 150 มิลลิกรัม ผสมกับเอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ephedrine hydrochloride) ขนาด 15 – 50 มิลลิกรัมที่ผลิตขึ้นเป็นยา บรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system stimulants) รวมทั้งยาทำให้เบื่ออาหาร (Anorexigenics) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาจำพวกอะนาเล็พติค (Analeptics) นักซ์วอมิกา (Nux Vomica) และแอลคาลอยด์ของนักซ์วอมิกา (Nux Vomica Alkaloids) ยกเว้นยาบรรจุเสร็จที่มีนักซ์วอมิกา (Nux Vomica preparations) เทียบเท่ากับสตริ๊กนิน      ในขนาดรับประทานไม่เกินมื้อละ 1.2 มิลลิกรัม 
  • ยาจำพวกฆ่าเชื้อโรคเฉพาะที่ (Local anti-infective agents, antiseptics disinfectants or germicides) ยกเว้น ก. เฟนิลซาลิซีเลท (Phenyl salicylate) ข. สำหรับใช้เฉพาะที่เฮกซาโคลโรฟีน (Hexachlorophene) ที่เกินร้อยละ 0.75 น้ำยาซาโปเนทเต็ดครีโซล (Saponated cresol solution) น้ำยาฟอร์แมลดีไฮด์ (Formaldehyde solution) เมอควิรี่ไบคลอไรด์ (Mercury bichloride)
  • ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ยกเว้น ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคมุพิเศษ ข. ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามประกาศยาสามัญประจำบ้าน ค. สำหรับใช้เฉพาะที่ ง. ทาลีลซัลฟาไทอะโซล (Phthalylsulphathiazole) ขนาด 500 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด จ. ซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulphamethoxazole) ขนาด 400 มิลลิกรัม ผสมกับไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ขนาด 80 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล ฉ. ซัลฟาดอกซีน (Sulphadoxine) ขนาด 500 มิลลิกรัม ผสมกับไพริเมทามีน (Pyrimethamine) ขนาด 25 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยกเว้น ก. สำหรับใช้เฉพาะที่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาจำพวกเพนิซิลลิน ข. เพนิซิลลิน วี โปแตสเซียม (Penicillin V Potassium) ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จ ชนิดดรายไซรัป (Dry Syrup) ซึ่งในน้ำยา 5 มิลลิลิตร มีเพนิซิลลิน วี (Penicillin V) ขนาด 200,000 ยนูิต ค. ที่เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • ยาจำพวกรักษาโรคเรื้อน (Antileprotic drugs) 
  • ยาฆ่าเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะ (Urinary  antiseptics)  ยกเว้นเฮกซามีน (Hexamine) และเกลือของเฮกซามีน (Salts of Hexamine)
  • ยาจำพวกรักษาวัณโรค (Antituberculous drugs)
  • ยาจำพวกป้องกันและรักษามาลาเรีย (Antimalarial drugs) ยกเว้น ก. ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามประกาศยาสามญัประจำบ้าน ข.ไพริเมทามีน (Pyrimethamine) ขนาด 25 มิลลิกรัมผสมกับซัลฟาดอกซีน(Sulphadoxine) ขนาด 500 มิลลิกรัมที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกรักษาโรคบิดชนิดอะมีบิค (Amoebiacides)
  • ยาจำพวกฆ่าเชื้อโปรโตโซอา (Antiprotozoal drugs)
  • ยาจำพวกฆ่าเชื้อรา (Antifungal drugs) ยกเว้นสำหรับใช้เฉพาะที่                                                           
  • ยาจำพวกฆ่าเชื้อไวรัส (Antiviral  drugs) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาควบคมุพิเศษ
  • ยาจำพวกรักษาโรคหนอนพยาธิ (Anthelmintic drugs) ยกเว้น ก. ทีผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามประกาศยาสามัญประจำบ้าน ข. มีเบนดาโซล (Mebendazole) ขนาด 100 มิลลิกรัม หรือ 500 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ยาจำพวกฆ่าเหา (Pediculicides) และฆ่าเชื้อหิด (Scabicides) ยกเว้นยาที่ผลิต ขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
  • ยาจำพวกแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (Antinauseants, antiemetics and motion sickness control drugs) ยกเว้นไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็น ยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด   
  • ยาจำพวกกันเลือดแข็ง (Anitcoagulants) ยกเว้น ยาจำพวก Mucopolysaccharide polysulfate ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก
  • ยาจำพวกห้ามเลือด (Hemostyptics) ยกเว้นสำหรับใช้เฉพาะที่
  • ยาจำพวกสร้างภมูิคุ้มกันให้ร่างกาย (Immunizing agents)
  • ยาจำพวกที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค (Diagnostic agents) ที่ใช้โดยตรงต่อร่างกายของมนษุย์หรือสัตว์   
  • ยาจำพวกสกัดสำหรับทดสอบภมูิแพ้ (Allergenic extracts)
  • กรดเกลเซียลอะซีติค (Glacial acetic acid) กรดอะซีติค (Acetic acid) ยกเว้น ยาปรุงสำเร็จที่มียาเหล่านี้
  • กรดแร่ต่างๆ (Mineral acids) ยกเว้นกรดแร่อย่างเจือจางที่เป็นยาปรุงสำเร็จตาม ตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
  • กรดไทรคลอโรอะซีติค (Trichloroacetic acid)
  • กรดโครมิค (Chromic acid) โครเมียมไทรอ๊อกไซด์  (Chromium trioxide)
  • กรดซาลิซีลิค (Salicylic acid) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จที่ใช้เฉพาะกับ ผิวหนัง 
  • เกลืออนินทรีย์ของเงิน (Inorganic salts of Silver) ยกเว้นที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
  • น้ำยาแอมโมเนียอย่างแรง (Strong Ammonia solution) ยกเว้นยาปรุงสำเร็จที่มี  ยาเหล่านี้
  • โปแตสเซียมฮัยดร๊อกไซด์ (Potassium hydroxide) โซเดียมฮัยดร๊อกไซด์ (Sodium hydroxide) ยกเว้นยาปรุงสำเร็จที่มียาเหล่านี้
  • ฟีนอล (Phenol) ฟีนอลอย่างเหลว (Liquefied Phenol) ยกเว้นฟีนอลไม่เกิน ร้อยละ 5 ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง 
  • แอนทราลิน(Anthralin) หรือไดทรานอล(Dithranol)คริสซาโรบิ (Chrysarobin) ยกเว้นที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง
  • โปโดฟิลลมุเรซิน (Podophyllum resin)   
  • ยาฉีดทุกชนิด รวมทั้งน้ำกลั่นที่ใช้สำหรับฉีด   
  • ยาที่รัฐมนตรีประกาศยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบญัญัติ ยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช 2465 ยกเว้น ก. ทิงเจอร์ ฝิ่น การะบูน ที่ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือที่เป็นส่วนผสมในยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุยาสามัญประจำบ้าน ข. ยาที่มีทิงเจอร์ฝิ่น การะบูน เป็นส่วนผสมไม่เกินสองมิลลิลิตร ต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
  • ยาจำพวกใช้ถนอม (Preservatives) และยาจำพวกทำให้คงตวั (Stabilizers)    ยกเว้นที่มีปริมาณตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศเพื่อความมุ่งหมายในการถนอมหรือการทำให้คงตัว   
  • ยาจำพวกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม (Hair Growth Stimulant) ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญไมน๊อกซิดิล (Minoxidil)
  • ยาจำพวกที่มุ่งหมายสำหรับใช้บำบัด บรรเทา หรือรักษาสิวหรือฝ้า
  • ยาจำพวกที่มีส่วนประกอบของไวตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble vitamins) สำหรับใช้ภายใน ได้แก่ ไวตามิน เอ (Vitamin A) ไวตามิน ดี (Vitamin D) ไวตามิน อี (Vitamin E)  ไวตามิน เค (Vitamin K) ยกเว้น (71.1) ไวตามิน เอ (Vitamin A) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 5000 หน่วยสากล (I.U.) (71.2) ไวตามิน ดี (Vitamin D) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 400 หน่วยสากล (I.U.) (71.3) ไวตามิน อี (Vitamin E) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 30 หน่วยสากล (I.U.) ไวตามิน เค หนึ่ง (Vitamin K1 : Phylloquinone) ขนาดรับ ประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 80 ไมโครกรัม
  • ยาจำพวกที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Gastrointestinal antimotility agents) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาควบคมุพิเศษ
  • ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) ที่ใช้ภายนอก      
  • ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคตินซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่                  
  • ยาราซีคาโดทริล (Racecadotril) ที่ใช้สำหรับอาการท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก  
  • ยาไนมิซุไลด์ (Nimesulide) ชนิดใช้ภายนอก 

4. ยาควบคุมพิเศษ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรือง ยาควบคุมพิเศษ 

ยาประเภทจำเป็นต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อยา เนื่องจากยามีความเป็นพิษสูง ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายจึงจำเป็นต้องมีแพทย์กำกับการใช้ยา โดยรายชื่อยาที่เป็นยาควบคุมพิเศษมีดังนี้

  • อะเซตานิลิด (Acetanilid) ยกเว้นที่มุ่งหมายในการทำให้คงตัว (Stabilizers) ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 0.025 
  • เอ็น- เมทิลอะเซตานิลิด (N – Methylacetanilid)
  • เมตา – เมทิลอะเซตานิลิด (Meta – Methylacetanilid)
  • ออร์โท – เมทิลอะเซตานิลิด (Ortho – Methylacetanilid)
  • พารา – เมทิลอะเซตานิลิด (Para – Methylacetanilid)
  • อะมิโนพัยริน (Aminopyrin)
  • อะปิออล (Apiol)
  • ยาจำพวกสารประกอบของสารหนู (Arsenical compounds)
  • ยาจำพวกบาร์บิตูเรทส์ (Barbiturates) ยกเว้นที่ประกาศเป็นวัตถอุอกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  • โบรมิโซวาลมุ (Bromisovalum)
  • คาร์โบรมาล (Carbromal)
  • อะเซตลิคาร์โบรมาล (Acetylcarbromal)
  • เอคทิลยูเรีย (Ectylurea)  
  • แคนทาริดส์ (Cantharides) 
  • แคนทาริดิน (Cantharidin)  
  • ยาจำพวกคลอรัล (Chlorals) ยกเว้น (ก) สำหรับใช้เฉพาะที่ (ข) คลอโรลบิวตานอล (Chlorobutanol) ที่ประกาศเป็นยาอันตราย
  • ซินโคเฟน (Cinchophen)
  • นีโอซินโคเฟน (Neocinchophen)  
  • เมล็ดสลอด (Croton seed) 
  • น้ำมันสลอด (Croton oil) 
  • กรดฮัยโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid) และเกลือของกรดไฮโดรไซยานิค (Salts of Hydrocyanic acid)
  • น้ำมันแอลมอนด์ชนิดขม (Bitter Almond oil)  
  • น้ำมันอะปริคอทชนิดขม (Bitter Apricot oil) 
  • โปแตสเซี่ยมไทโอไซยาเนท (Potassium Thiocyanate) ยกเว้นที่มุ่งหมายในการทำให้คงตัว (Stabilizers) ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 0.025 
  • โซเดียมไทโอไซยาเนท (Sodium Thiocyanate) ยกเว้นที่มุ่งหมายในการทำให้คงตัว (Stabilizers) ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 0.025 
  • น้ำมันซาวิน (Oil of Savin)
  • ยาจำพวกทำให้ประสาทหรือจิตหลอน (Psychotomimetic drugs) ยกเว้นที่ประกาศเป็น วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 
  • ยาจำพวกกัมมันตรังสี (Radio Pharmaceuticals)
  • ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide) เฉพาะที่ใช้สำหรับรับประทาน 
  • ซัลโฟนมีเทน (Sulfonmethane) 
  • ซัลโฟนเอทิลมีเทน (Sulfonethylmethane)
  • ยาจำพวกทำให้ชาทั่วกาย หรือสลบ (General Anesthetics)  
  • ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์  (Corticosteroids) ที่ได้จากธรรมชาติหรือได้จากการสังเคราะห์ ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาอันตราย 
  • เฟนิลบวิตาโซน (Phenylbutazone) เกลือของเฟนิลบวิตาโซน (Salts of Phenylbutazone)  ยกเว้นที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง 
  • อ๊อกซี่เฟนบวิตาโซน (Oxyphenbutazone) ยกเว้นที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง 
  • คลอไฟเบรท (Clofibrate)
  • เฟนฟลรูามีน (Fenfluramine) และเด็กซ์เฟนฟลรูามีน (Dexfenfluramine) รวมทั้งยาที่ชื่ออื่นซึ่งมีสูตรทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาดังกล่าว เกลือและเอสเทอร์ใด ๆ ของยาดังกล่าวและยาปรุงสำเร็จที่มีตัวยาดังกล่าวผสมอยู่ด้วย 
  • คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) เกลือของคลอแรมเฟนิคอล (Salts of Chloramphenicol) ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับเด็ก
  • ยาจำพวก อะนาโบลิก สเตอรอยด์ (Anabolic steroid) ในสูตรตำรับยาเดี่ยว
  • ยาที่มีส่วนผสมของอะนาบอลิก สเตอรอยด์ (Anabolic steroid) กับไวตามิน  (Vitamins) หรือ Anabolic steroid กับไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine) หรือ Anabolic steroid กับ Vitamins และ Cyproheptadine
  • ยาผสมที่ใช้สำหรับรักษาโรคหอบหืดที่มีตัวยา สเตอรอยด์ (Steroid) ผสมอยู่ชนิดฉีดพ่น
  • ยากลุ่มเรตนิอยด์ (Retinoid) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาอันตราย
  • ยากลาฟีนีน (Glafenine) และฟลอคตาฟีนิน  (Floctafenine)
  • ยาอีริโทรพอยอิติน (Erythropoietin) ทุกรูปแบบ
  • ยาแกนไซโคลเวีย (Ganciclovir)
  • ยาต้านไวรัสรักษาโรคเอดส์ (Anti – HIV AIDS)
  • ยาเอทตามิแวน (Ethamivan) ที่เป็นตำรับยาเดี่ยวในรูปแบบยาฉีด (Injection) ยาน้ำสำหรับรับประทาน (Oral Solution) และตำรับยาผสมที่มีสูตรยาประกอบด้วย ยาเอทตามิแวน (Ethamivan) อีโทฟิลลีน (Etofylline) และ เฮกโซเบนดีนไดไฮโดรคลอไรด์ (Hexobendine dihydrochloride)
  • ยาไดไพโรน (Dipyrone)
  • ยาคลอซาปีน (Clozapine)
  • ยาที่มีผลในการเพิ่มหรือกดภูมิคุ้มกัน (Immunomodulators)
  • ยาจำพวกที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค (Diagnostic agents) ที่ใช้โดยตรงต่อร่างกายมนุษย์หรือสัตว์
  • ยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) ซึ่งออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรส 5 (Phosphodiesterase-5 Inhibitors)
  • ยาซิซาไพรด์ (Cisapride)
  • ยาไมโสพรอสตอล (Misoprostol)
  • ยากลุ่มสกัดกั้นประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents)
  • ยาแผนปัจจบุนัที่ใช้สำหรับมนษุย์ (ยาใหม่) แบบมีเงื่อนไข
  • ยาที่มีส่วนผสมของ ลอราทาดีน (Loratadine) ในลักษณะ immediate release กับ สูโดเอฟิดรีน (Pseudoephedrine) หรือ เกลือของสูโดเอฟิดรีน (Salt of Pseudoephedrine) ในลักษณะ Sustained release
  • ยาลามิวดูีน (Lamivudine) ที่ใช้รักษาโรคตับเอกเสบเรื้อรัง ชนิด บีสอง
  • ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ที่เป็นทะเบียนตำรับยาสำหรับสัตว์
  • ยาไดโนพรอสโตน (Dinoprostone)
  • ยาซัลพรอสโตน (Sulprostone)
  • ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ที่ใช้ภายในสำหรับผู้ใหญ่
  • ยารักษาโรคจิตเภท (Antipsychotic drugs)
  • ยาเลฟลูโนไมด์ (Leflunomide)
  • ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)
  • ยาธาลิโดไมด์  (Thalidomide)
  • ยาแอสไพริน (Aspirin) ยกเว้นที่ใช้สำหรับแก้ปวด ลดไข้
  • ยารักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ยาอะซิโพรมาซิน (Acepromazine rs)
  • ม็อกซิเด็กทิน (Moxidectin)
  • ยากลุ่มรักษาความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอด
  • ยากลุ่มขับเหล็กที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน
  • ยาลีนาลิโดไมด์ (Lenalidomide)
  • ยาสตูรผสมที่มีซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
  • ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir)
  • ยาที่มีไพโอกลิทาโซน (Pioglitazone)
  • ยาไนมิซุไลด์ (Nimesulide)



1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Restricted medicine – Royal Thai Embassy Stockholm. Royal Thai Embassy Stockholm. (http://thaiembassy.se/en/tourism/restricted-medicine/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)