กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Minoxidil (ไมนอกซิดิล) - ยาต้านความดันโลหิตสูงที่สามารถรักษาโรคผมร่วงในเพศชาย

รวมข้อมูลยา Minoxidil ยาต้านความดันโลหิตซึ่งสามารถรักษาอาการผมร่วงได้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Minoxidil (ไมนอกซิดิล) - ยาต้านความดันโลหิตสูงที่สามารถรักษาโรคผมร่วงในเพศชาย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยา Minoxidil เป็นยาต้านความดันโลหิตสูงซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผมในผู้ที่มีเส้นผมบางทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
  • ยา Minoxidil มีทั้งแบบยาเม็ด ยาทาบนผิวหนัง ซึ่งปริมาณการรับประทาน และความเข้มข้นของยาทาก็จะแตกต่างกัน
  • ยา Minoxidil ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ผิวหนังผิดปกติ เช่น โรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังไหม้จากแดด ผิวหนังเพิ่งโกนขนมา
  • ยา Minoxidil จัดเป็นยา Category C คือ ต้องระมัดระวังในหญิงมีครรภ์ และยังเกิดอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว มีผื่นแพ้ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ขน หรือเส้นผมเปลี่ยนสี เนื้อผิวสัมผัสเปลี่ยนไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษาผมร่วง

Minoxidil (ยาไมนอกซิดิล) เป็นยาต้านความดันโลหิตสูง โดยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และมีการใช้ในการรักษาโรคผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจนในเพศชาย (androgenix alopecia) 

เมื่อใช้ยา Minoxidil เป็นยาทาผิวหนัง มีประสิทธิภาพในการช่วยส่งเสริมการเจริญของเส้นผม โดยสามารถใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดย 40% ของผู้ใช้ยาเพศชาย สังเกตได้ถึงการเจริญของผมหลังจากใช้ยาได้ 3-6 เดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยปกติผู้ป่วยที่ใช้ยา Minoxidil จะมีการต้านทานต่อยาดี ไมนอกซิดิลถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายปีค.ศ. 1950 โดยบริษัท Upjohn (หนึ่งในบริษัท Pfizer ในปัจจุบัน) โดยมีข้อบ่งใช้ให้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร 

แต่ในการทดลองกับสุนัขพบว่า ยา Minoxidil ไม่ได้มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แต่มีฤทธิ์รุนแรงในการขยายหลอดเลือด จนมีการพัฒนายาอีกหลายตัวรวมถึง ยา Minoxidil มาจนถึงปีค.ศ. 1963 และให้ชื่อยานี้ว่า "ไมนอกซิดิล"

ไมนอกซิดิลมีการรับรองข้อบ่งใช้โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ในรูปแบบของยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในปีค.ศ. 1979 และมีการรับรองข้อบ่งใช้สำหรับรักษาศีรษะล้านในเพศชาย ในเดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 1988

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Minoxidil ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Midil

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

Polipharm

Minodil

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 3%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 5%

Charoon Bhesaj

Minoxidil GPO

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 5%

GPO

MI-X

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 3%

T.S. Polyproducts

Modil

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

General Drugs House

Noxidil

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

T.O. Pharma

Nuhair

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 3%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 5%

Polipharm

Regrowth

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

- ยาสเปรย์พ่นผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

Medicine Products

Reten

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 2%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 3%

- ยาทาผิวหนัง ความเข้มข้น 5%

T.O. Chemicals

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Minoxidil

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ Minoxidil เป็นยากลุ่มที่ใช้สำหรับผิวหนังเพื่อเพิ่มการงอกของเส้นผม และเป็นยาที่ใช้สำหรับโรคความดันโลหิตสูง 

ยา Minoxidil ออกฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต โดยลดทั้งระดับความดันซิสโทลิก (Systolic) และไดแอสโทลิก (Diastolic) โดยการลดแรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลาย โดยทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว 

ในกรณีใช้เป็นยาสำหรับทาลงบนผิวหนัง ยา Minoxidil จะกระตุ้นการเจริญของเส้นผมโดยทำให้เกิดกระบวนการขยายตัวของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนัง และออกฤทธิ์กระตุ้นต่อมรากผมที่อยู่ในระยะพัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Minoxidil

ข้อบ่งใช้สำหรับความดันโลหิตสูงรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยามาตรฐาน 

สำหรับยา Minoxidil ในรูปแบบยารับประทาน 

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ใช้ร่วมกับยากลุ่มบีต้า บล็อกเกอร์ (beta blocker) หรือเมธิล โดปา (methyl dopa) และยาขับปัสสาวะ
ขนาดยาจะเริ่มต้น 5 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นค่อยเพิ่มขนาดยาอย่างน้อยทุก 3 วัน เป็น 40 มิลลิกรัม หรือ 50 มิลลิกรัม ให้ครั้งเดียวต่อวัน หรือแบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย
ส่วนขนาดยาสูงสุด 100 มิลลิกรัมต่อวัน จะในการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว อาจให้ขนาดยาเพิ่มขึ้นครั้งละ 5 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง ต้องติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 

ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุน้อยกว่า 12 ปี ใช้ร่วมกับยากลุ่มบีต้า บล็อกเกอร์ (beta blocker) หรือเมธิล โดปา (methyl dopa) และยาขับปัสสาวะ
ขนาดของยาจะเริ่มต้น 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน แบ่งรับประทาน 1-2 ครั้งค่อยเพิ่มขนาดยาอย่างน้อยทุก 3 วัน อีก 100 ถึง 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง ขนาดยาสูงสุด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ 50 มิลลิกรัมต่อวัน 

ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ขนาดเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัมต่อวัน ค่อยเพิ่มขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับศีรษะล้าน สำหรับเพศชาย ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ความเข้มข้นของยา 2% หรือ 5% ทาลงบนหนังศีรษะ ครั้งละ 1 มิลลิลิตร วันละสองครั้ง 

สำหรับยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ให้อยู่ที่ความเข้มข้นของยา 2% ทาลงบนหนังศีรษะ ครั้งละ 1 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง ส่วนยาในรูปแบบยาโฟม ให้อยู่ที่ความเข้มข้น 5% ทาครึ่งฝาลงบนหนังศีรษะ วันละ 2 ครั้ง

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Minoxidil

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Minoxidil

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma) 
  • ห้ามใช้ยานี้ในรูปแบบยาทาผิวหนังกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 
  • ห้ามใช้ยานี้ในรูปแบบยาทาผิวหนังกับผู้ป่วยที่มีผิวหนังผิดปกติ เช่น สะเก็ดเงิน ผิวหนังไหม้จากแดด ผิวหนังที่เพิ่งโกนขน  
  • วังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความดันปอดสูง 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเค้นหน้าอก 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ป่วยสูงอายุ

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Minoxidil

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ 

  • ปวดศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว 
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลง 
  • ภาวะ hyperchotisis 
  • น้ำในช่องเยื้อหุ้มหัวใจเกิน (pericardial effusion) 
  • ภาวะบีบรัดหัวใจ (cardiac tamponade) 
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 
  • อาการเจ็บเค้นหน้าอกกำเริบ 
  • คลื่นไส้ 
  • เต้านมโตในเพศชาย 
  • คัดหน้าอก 
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ 
  • ผื่นแพ้ 
  • อาการแพ้แบบ Steven johnson syndrome 

อาการอันไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อย ได้แก่ เกร็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ผื่นภูมิแพ้สัมผัส ผื่นคัน ผิวหนังแดง ขน หรือเส้นผม เปลี่ยนสี หรือมีเนื้อสัมผัสเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลการใช้ยา Minoxidil ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Minoxidil

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์ และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วย และลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยาพกติดตัว
    และแสดงบัตรนี้แก่แพทย์ และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็น หรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์ หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

คุณผู้หญิง หรือคุณผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมน้อย หรือผมร่วงอย่าเพิ่งหาซื้อยา Minoxidil มารับประทานทันทีเพราะอยากให้เส้นผมขึ้นเร็วๆ แต่ควรลองไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อตรวจดูสุขภาพผิว หรือหนังศีรษะก่อน และยังจะได้รับการจ่ายยาดูแล หรือปลูกผมที่เหมาะสมกับตนเองด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Minoxidil Supplement — Health Benefits, Dosage, Side Effects. Examine.com. (Available via: https://examine.com/supplements/minoxidil/)
Here’s Everything You Need to Know About Using Minoxidil for Hair Growth. Byrdie. (Available via: https://www.byrdie.com/minoxidil-for-hair-growth-4769934)
Minoxidil: Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (Available via: https://www.healthline.com/health/minoxidil-oral-tablet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม