กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ปลูกผม เจาะลึกทุกขั้นตอน ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกผม

ผมร่วง ผมบาง ผมน้อย หัวล้าน จะไม่เป็นปัญหากวนใจอีกต่อไป เพราะการปลูกผมจะช่วยคืนความมั่นใจให้คุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ปลูกผม เจาะลึกทุกขั้นตอน ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกผม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การปลูกผม คือ การแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางเป็นหย่อม ๆ ที่เห็นผลกว่าการใช้แชมพู ทำทรีตเมนต์ หรือใช้ยาปลูกผมเอง เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้าน หรือได้รับอุบัติเหตุที่หนังศีรษะ
  • การปลูกผมเทียม เป็นการปลูกผมโดยใช้ผมสังเคราะห์ เลือกสีได้ตามใจ แต่ผมเทียมจะหักง่าย และติดเชื้อง่าย
  • การปลูกผมแท้ เป็นการย้ายรากผมจากท้ายทอยมายังบริเวณที่เราต้องการปลูกผม
  • หลังจากปลูกผม ภายใน 8-12 เดือน จะเห็นผลลัพธ์ของผมที่งอกขึ้นใหม่อย่างชัดเจน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

ศีรษะล้าน ผมบาง ผมร่วง จนเห็นหนังศีรษะเป็นหย่อมๆ คงเป็นปัญหากวนใจของใครหลายๆ คน บางรายถึงกับขาดความมั่นใจไปเลยก็มี สิ่งที่ตามมา คือ ความพยายามหาหนทางแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการใช้แชมพู ทรีทเม้นท์ เซรั่ม สมุนไพรต่างๆ หรือยาปลูกผม 

แต่หากลองสารพัดวิธีแล้วยังไม่เห็นผล หรือยังไม่เป็นที่พอใจ การปลูกผมก็อาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คุณกลับไปมีเส้นผมที่หนา และดูดีอย่างเป็นธรรมชาติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่เหมาะกับการปลูกผม

ทั้งชาย และหญิงที่มีปัญหาหนังศีรษะล้าน ผมร่วงจนบางเป็นหย่อมๆ หรือต้องสูญเสียเส้นผม เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่หนังศีรษะจนรู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเลือกใช้วิธีการปลูกผมเพื่อเรียกความมั่นใจกลับคืนมาได้ แต่ควรมีอายุประมาณ 20-25 ปีขึ้นไป 

สาเหตุที่ต้องอยู่ในช่วงอายุนี้ ก็เพราะเป็นช่วงที่กระโหลกโตเต็มที่แล้ว หากปลูกผมในช่วงที่กระโหลกยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้ผมดูบางลงเมื่อกระโหลกขยายขนาดใหญ่ขึ้น

ก่อนปลูกผมควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะปลูกผมได้ โดยเฉพาะบุคคลต่อไปนี้

  • มีผมบาง หรือศีรษะล้านเป็นบริเวณกว้าง หรือกระจัดกระจาย 
  • เส้นผมที่จะนำมาทดแทนมีจำนวนน้อยเกินไป หรือไม่เพียงพอ
  • มีแผลเป็นหนาบริเวณหนังศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือหลังการผ่าตัด 
  • ผมร่วงเนื่องจากการใช้ยาเคมีบำบัด หรือยาอื่นๆ 

วิธีการปลูกผม

การปลูกผมจัดเป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ปลูกผมเทียม และปลูกผมจริง

  • การปลูกผมเทียม เป็นการปลูกผมโดยใช้ผมสังเคราะห์ มีหลายสีให้เลือกตามสีผมธรรมชาติของแต่ละคน เช่น สีดำ สีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลอ่อน เป็นต้น
    วิธีปลูกผมนี้มักไม่นิยมในประเทศไทย เนื่องจากมีสภาพอากาศร้อน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่หนังศีรษะจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ผมเทียมนั้นยังหักง่าย เมื่อสะบัดผม หวีผม หรือแม้กระทั่งขณะเดิน และจะไม่สามารถงอกยาวได้ 
  • การปลูกผมจริง คือ การย้ายรากผมจากบริเวณอื่นมาปลูกบริเวณที่ผมบาง หรือศีรษะล้าน โดยมักนำมาจากด้านหลังบริเวณท้ายทอย ในบทความนี้จะเน้นเนื้อหาของการปลูกผมจริงเป็นหลัก

ประเภทของการปลูกผม 

ขั้นตอนการปลูกผมจริง มี 2 ประเภทคือ 

  • การปลูกผมจริงแบบ Follicular Unit Transplantation (FUT) 
  • การปลูกผมจริงแบบ Follicular Unit Extraction (FUE)

การปลูกผมแบบ FUT (Follicular unit transplantation) 

เป็นการปลูกผมด้วยการตัดชิ้นหนังศีรษะด้านหลังที่มีรากผมแข็งแรงออกไป มีขั้นตอนการปลูกดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. โกนผมบริเวณที่จะนำมาปลูกให้สั้น เพื่อให้ง่ายต่อการปลูกผม
  2. ฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องการปลูกผม และใช้ยาชาเฉพาะที่ทาบริเวณดังกล่าว เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะปลูกผม
  3. ตัดชิ้นหนังศีรษะด้านหลังที่มีเส้นผมแข็งแรง และทนต่อการหลุดร่วงได้มากกว่าออกมาประมาณ 6-10 นิ้ว จากนั้นจะทำการเย็บปิดแผลบริเวณที่ถูกตัดหนังศีรษะออกไป
  4. แพทย์จะใช้มีดผ่าตัดหั่นหนังศีรษะที่ได้เป็นกอเล็กๆ อาจถึง 2000 จุด เรียกว่า “กราฟต์ (Graft)” ในหนึ่งกราฟต์จะมีเส้นผมประมาณ 1-3 เส้น โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยส่องดู การแบ่งเป็นกราฟต์นี้จะช่วยให้เส้นผมที่ปลูกออกมาดูเป็นธรรมชาติ
  5. นำกราฟต์เส้นผมที่ได้ไปปลูกบริเวณที่ต้องการ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กพิเศษเปิดหนังศีรษะให้มีช่องว่าง แล้วใส่กราฟต์เส้นผมลงไปทีละจุดๆ จนเต็มทั่วทั้งหนังศีรษะที่จะปลูกผม

การปลูกผมแบบ FUE (Follicular unit extraction) 

วิธีนี้ต่างจากการปลูกผมแบบ FUT ตรงที่จะมีการตัดเอารากขนจากบริเวณด้านหลังศีรษะทีละกราฟต์โดยตรง ทำให้ไม่จำเป็นต้องตัดหนังศีรษะออกไปด้วย ขั้นตอนมีดังนี้

  1. โกนผมบริเวณที่จะนำมาปลูกให้สั้น เพื่อให้ง่ายต่อการปลูกผม
  2. ฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องการปลูกผม และใช้ยาชาเฉพาะที่ทาบริเวณดังกล่าว เพื่อให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะปลูกผม
  3. ใช้เข็มขนาดเล็กพิเศษเปิดหนังศีรษะบริเวณที่ต้องการปลูกผมให้เป็นรู จากนั้นจึงค่อยๆ ใส่กราฟต์เส้นผมลงไป โดยอาจปลูกตั้งแต่จำนวนหลักร้อย หรือเป็นพันๆ เส้น

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้ผ้าพันแผลพันบริเวณที่มีการปลูกผมไว้ประมาณ 2-3 วันก็สามารถถอดออกได้แล้ว ขั้นตอนการปลูกผมอาจใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น และสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังจากทำเสร็จ 

หลังจากนั้นแพทย์อาจนัดมาตัดไหมภายในประมาณ 10 วันหลังการผ่าตัด และหากเป็นการปลูกผมจำนวนมากก็อาจต้องกลับมาทำซ้ำอีกประมาณ 2-4 ครั้ง โดยเว้นช่วงหลายๆ เดือน เพื่อรอให้การปลูกผมครั้งก่อนฟื้นตัวดี

การเตรียมตัวก่อนปลูกผม

ขั้นตอนการปลูกผมจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน โดยหลักๆ จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกผม ผลลัพธ์ ความเสี่ยง ค่าใช้จ่าย และตอบคำถามที่คุณสงสัยอย่างละเอียด 
  2. หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ จะต้องควบคุมโรคให้ดีก่อนเข้ารับการปลูกผม เพื่อผลลัพธ์ที่ดี และการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังปลูกผม
    หรือหากไม่แน่ใจ ผู้ที่กำลังเตรียมปลูกผมก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจโรคเบาหวาน ตรวจโรคหัวใจ และปรึกษากับแพทย์ว่า หากกำลังจะปลูกผม ต้องมีวิธีดูแลตนเองร่วมกับโรคประจำตัวอย่างไร 
  3. แพทย์จะตรวจดูให้แน่ใจว่า บริเวณที่จะปลูกผมไม่มีสิว ฝี หนอง หรือแผลบาดแผลใดๆ เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อบริเวณที่จะปลูกผม
  4. แพทย์จะให้ใช้แชมพูสระผมฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาด และกำจัดเชื้อโรคบริเวณหนังศีรษะในช่วง 1-2 วันก่อนปลูกผม
  5. ช่วงเวลา 4-6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ควรงดอาหาร หรือรับประทานแต่อาหารอ่อนๆ เพราะแพทย์อาจจะให้ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ และอาจมีการเจาะเลือดในช่วงระหว่างนี้ด้วย

ความรู้สึกหลังปลูกผมเสร็จ

เมื่อปลูกผมเสร็จ คุณอาจรู้สึกเจ็บหนังศีรษะบริเวณที่ปลูก และย้ายเส้นผม แต่แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบให้รับประทานเป็นเวลา 7-14 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวดบวมอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ

การดูแลตนเองหลังปลูกผม

  • หลังจากปลูกผมแล้ว คุณควรนอนโดยใช้หมอนหนุนให้ศีรษะอยู่สูงเล็กน้อย เพื่อให้เลือด และน้ำเหลืองจากแผลซึมออกมาน้อยลง
  • 1 วันหลังการปลูกผม อย่าเพิ่งสระผม ควรปล่อยให้เลือดจากแผลแห้งไปก่อน และห้ามแกะห้ามเกาหนังศีรษะบริเวณที่ปลูกผมเด็ดขาด 
  • แพทย์อาจนัดให้มาสระผม และล้างคราบเลือดออกซึ่งจะไม่ทำให้มีอาการเจ็บ หรือแสบใดๆ ขณะสระผม และในวันที่ 3 หลังการปลูกผมจึงจะสามารถสระผมได้เองตามปกติ
  • ควรสระผมทุกวันในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เพื่อล้างสะเก็ดเลือดออกให้หมด
  • ในช่วง 4 วันแรก แพทย์อาจให้สวมผ้ายางยืดรัดหน้าผากเพื่อลดอาการบวมบริเวณหน้าผากและตา
  • กราฟท์ผมที่หลุดออกจากหนังศีรษะจะตายภายในประมาณ 3 นาที และไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ ในช่วงแรกจึงควรหลีกเลี่ยงความร้อน สารเคมี การกระแทกบริเวณหนังศีรษะแรงๆ และแรงดึง หรือแรงกระชากจากการไว้ผมทรงต่างๆ ที่ดึงรั้งจนเกินไป
    นอกจากนี้คุณยังไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ เพราะอาจทำให้กราฟท์ที่ปลูกไว้หลุดได้ ควรรอให้กราฟท์ที่ปลูกติดแน่นอยู่กับที่ก่อน จึงจะสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ผลลัพธ์การปลูกผม

แผลจากการปลูกผมจะค่อยๆ ดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติใน 1-2 วัน แต่อาจยังมีอาการบวมตามใบหน้าอยู่บ้าง ซึ่งจะหายเป็นปกติได้ภายใน 1 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลังจากนั้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ เส้นผมที่ปลูกจะเริ่มหลุดร่วงจากรากผมซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นมาได้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และใน 8-12 เดือนก็จะสังเกตเห็นเส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่ได้อย่างชัดเจน 

ระหว่างนี้แพทย์อาจให้คนไข้บางรายใช้ยาปลูกผมไปพร้อมๆ กันด้วย เพื่อช่วยเร่งให้เส้นผมงอกออกมามากขึ้น และป้องกันไม่ให้ผมที่มีอยู่ร่วงมากกว่าเดิม

อันตรายจากการปลูกผม

การปลูกผมมักไม่มีผลข้างเคียงที่อันตราย หรือหากมีก็จะหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยอาการที่พบได้หลังจากปลูกผมมีดังนี้

  • เกิดแผลเป็นจากการผ่าตัด
  • มีเลือดหรือหนองซึมบริเวณที่ทำการปลูกและย้ายผม
  • ปวดบวม หรือคันที่หนังศีรษะ
  • เกิดการติดเชื้อ
  • รู้สึกชาๆ บริเวณที่ผ่าตัดปลูกผม ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราว และหายไปเอง
  • เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อบริเวณรูขุมขนของเส้นผมที่ถูกย้าย หรือปลูกถ่าย 
  • ผมที่ปลูกใหม่ดูแตกต่างไปจากบริเวณรอบข้าง หรือบางกว่าปกติ

ค่าใช้จ่ายในการปลูกผม

โดยทั่วไปการปลูกผมจริงมีราคาประมาณ 80-100 บาทต่อกราฟต์ จำนวนกราฟต์ที่แต่ละคนต้องปลูกนั้นขึ้นอยู่กับว่าผมบาง หรือศีรษะล้านแค่ไหน หากศีรษะล้านเป็นบริเวณกว้างก็ต้องใช้กราฟต์ผมมากตามไปด้วย โดยจำนวนอาจอยู่ที่หลายร้อยเส้น หรือหลายพันเส้นและอาจมีราคาหลักแสนขึ้นไป 

ดังนั้นหากต้องการทราบราคาที่แน่ชัดคุณสามารถไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่า ต้องปลูกมากน้อยแค่ไหน

การปลูกผมเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนและตอบโจทย์ความต้องการของใครหลายๆ คน แต่การรักษาผมบาง หรือศีรษะล้านนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และสาเหตุที่ทำให้ผมบาง หรือหลุดร่วงด้วย เช่น หากผมบางไม่มาก หรือผมบางจากฮอร์โมน 

แพทย์อาจแนะนำให้ลองใช้ยาทาและยารับประทานดูก่อน แต่หากเกิดจากการใช้ยา หรือการทำเคมีบำบัด ก็อาจต้องรอจนกว่าจะหมดช่วงระยะการรักษา แล้วผมก็จะงอกขึ้นมาใหม่เอง 

ที่สำคัญคุณควรหมั่นสังเกตตัวเองด้วยว่า มีผมร่วงมากผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลูกผม FUE คืออะไร เจ็บมั้ย น่ากลัวรึเปล่า ตอบทุกคำถามโดยแพทย์เฉพาะทาง | HDmall
รีวิว ปลูกผมแบบ Hair stem micro transplant ที่ APEX Medical Center | HDmall
รีวิวปลูกผมด้วยเทคนิค FUE ที่ Grow & Glow Clinic | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
American Society of Plastic Surgeons. Hair Transplant Surgical Hair Replacement. PlasticSurgery.org. Last updated in 2019 (https://www.plasticsurgery.org/cosmetic-procedures/hair-transplant/recovery)
American Society of Plastic Surgeons. Hair Transplant Surgical Hair Replacement. PlasticSurgery.org. Last updated in 2019. (https://www.plasticsurgery.org/cosmetic-procedures/hair-transplant/recovery)
Kerure AS, Patwardhan N. Complications in Hair Transplantation. J Cutan Aesthet Surg. 2018;11(4):182-189. DOI;10.4103/JCAS.JCAS_125_18 (https://www.doi.org/10.4103/JCAS.JCAS_125_18)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)