หากคุณมีอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล หรือรู้สึกแสบตาบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นอาการของภูมิแพ้ขึ้นตา หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis)”
ภูมิแพ้ขึ้นตาเป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ทั้งยังน่ารำคาญ และทรมานไม่น้อย มาดูกันว่า ภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากอะไร และเราจะดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการของโรคนี้ได้อย่างไรบ้าง
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
รู้จักกับภูมิแพ้ขึ้นตา
ภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีความไว และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่างในสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ทั้งที่ปกติแล้วสิ่งกระตุ้นนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใดกับร่างกาย
ปฏิกิริยาภูมิแพ้จะเกิดขึ้นเมื่อสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) สัมผัสกับแอนติบอดี้ที่เกาะอยู่บนแมสต์เซลล์ (mast cells) ที่ดวงตา หลังจากนั้นแมสต์เซลล์จะหลั่งสารชื่อว่า “ฮีสตามีน (Histamine)” และสารอื่นๆ
สารเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กที่ตาขยายตัว และเกิดการรั่วขึ้น ส่งผลให้มีอาการตาแดง คันตา และน้ำตาไหลตามมา
อาการที่พบได้ทั่วไปของภูมิแพ้ขึ้นตา
อาการของภูมิแพ้ขึ้นตาอาจเกิดขึ้นเฉพาะที่ดวงตา เช่น คันตา ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล หรือเกิดร่วมกับอาการภูมิแพ้ที่จมูกอย่างจาม คัดจมูก หรือคันจมูกด้วยก็ได้
ชนิดของภูมิแพ้ขึ้นตา
ภูมิแพ้ขึ้นตาแบ่งเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิด Seasonal และ Perennial allergic conjunctivitis
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ตามฤดูกาล (Seasonal allergic conjunctivitis) ผู้ป่วยจะมีอาการในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน หรือฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเกิดจากละอองเกสรดอกไม้ที่ปลิวอยู่ในอากาศ เนื่องจากแพ้ละอองเกสรดอกไม้ตามฤดูกาล
อาการของผู้ป่วยมีดังนี้
- คันตา
- ตาแดง
- แสบตา
- น้ำตาไหล
นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ตามฤดูกาลยังอาจมีผิวใต้ดวงตาดำคล้ำ และมีเปลือกตาบวม รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำมูกไหล จาม คัดจมูก
โรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคไข้ละอองฟางที่เกิดจากการแพ้ละอองฟาง หญ้า ดอกหญ้า หรือหญ้าแห้ง และโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาลอื่นๆ
โดยอาการคันที่เกิดขึ้นจะสร้างความรำคาญทำให้ผู้ป่วยขยี้ตาบ่อยครั้ง ทำให้อาการยิ่งแย่ลง และอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาตามมา
ส่วนโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้แบบมีอาการตลอดปี (Perennial allergic conjunctivitis) ผู้ป่วยจะมีอาการตลอดทั้งปี อาการคล้ายกับโรคภูมิแพ้แบบมีอาการตามฤดูกาล แต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงน้อยกว่า
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุมักมาจากการแพ้ตัวไรฝุ่น เชื้อรา รังแคสัตว์เลี้ยง หรือสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านอื่นๆ มากกว่าการแพ้เกสรดอกไม้
2. ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิด Vernal keratoconjunctivitis
เป็นโรคที่มีอาการรุนแรงมากกว่าโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้แบบมีอาการตลอดปี โดยอาการของโรคนี้สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี แต่มักมีอาการแย่ลงตามฤดูกาล
คือ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน มักพบได้ในเด็กและวัยหนุ่มสาว จากสถิติผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง และประมาณ 75% ของผู้ป่วยจะมีอาการของผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือหอบหืดร่วมด้วย
อาการของผู้ป่วยมีดังนี้
- คันตา
- มีน้ำตาไหล มีขี้ตาเหนียวข้น
- รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่ที่ตา
- ตาสู้แสงไม่ได้
โรคนี้สามารถส่งผลต่อการมองเห็นได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
3. ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิด Atopic keratoconjunctivitis
พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมาก และพบได้มากในผู้ชายที่มีประวัติผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ อาการของผู้ป่วยมีได้ตลอดทั้งปีและมีลักษณะคล้ายกับโรค Vernal keratoconjunctivitis
สังเกตอาการได้ดังนี้
- คันตามาก
- เจ็บตา
- ตาแดง
- มีขี้ตาเหนียวข้นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
- อาจทำให้เปลือกตาเหนียวจนติดกันไปด้วย
หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น แผลเป็นที่กระจกตาจนส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ป่วยได้
4. ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิด Contact allergic conjunctivitis
เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้สัมผัส โรคนี้เกิดจากการที่เยื่อบุตาสัมผัสกับยาหรือเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เกิดการระคายเคืองจากการสวมคอนแทคเลนส์ หรืออาจเกิดจากโปรตีนในน้ำตาที่เกาะอยู่บนพื้นผิวของเลนส์ก็ได้
อาการที่สังเกตได้มีดังนี้
- ตาแดง
- คันตา
- มีขี้ตา
- รู้สึกไม่สบายดวงตาเวลาสวมคอนแทคเลนส์
5. ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิด Giant papillary conjunctivitis
มักพบในผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ โรคนี้คือโรค Contact allergic conjunctivitis ที่มีอาการรุนแรง โดยจะทำให้เกิดถุงน้ำหรือตุ่มขึ้นที่เยื่อบุใต้เปลือกตาบน
อาการของโรคมีดังนี้
- คันตา
- ตาบวม
- น้ำตาไหล
- มีขี้ตา
- ตามัว มองภาพไม่ชัด
- ไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ต่อไปได้
- รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา
การวินิจฉัยภูมิแพ้ขึ้นตา
เนื่องจากภูมิแพ้ขึ้นตามีอาการคล้ายกับโรคที่ดวงตาชนิดอื่นๆ ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยโรคให้แม่นยำ เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกต้อง
ภูมิแพ้ขึ้นตามีตั้งแต่อาการไม่รุนแรง คือมีเพียงตาแดง ไปจนถึงอาการอักเสบรุนแรงที่ส่งผลต่อการมองเห็น หากมีอาการเป็นเวลานาน และใช้ยาที่มีขายตามร้านยาแล้วไม่ดีขึ้น
ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติทางการแพทย์ และสอบถามอาการ รวมถึงอาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ เช่น
- การตรวจด้วยกล้องขยาย: ช่วยให้มองเห็นว่าเส้นเลือดที่ผิวของดวงตาบวม
- การตรวจหาเม็ดเลือดขาว: เกิดขึ้นบริเวณที่ดวงตามีอาการภูมิแพ้ โดยแพทย์จะขูดเบาๆ ที่เยื่อบุตา และนำไปตรวจดูว่า มีเซลล์เม็ดเลือดขาวในนั้น หรือไม่
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นภูมิแพ้ขึ้นตา
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้เกิดอาการของคุณ ส่วนวิธีอื่นๆ มีดังนี้
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ภายนอกอาคาร
- แนะนำให้อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงที่มีเกสรดอกไม้ปริมาณมาก โดยทั่วไปมักเป็นช่วงสายและช่วงเย็น และเมื่อมีลมพัดเกสรดอกไม้ในบริเวณนั้น
- หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมที่หน้าต่างเพราะสามารถดูดเอาเกสรดอกไม้ และเชื้อราเข้ามาในบ้านได้
- สวมแว่น หรือแว่นกันแดดเมื่อต้องออกนอกอาคาร เพื่อลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่ตา
- พยายามไม่ขยี้ตา เพราะจะทำให้ระคายเคืองและทำให้อาการแย่ลงได้
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ภายในอาคาร
- พยายามปิดหน้าต่าง ใช้เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ หรือในบ้านแทน และควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
- ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น โดยใช้เครื่องนอนชนิดกันไรฝุ่น และทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 54.4 องศาเซลเซียสเป็นประจำ
- จำกัดการสัมผัสกับเชื้อรา โดยการควบคุมความชื้นภายในบ้านให้อยู่ในระดับต่ำ และหากพบเห็นเชื้อราขึ้น ให้ทำความสะอาดด้วยสารทำความสะอาด และน้ำยาซักฟอกขาว 5%
- ทำความสะอาดพื้นด้วยผ้าเปียกบิดหมาดแทนการกวาดแห้ง หรือปัดฝุ่น เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง
- ล้างมือทันทีหลังจากสัมผัส หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และซักเสื้อผ้าหลังจากไปพบเพื่อนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง
- หากแพ้สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ให้นำสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าสัตว์เลี้ยงต้องอยู่ในบ้านจริงๆ ก็ให้อยู่นอกห้องนอน
- หากในบ้านมีเครื่องปรับอากาศกลางในลักษณะของท่อ ให้ทำเป็นท่อปิดต่อตรงมาที่ห้องนอนของคุณโดยตรง และเปลี่ยนพรมปูพื้นเป็นพื้นไม้ กระเบื้อง หรือเสื่อน้ำมันแทน
ทั้งนี้ สารก่อภูมิแพ้หลายชนิดที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นตาเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ซึ่งยากจะหลีกเลี่ยงได้ตลอดเวลา ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนเองด้วย
การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา
การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตาในผู้ใหญ่
อาการภูมิแพ้ขึ้นตาอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา และการรับประทานยาที่มีขายตามร้านยา ซึ่งเป็นยาที่ใช้ทั่วไปในระยะสั้นสำหรับบรรเทาอาการภูมิแพ้ขึ้นตา แต่ไม่สามารถบรรเทาได้ทุกอาการ
สิ่งที่ควรระวังคือ การใช้ยาที่ซื้อเองบางชนิดเป็นเวลานานอาจทำให้อาการกลับยิ่งแย่ลงได้
หากไปพบแพทย์ ผู้ป่วยอาจได้รับยาหยอดตา และยารับประทานที่ใช้ในการรักษาภูมิแพ้ขึ้นตาเช่นเดียวกัน โดยมีทั้งยาที่ใช้ในระยะสั้น และระยะยาว
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้จะเป็นผู้พิจารณาว่า การรักษาแบบใดเหมาะสมที่สุด
การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตาในเด็ก
ส่วนภูมิแพ้ขึ้นตาในเด็กนั้นสามารถรักษาได้โดยใช้ทั้งยาหยอดยา หรือยารับประทานที่ซื้อได้เองที่ร้านยา และยาที่แพทย์สั่ง โดยน้ำตาเทียมมีความปลอดภัย และสามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุ
แต่ยาหยอดตาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาแก้แพ้ หรือยาหยอดตาที่ยับยั้งการทำงานของแมสต์เซลล์ (Mast cell stabilizers) สามารถใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเท่านั้น
สำหรับการรักษาอื่นๆ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ (แพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก)
ยาหยอดยาและยารับประทานที่มีขายตามร้านยา
1. น้ำตาเทียม
- มีคุณสมบัติช่วยล้างเอาสารก่อภูมิแพ้ออกจากดวงตาได้ชั่วคราว และให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาที่แห้งจากอาการตาแดง และระคายเคืองตา
- สามารถนำไปแช่เย็นได้เพื่อให้รู้สึกสบายตามากขึ้นเวลาหยอดตา
- เป็นยาที่มีความปลอดภัย สามารถหยดได้วันละหลายครั้งตามต้องการ
2. ยาหยอดตาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (Decongestants)
- ช่วยลดอาการตาแดงที่สัมพันธ์กับภูมิแพ้ โดยการหดหลอดเลือดขนาดเล็กภายในดวงตา และช่วยบรรเทาอาการคันตา
- ตัวยาอาจเป็นยาหยอดตาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือดตัวเดี่ยวๆ หรือผสมอยู่กับยาแก้แพ้ก็ได้
- การออกฤทธิ์ไม่แรงมาก จึงต้องใช้วันละประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน
- ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคต้อหิน
- ไม่ควรใช้นานเกินว่า 2-3 วัน เพราะการใช้ยานี้เป็นเวลานานเกินไปจะทำให้กลับมาเป็นซ้ำ และมีอาการหนักกว่าเดิม (Rebound effect) เช่น บวมแดงมากกว่าเดิม หรืออาจยังมีอาการอยู่แม้ว่าจะหยุดใช้ยาหยอดตาไปแล้ว
3. ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน (Oral antihistamines)
- มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการคันที่ตาได้น้อย
- ยาอาจทำให้ตาแห้ง หรือทำให้อาการภูมิแพ้ขึ้นตาแย่ลงได้
- ยาแก้แพ้ที่เป็นยาสามัญประจำบ้านจะทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ง่วงนอน
ยาหยอดตาและยารับประทานที่แพทย์สั่ง
1. ยาหยอดตาแก้แพ้ (Antihistamine eyedrops)
- ช่วยลดอาการคันตา ตาแดง และบวม
- แม้ว่าจะบรรเทาอาการได้รวดเร็ว แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง จึงอาจต้องหยอดวันละ 4 ครั้ง
2. ยาหยอดตาที่ยับยั้งการทำงานของแมสต์เซลล์ (mast cell stabilizer)
- ช่วยป้องกันการหลั่งสารฮีสตามีน และสารอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
- ใช้หยอดตาก่อนสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันอาการคัน
3. ยาหยอดตาแก้แพ้ผสมกับยายับยั้งการทำงานของแมสต์เซลล์
- เป็นยาหยอดตาชนิดใหม่ที่ผสมระหว่างยาแก้แพ้ และยายับยั้งการทำงานของแมสต์เซลล์
- มีฤทธิ์รักษา และป้องกันอาการภูมิแพ้ขึ้นตา
- ใช้วันละ 2 ครั้ง
- ออกฤทธิ์เร็ว และมีฤทธิ์บรรเทาอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตาได้นาน
4. ยาหยอดตาชนิดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID eyedrops)
- ใช้บรรเทาอาการคัน
- อาจทำให้รู้สึกแสบตาขณะหยอดตาได้
- อาจจำเป็นต้องหยอดวันละ 4 ครั้ง
5. ยาหยอดตาที่เป็นสเตียรอยด์ (Corticosteroid eyedrops)
- ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตาเรื้อรัง และรุนแรง ได้แก่ คันตา ตาแดง และบวม
- การใช้ยานี้เป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ ต้องอยู่ภายใต้การแนะนำ และการดูแลจากจักษุแพทย์เท่านั้น
- หากใช้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ตา การเกิดต้อหิน และต้อกระจก
6. ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง (Nonsedating oral antihistamines)
- เป็นยาที่มีประสิทธิภาพไม่มากในการบรรเทาอาการคันที่ตา
- ไม่ทำให้ง่วงนอนเหมือนยาแก้แพ้สามัญประจำบ้าน
7. การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- เป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ร่างกายทนต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ ได้
- การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้ผลการรักษาสูงสุด และอาจยังจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการไปด้วย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เปนภูมิแพ้ทั้งแม่ละลูกควรทำยังไงดีค่ะ