กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lubric-eyes (ตัวยา Dextran70 และ Hydroxypropyl Methycelllose)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ปัจจุบันน้ำตาเทียมที่หาซื้อได้ทั่วไป กลายเป็นไอเทมฮิตของหนุ่มๆ สาวๆ ในยุคนี้ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่ต้องใช้สายตาอย่างหนัก ทั้งการเสพเทคโนโลยี ใช้สมาร์ทโฟน ใช้คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การใส่คอนแทคเลนส์สายตา คอนแทคเลนส์แฟชั่น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ตาเราแห้ง และรู้สึกดวงตาเมื่อยล้าได้ทั้งนั้น วันนี้ เราเลยจะมาแนะนำ น้ำตาเทียม Lubric-eyes (ลูบริค-อายส์) หนึ่งในไอเทมเด็ดสำหรับแก้ปัญหาตาแห้ง ตาล้า และเปลี่ยนดวงตาให้กลับมาสดชื่น เหมาะกับคนที่ต้องใช้สายตาอย่างหนักเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนประกอบและข้อบ่งใช้ของน้ำตาเทียม Lubric-eyes 

น้ำตาเทียม Lubric-eyes มีส่วนประกอบหลัก คือ Dextran70 0.1% และ Hydroxypropyl Methycelllose 0.3% ข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์นี้ คือใช้สำหรับบรรเทาหรือป้องกันอาการแสบตา ระคายเคืองตาเนื่องจากตาแห้ง จากการโดนลม แสงแดด รังสี การใช้สายตาเป็นเวลานาน และยังเหมาะแก่ผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการใช้น้ำตาเทียม Lubric-eyes

1) ล้างมือให้สะอาดก่อนใช้
2) เงยหน้าขึ้นให้อยู่ในตำแหน่งที่ถนัด แล้วค่อยๆ ดึงเปลือกตาล่างลงมา
3) กะระยะให้ปลายขวดหยดน้ำตาเทียมห่างจากตาพอประมาณ แล้วค่อยๆ หยดลงไปในดวงตา 1-2 หยด หรือตามที่แพทย์แนะนำ โดยขณะหยดให้เหลือบตามองบน ส่วนสำหรับยาป้าย ให้ใช้ประมาณ 6 มิลลิลิตรต่อครั้ง และสำหรับยาขี้ผึ้ง ให้ถือหลอดไว้ที่ตาแล้วค่อยๆ บีบลงไปในตา ปริมาณประมาณ 6 มิลลิลิตร
4) เมื่อหยดน้ำตาเทียมแล้ว ให้หลับตาลงประมาณ 2 – 3 นาที ควรหลีกเลี่ยงการหรี่หรือกระพริบตา เพราะจะทำให้น้ำตาเทียมไหลออกจากตาเร็วเกินไป
5) จากนั้นใช้นิ้วมือกดนวดวนรอบๆ หัวตาประมาณ 1 นาที เพื่อให้ของเหลวไหลไปยังท่อน้ำตาได้
6) เช็ดน้ำตาเทียมส่วนที่ไหลออกมานอกตาด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูที่สะอาด
7) หลังหยอดน้ำตาเทียมแล้ว ให้รอประมาณ 5 - 10 นาที จึงใช้ยาหยอดตาหรือยาขี้ผึ้งประเภทอื่นๆ

ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม Lubric-eyes

- ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้น้ำตาเทียม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
- ไม่ควรใช้น้ำตาเทียมบรรเทาอาการ หรือรักษาการติดเชื้อที่ตา หากเป็นโรคตาติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์
- หากใช้น้ำตาเทียมแล้วมีอาการระคายเคืองตาอย่างรุนแรง ให้หยุดใช้แล้วไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
- ระวังอย่าให้ปลายขวดส่วนที่หยอดน้ำตาเทียมสัมผัสกับร่างกายหรือวัตถุใดๆ เพราะจะทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ รวมถึงระวังไม่ให้ปลายหยอดสัมผัสกับดวงตาด้วย
- หากน้ำตาเทียมหมดอายุแล้ว หรือมีสีเปลี่ยนไป ไม่ควรนำมาใช้อีก
- ไม่ควรใช้น้ำตาเทียมร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้
- หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้น้ำตาเทียมเพื่อความปลอดภัย แม้จะยังไม่พบว่าน้ำตาเทียมส่งผลต่อทารกก็ตาม

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำตาเทียม Lubric-eyes

ผู้ใช้บางรายอาจเกิดการแพ้น้ำตาเทียม จนมีอาการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา ตาแดง คัน หรือตาแฉะ มีน้ำตาไหล ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด ตาไวต่อแสง และรู้สึกขมในคอได้ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าว ให้หยุดใช้ทันทีและรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

การเก็บรักษาน้ำตาเทียม Lubric-eyes

- ควรเก็บน้ำตาเทียมไว้ในภาชนะเดิม หลังใช้แล้วต้องปิดให้มิดชิด และเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ควรเก็บน้ำตาเทียมไว้ในอุณหภูมิระหว่าง 15 – 30 C โดยไม่ให้โดนแสง ความร้อน และความชื้น เพราะจะทำให้น้ำตาเทียมเสื่อมคุณภาพได้
- น้ำตาเทียมแต่ละรูปแบบมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน เช่น แบบสารละลายบรรจุขวด ใช้ได้ 1 เดือน ส่วนแบบสารละลายชนิดแท่ง ใช้ได้ 1 วัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามคำแนะนำ
- น้ำตาเทียมที่หมดอายุแล้วควรทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sonia Pearson, Over-the-Counter Eye Drops: Potential Risks (https://www.healthline.com/health/dry-eye/potential-risks-of-over-the-counter-eye-drops#1), 24 August 2016.
นศภ. จิรัชญา เตชะพิริยะกุล, “ตาแห้ง”กับน้ำตาเทียม (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=14).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)