กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Milnacipran (มิลนาซิแพรน)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

สรรพคุณของยา Milnacipran

ยา Milnacipran เป็นยาสำหรับรักษาอาการปวดที่เกิดจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เอ็น (Tendons และ Ligaments) และเนื้อเยื่อค้ำจุนร่างกาย (Supporting tissues)

ยา Milnacipran เป็นยาในกลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ออกฤทธิ์โดยการปรับสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติในสมอง (สารสื่อประสาท)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้ยา Milnacipran

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

รับประทานยานี้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือรับประทานตามที่แพทย์สั่ง ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาจเปลี่ยนมารับประทานพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารแทน

ขนาดยาที่คุณได้รับจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษา

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา แพทย์อาจให้คุณเริ่มยาในขนาดต่ำ และค่อยๆ ปรับเพิ่มขนาดยาขึ้น ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามปรับเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยครั้งกว่าที่แพทย์สั่ง เพราะไม่ทำให้อาการหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงด้วย

ถ้าคุณใช้ยานี้เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากหยุดยากะทันหันอาจทำให้เกิดอาการถอนยาขึ้นได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย การนอนหลับเปลี่ยนแปลงไป และมีความรู้สึกคล้ายถูกไฟช็อต ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการถอนยา แพทย์อาจให้คุณค่อยๆ ปรับลดขนาดยาลงก่อนหยุดยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และแจ้งให้พวกเขาทราบหากมีอาการถอนยาเกิดขึ้น

แจ้งแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงของยา Milnacipran

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Milnacipran ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ท้องผูก เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ หรือมีอาการร้อนวูบวาบ ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์ทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ เพราะว่าแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

ยา Milnacipran อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ จึงต้องตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ และแจ้งให้แพทย์ทราบถ้าพบว่าความดันโลหิตสูง

ให้แจ้งแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ความสามารถทางเพศเปลี่ยนแปลงไป
  • ความสนใจทางเพศลดลง
  • ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก
  • มีอาการชัก
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • ปวดท้องรุนแรง
  • อุจจาระมีสีดำ อุจจาระมีเลือดปน
  • อาเจียนคล้ายกากกาแฟ
  • เลือดออกง่าย มีรอยช้ำง่าย

ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก ได้แก่

  • ปวดตา ตาบวม ตาแดง
  • ม่านตาขยาย
  • การมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นรุ้งรอบแสงไฟตอนกลางคืน ตาพร่ามัว

ยา Milnacipran อาจเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท Serotonin ซึ่งอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่ร้ายแรงได้ (พบได้น้อย) ซึ่งก็คือกลุ่มอาการซีโรโตนิน หรือ ซีโรโตนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome/toxicity) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาอื่นที่เพิ่มปริมาณสาร Serotonin ในร่างกายร่วมด้วย ดังนั้นคุณต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับรายการยาทุกรายการที่กำลังใช้อยู่ และไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการใดๆ ดังนี้: หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน สูญเสียการประสานงานกันของร่างกาย เวียนศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้/อาเจียน/ท้องเสียอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีไข้อย่างไม่ทราบสาเหตุ กระสับกระส่าย กระวนกระวายผิดปกติ

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้ยา Milnacipran

ถ้าคุณแพ้ยา Milnacipran หรือยา Levomilnacipran หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Milnacipran ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณ

  • เป็นโรคไต
  • เป็นโรคตับ
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหินชนิดมุมปิด
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคไบโพลาร์ (โรคอารมณ์แปรปรวน 2 ขั้ว)
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวมีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เป็นโรคลมชัก
  • ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง (Dehydration)
  • เป็นแผลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • เกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล (โซเดียมในเลือดต่ำ)
  • ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก เช่น เกิดจากต่อมลูกหมากโต

ยา Milnacipran อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้คุณมีอาการเวียนศีรษะได้มากขึ้น ห้ามขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยการตื่นตัว จนกว่าคุณจะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้การดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอีกด้วย

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่

ผู้สูงอายุที่ใช้ยานี้อาจมีความเสี่ยงต่อการมีเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุลได้มากกว่าปกติ (โซเดียมในเลือดต่ำ) โดยเฉพาะถ้ากำลังใช้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วย

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์ โดยพบว่าเด็กทารกที่คลอดจากมารดาที่ใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจมีอาการถอนยา เช่น หายใจลำบาก ดูดนมลำบาก มีอาการชัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หรือร้องไห้ไม่หยุด ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในเด็กแรกเกิด ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที

ยา Milnacipran ผ่านไปยังน้ำนมได้ จึงให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

คำเตือนในการใช้ยา Milnacipran

แม้ว่ายา Milnacipran จะไมได้ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้า แต่ก็เป็นยาในกลุ่มเดียวกับยาต้านเศร้า (Antidepressant) โดยยาต้านเศร้า (Antidepressant medications) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคได้หลายโรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า และโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ/ความผิดปกติทางอารมณ์ (Mental/Mood disorders) โดยยาเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีความคิดฆ่าตัวตาย/พยายามฆ่าตัวตาย และยังมีประโยชน์ที่สำคัญอื่นๆ กับตัวผู้ป่วยที่ใช้ยา อย่างไรก็ตามมีข้อมูลพบผู้ป่วยจำนวนน้อย (โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี) ซึ่งใช้ยาต้านเศร้าสำหรับโรคใดๆ ก็ตาม อาจมีอาการซึมเศร้าแย่ลง มีอาการทางสภาวะจิตใจ/อารมณ์ หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย ดังนั้นสิ่งสำคัญมากๆ คือต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยาต้านเศร้า (โดยเฉพาะในผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี) แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ยานี้สำหรับโรคทางจิตใจ หรืออารมณ์ก็ตาม

แจ้งแพทย์ทันที หากคุณมีอาการซึมเศร้าแย่ลง หรือมีอาการทางจิตที่แย่ลง มีพฤติกรรมผิดปกติไป (รวมถึงความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย) หรือมีความเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจ อารมณ์ (มีอาการวิตกกังวล หรือวิตกกังวลมากกว่าเดิม ตื่นตระหนก มีปัญหาในการนอนหลับ หงุดหงิด ฉุนเฉียว รู้สึกเกลียด รู้สึกโกรธ มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น กระวนกระวายใจอย่างรุนแรง พูดเร็วมาก โดยให้สังเกตอาการเหล่านี้เป็นพิเศษในช่วงเริ่มใช้ยาต้านเศร้า หรือเมื่อมีการปรับขนาดยา

ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ยา Milnacipran

สภาวะต่อไปนี้ถือเป็นข้อห้ามในการใช้ยา Milnacipran ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ทราบหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome of Inappropriate Antidiuretic Hormone Secretion)
  • โซเดียมในเลือดต่ำ
  • เป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมร่าเริงและทำกิจกรรมต่างๆ มากเกินไป
  • มีอาการคลุ้มคลั่งที่ไม่รุนแรง (Mild Degree of Mania)
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย
  • เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
  • เป็นกลุ่มอาการซีโรโตนิน (Serotonin syndrome)-การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
  • เป็นต้อหินมุมปิด หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินมุมปิด
  • มีความดันโลหิตสูง
  • หัวใจเต้นเร็วชนิด Sinus tachycardia
  • เป็นโรคตับ
  • ทางเดินปัสสาวะอุดตัน
  • มีอาการชัก
  • การทำงานของตับผิดปกติ
  • เป็นโรคไตเรื้อรังระดับรุนแรง (ระยะ 4) หรือไตวาย (ระยะ 5)
  • แพ้ยา Milnacipran หรือยาที่โครงสร้างคล้ายกัน

การใช้ยา Milnacipran ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Milnacipran ได้แก่:

  • ยาในกลุ่ม MAOIs บางรายการ
  • Linezolid
  • Dapoxetine
  • Sibutramine
  • Meperidine
  • Metoclopramide
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือดบางรายการ (Vitamin K antagonists)
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS), Aspirin
  • ยาต้านเกล็ดเลือด, ยาสลายลิ่มเลือด
  • Clopidogrel
  • Fentanyl
  • Phentermine
  • Bupropion
  • Lithium
  • Tapentadol, Tramadol
  • 5-HT1D Agonists

การได้รับยา Milnacipran เกินขนาด

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Milnacipran เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669 

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่ สับสน เวียนศีรษะอย่างรุนแรง ง่วงนอนอย่างรุนแรง

หมายเหตุ

ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ควรมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ/หรือ การตรวจทางการแพทย์เป็นระยะเพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงจากยา เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของตับ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หากลืมรับประทานยา Milnacipran

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Milnacipran

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Carol Eustice, Savella (milnacipran HC) - What You Need to Know (https://www.verywellhealth.com/savella-what-you-need-to-know-190063), 24 June 2019.
Kevin C. Fleming, M.D., Savella for fibromyalgia: Helpful for fatigue? (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fibromyalgia/expert-answers/milnacipran/faq-20058213), 17 August 2017.
Spencer Dorn, MD, MPH, University of North Carolina, Chapel Hill, Milnacipran (Savella) in Irritable Bowel Syndrome (IBS) (https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT01471379), 13 April 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)