กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สารสื่อประสาทคืออะไร?

สารสื่อประสาทคืออะไร มีกลไกการทำงานและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สารสื่อประสาทคืออะไร?

สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทจากสมองส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง และส่งสัญญาณจากสมองไปสู่ทั่วร่างกาย สารสื่อประสาททำงานโดยการส่งสัญญาณทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่านิวรอน (Neuron) ซึ่งพบได้ทั่วสมอง ไขสันหลัง และระบบประสาททั้งหมด ในสมองของมนุษย์มีสารสื่อประสาทหลายสิบตัวที่แตกต่างกัน เช่น

สารสื่อประสาท แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory neurotransmitters) เช่น อิพิเนฟริน (Epinephrine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาท 
  2. สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (Inhibitory neurotransmitters) เช่น เซโรโทนิน และกาบา มีหน้าที่ยับยั้งหรือลดการทำงานของเซลล์ประสาท
  3. สารสื่อประสาทชนิดเปลี่ยนแปลง (Modulatory neurotransmitters) สารสื่อประสาทประเภทนี้ สามารถส่งผลต่อเซลล์ประสาทหลายๆ เซลล์ในเวลาเดียวกัน และอาจส่งผลต่อสารสื่อประสาทชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

ทั้งนี้ สารสื่อประสาทบางชนิดก็มีหน้าที่เป็นทั้งตัวกระตุ้นและตัวยับยั้งได้เช่นกัน เช่น โดปามีน 

ยารักษาโรค กับตัวรับสารสื่อประสาท

มียารักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตและระบบประสาทหลายตัวที่ออกฤทธิ์โดยพุ่งเป้าไปที่สารสื่อประสาทในสมอง หรือตัวรับสารสื่อประสาทบนเซลล์ที่มีทำหน้าที่รับสัญญาณทางเคมี 

ยาที่เข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นการเลียนแบบการทำงานของสารสื่อประสาทนั้นๆ จะเรียกว่าอะโกนิสต์ (Agonist) เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) เช่น มอร์ฟีน (Morphine) และโคเคน (Cocaine) ที่มีกลไกออกฤทธิ์โดยเข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาทและกระตุ้นให้ความรู้สึกปวดคลายลง

ในขณะที่ยากลุ่มแอนตาโกนิสต์ (Antagonist) จะทำหน้าที่ยับยั้งการตอบสนองทางเคมีของตัวรับสารสื่อประสาท เช่น โคลซาปีน (Clozapine) และฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของตัวรับโดปามีนภายในสมอง

สารสื่อประสาทกับอาการติดยา

ยาเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน (Cocaine) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เฮโรอีน (Heroin) กัญชา (Marijuana) นิโคติน (Nicotine) แอลกอฮอล์ และยาแก้ปวดบางชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรงสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังใช้ได้ โดยจะไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทและการสื่อสารระหว่างเซลล์ในสมอง


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Neurotransmitter (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539894/)
medicalnewstoday.com, Neurotransmitter (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326649.php), October 11, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”
อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”

เรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้ เพราะสารเคมีในสมองสัมพันธ์กับทั้งร่างกายและจิตใจแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง

อ่านเพิ่ม