นิโคตินสามารถใช้ในทางการแพทย์ได้หรือไม่ ?

ทำความเข้าใจการใช้นิโคตินจากมุมมองทางประวัติศาสตร์
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
นิโคตินสามารถใช้ในทางการแพทย์ได้หรือไม่ ?

การใช้ยาสูบเป็นยาเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกใหม่โดยกลุ่มชนพื้นเมือง และในโลกเก่าภายหลังจากที่นักสำรวจนำยาสูบติดตัวกลับมาด้วย ซึ่งในโลกเก่านี้เองที่บุหรี่ถูกรวมเข้ากับสาขามากมายของสมุนไพรและเภสัชตำรับในยุโรป เมื่อไม่นานมานี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่านิโคตินอาจใช้รักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสันได้อีกด้วย 

ยาสูบและนิโคติน

ยาสูบเป็นผลผลิตจากใบไม้ของพืชสองสปีชี่ส์ คือ Nicotiana tabacum ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากทางอเมริกาใต้ และ Nicotiana rustica ซึ่งมาจากทางอเมริกาเหนือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาสูบทั้งสองชนิดแพร่กระจายไปทั่วโลก และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายาสูบชนิดใดกันแน่ที่มาถึงยุโรปก่อน

ทาร์ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้บุหรี่นั้นเป็นสารก่อมะเร็ง นิโคตินเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่พบในยาสูบและมีฤทธิ์ทำให้ติดได้อย่างมากเมื่อเผาให้เป็นควันจากการใช้เป็นส่วนประกอบของบุหรี่ อย่างไรก็ตาม ด้วยตัวของมันเองแล้ว นิโคตินนั้นทำให้ติดได้น้อยกว่า และอาจมีประโยชน์ทางการแพทย์บางอย่าง ยิ่งไปกว่านั้นทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ (CDC) ยังรายงานว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับนิโคตินในฐานะสารก่อมะเร็งยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด” ดังนั้น นิโคตินจึงไม่ใช่สารก่อมะเร็งที่ทราบกันอยู่ในตอนนี้ 

ประโยชน์ทางการแพทย์ของนิโคติน

เมื่อนิโคตินเข้าสู่กระแสเลือดของคุณไม่ว่าจะจากทางการสูดดม (ปอด) หมากฝรั่งนิโคติน (ลำไส้) หรือผิวหนัง หรือเยื่อบุ นิโคตินจะจับกับตัวรับ (nicotinic acetylcholine receptor) ซึ่งไม่ได้อยู่แค่เพียงในสมอง (ระบบประสาทส่วนกลาง) แต่ยังอยู่ที่ส่วนเชื่อมของประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) ซึ่งเป็นระบบประสาทส่วนปลาย เป็นตำแหน่งที่กล้ามเนื้อมาต่อกับเส้นประสาท

ในปริมาณที่ไม่เป็นพิษ นิโคตินเป็นสารกระตุ้น (คาเฟอีนก็เป็นสารกระตุ้นอีกชนิดหนึ่ง) ที่ทำให้การรับรู้และความรู้สึกตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ชีพจรเร็วขึ้น การหายใจ และความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มการเคลื่อนไหว

ผลทางกระบวนการคิดเกิดขึ้นเนื่องจากนิโคตินจะเพิ่มการหลั่งของสารสื่อประสาทเช่น เซโรโทนิน (serotonin) โดพามีน (dopamine) และอะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ในสมอง แต่ในร่างกาย นิโคตินจะออกฤทธิ์ที่ส่วนเชื่อมของประสาทและกล้ามเนื้อ 

การใช้ในประวัติศาสตร์

เมื่อโคลัมบัสไปถึงโลกใหม่ เขาได้บันทึกถึงการใช้ยาสูบเป็นครั้งแรกในฐานะของสิ่งที่มีประโยชน์ และที่คิวบา คนของเขาสองคนได้เห็นชนพื้นเมืองใช้ยาสูบจุดไฟเพื่อขจัดโรคภัยและความเหนื่อยล้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โคลัมบัสยังคาดว่ายาสูบยังใช้เป็นยาระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัดเจาะกะโหลกได้อีกด้วย

ในช่วงปี 1500 นักสำรวจเริ่มตระหนักได้ถึงสรรพคุณของใบยาสูบ ซึ่งมักนำมาผสมกับชอล์กหรือสารอื่น ๆ ในฐานะยาแก้สรรพโรค การใช้บางอย่างในระยะเริ่มแรกในยุคก่อนที่โคลัมบัสจะพบโลกใหม่ยังรวมถึงการทายาสูบโดยตรงที่แผล บริเวณที่ปวด และแผลชอนทะลุ (fistula) เช่นเดียวกับการใช้รักษาโรคหวัด อาการปวดหัว และโรคคุดทะราด (yaws) ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเม็กซิโกก็ใช้ยาสูบเป็นยาแก้ท้องเสีย สารหล่อลื่นผิว และยาทำให้ง่วงซึม

ยาสูบได้รับกระแสตอบรับอย่างมากเมื่อได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักกันในยุโรป แพทย์และเภสัชกรใช้ยาสูบเป็นสมุนไพรและใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด ซึ่งช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายทั่ว ๆ ไป อาการเจ็บปวด แผล ไข้ โรคหวัด อาการกระหายน้ำ กระหายหิว และใช้ในฐานะยาทำให้ง่วงซึมและยาระบาย เช่นเดียวกับในอเมริกา ยุโรปก็ใช้ยาสูบรักษาแทบทุกอย่างตั้งแต่ริดสีดวงทวารจนถึงฮิสทีเรีย ที่น่าสนใจคือ ควันยาสูบยังถูกพ่นเข้าไปในไส้ตรงของผู้ป่วยเพื่อรักษาไส้เลื่อนที่ถูกบีบรัด (strangulated hernia) การถูกพิษสตริคนิน อาการท้องผูก อาการกลัวน้ำ บาดทะยัก หรือแม้แต่หนอนพยาธิ

ในปี 1828 นักวิทยาศาสตร์แยกสารออกฤทธิ์หลักจากยาสูบได้ ซึ่งก็คือ alkaloid nicotine “ที่เป็นอันตราย” ในช่วงเวลานั้นแพทย์บางรายก็หลุดจากภาพลวงตาของการใช้ยาสูบเป็นยารักษาโรคแล้ว ผู้คนเริ่มใช้นิโคตินเพียงอย่างเดียวแทนที่จะใช้ยาสูบ ตัวอย่างเช่น สารละลายนิโคติน 0.1% ใช้เพื่อรักษาโรคหิด 

งานวิจัยในปัจจุบัน

ในปี 1926 ผู้ป่วย 13 รายที่มีภาวะ post encephalitic parkinsonism ได้รับการฉีดนิโคติน หลายคนรู้สึกว่าการทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้นทันที งานวิจัยที่ใหม่กว่านั้นยังแนะนำว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลในเชิงการป้องกันทั้งโรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์ ในปัจจุบันนักวิจัยกำลังตรวจสอบว่านิโคตินสามารถทำให้อาการของโรคเหล่านี้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ด้วย กล่าวอีกอย่างคือ มีความเป็นไปได้ที่การใช้นิโคตินเสริมอาจช่วยผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันหรืออัลไซเมอร์

กล่าวโดยสรุปคือ การใช้นิโคตินเพียงอย่างเดียวกันเป็นประจำคือใช้เพื่อการหยุดบุหรี่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าหมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะ หรือการสูดดมจะช่วยในการเลิกบุหรี่ หรือเพิ่มอัตราการกลับไปติดซ้ำกันแน่


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus.gov, Nicotine replacement therapy (https://medlineplus.gov/ency/article/007438.htm)
Rajiv Bahl , From E-Cigs to Tobacco: Here’s How Nicotine Affects the Body (https://www.healthline.com/health-news/heres-how-nicotine-affects-the-body) 23 August 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป