กลูตาเมต (Glutamate)

กลูตาเมต (Glutamate)
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กลูตาเมต (Glutamate)

กลูตาเมต (Glutamate) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภายในสมองและระบบประสาททั่วร่างกาย การมีระดับของกลูตาเมตที่เหมาะสมจะช่วยเรื่องการเรียนรู้และความจำ แต่การมีกลูตาเมตในสมองมากเกิน จะมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน และ โรค ALS (Amyotrophic lateral sclerosis หรือ Lou Gehrig’s disease) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ การที่สมองปัญหาเกี่ยวกับการสร้างหรือการใช้กลูตาเมต ยังมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง เช่น กลุ่มอาการออทิสติก โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ

กลูตาเมตกับโรคต่างๆ

กลูตาเมต มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานในสมองหลายอย่าง การมีกลูตาเมตมากเกินไปอาจทำลายเซลล์ประสาทและสมองได้ เพราะเมื่อกลูตาเมตมีการสะสมสูง จะทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาทมากกว่าปกติจนทำให้เซลล์ประสาทตาย และการที่เซลล์ประสาทอยู่ในสภาวะกระตุ้นเป็นเวลานานจะเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทถูกทำลายลงเรื่อยๆ ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า Excitotoxivity ปัจจุบันนี้นักวิจัยกำลังศึกษาหาวิธีหยุดการทำงานของกลูตาเมตเพื่อรักษาโรค ALS

กลูตาเมตกับอาหาร

กลูตาเมตสามารถพบได้ตามธรรมชาติ ภายใต้รูปแบบของกรดอะมิโนซึ่งอยู่ในอาหารหลายชนิด เนื่องจากกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบของโปรตีน ทุกคนจึงอาจจะรู้จักกลูตาเมตมากที่สุดเมื่ออยู่ในรูปของผงชูรส (Monosodium glutamate: MSG) ผงชูรสเป็นผงปรุงแต่งอาหารที่พบได้ทั่วไปในอาหารอเมริกัน อาหารจีน ซุปกระป๋อง ผักหรือเนื้อที่ผ่านการปรุง และยังสามารถพบได้ตามธรรมชาติในอาหารหลายอย่าง เช่น มะเขือเทศ ชีส เห็ด สาหร่าย และถั่วเหลือง แม้จะมีหลายคนที่มีอาการแพ้ผงชูรส เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ หรือใจสั่น แต่นักวิจัยก็ไม่พบความเกี่ยวข้องระหว่างอาการดังกล่าวกับผงชูรส 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Martins DF, Siteneski A, Ludtke DD, et al. High-intensity swimming exercise decreases glutamate-induced nociception by activation of g-protein-coupled receptors inhibiting phosphorylated protein kinase a. Molecular neurobiology. 2016 Sep 13. [Epub ahead of print] (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27624384)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)