กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”

เรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้ เพราะสารเคมีในสมองสัมพันธ์กับทั้งร่างกายและจิตใจแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารสื่อประสาท หรือ Neurotransmitters เป็นสารที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท เพื่อใช้ส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง หรือเชื่อมโยงระหว่างเซลล์กล้ามเนื้อ
  • โดยปกติระบบประสาทจะมีการตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้สารสื่อประสาทกระตุ้น หรือยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาทมากเกินไป ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ถ้าสารสื่อประสาทออกมามากแล้วก็จะยับยั้งเซลล์ประสาทต้นทางให้หยุดส่งกระแสประสาท
  • สารเคมีในสมองที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา เช่น แอซิทาลโคลีน (Acetylcoline) โดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ซีโรโทนิน (Serotonin) กาบา (GABA) เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
  • หากสารเคมีในสมองไม่สมดุลจะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้มีสมาธิสั้น ความจำไม่ดี โดยเฉพาะความจำระยะสั้น นอนไม่หลับ ทำให้เกิดโรคทางจิตเภท มีความคิดฟุ้งซ่าน ควบคุมสติไม่ได้ คลุ้มคลั่ง ทำให้มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความเชื่อมั่น อารมณ์แปรปรวน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต

การที่คนเรามีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น เครียด นอนไม่หลับ บางทีเราอาจจะคิดว่า อาการเหล่านี้เกิดจากสภาพอารมณ์และจิตใจที่แปรปรวน 

แต่รู้ไหมว่า หลายครั้งความผิดปกติทางจิตใจก็มีสาเหตุมาจากการที่ "สารเคมีในสมองขาดความสมดุล" 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สมองเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนมากและมีหน้าที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม การรับ-ส่งข้อมูลของระบบประสาทต่างๆ หน้าที่นี้ยังมีสารเคมีในสมองเป็นตัวแปรร่วมสำคัญ หากสารเคมีในสมองไม่สมดุลอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจที่กระทบชีวิตประจำวันได้

สารเคมีในสมองคืออะไร?

สารเคมีในสมองมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สารสื่อประสาท” หรือ "Neurotransmitters" ซึ่งเป็นสารที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นจากเซลล์ประสาท เพื่อใช้ส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง หรือเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทและเซลล์ที่ตอบสนองต่อสัญญาณประสาท เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ

เมื่อเซลล์ประสาทถูกกระตุ้น กระแสประสาทจะไหลไปตามเส้นประสาทเหมือนกระแสไฟฟ้าจนเมื่อไปถึงปลายประสาท กระแสประสาทจะกระตุ้นให้ปลายประสาทให้หลั่งสารสื่อประสาทออกมาเพื่อให้ไปจับกับ ตัวรับ (receptor) บนเซลล์ประสาทปลายทาง 

เมื่อเซลล์ปลายทางถูกกระตุ้นก็จะส่งกระแสประสาทต่อไปเรื่อยๆ โดยสารสื่อประสาทอาจมีฤทธิ์กระตุ้น หรือยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาทก็ได้

โดยปกติระบบประสาทจะมีการตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้สารสื่อประสาทกระตุ้น หรือยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาทมากเกินไป โดยวิธีการดังนี้

  • ที่ปลายประสาทจะมีตัวรับที่ตรวจสอบว่า เซลล์ประสาทต้นทางหลั่งสารสื่อประสาทออกมาเพียงพอหรือไม่ ถ้าสารสื่อประสาทออกมามากแล้ว ก็จะยับยั้งเซลล์ประสาทต้นทางให้หยุดส่งกระแสประสาท
  • มีการเก็บกลับสารสื่อประสาทไว้ที่ปลายประสาทของเซลล์ต้นทางเพื่อให้หยุดการกระตุ้นเซลล์ปลายทาง และสามารถนำสารสื่อประสาทมาใช้ในครั้งต่อไปได้
  • ส่วนสารสื่อประสาทที่หลงเหลืออยู่ จะถูกย่อยทำลายโดยเอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้น

กลไกเหล่านี้ช่วยให้สารสื่อประสาทเกิดความสมดุลและสามารถส่งกระแสประสาทได้เป็นปกติถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารเคมีในสมองที่สำคัญมีอะไรบ้าง?

ในสมองเรามีสารเคมี หรือสารสื่อประสาทอยู่มากมายหลายชนิด ยกตัวอย่างสารเคมีในสมองชนิดที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา ได้แก่

  • แอซิทาลโคลีน (Acetyl choline) เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การควบคุมพฤติกรรม ความจำ สมาธิ การเรียนรู้ ความสนใจ และการตัดสินใจ
  • โดพามีน (Dopamine) ได้ชื่อว่า "สารแห่งความสุข" ซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเรารู้สึกพึงพอใจ สนุกสนาน เช่น ได้รับประทานอาหารที่ชอบ ได้ออกกำลังกาย รวมถึงเวลาที่เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดพามีนจะช่วยให้เรากิจกรรมนั้นๆ ได้ไม่รู้เบื่อ
  • นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) หรือ นอร์อดรีนาลิน (Noradrenaline) จะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความกลัวและเครียด เพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มความดันโลหิต ทำให้เซลล์ได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น สำหรับเป็นพลังงานในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ร่างกายจะหลั่งนอร์เอพิเนฟรินปริมาณสูงในตอนเช้า เพื่อกระตุ้นให้เรารู้สึกตื่นตัวและพร้อมสำหรับกิจกรรมในวันใหม่
  • ซีโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารที่ควบคุมสภาพอารมณ์ ความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว การหายใจ การนอนหลับระยะตื้น และพฤติกรรมอื่นๆ หากระดับสารซีโรโทนินต่ำจะส่งผลต่ออารมณ์โดยตรงคือ ทำให้วิตกกังวล ก้าวร้าว ซึมเศร้า
  • กาบา (GABA) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ยับยั้งกระแสประสาท ทำให้สมองที่ได้รับการกระตุ้นเกิดสมดุลและผ่อนคลายลง
  • เอนดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หายจากความเจ็บปวด สร้างความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม พึงพอใจ จะหลั่งออกมาเมื่อในขณะออกกำลังกาย รู้สึกตื่นเต้น หรือมีเพศสัมพันธ์

ปัจจัยที่ทำให้สารเคมีในสมองไม่สมดุล

สารเคมีในสมองไม่สมดุลคือ การที่สารสื่อประสาทแต่ละชนิดมีระดับมาก หรือน้อยผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่า ปัจจัยน่าจะมาจากสิ่งต่อไปนี้

  • พันธุกรรม 
  • การเลี้ยงดู
  • ลักษณะนิสัย
  • บุคลิกภาพ
  • ความเครียด 
  • การใช้สารเสพติด 
  • มีฮอร์โมนแปรปรวน 

เมื่อสารเคมีในสมองไม่สมดุลจะเกิดอะไรขึ้น?

หากสารเคมีในสมองไม่สมดุล จะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้

  • หากมีแอซิทาลโคลีนต่ำ จะทำให้มีสมาธิสั้น ความจำไม่ดี โดยเฉพาะความจำระยะสั้น นอนไม่หลับ
  • หากมีนอร์เอพิเนฟรินต่ำ จะทำให้เซื่องซึม ขาดความตื่นตัว ไม่กระตือรือร้น แต่หากมีนอร์เอพิเนฟรินสูง จะทำให้กระวนกระวาย วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
  • หากมีโดพามีนต่ำ จะทำกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกและมีอาการสั่น เช่น ในโรคพาร์กินสัน รวมถึงรู้สึกซึมเศร้า อ่อนแรง 
  • หากมีโดพามีนสูงเกินไป จะทำให้เกิดโรคทางจิตเภท มีความคิดฟุ้งซ่าน ควบคุมสติไม่ได้ คลุ้มคลั่ง เหมือนการเสพยาบ้า หรือเฮโรอีน
  • หากมีกาบาต่ำ สมองจะคิดฟุ้งซ่านโดยขาดการยับยั้ง วิตกกังวล ควบคุมความคิดไม่ได้ จนไปถึงมีอาการชักกระตุก
  • หากมีซีโรโทนินต่ำ จะทำให้มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความเชื่อมั่น อารมณ์แปรปรวน และอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักพบว่า เกิดจากการมีซีโรโทนินต่ำ 
  • หากมีซีโรโทนินมากเกินไป อาจมีอาการทางจิต คลุ้มคลั่ง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึ่งหากเป็นในเด็ก อาจเกิดภาวะปัญญาอ่อน หรือออทิสติกได้

ทำอย่างไรให้สารเคมีในสมองสมดุล?

  • ดูแลสภาพร่างกายและจิตใจ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงความเครียด
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายและเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาท เช่น ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงระบบประสาท เช่น ผักใบเขียว ข้าวซ้อมมือ ที่มีวิตามินบีสูง จมูกข้าวที่มีกาบาสูง หรืออาหารเสริมบำรุงสมอง เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย
  • ทำกิจกรรมฝึกสมองบ่อยๆ เช่น เล่นดนตรี เล่มเกม
  • อย่าเก็บตัว ควรออกไปพบปะผู้คนบ้าง 
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิดเพราะส่งผลร้ายแรงต่อระบบประสาท
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ 
  • หากเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเภท จะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการบำบัดสภาพจิตใจ

เมื่อไหร่ก็ตามที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้การส่งสัญญาณประสาทขาดๆ เกินๆ เหมือนกระแสไฟฟ้าตก เมื่อนั้นการทำงานของสมองก็จะไม่เต็มประสิทธิภาพและยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนอื่นๆ รวมถึงสภาพจิตใจด้วย 

ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่า ตนเอง หรือคนใกล้ชิด อาจประสบปัญหาสารเคมีในสมองไม่สมดุล ควรลองปรับพฤติกรรมดังที่แนะนำ หรือไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา หรือการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What causes depression?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/what-causes-depression)
C. M., Lysaker, P. H., & Robinson, R. P. (2007), The "chemical imbalance" explanation for depression: Origins, lay endorsement, and clinical implications, Professional Psychology: Research and Practice, 38(4), 411–420 (https://doi.org/10.1037/0735-7028.38.4.411), 20 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารสื่อประสาทคืออะไร?
สารสื่อประสาทคืออะไร?

สารสื่อประสาทคืออะไร มีกลไกการทำงานและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม