กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

วิตามินดี (Calcitriol)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 19 นาที

ข้อมูลภาพรวมของวิตามิน D

วิตามิน D (Vitamin D) คือวิตามินที่จำเป็นต่อการควบคุมแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่พบในร่างกาย อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการคงสภาพกระดูกที่แข็งแรง

การตากแดดเป็นวิธีที่จะให้ร่างกายได้รับวิตามิน D ที่ดีที่สุด โดยการสัมผัสกับแสงอาทิตย์แค่ที่มือ, ใบหน้า, แขน, และขา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ประมาณหนึ่งในสี่ของวันก็เพียงพอต่อการเกิดแผลไหม้แดดเล็กน้อยที่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน D เพียงพอแล้ว โดยระยะเวลาที่จำเป็นต่อการสัมผัสแสงแดดนั้นจะแตกต่างกันไปตามอายุ, ประเภทของผิว, ฤดูกาล, เวลาของวัน, และอื่น ๆ อีกทั้งการตากแดดตามปรกติ 6 วันโดยไม่ทาครีมกันแดดก็สามารถชดเชยวันที่ไม่โดนแดดไปได้ 49 วัน ไขมันร่างกายจะทำหน้าที่เป็นตัวแบตเตอรี่เก็บวิตามิน D ซึ่งการตากแดดระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีวิตามิน D เก็บในไขมันไว้รอเวลาที่แสงอาทิตย์หมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะขาดวิตามิน D เป็นภาวะที่พบได้มากกว่าที่คุณคาดไว้ ผู้ที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เพียงพออย่างผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดาและทางตอนเหนือของประเทศอเมริกาจะมีความเสี่ยงมากที่สุด แต่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในแถบที่มีแดดแรงจ้าก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้เช่นกันเนื่องจากผู้คนในแถบนี้มักจะอาศัยในอาคารนาน, มีการปกปิดร่างกายเวลาออกไปข้างนอกอย่างมิดชิดเกิน, หรือมีการใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ผู้สูงอายุก็มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามิน D เช่นกันเนื่องจากพวกเขาจะใช้เวลากลางแดดน้อยลง, มี “ตัวรับ” ที่ผิวหนังที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นวิตามิน D น้อยลง, อาจไม่ได้รับวิตามิน D จากการรับประทานอาหารเพียงพอ, และอาจมีปัญหาในการบริโภคอาหารที่มีวิตามิน D เนื่องจากปัญหาที่ไต ในความเป็นจริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่าความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามิน D ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะมีสูงมาก ๆ โดยผู้สูงอายุส่วนมากที่อาศัยในประเทศที่มีแดดจ้ามักจะไม่ได้รับวิตามิน D ที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต

ผู้สูงอายุ, ผู้ที่อาศัยในพื้นที่สูง, และผู้ที่มีผิวคล้ำอาจจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมวิตามิน D หากไม่สามารถออกไปรับแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อมองหาอาหารเสริมที่เหมาะสมกับคุณที่สุด

วิตามิน D ออกฤทธิ์อย่างไร?

วิตามิน D จำเป็นต่อการควบคุมแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่พบในร่างกาย อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการคงสภาพกระดูกที่แข็งแรง

การตากแดดเป็นวิธีที่จะให้ร่างกายได้รับวิตามิน D ที่ดีที่สุด โดยการสัมผัสกับแสงอาทิตย์แค่ที่มือ, ใบหน้า, แขน, และขา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ประมาณหนึ่งในสี่ของวันก็เพียงพอต่อการเกิดแผลไหม้แดดเล็กน้อยที่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน D เพียงพอแล้ว โดยระยะเวลาที่จำเป็นต่อการสัมผัสแสงแดดนั้นจะแตกต่างกันไปตามอายุ, ประเภทของผิว, ฤดูกาล, เวลาของวัน, และอื่น ๆ

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากที่ร่างกายสามารถกักเก็บวิตามิน D จนเพียงพอได้เร็วมากด้วยการออกแดด โดยการตากแดดตามปรกติ 6 วันโดยไม่ทาครีมกันแดดสามารถชดเชยวันที่ไม่โดนแดดได้ถึง 49 วัน ไขมันร่างกายจะทำหน้าที่เป็นตัวแบตเตอรี่เก็บวิตามิน D ซึ่งการตากแดดระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีวิตามิน D เก็บในไขมันไว้รอเวลาที่แสงอาทิตย์หมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กระนั้นภาวะขาดวิตามิน D เป็นภาวะที่พบได้มากกว่าที่คุณคาดไว้ ผู้ที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เพียงพออย่างผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดาและทางตอนเหนือของประเทศอเมริกาจะมีความเสี่ยงมากที่สุด แต่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในแถบที่มีแดดแรงจ้าก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้เช่นกันเนื่องจากผู้คนในแถบนี้มักจะอาศัยในอาคารนาน, มีการปกปิดร่างกายเวลาออกไปข้างนอกอย่างมิดชิดเกิน, หรือมีการใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ผู้สูงอายุก็มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามิน D เช่นกันเนื่องจากพวกเขาจะใช้เวลากลางแดดน้อยลง, มี “ตัวรับ” ที่ผิวหนังที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นวิตามิน D น้อยลง, อาจไม่ได้รับวิตามิน D จากการรับประทานอาหารเพียงพอ, และอาจมีปัญหาในการบริโภคอาหารที่มีวิตามิน D เนื่องจากปัญหาที่ไต ในความเป็นจริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่าความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามิน D ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะมีสูงมาก ๆ โดยผู้สูงอายุส่วนมากที่อาศัยในประเทศที่มีแดดจ้ามักจะไม่ได้รับวิตามิน D ที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต

ผู้สูงอายุ, ผู้ที่อาศัยในพื้นที่สูง, และผู้ที่มีผิวคล้ำอาจจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมวิตามิน D หากไม่สามารถออกไปรับแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อมองหาอาหารเสริมที่เหมาะสมกับคุณที่สุด

การใช้และประสิทธิภาพของวิตามิน D

ภาวะที่ใช้วิตามิน D ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำเนื่องจากภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่า familial hypophosphatemia การทานวิตามิน D (calcitriol หรือdihydrotachysterol) ร่วมกับอาหารเสริมฟอสเฟตสามารถรักษาภาวะผิดปรกติของกระดูกในผู้ที่มีระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำได้
  • ระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำเนื่องจากโรคที่เรียกว่า Fanconi syndrome การทานวิตามิน D (ergocalciferol) สามารถรักษาระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำเนื่องจาก Fanconi syndromeได้
  • ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำเนื่องจากระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid) ต่ำ ระดับพาราไทรอยด์ต่ำสามารถทำให้ระดับแคลเซียมต่ำเกินไปได้ ดังนั้นการทานวิตามิน D (dihydrotachysterol, calcitriol, หรือ ergocalciferol) สามารถเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดของผู้ที่มีระดับพาราไทรอยด์ต่ำได้
  • โรคกระดูกอ่อน (osteomalacia) การทานวิตามิน D (cholecalciferol) สามารถรักษาภาวะกระดูกอ่อนได้ อีกทั้งการทานวิตามิน D (calcifediol) ยังสามารถรักษาภาวะกระดูกอ่อนเนื่องจากโรคตับได้ด้วย นอกจากนั้นการทานวิตามิน D (ergocalciferol) สามารถรักษาภาวะกระดูกอ่อนเนื่องจากการใช้ยาหรือกลุ่มอาการที่ทำให้การดูดซับไม่ดีได้เช่นกัน
  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) การทาวิตามิน D หรือ calcipotriene (วิตามิน D ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา) ที่ผิวหนังสามารถรักษาโรคสะเก็ดเงินในบางคนได้ โดยการทาวิตามิน D ที่ผิวหนังร่วมกับครีมที่ประกอบด้วยยาที่เรียกว่าคอร์ติโคสเตีอรอยด์ (corticosteroids) อาจจะช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ดีกว่าการใช้เพียงวิตามิน D หรือครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว
  • ภาวะผิดปรกติที่กระดูกที่เรียกว่า renal osteodystrophy ที่เกิดกับผู้ป่วยไตล้มเหลว การทานวิตามิน D (calcifediol) สามารถควบคุมระดับแคลเซียมต่ำและป้องกันการสูญเสียกระดูกในผู้ป่วยไตล้มเหลวได้ อย่างไรก็ตามวิตามิน D ก็ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือลดอาการปวดกระดูกของผู้ป่วยไตล้มเหลวได้
  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) วิตามิน D สามารถป้องกันและรักษาโรคกระดูกอ่อนในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมักจะมีการใช้วิตามิน D ในรูปของ calcitriol กับผู้ที่มีภาวะไตล้มเหลวด้วย
  • ภาวะขาดวิตามิน D วิตามิน D สามารถป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามิน D ได้

ภาวะที่อาจใช้วิตามิน D ได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

  • สูญเสียมวลกระดูกในผู้ที่กำลังใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ การทานวิตามิน D (calcifediol, cholecalciferol, calcitriol, หรือ alfacalcidol) สามารถป้องกันการสูญเสียกระดูกในผู้ที่กำลังใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ โดยการทานวิตามิน D เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับแคลเซียมอาจช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกของผู้ที่มีปัญหาสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากาการใช้ยากลุ่มนี้ได้ด้วย
  • ป้องกันการล้มของผู้สูงอายุ นักวิจัยสังเกตว่าผู้ที่ไม่ได้รับวิตามิน D เพียงพอมักจะมีการหกล้มบ่อยครั้ง ดังนั้นการทานอาหารเสริมวิตามิน D อาจช่วยลดความเสี่ยงในการล้มได้ 22% หากยิ่งได้รับวิตามิน D ในปริมาณสูงจะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่า อีกทั้งยังมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการทานวิตามิน D ที่ 800 IU จะลดความเสี่ยงต่อการล้มได้ แต่การบริโภคในปริมาณที่น้อยกว่านั้นจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความเสี่ยงนี้
  • อีกทั้งวิตามิน D ร่วมกับแคลเซียมยังช่วยป้องกันการล้มด้วยการลดอาการสั่นของร่างกายและความดันโลหิตลง การทานวิตามิน D ร่วมกับแคลเซียมอาจช่วยป้องกันการล้มของผู้หญิงที่สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาลหรือบ้านดูแลได้มากกว่าผู้ชาย
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) การทานวิตามิน D ที่เรียกว่า cholecalciferol (วิตามิน D3) ร่วมกับแคลเซียมอาจป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและป้องกันกระดูกหักได้

ภาวะที่อาจใช้วิตามิน D ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ฟันผุ งานวิจัยผลวิเคราะห์ทางคลินิกกล่าวว่าการทานวิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol หรือ ergocalciferol จะลดความเสี่ยงต่อฟันผุของทารก, เด็ก, และวัยรุ่นได้ประมาณ 36-49%
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวมากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับวิตามิน D สูง อีกทั้งงานวิจัยส่วนมากยังกล่าวเสริมว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D ที่รวมไปถึงวิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol อาจลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • ภาวะสูญเสียมวลกระดูกจากภาวะที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป (hyperparathyroidism) การทานวิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol อาจช่วยลดระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์และลดการสูญเสียมวลกระดูกของผู้หญิงที่มีภาวะนี้ลง
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis (MS)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน D ในระยะยาวสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด MS ในผู้หญิงได้มากถึง 40% โดยการทานทุกวันอย่างน้อย 400 IU ซึ่งเป็นขนาดที่พบได้ในอาหารเสริมวิตามินรวมจะทำงานได้ดีที่สุด
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ งานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน D จะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในเด็กและผู้ใหญ่ได้ โดยการติดเชื้อดังกล่าวเป็นได้ตั้งแต่ไข้หวัดหรือหอบหืดที่เกิดจากไข้หวัดหรือภาวะติดเชื้ออื่น ๆ มีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่าการทานวิตามิน D ระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะประสบกับภาวะติดเชื้อหลังคลอดได้ กระนั้นผลสรุปในประเด็นนี้ยังคงขัดแย้งกันอยู่
  • สูญเสียฟัน การทานวิตามิน D กับแคลเซียมในรูปของ cholecalciferol อาจช่วยป้องกันการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุได้

ภาวะที่วิตามิน D อาจไม่สามารถรักษาได้

  • มะเร็งเต้านม หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของวิตามิน D กับความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมยังคงไม่ชัดเจน โดยมีหลักฐานที่ดีที่สุดจากการศึกษาขนาดใหญ่ที่พบว่าการทานวิตามิน D 300 IU กับแคลเซียม 1000 mg ต่อวันไม่ช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมของผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตามก็มีความเป็นไปได้ที่การใช้วิตามิน D ในปริมาณสูงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายดังกล่าวในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่านั้นได้
  • มะเร็ง แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับวิตามิน D ในปริมาณสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งน้อยลง แต่งานวิจัยส่วนมากยังคงไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
  • โรคหัวใจ งานวิจัยกล่าวว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำมักจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างหัวใจล้มเหลวมากกว่าผู้ที่มีวิตามิน D ในเลือดสูง อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามิน D ก็ไม่อาจยืดชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจได้แต่อย่างใด
  • กระดูกหัก วิตามิน D ไม่อาจป้องกันการแตกหักของกระดูกในผู้สูงอายุได้เมื่อใช้เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับแคลเซียมขนาดต่ำ วิตามิน D ยังไม่อาจป้องกันการแตกหักของกระดูกผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนได้เมื่อบริโภคกับแคลเซียมปริมาณสูง แต่การทำเช่นนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราได้
  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยกล่าวว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดปรกติ อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนมากก็กล่าวว่าการทานวิตามิน D ไม่อาจลดความดันของผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงอยู่แล้วได้
  • การสูญเสียมวลกระดูกจากการปลูกถ่ายไต การทานวิตามิน D ในรูปของ calcitriol ร่วมกับแคลเซียมไม่อาจลดการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ที่ปลูกถ่ายไตได้
  • วัณโรค (Tuberculosis) การทานวิตามิน D ไม่อาจรักษาการติดเชื้อวัณโรคได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้วิตามิน D รักษาได้หรือไม่

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) งานวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีระดับวิตามิน D ที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าการทานวิตามิน D จะช่วยผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไรบ้าง
  • หอบหืด (Asthma) ผู้ป่วยหอบหืดและมีระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำอาจจะต้องมีการใช้ยาพ่นบ่อยขึ้นและมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากหอบหืดมากขึ้น อย่างไรก็ตามบทบาทของอาหารเสริมวิตามิน D ในการรักษาหอบหืดยังคงไม่แน่ชัด โดยหลักฐานที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้แสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน D นานหนึ่งปีสามารถลดความรุนแรงของอาการหอบหืดกำเริบได้ประมาณ 31-36% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ก็ยังนับว่าเร็วไปที่จะสรุปว่าผู้ป่วยกลุ่มใดจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิตามิน D ดีที่สุด
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวิตามิน D ไม่อาจป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรียในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้แม้จะรับประทานร่วมกับการบำบัดตามปรกติก็ตาม
  • โรคไต งานวิจัยกล่าวว่าวิตามิน D สามารถลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามการทานวิตามิน D ก็ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไตได้ อีกทั้งการทานวิตามิน D อาจเป็นการเพิ่มระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ขึ้นด้วย
  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) ผู้ป่วย COPD มักจะมีระดับวิตามิน D ที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น COPD แต่ตอนนี้ก็ยังขาดแคลนข้อมูลที่จะชี้ชัดว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D สามารถลดอาการของ COPD ได้หรือไม่
  • การทำงานของสมอง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามิน D ที่ต่ำนั้นเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพของสมองที่ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีระดับวิตามิน D สูง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการทานวิตามิน D เพิ่มจะช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้นหรือไม่
  • มะเร็งทวารหนักและลำไส้ ยังไม่ชัดเจนว่าวิตามิน D ส่งผลอย่างไรต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก บ้างก็พบว่าวิตามิน D อาจเป็นปัจจัยสำหรับในการเกิดโรคนี้ขึ้น แต่บ้างก็พบว่าการทานวิตามิน D ร่วมกับแคลเซียมไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งชนิดนี้แต่อย่างใด
  • การเจ็บป่วยร้ายแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาล งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการให้วิตามิน D กับผู้ที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในแผนกผู้ป่วยหนักอาจช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตขึ้น โดยประโยชน์จากการใช้วิตามิน D อาจยังมีข้อมูลที่จำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่มีระดับวิตามิน D ต่ำมากอยู่ก็เป็นได้จึงควรต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมมากขึ้น
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia) งานวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการใช้วิตามิน D จะส่งผลดีกับผู้ป่วยสมองเสื่อมหรือไม่
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ต่ำจะกลายเป็นเบาหวานประเภท 2 ง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับวิตามิน D สูง อย่างไรก็ตามหลักฐานต่าง ๆ ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D นั้นสามารถรักษาหรือป้องกันเบาหวานประเภท 2 ได้หรือไม่ โดยมีงานวิจัยที่กล่าวว่าการให้อาหารเสริมวิตามิน D แก่ทารกทุกวันในช่วงปีแรกของชีวิตเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 1 ในช่วงท้ายของชีวิตที่ลดลง
  • ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ บทบาทของวิตามิน D ที่ช่วยป้องกันการล้มของผู้สูงวัยยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ มีข้อมูลแนะนำของปี 2010 ที่กล่าวว่าผู้สูงอายุที่มีระดับวิตามิน D ต่ำหรือกำลังมีความเสี่ยงต่อการล้มมากต้องได้รับวิตามิน D ที่ 800 IU ต่อวัน คำแนะนำเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งงานวิจัยประชากรและการศึกษาทางคลินิกล้ายชิ้นที่พบว่าผู้ที่ขาดวิตามิน D มักจะมีการหกล้มบ่อยครั้ง อีกทั้งมีงานวิจัยที่พบว่าการทานวิตามิน D จะช่วยลดความเสี่ยงตอการล้มและอัตราส่วนของการหกล้มของผู้สูงอายุจริง แต่ก็ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าวิตามิน D สามารถให้ผลดีเช่นนี้ได้เพียงตัวเดียวหรือต้องใช้ร่วมกับแคลเซียม อีกทั้งยังมีข้อสังเกตว่าวิตามิน D จะช่วยลดการหกล้มของผู้ที่มีภาวะขาดวิตามิน D อยู่แล้ว แต่จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวไปก็มีงานวิจัยที่ค้านว่าวิตามิน D ไม่ได้ช่วยป้องกันการล้มของผู้สูงอายุแต่อย่างใด โดยมีหลักฐานที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าวิตามิน D ไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้อย่างที่กล่าวกันทำให้ ณ ตอนนี้มีคู่มือแนะนำว่าวิตามิน D ไม่ได้ช่วยป้องกันการล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ที่บ้านเรือนปรกติที่ไม่ได้เป็นโรคกระดูกพรุนหรือมีระดับวิตามิน D ต่ำ แต่ก็มีความเชื่อกันว่าความขัดแย้งของผลการวิจัยทั้งหมดนั้นเป็นผลมาจากวิธีการรายงานผลการทดลองเองทำให้ยังคงมีความเชื่อกันว่าผู้ป่วยบางรายอาจจะได้รับประโยชน์ในการลดความเสี่ยงการล้มจากการใช้อาหารเสริมวิตามิน D อยู่ แต่รายละเอียดว่าใครจะได้ผลดีที่สุดและปริมาณของวิตามิน D ที่แนะนำก็ยังคงไม่ชัดเจน กระนั้นสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มจากภาวะขาดวิตามิน D ควรมีการใช้อาหารเสริมวิตามิน D อยู่ดี
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวิตามิน D อาจลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียและภาวะระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำได้ อย่างไรก็ตามการทานวิตามิน D ก็ไม่อาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตหรืออารมณ์ของผู้ป่วยแต่อย่างใด
  • คอเลสเตอรอลสูง ผู้ที่มีระดับวิตามิน D ต่ำมักจะมีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D สูง โดยมีข้อมูลจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการทานแคลเซียมกับวิตามิน D ทุกวัน ร่วมกับการรับประทานอาหารแคลอรีต่ำจะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ขึ้นและลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ของผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินลง อย่างไรก็ตามการทานแคลเซียมกับวิตามิน D โดยไม่จำกัดอาหารเช่นนี้ไม่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL ลง แต่ก็มีงานวิจัยอื่นที่กล่าวว่าวิตามิน D อาจเพิ่ม LDL ขึ้นและไม่ส่งผลดีใด ๆ กับ HDL, ไตรกลีเซอไรด์, หรือคอเลสเตอรอลรวม
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ ผลของการทานวิตามิน D ระหว่างตั้งครรภ์กับความเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำหรือภาวะตัวเล็ก (small gestational age birth) ของทารกยังคงไม่สอดคล้องกัน จำต้องมีการศึกษามากขึ้นเพื่อจะชี้ชัดว่าใครเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ในการใช้วิตามิน D และปริมาณหรือรูปแบบของวิตามิน D ที่ควรใช้ในการป้องกันภาวะน้ำหนักแรกเกิดต่ำนี้
  • โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างวิตามิน D กับโรคอ้วนลงพุงที่ขัดแย้งกันอยู่ บ้างก็กล่าวว่าผู้หญิงที่อายุอย่างน้อย 45 ปีที่บริโภควิตามิน D มากหรือกำลังใช้อาหารเสริมวิตามิน D ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงที่น้อยลงแต่อย่างใด แต่บ้างก็แย้งว่าการบริโภควิตามิน D สูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงที่น้อยลง
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทานวิตามิน D ไม่อาจเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดเพียงพออยู่แล้ว แต่การทานวิตามิน D เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับแคลเซียมอาจเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและขาของผู้ที่มีระดับวิตามิน D ต่ำ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุได้ แต่การฉีดวิตามิน D เพียงหนึ่งเข็มไม่อาจให้ประโยชน์เช่นนี้
  • โรคเลือดเอมดีเอส (myelodysplastic syndrome) การทานวิตามิน D ในรูปของ calcitriol หรือ calcifediol อาจช่วยผู้ป่วยโรคเอมดีเอสได้
  • ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต งานวิจัยกล่าวว่าระดับวิตามิน D ที่ต่ำนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากสาเหตุเจ็บป่วยทุกประการ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าผู้ที่ทานอาหารเสริมวิตามิน D ทุกวันจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยลง แต่ก็มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่กล่าวว่าวิตามิน D สามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้ก็ต่อเมื่อบริโภคร่วมกับแคลเซียม
  • โรคเหงือก งานวิจัยกล่าวว่าระดับวิตามิน D ในเลือดที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคเหงือกในผู้ที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไปที่น้อยลง อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้กลับไม่อาจช่วยผู้ที่มีอายุน้อยกว่าที่กล่าวไปได้ อีกทั้งยังคงไม่ชัดเจนว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเหงือกได้หรือไม่
  • ความเจ็บปวด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน D อาจลดความเจ็บปวดของผู้ที่ประสบกับภาวะเจ็บปวดระยะยาวได้ แต่ยังคงต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมมาให้ข้อมูลมากกว่านี้
  • โรคพากินสัน (Parkinson's disease) ระดับวิตามิน D ที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับการเกิดอาการจากโรคพากินสันที่เบาลง แต่การทานอาหารเสริมวิตามิน D นั้นกลับไม่ได้ช่วยให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นแต่อย่างใด แต่ก็อาจสามารถป้องกันไม่ให้โรคนี้รุนแรงมากขึ้นได้ ซึ่งตอนนี้ยังคงต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ งานวิจัยบางชิ้นพบว่าการทานวิตามิน D ระหว่างมีครรภ์อาจลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ แต่การศึกษาเหล่านี้ยังคงมีคุณภาพที่ต่ำเกินไปจะนำมาสรุป แต่ก็มีข้อกังวลว่าการทานวิตามิน D ระหว่างตั้งครรภ์อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานระหว่างมีครรภ์ขึ้นได้ อีกทั้งยังมีข้อมูลว่าการทานวิตามิน D ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงจากการมีครรภ์หรือภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนชัก (pre-eclampsia) แต่อย่างใด
  • ก้อนซิสต์บนรังไข่หรือโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวิตามิน D อาจช่วยการตกไข่ของสตรีที่เป็นโรค PCOS โดยการทานวิตามิน D ร่วมกับ metformin อาจช่วยควบคุมรอบประจำเดือนแต่อาจไม่ช่วยหากเป็นการใช้เพียงวิตามิน D อย่างเดียว
  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS)) งานวิจัยกล่าวว่าการบริโภควิตามิน D จากอาหารมาก ๆ จะช่วยลดอาการประเภทนี้ได้ แต่การทานอาหารเสริมวิตามิน D อาจไม่สามารถป้องกัน PMS ได้ อย่างไรก็ตามการทานวิตามิน D ร่วมกับแคลเซียมอาจลดอาการ PMS ลงได้
  • โรค proximal myopathy การทานหรือฉีดวิตามิน D ในรูปของ ergocalciferol เข้ากล้ามเนื้ออาจช่วยรักษาโรคกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับภาวะขาดวิตามิน D ได้
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) งานวิจัยกล่าวว่าผู้หญิงอายุมากที่บริโภควิตามิน D จากอาหารหรืออาหารเสริมจะมีความเสี่ยงต่อโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ที่ลดลง
  • ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (seasonal affective disorder) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวิตามิน D ในรูปของ ergocalciferol ปริมาณสูงอาจลดอาการของภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาลได้
  • กระเนื้อ (seborrheic keratosis) งานวิจัยกล่าวว่าการทาวิตามิน D ในรูปที่เรียกว่า cholecalciferol ที่ผิวหนังอาจลดขนาดของเนื้องอกได้ในบางกรณี
  • อาการปวดกล้ามเนื้อจากยาสแตติน (statins) มีรายงานว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D สามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการใช้ยาสแตตินได้ แต่ยังคงต้องมีงานวิจัยคุณภาพสู.มายืนยันผลลัพธ์เหล่านี้อยู่
  • ภาวะช่องคลอดแห้ง (vaginal atrophy) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน D นานอย่างน้อยหนึ่งปีจะเพิ่มความหนาของพนังช่องคลอดขึ้น แต่ไม่อาจช่วยให้อาการจากภาวะนี้ดีขึ้นได้
  • หูด (warts) มีรายงานกล่าวว่าการทา maxacalcitol ที่มาจากวิตามิน D3 ที่ผิวหนังสามารถลดหูดจากไวรัสบนร่างกายผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีระดับวิตามิน D ที่ต่ำจะมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนมากกว่าผู้ที่มะดับวิตามิน D สูง ผู้หญิงที่ทานแคลเซียมกับวิตามิน D จะมีโอกาสลดน้ำหนักและคงสภาพน้ำหนักได้ดีกว่ากลุ่มตรงข้าม อย่างไรก็ตามประโยชน์ของวิตามิน D ข้อนี้ก็มักจะเกิดกับผู้หญิงที่ไม่ได้มีการบริโภควิตามิน D อย่างเพียงพอมาแต่ก่อนเริ่มใช้อาหารเสริม อีกทั้งงานวิจัยชิ้นอื่นก็แสดงให้เห็นว่าวิตามิน D จะช่วยเฉพาะผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนเท่านั้น หรือหมายความว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักปรกติ การทานวิตามิน D จะไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักหรือกำจัดไขมันแต่อย่างใด
  • ภาวะหายใจผิดปรกติ
  • หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของวิตามิน D เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของวิตามิน D

วิตามิน D ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณที่เหมาะสม โดยผู้คนส่วนมากจะไม่ประสบกับผลข้างเคียงจากการใช้วิตามิน D นอกจากจะเป็นการใช้ที่มากเกินไป โดยผลข้างเคียงจากการใช้วิตามิน D มากไปมีทั้งทำให้อ่อนแรง, เหนื่อยล้า, ง่วงนอน, ปวดศีรษะ, ไม่อยากอาหาร, ปากแห้ง, มีกลิ่นเหล็กในปาก, คลื่นไส้, อาเจียน, และอื่น ๆ

การบริโภควิตามิน D เป็นเวลานานด้วยปริมาณที่สูงกว่า 4000 หน่วยถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยและอาจทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูงเกินได้ อย่างไรก็ตามการใช้วิตามิน D ในปริมารที่สูงเช่นนี้ก็มักเป็นหลักการรักษาผู้ป่วยภาวะขาดวิตามิน D ในระยะสั้น ๆ โดยการรักษาประเภทนี้ควรต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: วิตามิน D จัดว่าค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือต้องให้นมบุตร โดยสามารถใช้ได้ในปริมาณ 4000 หน่วยลงไปต่อวัน ห้ามใช้เกินกว่าปริมาณนี้นอกจากจะได้รับคำสั่งจากผู้เชี่ยวชาญผู้ดูแล เนื่องจากการใช้ในปริมาณที่สูงกว่านี้จะนับว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเพราะอาจสร้างผลเสียร้ายแรงต่อทารกได้

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis): การทานวิตามิน D อาจทำให้ภาวะนี้ทรุดลงได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคไตด้วย

โรค Histoplasmosis: วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมในตัวผู้ป่วยโรคนี้ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะนิ่วในไตและปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นคนในกลุ่มนี้ควรมีการใช้วิตามิน D อย่างระมัดระวัง

ระดับแคลเซียมในเลือดสูง: การทานวิตามิน D อาจทำให้ภาวะนี้ทรุดลงได้

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperparathyroidism): วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมของผู้ป่วยภาวะนี้ขึ้นได้ ดังนั้นคนในกลุ่มนี้ควรมีการใช้วิตามิน D อย่างระมัดระวัง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma): วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมในตัวผู้ป่วยโรคนี้ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะนิ่วในไตและปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นคนในกลุ่มนี้ควรมีการใช้วิตามิน D อย่างระมัดระวัง

โรคไต: วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งในตัวผู้ป่วยโรคไตร้ายแรงขึ้น ซึ่งควรมีการปรับสมดุลวิตามิน D เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ renal osteodystrophy ซึ่งเป็นโรคกระดูกที่เกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถคงระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดได้ตามปรกติ ทำให้คนในกลุ่มนี้ต้องมีการเฝ้าระวังการใช้วิตามิน D อย่างมาก

โรค Sarcoidosis: วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมในตัวผู้ป่วยโรคนี้ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะนิ่วในไตและปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นคนในกลุ่มนี้ควรมีการใช้วิตามิน D อย่างระมัดระวัง

วัณโรค: วิตามิน D อาจเพิ่มระดับแคลเซียมในตัวผู้ป่วยโรคนี้ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคนิ่วในไต เป็นต้น

การใช้วิตามิน D ร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้วิตามิน D ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • อะลูมิเนียม (Aluminum) กับวิตามิน D

อะลูมิเนียมถูกพบในยาลดกรด (antacid) ซึ่งวิตามิน D จะเพิ่มปริมาณการดูดซับอะลูมิเนียมของร่างกายขึ้นจนทำให้การตีกันเช่นนี้เป็นปัญหากับผู้ป่วยโรคไต ดังนั้นควรทานวิตามิน D ก่อนยาลดกรดสองชั่วโมง หรือหลังจากทานยาลดกรดไปแล้วสี่ชั่วโมง

  • Calcipotriene (Dovonex) กับวิตามิน D

Calcipotriene คือยากที่คล้ายกับวิตามิน D การทานวิตามิน D ร่วมกับ calcipotriene (Dovonex) อาจเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของ calcipotriene (Dovonex) ขึ้น ดังนั้นควรเลี่ยงการทานอาหารเสริมวิตามิน D หากคุณกำลังใช้ยา calcipotriene (Dovonex) อยู่

  • Digoxin (Lanoxin)กับวิตามิน D

วิตามิน D ช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมดีขึ้น แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อหัวใจ ซึ่งยา Digoxin (Lanoxin) ถูกใช้เพื่อควบคุมให้หัวใจเต้นแข็งแรงขึ้น การทานวิตามิน D ร่วมกับ Digoxin (Lanoxin) อาจเพิ่มผลของยาขึ้นจนทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติได้ หากคุณกำลังใช้ยา Digoxin (Lanoxin) อยู่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมวิตามิน D

  • Diltiazem (Cardizem, Dilacor, Tiazac) กับวิตามิน D

วิตามิน D ช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมดีขึ้น แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อหัวใจ ซึ่งยา Diltiazem (Cardizem, Dilacor, Tiazac) เองก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นกัน ดังนั้นการทานยา Diltiazem (Cardizem, Dilacor, Tiazac) ร่วมกับวิตามิน D อาจลดผลของยา Diltiazem (Cardizem, Dilacor, Tiazac) ลง

  • Verapamil (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) กับวิตามิน D

วิตามิน D ช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมดีขึ้น แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อหัวใจ ซึ่งยา Verapamil (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) เองก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภควิตามิน D ปริมาณมากหากคุณกำลังใช้ Verapamil (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) อยู่

  • ยาขับน้ำ (Thiazide diuretics) กับวิตามิน D

วิตามิน D ช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมดีขึ้น ซึ่งยาขับน้ำจะเพิ่มปริมาณการดูดซับแคลเซียมของร่างกายขึ้นทำให้การทานวิตามิน D ปริมาณมากร่วมกับยาขับน้ำบางตัวจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาที่ไตได้ ตัวอย่างยาขับน้ำมีทั้ง  chlorothiazide (Diuril), hydrochlorothiazide (HydroDIURIL, Esidrix), indapamide (Lozol), metolazone (Zaroxolyn), และ chlorthalidone (Hygroton)

คอยสังเกตอาการเมื่อต้องใช้วิตามิน D ร่วมกับยาเหล่านี้

  • Cimetidine (Tagamet) กับวิตามิน D

ร่างกายเปลี่ยนแปลงวิตามิน D ให้เป็นรูปแบบที่ร่างกายสามารถใช้ได้ ซึ่งยา Cimetidine จะลดประสิทธิภาพที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนวิตามิน D ลงจนลดประสิทธิผลของวิตามินลง แต่การตีกันเช่นนี้ในตัวผู้ใช้ส่วนมากนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก

  • Heparin กับวิตามิน D

Heparin จะชะลอการเกิดลิ่มเลือดและเพิ่มความเสี่ยงกระดูกหักขึ้นเมื่อใช้ในระยะเวลานาน ทำให้ผู้ที่กำลังใช้ยาตัวนี้ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามิน D

  • Low molecular weight heparins (LMWHS)  กับวิตามิน D

ยาบางชนิดที่เรียกว่า low molecular weight heparins สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการกระดูกหักขึ้นเมื่อใช้ในระยะเวลานาน ทำให้ผู้ที่กำลังใช้ยาตัวนี้ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามิน D มากขึ้น ตัวอย่างยากลุ่มนี้มีทั้ง enoxaparin (Lovenox), dalteparin (Fragmin), และ tinzaparin (Innohep)

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับภาวะขาดวิตามิน D: 50,000 IU ต่อสัปดาห์นาน 6-12 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้ในปริมาณที่สูงกว่านั้นและระยะเวลานานกว่าที่กล่าวไปเพื่อคงสภาพวิตามิน D ในเลือดให้ได้นานที่สุด
  • สำหรับป้องกังโรคกระดูกพรุน: 400-1000 IU/วันในรูปของ cholecalciferol สำหรับผู้ใหญ่สูงวัย โดยมักใช้รวมกับแคลเซียม 500-1200 mg ต่อวัน ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำปริมาณที่สูงกว่านั้นที่ 1000-2000 IU ต่อวัน และมีการใช้ calcitriol 0.43-1.0 mcg/วันนาน 36 เดือน
  • สำหรับป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์: วิตามิน D ในรูปของ calcitriol หรือ alfacalcidol 0.25-1.0 mcg/วันนาน 6-36 เดือน ซึ่งในหลาย ๆ กรณีก็มีการใช้ร่วมกับแคลเซียมด้วย หรือวิตามิน D ในรูปของ calcitriol 50-32,000 mcg/วันนาน 12 เดือน และท้ายสุดคือวิตามิน D 1750-50,000 IU ทุกวันหรือทุกสัปดาห์นาน 6-12 เดือน
  • สำหรับป้องกันมะเร็ง: แคลเซียม 1400-1500 mg/วัน ร่วมกับวิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 1100 IU/วันนาน 7 ปี
  • สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว: วิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 800 IU/วันทั้งแบบเดี่ยวหรือร่วมกับแคลเซียม 1000 mg/วันนาน 3 ปี
  • สำหรับภาวะสูญเสียมวลกระดูกจากภาวะมีฮอร์โมนพาราไทรอยด์มากเกินไป (hyperparathyroidism): วิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 800 IU/วันนาน 3 เดือน
  • สำหรับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง: วิตามิน D 400 IU/วันในการป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS)
  • สำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ: วิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 300-4000 IU/วันนาน 7 สัปดาห์ถึง 13 เดือน
  • สำหรับป้องกันการเสียฟันของผู้สูงอายุ: วิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 700 IU/วันร่วมกับแคลเซียม 500 mg/วันนาน 3 ปี

ทาบนผิวหนัง:

  • สำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา (plaque psoriasis): วิตามิน D ในรูปของ calcipotriol บนผิวหนังเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์นาน 52 สัปดาห์ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใช้ calcipotriol ที่ปริมาณ 50 mcg/กรัมอย่าง Daivobet กับ Dovobet เช่นเดียวกับการศึกษาทางคลินิก ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประกอบด้วย calcipotriol 50 mcg/กรัม และ betamethasone dipropionate อีก 0.5 mg/กรัม

ฉีด:

  • สำหรับภาวะขาดวิตามิน D: วิตามิน D (Arachitol, Solvay Pharma) 600,000 IU หนึ่งเข็มเข้ากล้ามเนื้อ

เด็ก

รับประทาน:

  • สำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ: วิตามิน D ในรูปของ cholecalciferol 1200 IU/วันสำหรับเด็กในวัยเรียนระหว่างช่วยหน้าหนาวเพื่อป้องกันไข้หวัด หรือ cholecalciferol 500 IU/วันเพื่อป้องกันการทรุดลงของอาการหอบหืดที่เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ

อาหารเสริมวิตามินส่วนมากประกอบด้วยวิตามิน D เพียง 400 IU (10 mcg)

มีรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน (recommended daily allowance (RDA)) ประจำปี 2010 ว่าผู้คนส่วนมากต้องได้รับวิตามิน D ตามอายุดังนี้: อายุ 1-70 ปีที่ 600 IU ต่อวัน; 71 ปีขึ้นไปที่ 800 IU ต่อวัน; สตรีมีครรภ์และแม่ที่ให้นมบุตรที่ 600 IU ต่อวัน; สำหรับทารกอายุ 0-12 เดือนจะมีระดับปริมาณอาหารที่เพียงพอ (adequate intake (AI)) ที่ 400 IU 

ณ ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านต่างแนะนำว่าควรใช้อาหารเสริมวิตามิน D ที่ประกอบด้วย cholecalciferol เพื่อให้ได้ซึ่งปริมาณสารอาหารตามที่แนะนำ ซึ่ง cholecalciferol นั้นนับว่าเป็นรูปแบบของวิตามิน D ที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ergocalciferol


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin D Supplements: Who Needs Them, the Best Types, and More. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/vitamin-d/you-need-vitamin-d-supplement-everything-know/)
Vitamin D: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-929/vitamin-d)
Vitamin D 101 — A Detailed Beginner's Guide. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-d-101)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)