Doxazosin, Guanethidine, Hydralazine และ Methyldopa

เผยแพร่ครั้งแรก 1 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Doxazosin, Guanethidine, Hydralazine และ Methyldopa

Doxazosin

ชื่อสามัญ    Doxazosin mesylate

ชื่อการค้า    Cardoxa, Cardura/Cardura XL, Carxasin, Cazosin, Dezcard, Dovizin, DoZ0zin-2,

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Duracard, Genzosin, Pencor, Xadosin

ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง

ข้อบ่งใช้             ลดความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการของต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia,

BPH)

การออกฤทธิ์

ขยายทั้งหลอดเลือดดําและหลอดเลือดแดง โดยกั้น Postsnaptic α1-adrenergic receptor

ยาจะช่วยทําให้ความดันโลหิตลดลง Doxazosin ทําให้กล้ามเนื้อเรียบของ Bladder neck, Prostate และ Prostate capsule คลายตัว ซึ่งช่วยลดแรงต้านและความดันโลหิตที่ urethra และแรงต้านของ Urinary Outflow ช่วยรักษา BPH

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียง

ปวดศีรษะ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีเลือดกําเดาออก ตามัว เยื่อบุตาอักเสบ

ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ใจสั่น ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ บวม หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ท้องอืด ท้องผูก อาจมีอาการผิดปกติทางเพศ มีผื่นแดง

การพยาบาล       

  • วัดความดันโลหิต จับชีพจรบ่อยๆ ประเมินความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า เช่น อาการ
  • หน้ามืด เป็นลม เป็นต้น ซึ่งต้องบอกให้ผู้ป่วยระมัดระวังตนเองด้วย
  • บันทึกน้ำดื่มและปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักทุกวัน สังเกตอาการบวม เพื่อประเมินความสมดุลของน้ำ
  • ตรวจเลือดหาอิเล็กโตรไลท์ เพื่อดูระดับโซเดียมว่าสูงหรือไม่

 Guanethidine

ชื่อสามัญ            Guanethidine monosulfate

ชื่อการค้า           Ismelin

ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง

ข้อบ่งใช้             ลดความดันโลหิตสูงชนิดปานกลางถึงรุนแรง และความดันโลหิตสูงจากไตเสียหน้าที่ (Renal hypertension)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การออกฤทธิ์

ยับยั้งการทํางานของ Postganglionic adrenergic nerve ทําให้ adrenalin ที่เก็บไว้บริเวณ ปลายประสาทน้อยลง ทําให้ความดันโลหิตต่ำ อัตราการเต้นของหัวใจต่ำ Pulse pressure ลดลง เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจลดลง พบมี Na+ และน้ำคั่ง ผู้ป่วยมักได้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วย

ผลข้างเคียง

ท้องเดินอย่างรุนแรง ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าหรือขณะออกกําลังกาย วิงเวียน กล้ามเนื้อ อ่อนแรง หน้ามืดเป็นลม หัวใจเต้นช้า น้ำหนักเพิ่ม หายใจลําบาก มีภาวะหัวใจ วายเลือดคั่ง ผลข้างเคียงที่พบน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก ผมร่วง ปากแห้ง หนังตาตก ตามัว คัดจมูก หอบหืดซีด เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ

การพยาบาล      

  • วัดความดันโลหิต จับชีพจรบ่อยๆ ประเมินความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า เช่น อาการ หน้ามืด เป็นลม เป็นต้น ซึ่งต้องบอกให้ผู้ป่วยระมัดระวังตนเองด้วยเพราะยามีผลกับความดันโลหิตในท่านั่งมากกว่าท่านอน อาจช่วยโดยออกกําลังแขนขาก่อนลุกนั่งหรือลงจากเตียง
  • วัดความดันโลหิตในขณะนอนราบในครั้งแรกที่ให้ยา และวัดอีกครั้งในขณะยืนนาน 10นาที หรือวัดความดันโลหิตหลังออกกําลังกาย
  • บันทึกน้ำดื่มและปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักทุกวัน สังเกตอาการบวม เพื่อประเมินความสมดุลของน้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ไต หากมีความผิดปกติ รายงานแพทย์ทราบ
  • หากมีอาการท้องเดิน หรือมีไข้ รายงานแพทย์ทราบ แพทย์อาจพิจารณาให้ Atropineหรือลดขนาดยาลง
  • ระวังภาวะ Hypoglycemia ในผู้ป่วยเบาหวาน
  • แนะนําผู้ป่วยให้รับประทานยาสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่นๆ ด้วย รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ตรวจเลือดหาอิเล็กโตรไลท์ เพื่อดูระดับโซเดียมว่าสูงหรือไม่ ตรวจเม็ดเลือด ตรวจหน้าที่ของตับและไต
  • เมื่อเข้ารับการผ่าตัด ระวังการดมยาสลบ เพราะยานี้ทําให้หลอดเลือดแฟบ เป็นผลให้หัวใจหยุดเต้น หากจําเป็นต้องได้รับยาสลบจะต้องงดยาก่อนรับการผ่าตัด 2 สัปดาห์

 Hydralazine

ชื่อสามัญ           Hydralazine hydrochloride

ชื่อการค้า           Apresoline, Cesoline-W, Cesoline Y, Hydralazine Dragees T.O., *Hydrares, *Hypery, *Mano-Ap-Es, *Reser, *Ser-Ap-Es

ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง

ข้อบ่งใช้             รักษาภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะหัวใจวาย

การออกฤทธิ์

ยาออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด มีผลต่อหลอดเลือดดําน้อยลดความ ต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย และลดความดันโลหิตค่าล่างมากกว่าความดันโลหิต ค่าบน เพิ่มอัตราการไหลของเลือดผ่านไต สมอง แต่การกรองที่ Glumerulus และการทํางาน ของท่อไตไม่เปลี่ยนแปลง ยามีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ทําให้หัวใจเต้นเร็วและบีบตัวแรงขึ้น เป็นผลให้เลือดออกจากหัวใจใน 1 นาทีเพิ่มขึ้น จึงมักให้ร่วมกับยาตัวอื่น เช่น β-blocker, Clonidine, Methyldopa เป็นต้น จะได้ผลดีในการรักษา

ผลข้างเคียง 

  • อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำในท่ายืน ใจสั่น อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ท้องเสีย ท้องผูก คัดจมูก หน้าแดง บวม ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดพิษเฉียบพลัน เช่น มีไข้ ตัวร้อน มีอาการทางผิวหนังและข้ออักเสบ เป็นต้น ส่วนใหญ่พบในรายที่ได้รับยาเป็นเวลานานและขนาดยามากกว่า 400 มิลลิกรัม/วัน อาการจะค่อยๆ หายไปหากหยุดยา
  • แพ้ยา ได้แก่ มีไข้ ลมพิษ ผื่นผิวหนัง และเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร

การพยาบาล 

  • วัดความดันโลหิตก่อนและหลังให้ยาทุกครั้ง โดยตรวจสอบทุก 5 นาที เป็นเวลา 30นาที ทุก 15 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมงจนค่าคงที่
  • หลังได้รับยาควรให้ผู้ป่วยนอนพัก ในกรณีการเปลี่ยนอิริยาบถให้ค่อยๆ เปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ
  • ในรายที่ได้รับการบริหารยาโดยการฉีด ต้องหมั่นตรวจสอบค่าความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
  • หากมีอาการข้างเคียงของยา เช่น มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ให้มาพบแพทย์ เพื่อลดขนาดยาและรักษาตามอาการ
  • ยาที่อยู่ในรูปยารับประทาน ให้รับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

 Methyldopa

ชื่อสามัญ           Methyldopa

ชื่อการค้า           Adomet, Aldomet, Dopamed, Dopasian, Dopegyt, Isomet, Medopa, Mefpa, Metpata, Servidopa, Siamdopa

ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง

ข้อบ่งใช้             รักษา Hypertensive crisis

การออกฤทธิ์ 

α-Methyldopa ผ่านเข้าสู่สมองได้ดีและจะถูกเปลี่ยนเป็น α-Methyl noradrenaline เป็น False neurotransmitter ซึ่งกระตุ้น α2-adrenergic receptors ทําให้ขัดขวางการหลั่งกระแส ประสาทซิมพาเธติค ทําให้ Sympathetic tone ที่ควบคุมระบบไหลเวียนเลือดลดลง ลดความดันโลหิตโดยลดการกระตุ้นซิมพาเธติคที่หัวใจและระบบประสาทส่วนปลาย

ผลข้างเคียง

ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ง่วงนอน อาการจะดีขึ้นหลังได้รับยานาน 1-2 สัปดาห์ อาการข้าง เคียงอื่น คือ ปากแห้ง คัดจมูก ซึมเศร้า ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ความดันโลหิตลดต่ำเมื่อ เปลี่ยนอิริยาบถ ทําให้มีการคั่งของโซเดียมและน้ำ เกิดอาการบวมน้ำ มีไข้จากยา ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ท้องเดิน มีพิษต่อตับ เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับแข็ง เม็ดเลือดแดงแตก ทําให้เกิดโลหิตจาง ผล Coomb's test ให้ผลบวก เป็นต้น

การพยาบาล

  • ตรวจสอบค่าความดันโลหิตก่อนและหลังให้ยาทุกครั้ง ส่วนใหญ่ถ้าค่าความดันโลหิตก่อนได้รับยาต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยามื้อนั้น
  • แนะนําผู้ป่วยว่าหลังได้รับยาควรนอนพักบนเตียง เพราะการให้ยาครั้งแรกจะทําให้ง่วงซึมชั่วคราว แนะนําให้เปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้าๆ
  • การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดํา ให้เจือจางใน 5% D/W 100-200 มิลลิลิตร
  • บอกผู้ป่วยเกี่ยวกับปัสสาวะจะมีสีเข้ม เมื่อทิ้งไว้สีจะยิ่งคล้ำจากยาถูกเปลี่ยนแปลง
  • แนะนําผู้ป่วยว่าลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม สังเกตอาการบวมน้ำ เพราะอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • ยาบางผลิตภัณฑ์มี Sulfites ประกอบ อาจเกิดอาการแพ้ถึงขั้น Anaphylactic shock
  • ตรวจ Hct, Hb ตรวจนับเม็ดเลือดแดง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย (Hemolytic anemia)
  • เก็บยาให้พ้นแสง ใส่ซอง (ขวด) สีชา

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปราณี ทู้ไพเราะ  ได้โดยการซื้อหนังสือ “คู่มือยา (Handbook of Drugs)”

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Safety in Lactation: Drugs for hypertension. SPS - Specialist Pharmacy Service. (https://www.sps.nhs.uk/articles/safety-in-lactation-drugs-for-hypertension/)
Combination antihypertensive therapy with terazosin and other antihypertensive agents: results of clinical trials. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1678924)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม