กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Evening Primrose Oil (น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

ข้อมูลภาพรวมของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Evening primrose oil) คือน้ำมันที่มาจากเมล็ดของต้นอิฟนิ่งพริมโรส น้ำมันที่ได้ถูกใช้รักษาภาวะผิวหนังผิดปรกติต่าง ๆ เช่นโรคผิวหนังอักเสบ (eczema), arthritis' target='_blank'>สะเก็ดเงิน (psoriasis), และสิว (acne) อีกทั้งน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสยังสามารถใช้กับโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), กระดูกพรุน (osteoporosis), โรคเรย์เนาด์ (Raynaud’s syndrome), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis (MS)), กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s syndrome), มะเร็ง, คอเลสเตอรอลสง, โรคหัวใจ, ความผิดปรกติด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่เรียกว่าโรคสมองกับกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน (dyspraxia), อาการปวดขาเนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน (intermittent claudication), ภาวะติดแอลกอฮอล์ (alcoholism), โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), และจิตเภท (schizophrenia)

บางคนใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสสำหรับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome (CFS)), หอบหืด (asthma), เส้นประสาทเสียหายจากเบาหวาน, ความผิดปรกติด้านอาการคันที่เรียกว่า neurodermatitis, โรคสมาธิสั้นในเด็ก (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), ภาวะอ้วน (obesity)  และการลดน้ำหนัก, ไอกรน (whooping cough), และความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหารอย่างโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis), กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน irritable bowel syndrome, และโรคแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสเพื่อป้องกันความดันในเลือดสูง (pre-eclampsia), ร่นระยะเวลาคลอด, ก่อนการทำคลอด, และป้องกันการคลอดช้า ผู้หญิงยังสามารถใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสสำหรับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome (PMS)), อาการปวดหน้าอก, เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis), และอาการของวัยหมดประจำเดือนอย่างร้อนวูบวาบได้ด้วย

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสสามารถนำไปเป็นแหล่งโภชนาการของกรดไขมันที่มีประโยชน์ในอาหารได้เช่นกัน 

ในอุตสาหกรรมยังมีการใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสผลิตสบู่และเครื่องสำอางมากมาย

มีข้อมูลว่าบางประเทศนำน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไปใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบและอาการปวดหน้าอกอย่างเป็นทางการ กระนั้นก็ยังคงไม่มีหลักฐานยืนยันสรรพคุณของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสเหล่านี้จริง ๆ 

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสออกฤทธิ์อย่างไร?

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสประกอบด้วย “กรดไขมัน” ซึ่งผู้หญิงบางคนที่มีอาการเจ็บหน้าอกอาจจะขาด “กรดไขมัน” บางประเภท อีกทั้งกรดไขมันยังช่วยลดการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ อย่างข้ออักเสบและผิวหนังอักเสบอีกด้วย

การใช้และประสิทธิภาพของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

ภาวะที่อาจใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความเสียหายที่ประสาทจากโรคเบาหวาน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสทุกวันนาน 6-12 เดือนจะช่วยให้อาการจากความเสียหายที่เส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวานดีขึ้นได้
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับน้ำมันปลาและแคลเซียมอาจช่วยลดการสูญเสียกระดูกและเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนได้

ภาวะที่น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจไม่สามารถรักษาได้

  • หอบหืด (Asthma) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส 500 mg (Epogam, Efamol) ทุกวันนาน 16 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยให้อาการของโรคหอบหืดดีขึ้น
  • อาการผิวหนังคันและอักเสบ (eczema) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส 0.5 กรัมนาน 16-24 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยลดอาการคันและอักเสบของผิวหนังของทั้งผู้ใหญ่และเด็กได้ โดยงานวิจัยส่วนมากใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสตัวเดียวกัน (Epogam, Scotia Pharmaceuticals) ซึ่งมีบ้างที่พบว่าน้ำมันชนิดนี้มีสรรพคุณให้เห็นบ้าง
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่อาจช่วยให้อาการของ ADHD ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการทานอาหารเสริมที่มีน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสและน้ำมันปลาทุกวัน (Eye q, Novasel) อาจช่วยให้อาการของโรคนี้ในเด็กอายุ 7-12 ปีดีขึ้นได้ อีกทั้งน้ำมันปลายังมีสรรพคุณเป็นอาหารเสริมร่างกายที่ดีอีกด้วย
  • โรคตับอักเสบ B (Hepatitis B) งานวิจัยพบว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Efamol) 2 กรัมต่อวันนาน 12 เดือนไม่ได้ช่วยให้อาการจากโรคตับอักเสบ B ดีขึ้น
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยพบว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสทุกวันต่อเนื่องยาว 4 เดือนอาจส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • มะเร็งตับ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Efamol) ทุกวันไม่ได้ส่งผลต่อขนาดของตับหรืออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับแต่อย่างใด
  • เจ็บเต้านม (mastalgia) หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสกับอาการเจ็บเต้านมยังคงไม่ชัดเจน บางการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับยาที่เรียกว่า bromocriptine สามารถลดความเจ็บปวดลงได้ แต่การศึกษาชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นขัดกันว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสนาน 3-6 เดือนไม่ได้ช่วยลดความเจ็บปวดใด ๆ
  • ร้อนวูบวาบและเหงื่อออกกลางคืนเนื่องจากหมดประจำเดือน งานวิจัยพบว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสทุกวันนาน 3-6 เดือนเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับอาหารเสริมไม่อาจลดอาการร้อนวูบวาบหรือเหงื่อออกกลางดึกเนื่องจากหมดประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาหนึ่งที่พบว่าการใช้สินค้าที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส, แดมเมียนา (damiana), โสม, และนมผึ้ง (royal jelly) (Lady 4) สามารถลดอาการจากวัยหมดประจำเดือนได้จริง อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วหลักฐานส่วนมากก็ยังเห็นตรงกันว่าน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่ส่งผลใด ๆ ต่ออาการจากภาวะนี้
  • ภาวะอ้วน (Obesity) การทานแคปซูลน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสสี่ครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์สามารถลดน้ำหนักของผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนได้
  • ระดับความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกต่ำ (osteopenia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส, แคลเซียม, และน้ำมันปลา (Efacal) ไม่ได้ส่งผลต่อความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้หญิงที่ใช้เพียงแคลเซียมอย่างเดียว
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS)) งานวิจัยส่วนมากพบว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่อาจบรรเทาอาการจาก PMS ได้ โดยการศึกษาส่วนมากจะใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสยี่ห้อเดียวกัน (Epogam, Scotia Pharmaceuticals)
  • ผิวแดงและแตกสะเก็ด (psoriasis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสกับน้ำมันปลา (Efamol Marine) ไม่อาจช่วยให้อาการผิวแดงและแตกสะเก็ดดีขึ้น
  • ปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสกับน้ำมันปลา (Efamol Marine) ทุกวันนาน 12 เดือนไม่ช่วยลดอาการปวดข้อจากโรคสะเก็ดเงินได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสรักษาได้หรือไม่

  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome (CFS)) มีงานวิจัยบางชิ้นที่มีหลักฐานว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสกับน้ำมันปลา (Efamarine) อาจช่วยลดอาการของ CFS ได้ ซึ่งผลเช่นนี้ยังจัดว่าไม่สอดคล้องกับผลจากงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ
  • ผื่นจากผ้าอ้อม งานวิจัยพบว่าการทาน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสบนตัวทารกที่มีผื่นจากผ้าอ้อมจะให้ผลแบบเดียวกับที่ใช้ครีมป้องกันผิวหนังไปแล้ว 8 สัปดาห์
  • ตาแห้ง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Qarma) ทุกวันนานหกเดือนจะช่วยให้อาการตาแห้งของผู้หญิงที่สวมคอนแทคเลนส์ดีขึ้น
  • โรคดิสเลกเซีย (Dyslexia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Efalex) จะเพิ่มความสามารถทางจิตของเด็กที่ป่วยเป็นโรคดิสเลกเซียขึ้น
  • ปัญหาการประสานงานและการเคลื่อนไหว (dyspraxia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส, น้ำมันไทม์ (thyme oil), และวิตามิน E (Efalex) สามารถลดความผิดปรกติด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีปัญหาการประสานงานของอวัยวะและการเคลื่อนไหวได้
  • โรคผิวแห้ง (ichthyosis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่ช่วยให้อาการของโรคผิวแห้งดีขึ้นแต่อย่างใด
  • พัฒนาการของทารก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าทารกที่ดื่มสารละลายที่มีน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสกับน้ำมันปลาอาจจะมีพัฒนาการที่มากกว่าทารกที่ได้รับนมตามปรกติ อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่าทารกที่ได้ดื่มนมจากมารดาจะให้ผลที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ทานนมน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส
  • ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่ได้ช่วยลดระยะเวลาคลอด, ป้องกันความดันโลหิตสูง (pre-eclampsia), หรือป้องกันการคลอดช้าแต่อย่างใด แต่การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจช่วยลดความจำเป็นต้องใช้แรงขณะคลอดก็เป็นได้
  • ลดการไหลของเลือดที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิหรือความเครียด (โรคเรย์เนาด์ทุติยภูมิ (Raynaud’s phenomenon)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Efamol) ทุกวันนานแปดสัปดาห์สามารถลดอาการของโรคเรย์เนาด์ทุติยภูมิได้ แต่ไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิของมือหรือการไหลเวียนโลหิตแต่อย่างใด
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจช่วยลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย RA ได้ แต่ก็ขัดกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่พบประโยชน์ข้อนี้
  • จิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (Efamol) ไม่อาจส่งผลต่อผลต่อร่างกายและจิตของผู้ป่วยจิตเภท อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาหนึ่งที่พบว่าน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจส่งผลดีทางจิตเวชและความทรงจำบ้าง
  • กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s syndrome) (ความผิดปรกติของระบบภูมิต้านทานที่ทำให้เซลล์ร่างกายบางตัวเข้าโจมตีและทำลายต่อมผลิตน้ำลายและน้ำตา) มีหลักฐานที่พบว่าน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสไม่อาจช่วยลดอาการจากโรคนี้ได้
  • โรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับน้ำมันโบราจและน้ำมันมะกอกสามารถช่วยบางอาการของลำไส้อักเสบได้
  • มะเร็ง
  • สิว
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis (MS))
  • โรคหัวใจ
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโสรเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อต้องใช้นานหนึ่งปี น้ำมันชนิดนี้อาจส่งผลข้างเคียงเล็กน้อยอย่างปวดท้อง, คลื่นไส้, ท้องร่วง, และปวดศีรษะ

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจเพิ่มโอกาสประสบกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสขณะตั้งครรภ์อยู่

สำหรับผู้ที่กำลังให้นมบุตร การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสนั้นจัดว่าอาจจะปลอดภัย แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อน

ภาวะเลือดออกผิดปรกติ: มีข้อกังวลที่ว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจเพิ่มโอกาสเกิดรอยฟกช้ำและตกเลือดมากขึ้น ดังนั้นหากคุณมีภาวะเลือดออกผิดปรกติควรเลี่ยงการใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

โรคลมชักหรือภาวะชักผิดปรกติอื่น : มีข้อกังวลว่าการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการชักเกร็งบ่อยขึ้น หากคุณมีประวัติการชักควรเลี่ยงการใช้น้ำมันประเภทนี้

จิตเภท: มีรายงานว่าผู้ป่วยจิตเภทที่รักษาด้วยยา phenothiazine, GLA (สารเคมีที่พบในน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส), และวิตามิน E ประสบกับอาการชัก ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนเริ่มใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัด: น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดระหว่างหรือหลังจากผ่าตัด ดังนั้นควรงดทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

การใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) กับน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ โดยการทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์ชะลอลิ่มเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยฟกช้ำและเลือดออกขึ้น โดยตัวน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสจะประกอบด้วย GLA (gamma-linolenic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ในการชะลอลิ่มเลือด ตัวอย่างยาที่ชะลอลิ่มเลือดมีดังนี้ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, และอื่น ๆ), ibuprofen (Advil, Motrin, และอื่น ๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn, และอื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ

ใช้น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาที่ใช้ระหว่างการผ่าตัด (ยาชา (Anesthesia)) กับน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสอาจตีกับยาที่ใช้ระหว่างการผ่าตัด โดยผู้ป่วยที่กำลังทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสและยาอื่น ๆ อาจประสบกับอาการชักระหว่างผ่าตัดได้ แม้จะยังไม่มีข้อมูลว่าอาการนี้เกิดจากน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสหรือยาตัวอื่นคุณควรแจ้งแพทย์ว่ากำลังใช้ผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติใดอยู่ก่อนเข้ารับการผ่าตัด และเพื่อความปลอดภัย ควรหยุดทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 อาทิตย์

  • Phenothiazines กับน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส

การทานน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรสร่วมกับ phenothiazines อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการชักเกร็งได้ โดยตัวอย่างยากลุ่ม phenothiazines  มีดังนี้ chlorpromazine (Thorazine), fluphenazine (Prolixin), trifluoperazine (Stelazine), thioridazine (Mellaril), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับอาการเจ็บเต้านม: 3-4 กรัมต่อวัน


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)