กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

นมผึ้ง (Royal Jelly)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นมผึ้ง (Royal jelly) คือ สารคัดหลั่งขุ่นข้นที่ผลิตโดยผึ้งงาน มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ โปรตีน น้ำตาล ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโนต่างๆ
  • ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของนมผึ้งที่ชัดเจน
  • นมผึ้งสามารถใช้รักษาภาวะหมดประจำเดือน กลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วงเร่งกระบวนการสมานแผลได้
  • ภาวะที่นมผึ้งไม่สามารถรักษาได้ คือ โรคไข้ละอองฝาง ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง
  • หากต้องการรับประทานนมผึ้ง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา โดยเฉพาะในเด็ก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคความดันโลหิตต่ำ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

นมผึ้ง (Royal jelly) คือสารคัดหลั่งขุ่นข้นที่ผลิตโดยผึ้งงาน ประกอบด้วย น้ำประมาณ 60-70% โปรตีน 12-15% น้ำตาล 10-12% ไขมัน 3-7% วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโนอีก 2-3% โดยองค์ประกอบของนมผึ้งจะแตกต่างกันออกไปตามภูมิประเทศ 

คำว่า Royal jelly มาจากการที่นมผึ้งถูกใช้เป็นอาหารสำหรับพัฒนา และเลี้ยงดูผึ้งราชินี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในปัจจุบัน ผู้คนได้นำนมผึ้งมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้นมผึ้งเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง ต่อสู้กับผลจากการแก่ตัว กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือนำมาทาบนผิวหนังเพื่อเป็นยาบำรุง หรือทาบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเส้นผมอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนำนมผึ้งมาใช้รักษาโรคต่างๆ ก็ควรที่จะศึกษาข้อควรระวัง และวิธีการใช้ให้ดีเสียก่อน

นมผึ้งออกฤทธิ์อย่างไร

ปัจจุบัน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลของนมผึ้งยังมีอยู่จำกัด แต่สำหรับสัตว์ทั่วไปแล้ว นมผึ้งอาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของเนื้องอก และลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้

ประสิทธิภาพของการใช้นมผึ้งรักษาภาวะต่างๆ 

1. ภาวะหมดประจำเดือน (Menopausal symptoms)

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานนมผึ้งและเกสรดอกไม้นาน 3 เดือนขึ้นไป ช่วยลดอาการจากภาวะหมดประจำเดือน และเพิ่มความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

และยังสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) รวมทั้งลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (low-density lipoprotein: LDL) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้

นอกจากนี้ การรับประทานน้ำผึ้งที่มีส่วนผสมของน้ำมันดอกพริมโรส แดมเมียนา (Damiana) และโสม ก็สามารถช่วยลดอาการจากวัยหมดประจำเดือนได้เช่นกัน

การทานมผึ้งในช่องคลอด อาจช่วยลดปัญหาทางเพศ และช่วยลดอาการอักเสบในช่องคลอดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ คล้ายกับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เข้าช่องคลอด 

อย่างไรก็ตาม การทาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่องคลอดสามารถลดการอักเสบของช่องคลอดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ดีกว่าการใช้นมผึ้ง

2. กลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome: PMS)

กลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน เช่น อาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน 

กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรงได้

โดยจากการวิจัยพบว่าผู้รับประทานนมผึ้งมีความรุนแรงของกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือนที่ลดลง

3. เบาหวานประเภทที่ 2

ผลจากงานวิจัย พบว่าการรับประทานนมผึ้งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ในผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ที่รับประทานนมผึ้ง 8 สัปดาห์ 

อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

4. การรักษาบาดแผล

นมผึ้งช่วยในการเร่งกระบวนการสมานแผลได้ โดยอาจช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblasts) ไปสู่แผล ซึ่งมีบทบาทมากในการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อสมานแผล

ภาวะที่นมผึ้งไม่สามารถรักษาได้

ไข้ละอองฟาง (Hay fever) เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อละอองเกสรหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น น้ำหอม เชื้อรา ขนสัตว์ เป็นต้น 

จากการวิจัย พบว่าการรับประทานนมผึ้ง (Bidro) เป็นระยะเวลา 3-6 สัปดาห์ อาจไม่ได้ผลในการรักษาไข้ละอองฟาง

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของนมผึ้ง

นมผึ้งถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากที่บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจพบการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินหรือปฎิกิริยาแพ้รุนแรง อาการแพ้ ได้แก่ อาการหืด อาการหลอดลมหดเกร็ง หลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นคัน 

นมผึ้งยังถูกใช้ทาบนผิวหนังได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ เช่น ทำให้หนังศีรษะอักเสบ และผื่นภูมิแพ้ได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • เด็ก นมผึ้งถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานนาน 6 เดือน
  • สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้นมผึ้งในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร หรือมีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงการใช้นมผึ้งเพื่อความปลอดภัย
  • หอบหืดหรือภูมิแพ้ หากคุณเป็นโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ ไม่ควรใช้นมผึ้งเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
  • ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) นมผึ้งอาจทำให้อาการของโรคผิวหนังอักเสบทรุดลงได้
  • ความดันโลหิตต่ำ หากคุณมีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานนมผึ้งอาจทำให้ความดันตกลงกว่าเดิมได้

การใช้นมผึ้งร่วมกับยาชนิดอื่น

ไม่ควรรับประทานยาต้านการแข็งตัวตัวของเลือด หรือยา Warfarin (Coumadin) ร่วมกับนมผึ้ง เพราะนมผึ้งอาจเพิ่มฤทธิ์ของยา โดยจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟกช้ำหรือเลือดออกได้มากขึ้น

หากต้องการรับประทานนมผึ้ง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา โดยเฉพาะในเด็ก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคความดันโลหิตต่ำ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Royal Jelly Supplement: Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/royal_jelly/supplements-vitamins.htm)
Royal Jelly: Benefits, Side Effects, and Preparations. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-royal-jelly-89507)
Royal jelly benefits backed by science. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324152)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)