เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) หรือตาแดง คืออาการอักเสบและแดงที่ชั้นเนื้อเยื่อปกคลุมส่วนหน้าของดวงตา (Conjunctiva)
อาการอื่นๆ จากภาวะตาแดงมีทั้งอาการคัน ตาแฉะ หรือมีน้ำตา และหากเกิดจากภูมิแพ้ บางครั้งอาจมีสารคัดหลั่งเหนียวติดบนขนตาได้ โดยภาวะเยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดงมักจะเกิดกับตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปยังตาอีกข้างภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
อาการของภาวะเยื่อบุตาอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ในช่วงแรกมักจะมีอาการที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นจึงลามไปยังตาอีกข้างภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง อาการที่บ่งชี้ว่าเกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบขึ้นแล้ว ได้แก่
- ตาแดง เป็นผลมาจากการอักเสบและการขยายใหญ่ขึ้นของหลอดเลือดขนาดเล็กในเยื่อบุตา (ชั้นเซลล์บางๆ ที่ปกคลุมส่วนหน้าของดวงตา)
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากดวงตา เนื่องจากเยื่อบุตาประกอบด้วยเซลล์หลายพันเซลล์ที่ผลิตเมือก และมีต่อมที่ใช้ผลิตน้ำตาออกมา การอักเสบที่เกิดขึ้นทำให้ต่อมเหล่านี้ทำงานมากขึ้นจนผลิตน้ำและเมือกออกมามากขึ้น
หากเป็นภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ (Infective conjunctivitis) คุณอาจพบอาการเหล่านี้เพิ่มเติม
- แสบร้อนในตา
- รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมติดดวงตาอยู่
- มีสารคัดหลั่งเหนียวเกาะบนขนตา โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนในตอนเช้า
- ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าใบหูโตขึ้น
หากเป็นภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis) มักพบอาการคันตา การแสดงอาการจะขึ้นอยู่กับว่าคุณแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด เช่น หากแพ้ละอองเกสร จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะมีอาการอื่นๆ เช่น จาม คัดจมูก หรือจมูกตัน ร่วมด้วย
หากเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่นหรือขนสัตว์จะทำให้เกิดอาการได้ตลอดทั้งปี ตาทั้งสองข้างของผู้ป่วยมักจะระคายเคือง ซึ่งมักมีอาการแย่มากในช่วงเช้า บางคนมีภาวะแพ้ยาหยอดตา หรือมีการแพ้จากการสัมผัสของผิวหนังรอบดวงตา (Contact dermatoconjunctivitis) ซึ่งส่งผลให้เปลือกตาแห้งและปวดได้ บางคนแพ้คอนแทคเลนส์ (Giant papillary conjunctivitis) ซึ่งจะค่อยๆ ออกอาการอย่างช้าๆ และจะเกิดจุดขึ้นข้างใต้เปลือกตาส่วนบน โดยภาวะเยื่อบุตาอักเสบประเภทนี้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูงที่สุด ทำให้คุณควรต้องเข้าพบแพทย์ทันทีที่ทำได้
ภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุตาอักเสบ
ภาวะเยื่อบุตาอักเสบเป็นภาวะที่น่ารำคาญ โดยเฉพาะภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ แต่ส่วนมากโรคนี้ไม่ทำอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพใดๆ
ภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุตาอักเสบนั้นเกิดได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นมักจะรุนแรง เช่น หากเกิดการติดเชื้อ ภายหลังเชื้ออาจลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะติดเชื้อทุติยภูมิขึ้น เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยทั่วไป ภาวะเยื่อบุตาอักเสบมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หากเกินกว่านี้แล้วยังไม่ทุเลาจะเรียกว่า ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อต่อเนื่อง (Persistent infective conjunctivitis)
หากคุณมีอาการอื่นๆ ผิดปกติ เช่น เจ็บปวดรุนแรง มองเห็นไม่ชัดเจน อ่อนไหวต่อแสงเพิ่มขึ้น อาจหมายความว่าคุณประสบกับภาวะที่ร้ายแรงกว่าเยื่อบุตาอักเสบ เช่น
- ต้อหินเฉียบพลัน (Acute glaucoma) เป็นโรคต้อหินชนิดหายาก ทำให้เกิดการสะสมของแรงดันภายในดวงตาจนสร้างความเจ็บปวด
- กระจกตาอักเสบ (Keratitis) หรือกระจกตา (Cornea) เกิดอาการบวมและมีแผล ภาวะนี้ทำให้เจ็บปวดและอ่อนไหวต่อแสงจ้ามากขึ้น (Photophobia) แผลยังอาจเกิดบนกระจกตาโดยตรง จนสร้างความเสียหายถาวรแก่กระจกตาได้
- ม่านตาอักเสบ (Iritis) เกิดอาการบวมที่เนื้อเยื่อชั้นกลางภายในดวงตา ทำให้ปวดตา ปวดศีรษะ น้ำตาไหล
หากภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อเกิดในทารกแรกเกิด (เด็กที่อายุไม่เกิน 28 วัน) เด็กต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อในทารกนั้นหายาก และเมื่อได้รับการรักษาแล้ว ส่วนใหญ่จะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ
สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบ
ภาวะเยื่อบุตาอักเสบเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุตา (Conjunctiva) หรือชั้นเซลล์บางๆ ที่ปกคลุมส่วนหน้าของดวงตาเกิดการอักเสบขึ้น ส่วนมากมักเกิดจากสาเหตุดังนี้
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ (Infective conjunctivitis) มักเกิดมาจากไวรัสหรือแบคทีเรีย หากเป็นภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสจะมีของเหลวลักษณะใสไหลออกจากดวงตา ในขณะที่ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรียจะทำให้ของเสียที่ไหลออกมามีลักษณะคล้ายหนอง การเก็บตัวอย่างเชื้อจากดวงตาเพื่อตรวจสอบจะช่วยบอกสาเหตุของการติดเชื้อได้
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis) เกิดขึ้นเมื่อดวงตาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ โดยเฉพาะสารที่มักทำให้คุณมีอาการแพ้อยู่แล้ว โดยภาวะประเภทนี้มี 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ตามฤดูกาล (Seasonal allergic conjunctivitis) มักเกิดจากเกสร หญ้า ต้นไม้ ดอกไม้ ไรฝุ่น สะเก็ดผิวตายจากสัตว์
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ตลอดปี (Perennial allergic conjunctivitis) ภาวะนี้จะเกิดกับผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้สารอื่นๆ ได้ง่ายมาก อย่างเช่น โรคหอบหืด และมักเกิดร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้สัมผัส (Contact dermatoconjunctivitis) มักเกิดจากยาหยอดตา แต่ก็สามารถเกิดจากสารเคมีหรือเครื่องสำอางได้ด้วย
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากคอนแทคเลนส์ (Giant papillary conjunctivitis) มักเกิดจากมือที่ไม่ได้ล้าง คอนแทคเลนส์โดนพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่หมดอายุ
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคือง (Irritant conjunctivitis) ส่วนมากเกิดจากน้ำคลอรีนในสระว่ายน้ำ แชมพู ขนตาที่เข้าไปเสียดสีกับเยื่อบุตา ควัน หรือน้ำหอม
- ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคืองของไหมเย็บที่ใช้ในการผ่าตัดดวงตา ตาเทียม
ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
คุณอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อมากขึ้นด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
- คุณเป็นผู้สูงอายุหรือเด็ก เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ส่วนเด็กจะมีการสัมผัสถูกเชื้อโรคได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานศึกษา
- คุณเคยประสบกับภาวะติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น เป็นหวัด
- คุณเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะสุขภาพอื่นๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- คุณกำลังใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งตัวยาไปลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- คุณมีภาวะเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และอาจส่งผลให้เกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบได้
- คุณอยู่ในที่แออัด เช่น ในรถไฟฟ้าหรือรถโดยสารสาธารณะที่ผู้คนคับคั่ง
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ภาวะเยื่อบุตาอักเสบโดยส่วนมากไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณคาดว่าสาเหตุเกิดจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์ หรือสาเหตุอื่นที่คุณสงสัย เพื่อตรวจสอบหาต้นตอของภาวะเยื่อบุตาอักเสบหรือภาวะตาแดงที่มีความรุนแรงต่อดวงตาหรือระบบของร่างกายอื่นๆ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
แพทย์จะสามารถวินิจฉัยภาวะเยื่อบุตาอักเสบได้ด้วยการสอบถามอาการและตรวจดวงตา ทั้งนี้ หากคุณสามารถบอกได้ว่า ภาวะเยื่อบุตาอักเสบของคุณเกิดขึ้นได้อย่างไรจะช่วยให้แพทย์หาชนิดและตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยแพทย์อาจแนะนำให้คุณรับการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การทดสอบการปนเปื้อนเพื่อระบุเชื้อ (Swab test) หากไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเพื่อช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างจะใช้ไม้ที่มีรูปร่างคล้ายก้านสำลี เก็บตัวอย่างจากเมือกบนดวงตาที่ติดเชื้อเพียงเล็กน้อย ส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเยื่อบุตาอักเสบ หากอาการของคุณมีความรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา จำเป็นต้องพบจักษุแพทย์เป็นการเฉพาะ
การรักษาภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
ตามปกติ ภาวะเยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดงจากการระคายเคืองจะหายไปเมื่อตาไม่สัมผัสถูกต้นตอสิ่งระคายเคืองแล้ว เช่น หากเกิดจากขนตาเสียดสีกับดวงตา เพียงนำขนตาออก อาการต่างๆ ก็จะทุเลาลงไปเองได้ภายในสองถึงสามวัน แต่หากมีอาการรุนแรง การรักษาก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
หากเป็นเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ อาจมีการใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ
หากเป็นเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านภูมิแพ้ อย่างยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) และหากเป็นไปได้ ต่อไปคุณควรเลี่ยงการสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
ไม่ควรสวมคอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายดี และควรทำความสะอาดของเสียที่เกาะติดบนเปลือกตาหรือขนตาด้วยน้ำและผ้าไหม
หากภาวะเยื่อบุตาอักเสบเกิดในเด็ก โดยเป็นการติดเชื้อจากโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงจำนวนมาก ควรต้องแยกกลุ่มเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ จนกว่าการติดเชื้อของพวกเขาจะหายไป ส่วนในผู้ใหญ่ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่น หรือต้องใช้อุปกรณ์ทำงานร่วมกัน เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ควรหยุดงานจนกว่าของเสียจากดวงตาจะหายไป
การรักษาภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
มีหลายวิธีในการรักษาภาวะเยื่อบุตาอักเสบ ได้แก่
- ไม่ขยี้ตาแม้จะคันเพียงใด เนื่องจากจะทำให้อาการตาแดงแย่ลง
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบดวงตา
- ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ยาประเภทนี้จะช่วยลดอาการปวดและเคืองตา อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง
- เช็ดทำความสะอาดของเสียที่เกาะบนเปลือกและขนตาด้วยสำลีเช็ดทำความสะอาดชุบน้ำ
- ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสดวงตา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
- ใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ตัวยาที่มักใช้กับภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ คือ คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) และกรดฟูซิดิก (Fusidic acid)
- คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) เป็นยาปฏิชีวนะตัวเลือกแรกสุด อยู่ในรูปแบบของยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตา สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีและระยะเวลาการใช้ยา และศึกษาข้อมูลบนฉลากยาก่อนใช้
- กรดฟูซิดิก (Fusidic acid) ยานี้จะนำมาใช้หากคลอแรมเฟนิคอลไม่ได้ผล โดยมากมักใช้กับเด็กและผู้สูงอายุ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้บ่อย อีกทั้งยังเป็นการรักษาที่มักได้รับการแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้กรดฟูซิดิกก็อยู่ในรูปของยาหยอดตาที่ต้องใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือตามฉลากกำกับยาทุกครั้ง
การใช้ยาหยอดตาอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดชั่วขณะ ดังนั้นหลังใช้ยา ผู้ใช้ควรเลี่ยงการขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรกล นอกจากนี้ทั้งคลอแรมเฟนิคอลและกรดฟูซิติกยังทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ เช่น อาการแสบเล็กน้อย แต่ตามปกติควรจะเกิดขึ้นไม่นานแล้วหาย
- ใช้ยาต้านฮิสตามีน หากคุณมีภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้และมีอาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์จะจ่ายยาต้านฮิสตามีนให้ โดยยาต้านฮิสตามีนจะออกฤทธิ์เข้ายับยั้งกระบวนการการหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อต้องกับสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่อาจรุนแรงต่อไป ยาต้านฮิสตามีนสำหรับบรรเทาอาการเยื่อบุตาอักเสบมีทั้งยาหยอดตาและยารับประทาน
- ยาต้านฮิสตามีนชนิดหยอดตา ได้แก่ Azelastine (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี) Emedastine (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี) Ketotifen (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี) Antazoline ที่มี Xylometazoline (Otrivine-Antistin ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี)
Antazoline ที่มี Xylometazoline (Otrivine-Antistin) สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ กระนั้นผู้ใช้ก็ต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหากเป็นผู้กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาหยอดตากลุ่มนี้ทุกครั้ง - ยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทาน ได้แก่ Cetirizine, Fexofenadine หรือ Loratadine แพทย์มักจะกำหนดให้คุณรับประทานยาต้านฮิสตามีนเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น
หากเป็นไปได้ แพทย์จะไม่จัดยาต้านฮิสตามีนให้แก่ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือต้องให้นมบุตร แม้ว่าขณะที่ใช้ยาต้านฮิสตามีนในช่วงแรกจะไม่ทำให้ง่วงนอน แต่ยากลุ่มนี้ยังคงออกฤทธิ์กดประสาท และหากใช้ยาปริมาณสูงหรือใช้ร่วมกับการบริโภคแอลกอฮอล์จะยิ่งทำให้ผลข้างเคียงในการกดประสาทรุนแรงมากขึ้น
- ยาต้านฮิสตามีนชนิดหยอดตา ได้แก่ Azelastine (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี) Emedastine (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี) Ketotifen (ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี) Antazoline ที่มี Xylometazoline (Otrivine-Antistin ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี)
- ใช้ยายับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Mast cell (Mast cell stabilisers) ยากลุ่มนี้ต่างจากยาต้านฮิสตามีนตรงที่ช่วยบรรเทาอาการได้ไม่เร็วเท่า แต่มีฤทธิ์ควบคุมอาการได้นานกว่า ผู้มีอาการเยื่อบุตาอักเสบจะต้องใช้ยานี้นานหลายสัปดาห์กว่าจะเห็นผล ดังนั้น แพทย์จึงอาจจ่ายยาต้านฮิสตามีนให้คุณใช้ร่วมไปด้วยกันก็ได้ ยายับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Mast cell stabilisers มักจะอยู่ในรูปของยาหยอดตา เช่น Lodoxamide, Nedocromil sodium, Sodium cromoglicate
- ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หากอาการเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้มีความรุนแรงเป็นพิเศษ อาจต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดยาภายนอก เช่น ครีม เจล หรือขี้ผึ้ง สักระยะหนึ่ง ยากลุ่มนี้มักไม่แนะนำให้ใช้ นอกเสียจากจะจำเป็นจริงๆ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้
สิ่งสำคัญคือ หากคุณยังมีอาการเจ็บตา อ่อนไหวต่อแสง สูญเสียการมองเห็น หรือมีอาการตาแดงที่รุนแรง ไม่ว่าจะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หลังผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการทดสอบหาภาวะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections (STIs)) เนื่องจากโรคในกลุ่ม STIs บางโรค เช่น หนองในเทียม (Chlamydia) อาจเป็นสาเหตุของภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อได้ด้วย และหากเป็นเช่นนั้นจริง อาการของคุณอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องนานหลายเดือน
การป้องกันภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
ควรล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และอย่าใช้หมอนหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น