กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Damiana (แดมเมียนา)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของแดมเมียนา

แดมเมียนา (Damiana) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Turnera Diffusa เป็นไม้พุ่มที่พบในมลรัฐเท็กซัส ของประเทศอเมริกา, อเมริกากลาง, อเมริกาใต้ และทางแถบแคริบเบียน ใบและหน่อของต้นไม้ชนิดนี้ถูกใช้ทำยา และจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้ว แดมเมียนายังถูกใช้เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศกันอย่างแพร่หลาย (เป็นยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ (aphrodisiac))

แดมเมียนามักใช้ในรูปของสมุนไพรทานเพื่อเป็นยาเพิ่มความต้องการทางเพศและรักษาปัญหาทางเพศต่าง ๆ อีกทั้งยังใช้เพื่อรักษาภาวะไม่สบายท้องต่าง ๆ อย่างอาหารไม่ย่อย, ท้องร่วง, และท้องผูก และยังใช้รักษาอาการจากการหมดประจำเดือนและอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome (PMS))ได้อีกด้วย กระนั้นข้อมูลของฤทธิ์ของต้นไม้ชนิดนี้กับภาวะเหล่านี้ก็ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่น้อยมากอยู่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แดมเมียนาออกฤทธิ์อย่างไร?

แดมเมียนาประกอบด้วยสารเคมีที่อาจส่งผลต่อสมองและระบบประสาท

วิธีใช้และประสิทธิภาพของแดมเมียนา

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้แดมเมียนารักษาได้หรือไม่

  • ปัญหาทางเพศ งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแดมเมียนา, L-arginine, โสมอเมริกา (American ginseng),โสมเกาหลี (Panax ginseng), ใบแปะก๊วย (ginkgo), วิตามิน, และแร่ธาตุอาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจทางเพศ, เพิ่มความถี่การถึงจุดสุดยอด, และลดความแห้งของช่องคลอดผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับเพศที่ต้องการแก้ไขปัญหานี้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแดมเมียนา, กัวรานา (guarana), และชามาเต (yerba mate) อาจช่วยลดน้ำหนักตัวของผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินได้
  • ปวดศีรษะ
  • ฉี่รดที่นอน
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • เครียดลงกระเพาะ (Nervous upset stomach)
  • ท้องผูก 
  • บำรุงร่างกายและจิตใจ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของแดมเมียนาเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของแดมเมียนา

แดมเมียนาถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณที่พบในอาหาร โดยการรับประทานในปริมาณที่ใช้กันทางการแพทย์ถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยแต่ก็อาจจะมีผลข้างเคียงร้ายแรงเกิดขึ้นได้ มีรายงานที่ว่าการทานสารสกัดแดมเมียนา 200 กรัมอาจทำให้เกิดอาการชักและอาการอื่น ๆ คล้ายกับโรคพิษสุนัขบ้า (rabies) หรือสเตรกนินเป็นพิษ (strychnine poisoning) 

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แดมเมียนาในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้พืชชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย

เบาหวาน: แดมเมียนาอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นควรเฝ้าระวังสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และระวังระดับน้ำตาลในเลือดของคุณหากมีการรับประทานแดมเมียนา

การผ่าตัด: เนื่องจากแดมเมียนาอาจส่งผลต่อระบบกลูโคสในเลือดได้ ดังนั้นจึงมีข้อกังวลที่ว่าแดมเมียนาอาจเข้ารบกวนการควบคุมกลูโคสในเลือดระหว่างและหลังจากผ่าตัดได้ ดังนั้นจึงควรหยุดใช้แดมเมียนาก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 อาทิตย์

การใช้แดมเมียนาร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้แดมเมียนาร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับโรคเบาหวาน (Antidiabetes drugs) กับแดมเมียนา

แดมเมียนาอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนยาสำหรับเบาหวานเองก็ถูกใช้เพื่อลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานทั้งแดมเมียนาและยาเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณตกลงจนต่ำเกินไปได้ จึงควรทำการเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างใกล้ชิด โดยหากจำเป็นอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาเบาหวาน โดยตัวอย่างยาที่ใช้ควบคุมเบาหวานมีดังนี้ glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับแดมเมียนานั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของแดมเมียนา ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้แดมเมียนาทุกครั้ง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Turnera diffusa". Integrated Taxonomic Information System. Retrieved 2011-01-29.
Katarzyna Szewczyka and Christian Zidorn (2014). "Ethnobotany, phytochemistry, and bioactivity of the genus Turnera (Passifloraceae) with a focus on damiana—Turnera diffusa". Journal of Ethnopharmacology. doi:10.1016/j.jep.2014.01.019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)