ข้อมูลภาพรวมของแอลอาร์จินิน
แอลอาร์จินิน (L-arginine) คือหน่วยเคมีโครงสร้างของโปรตีนที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” (amino acid) ที่สามารถหาได้จากการรับประทานอาหาร และเป็นเคมีที่จำเป็นต่อการผลิตโปรตีนของร่างกาย แอลอาร์จินินถูกพบอยู่ในเนื้อแดง เนื้อสัตว์ปีก ปลา ถั่ว ธัญพืช และอาหารจำพวกนม อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตแอลอาร์จินินได้จากห้องปฏิบัติการและนำไปใช้เป็นยาได้อีกด้วย
แอลอาร์จินินถูกใช้รักษาภาวะหัวใจและและหลอดเลือดต่าง ๆ อย่างภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure(CHF)), เจ็บหน้าอก, ความดันโลหิตสูง, และโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) แอลอาร์จินินยังถูกใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังที่ขาเนื่องจากเส้นเลือดอุดตัน (อาการปวดขาจากประสาท (intermittent claudication)), ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (senile dementia), เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED)), และภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
บางคนใช้แอลอาร์จินินในการป้องกันไข้หวัด เพิ่มการทำงานของไตหลังการปลูกถ่าย ควบคุมความดันโลหิตระหว่างตั้งครรภ์ (pre-eclampsia) เพิ่มความสามารถทางกีฬา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันภาวะอักเสบที่ระบบย่อยอาหารในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
แอลอาร์จินินถูกใช้ร่วมกับยารักษาและยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปมากมายเพื่อรักษาภาวะต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นใช้ร่วมกับ ibuprofen ในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ร่วมกับยาที่ใช้ในการบำบัดเคมีรักษามะเร็งเต้านม ร่วมกับกรดอะมิโนเพื่อรักษาภาวะน้ำหนักลดเนื่องจาก AIDS และร่วมกับน้ำมันปลา (fish oil) และอาหารเสริมอื่น ๆ เพื่อลดการติดเชื้อ เร่งกระบวนการสมานตัวของบาดแผล และร่นระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัด เป็นต้น
บางคนใช้วิธีทาแอลอาร์จินินที่ผิวหนังเพื่อเร่งกระบวนการสมานบาดแผลและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังมือและเท้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะมือเท้าเย็น อีกทั้งแอลอาร์จินินในรูปแบบครีมยังมีไว้แก้ไขปัญหาด้านเพศทั้งในผู้หญิงและผู้ชายอีกด้วย
แอลอาร์จินินออกฤทธิ์อย่างไร?
แอลอาร์จินินถูกปรับเปลี่ยนภายในร่างกายให้กลายเป็นสารเคมีที่เรียกว่า nitric oxide ซึ่งสารเคมีนี้เองที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัวให้กว้างขึ้นจนเพิ่มการไหลเวียนโลหิต อีกทั้งแอลอาร์จินินยังกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโต, อินซูลิน, และสาระสำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย
การใช้และประสิทธิภาพของแอลอาร์จินิน
ภาวะที่อาจใช้แอลอาร์จินินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อาการเจ็บหน้าอก (angina) การรับประทานแอลอาร์จินินอาจช่วยลดอาการและเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกายและคุณภาพชิวิตของผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกได้ อย่างไรก็ตามตัวแอลอาร์จินินอาจไม่สามารถช่วยรักษาโรคต้นเหตุได้
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชาย (Erectile dysfunction (ED)) การรับประทานแอลอาร์จินิน 5 กรัมต่อวันอาจช่วยเพิ่มความสามารถทางเพศของผู้ชายที่เป็น ED ได้ โดยการทานในปริมาณที่ต่ำว่านั้นอาจจะไม่ส่งผลใด ๆ อย่างไรก็ตามก็มีหลักฐานว่าการเพิ่ม Pycnogenol อีก 40 mg สามครั้งต่อวันก็อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแอลอาร์จินินที่ใช้ในปริมาณต่ำได้
- ความดันโลหิตสูง มีหลักฐานว่าการรับประทานแอลอาร์จินินสามารถลดความดันโลหิตของผู้ที่มีสุขภาพดี, ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, และผู้ที่มีความดันสูงเล็กน้อยที่เป็นและไม่เป็นเบาหวานได้
- การอักเสบของระบบย่อยอาหารในทารกคลอดก่อนกำหนด การเติมแอลอาร์จินินผสมในนมชงอาจช่วยป้องกันการอักเสบของระบบย่อยอาหารของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้
- ภาวะดื้อยาไนเตรต (Nitrate tolerance) การทานแอลอาร์จินิน 700 mg สี่ครั้งต่อวันอาจช่วยป้องกันการดื้อยาไนเตรตของผู้ที่กำลังรักษาอาการเจ็บหน้าอก (angina pectoris) ได้
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease) งานวิจัยกล่าวว่าการทานหรือฉีดแอลอาร์จินินเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์จะเพิ่มการไหลเวียนโลหิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายได้ อย่างไรก็ตามการใช้แอลอาร์จินินในระยะยาว (นานกว่า 6 เดือน) อาจไม่ช่วยเพิ่มความเร็วหรือระยะทางในการเดินของผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่อย่างใด
- ช่วยฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัด การทานแอลอาร์จินินร่วมกับ ribonucleic acid (RNA) และ eicosapentaenoic acid (EPA) ก่อนหรือหลังจากเข้ารับการผ่าตัดอาจช่วยลดระยะเวลาพักฟื้น, ลดจำนวนของการติดเชื้อ, และเร่งกระบวนการสมานบาดแผลผ่าตัดขึ้น
- ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ (pre-eclampsia) แม้ว่าจะมีรายงานผลของการใช้แอลอาร์จินินกับภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างมีครรภ์ที่ไม่สอดคล้องซึ่งกันและกัน แต่งานวิจัยส่วนมากก็สรุปกันว่าแอลอาร์จินินสามารถลดความดันของสตรีที่มีปัญหานี้ได้
ภาวะที่แอลอาร์จินินอาจไม่สามารถรักษาได้
- โรคไต (Kidney disease) งานวิจัยส่วนมากกล่าวว่าการใช้แอลอาร์จินินทั้งแบบรับประทานนาน 6 เดือน หรือฉีดเข้าเส้นเลือดในระยะเวลาสั้นนั้นไม่อาจช่วยเพิ่มการทำงานของไตในผู้ป่วยไตล้มเหลวหรือโรคไตได้ อย่างไรก็ตามการใช้แอลอาร์จินิน 1.3 กรัมทุกวันอาจช่วยเพิ่มการทำงานของไตและแก้ไขภาวะโลหิตจาง (anemia) ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตที่เกี่ยวข้องกับโลหิตจางได้
- ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart attack) การทานแอลอาร์จินินไม่อาจป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ อีกทั้งยังไม่สามารถนำไปใช้รักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้ ในความเป็นจริงแล้วกลับมีข้อกังวลว่าแอลอาร์จินินอาจส่งผลเสียต่อผู้ที่เคยประสบกับภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมาเมื่อไม่นานมานี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นหากคุณเคยประสบเหตุเช่นนี้จึงควรงดการใช้แอลอาร์จินิน
- สมานบาดแผล การทานแอลอาร์จินินไม่อาจเร่งกระบวนการสมานตัวของบาดแผลได้
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้แอลอาร์จินินรักษาได้หรือไม่
- ร่างกายโทรมที่เกี่ยวข้องกับ AIDS การทานแอลอาร์จินินร่วมกับ hydroxymethylbutyrate (HMB) และ glutamine นาน 8 สัปดาห์อาจช่วยเพิ่มน้ำหนักร่างกายและการทำงานของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย HIV/AIDS ได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานแอลอาร์จินินร่วมกับกรดไขมันโอเมก้า 3 และอาหารเสริมโภชนาการที่สมดุลนาน 6 เดือนกลับไม่อาจเพิ่มมวลไขมันหรือน้ำหนักร่างกาย, ปริมาณการรับพลังงาน, หรือการทำงานของภูมิคุ้มกันของผู้ที่เป็น HIV-positive ได้
- เมาอากาศ (Altitude sickness) งานวิจัยกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินินไม่อาจลดอาการเมาอากาศได้
- แผลรอยแยกขอบทวารหนัก (Anal fissures) ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้แอลอาร์จินินรักษาแผลรอยแยกขอบทวารที่ไม่สอดคล้องกันอยู่ โดยมีรายงานว่าการทาเจลภายนอกที่ประกอบด้วยแอลอาร์จินินเป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์อาจช่วยเยียวยาแผลรอยแตกที่ขอบทวารของผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปรกติได้ อย่างไรก็ตามการทาแอลอาร์จินินบนผิวหนังไม่อาจให้ผลที่ดีไปกว่าการผ่าตัดรักษาแผลรอยแยกขอบทวารหนักแต่อย่างใด
- มะเร็งเต้านม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานแอลอาร์จินินก่อนเข้ารับการบำบัดเคมีไม่อาจเพิ่มอัตราการตอบสนองต่อการรักษามะเร็งเต้านมได้
- หัวใจล้มเหลว การทานแอลอาร์จินินร่วมกับการรักษาตามแบบแผนอาจเพิ่มการทำงานของไตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็ไม่อาจเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย, คุณภาพชีวิต, หรือการไหลเวียนโลหิตได้ อีกทั้งการใช้แอลอาร์จินินก็ไม่ควรใช้ทดแทนการรักษาตามปรกติ
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft (CABG)) มีหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของแอลอาร์จินินที่มีต่อการป้องกันหัวใจระหว่าง CABG ที่ไม่สอดคล้องกันอยู่ บ้างก็กล่าวว่าการให้แอลอาร์จินินเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) อาจช่วยผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้จริง บ้างก็พบว่าการใช้แอลอาร์จินินไม่ได้ส่งผลใด ๆ ต่อตัวคนไข้
- หลอดเลือดอุดตัน (โรคหลอดเลือดหัวใจ) งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการฉีดแอลอาร์จินินเข้าเส้นเลือดก่อนออกกำลังสามารถเพิ่มการทำงานของหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังหัวใจแต่อย่างใด
- ภาวะบาดเจ็บ (trauma) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานแอลอาร์จินินร่วมกับ glutamine, nucleotides, และกรดโอเมก้า 3 จะลดระยะเวลาพักฟื้นและความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วยรุนแรงได้บ้าง อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็ไม่อาจลดอัตราการเสียชีวิตได้
- สูญเสียความทรงจำ (โรคสมองเสื่อม (dementia)) งานวิจัยกล่าวว่าแอลอาร์จินินอาจช่วยในเรื่องการสูญเสียความทรงจำที่เกิดจากอายุที่มากขึ้นได้
- ฟันผุ (Cavities) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้มินท์ปราศจากน้ำตาลที่ประกอบด้วย arginine complex (CaviStat) เป็นเวลาหนึ่งปีสามารถลดจำนวนฟันผุที่แถบฟันกรามของเด็กได้เมื่อเทียบกับการใช้มินท์ปราศจากน้ำตาลที่ไม่ได้มี arginine
- เสียวฟัน (Sensitive teeth) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ยาสีฟันที่ประกอบด้วย arginine, calcium, และ fluoride สองครั้งต่อวันสามารถลดอาการเสียวฟันได้
- เบาหวาน (Diabetes) การทานแอลอาร์จินินอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานได้ อย่างไรก็ตามก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าแอลอาร์จินินสามารถป้องกันผู้ที่มีอาการก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) ไม่ให้เป็นเบาหวานได้ไหม
- แผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาแอลอาร์จินินที่เท้าทุกวันสามารถเพิ่มการไหลเวียนโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดแผลที่เท้าจากเบาหวานได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นแผลที่มีอยู่ก่อนแล้ว การฉีดแอลอาร์จินินใต้ผิวหนังใกล้แผลอาจไม่ช่วยร่นระยะเวลาฟื้นตัวหรือลดโอกาสที่ต้องตัดอวัยวะในอนาคตแต่อย่างใด
- เส้นประสาทเสียหายจากเบาหวาน งานวิจัยกล่าวว่าการทานหรือฉีดแอลอาร์จินินทุกวันนาน 3 เดือนไม่อาจรักษาความเสียหายที่เส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวานได้
- ปัญหากล้ามเนื้อในหลอดอาหาร งานวิจัยกล่าวว่าการทานหรือฉีดแอลอาร์จินินสามารถลดจำนวนและความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกของผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาหัวใจได้
- ศักยภาพการออกกำลังกาย ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับผลของการใช้แอลอาร์จินินกับประสิทธิภาพการออกกำลังกายที่ไม่สอดคล้องกันอยู่ บ้างก็พบว่าการดื่มแอลอาร์จินิน6 กรัมจะเพิ่มระยะเวลาออกกำลังกายจนกว่าจะเหนื่อยขึ้น อีกทั้งการเติม arginine ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่นองก็ช่วยเพิ่มความสามารถในการออกแรงของผู้ชายขึ้นและลดขีดจำกัดความเหนื่อยลง อย่างไรก็ตามการทาน arginine 6 กรัมเพียงครั้งเดียวไม่อาจส่งผลต่อความแข็งแรงระหว่างการออกกำลังแต่อย่างใด
- มะเร็งศีรษะและลำคอ การเสริมโภชนาการทางหลอดส่งอาหารด้วยแอลอาร์จินินไม่อาจเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน, ไม่ช่วยลดขนาดเนื้องอก, หรือเร่งกระบวนการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอแต่อย่างใด
- ปลูกถ่ายหัวใจ งานวิจัยกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินินนาน 6 สัปดาห์จะเพิ่มระยะทางการเดินและเพิ่มการหายใจของผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจขึ้น
- ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ยังคงมีหลักฐานเรื่องประสิทธิภาพของแอลอาร์จินินกับภาวะมีบุตรยากที่ไม่สอดคล้องกันอยู่ บ้างก็กล่าวว่าการทานแอลอาร์จินิน 16 กรัมทุกวันจะเพิ่มจำนวนไข่ของผู้หญิงที่เก็บได้ในระหว่าง IVF อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็อาจไม่เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ขึ้น ส่วนงานวิจัยอื่นกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินินไม่ได้ช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อของผู้ชายที่เป็นภาวะมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่ได้
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การทานแอลอาร์จินินอาจลดความเจ็บปวดและอาการบางอย่างของภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ แม้ว่าผลที่สังเกตเห็นอาจต้องใช้เวลามากกว่า 3 เดือนถึงจะเห็นผล อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็อาจไม่ได้ช่วยลดความอยากปัสสาวะในตอนกลางคืนหรือเพิ่มความถี่ของการถ่ายปัสสาวะแต่อย่างใด
- ตัวอ่อนในครรภ์เจริญเติบโตไม่ดี งานวิจัยกล่าว่าการทานแอลอาร์จินินระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มน้ำหนักแรกเกิดของทารกที่มีการเจริญเติบโตในครรภ์ต่ำได้ อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินก็ไม่อาจเพิ่มน้ำหนักแรกเกิดหรือลดความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะตายหากตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตในครรภ์ที่ย่ำแย่เกินไปได้
- Mitochondrial encephalomyopathies (กลุ่มภาวะผิดปรกติที่ทำให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อและระบบประสาท) มีความพยายามที่จะใช้แอลอาร์จินินเพื่อรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับ MELAS (myoclonic epilepsy with lactic acidosis and stroke-like episodes) โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าการให้แอลอาร์จินินทางเส้นเลือดภายในหนึ่งชั่วโมงที่มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง (stroke-like symptoms) จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ตาบอด, และลดการมองเห็นจุดแสงของผู้ป่วยภาวะนี้ได้
- ปวดศีรษะไมเกรน การทานแอลอาร์จินินร่วมกับยาแก้ปวด ibuprofen อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนอย่างมาก ซึ่งการใช้ยาร่วมกันนี้บางครั้งอาจออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที อย่างไรก็ตามก็เป็นการยากที่จะบอกว่าฤทธิ์บรรเทาปวดนี้เป็นผลมาจากแอลอาร์จินินหรือยาแก้ปวดกันแน่
- ภาวะอ้วน (Obesity) งานวิจัยกล่าวว่าการทานอาหารเสริม arginine (NOW Foods, Bloomingdale, IL) 3 กรัมสามครั้งต่อวันอาจลดขนาดรอบเอวและน้ำหนักของผู้หญิงได้
- โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน N-acetyl-cysteine ร่วมกับแอลอาร์จินินทุกวันนาน 6 เดือนสามารถปรับการทำงานของรอบประจำเดือนและลดภาวะดื้อยาอินซูลินของผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้
- หลอดเลือดตีบซ้ำ (restenosis) งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการให้แอลอาร์จินินระหว่างการปลูกฝังลวดดามร่วมกับการรับประทานอาหารเสริมแอลอาร์จินินอีก 2 อาทิตย์หลังการผ่าตัดปลูกฝังลวดดามหลอดเลือดไม่อาจลดความเสี่ยงที่จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดซ้ำ อย่างไรก็ตามก็มีหลักฐานอื่น ๆ ที่ชี้ว่าการฉีดแอลอาร์จินิน ณ จุดที่ฝังลวดดามอาจช่วยลดการหนาตัวของผนังหลอดเลือดได้
- ปลูกถ่ายไต ยังคงมีหลักฐานเรื่องผลกระทบจากการใช้แอลอาร์จินินกับผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตที่ขัดแย้งกันอยู่จึงยังคงสรุปไม่ได้ว่าแอลอาร์จินินสามารถช่วยผู้ป่วยที่ต้องปลูกถ่ายไตได้หรือไม่
- ภาวะติดเชื้อที่ระบบหายใจ งานวิจัยกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินินนาน 60 วันช่วยป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อซ้ำที่ระบบหายใจในเด็กได้
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell disease) งานวิจัยกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินิน 5 วันอาจช่วยผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวที่มีความดันโลหิตในปอดสูงได้
- ความเครียด งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการทานแอลอาร์จินินร่วมกับแอลไลซีน (L-lysine) นาน 10 วันสามารถลดภาวะเครียดและภาวะวิตกกังวลของผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเครียดได้
- ป้องกันไข้หวัด
- แผลกดทับ (Pressure ulcers)
- ปัญหาทางเพศในผู้หญิง
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของแอลอาร์จินินเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของแอลอาร์จินิน
แอลอาร์จินินถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อบริโภคเข้าไป, ฉีดเข้าร่างกาย, หรือทาบนผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสมและภายในระยะเวลาสั้น ๆ แอลอาร์จินินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างเช่นปวดท้อง, ท้องอืด, ท้องร่วง, เก๊าท์, เลือดผิดปรกติ, ภูมิแพ้, หลอดลมอักเสบ, หอบหืดทรุด, และความดันโลหิตต่ำได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: แอลอาร์จินินถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยหากใช้ในระยะเวลาไม่นานระหว่างที่มีครรภ์ แต่ ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แอลอาร์จินินในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้แอลอาร์จินินเพื่อความปลอดภัย
เด็ก: ทารกแรกเกินสามารถรับประทานแอลอาร์จินินได้โดยถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามแอลอาร์จินินจะถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยหากใช้กับเด็กในปริมาณสูง ซึ่งการใช้ที่มากเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ภูมิแพ้หรือหอบหืด: แอลอาร์จินินสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือทำให้อาการบวมในหลอดลมรุนแรงขึ้นมาได้ หากคุณมีแนวโน้มจะแพ้หรือเป็นหอบหืดและตัดสินใจจะใช้แอลอาร์จินิน ควรใช้แอลอาร์จินินด้วยความระมัดระวัง
ตับแข็ง (Cirrhosis): ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรมีการใช้แอลอาร์จินินอย่างระมัดระวัง
Guanidinoacetate methyltransferase deficiency: ภาวะนี้คือโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยน arginine และสารเคมีอื่น ๆ ที่คล้ายกันให้เป็น creatine เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ คนในกลุ่มนี้ควรงดการใช้แอลอาร์จินินจะดีที่สุด
โรคเริม (Herpes): มีข้อกังวลว่าแอลอาร์จินินอาจทำให้อาการของโรคเริมทรุดลงได้ อีกทั้งมีหลักฐานว่าแอลอาร์จินินจะทำให้ไวรัสเริมเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความดันโลหิตต่ำ: แอลอาร์จินินอาจลดความดันโลหิตลงได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากหากคุณมีปัญหาความดันต่ำอยู่ก่อน
เคยประสบกับภาวะหัวใจวายเมื่อไม่นานมานี้: มีข้อกังวลว่าแอลอาร์จินินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังหัวใจวายได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หากคุณเคยประสบกับภาวะหัวใจวายไม่นานมานี้ไม่ควรทานแอลอาร์จินินเด็ดขาด
โรคไต: แอลอาร์จินินทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมสูงขึ้นหากคุณเป็นโรคไต ในบางกรณีเหตุการณ์เช่นนี้อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การผ่าตัด: แอลอาร์จินินอาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้ จึงมีข้อกังวลว่าแอลอาร์จินินอาจรบกวนความดันเลือดที่ต้องถูกควบคุมไว้ระหว่างหรือหลังจากผ่าตัด ดังนั้นควรหยุดแอลอาร์จินินก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคเบาหวาน: แอลอาร์จินินอาจลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ ดังนั้นหากใช้ยารักษาโรคเบาหวานอยู่ อาจจะต้องมีการปรับโดสยา
การใช้แอลอาร์จินินร่วมกับยาชนิดอื่น
ใช้แอลอาร์จินินร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Antihypertensive drugs) กับแอลอาร์จินิน
แอลอาร์จินินจะลดความดันโลหิตลง ดังนั้นการทานแอลอาร์จินินร่วมกับยาสำหรับลดความดันโลหิตอาจทำให้ความดันเลือดของคุณตกลงต่ำเกินไป โดยตัวอย่างยาที่มีไว้สำหรับความดันโลหิตสูงมีดังนี้ captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), Amlodipine (Norvasc), hydrochlorothiazide (HydroDiuril), furosemide (Lasix), และอื่น ๆ มากมาย
- ยาสำหรับเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่หัวใจ (Nitrates) กับแอลอาร์จินิน
แอลอาร์จินินจะเพิ่มการไหลเวียนโลหิตขึ้น ดังนั้นการทานแอลอาร์จินินร่วมกับยาสำหรับเพิ่มการไหลเวียนโลหิตอาจเพิ่มโอกาสที่จะประสบกับอาการวิงเวียนและหมดสติได้ โดยตัวอย่างยาที่มีไว้สำหรับเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่หัวใจมีทั้ง nitroglycerin (Nitro-Bid, Nitro-Dur, Nitrostat), และ isosorbide (Imdur, Isordil, Sorbitrate)
- Sildenafil (Viagra) กับแอลอาร์จินิน
Sildenafil (Viagra) สามารถลดระดับความดันเลือดได้ ซึ่งแอลอาร์จินินเองก็ส่งผลต่อการลดลงของความดันโลหิตเช่นกัน ดังนั้นการทาน Sildenafil (Viagra) ร่วมกับแอลอาร์จินินจะทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไปได้ซึ่งจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนและผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา
ปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
รับประทาน:
- สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว: ปริมาณจะอยู่ที่ 6-20 กรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นสามโดส
- สำหรับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (angina pectoris): 3-6 กรัม สามครั้งต่อวันนานหนึ่งเดือน
- สำหรับป้องกันการสูญเสียประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดของ nitroglycerin ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการเจ็บหน้าอก (angina pectoris): 700 mg สี่ครั้งต่อวัน
- สำหรับเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED)): 5 กรัมต่อวัน แต่หากเป็นการทานในปริมาณที่ต่ำกว่านั้นจะไม่ส่งผลใด ๆ
- สำหรับป้องกันการอักเสบของระบบย่อยอาหารของทารกที่คลอดก่อนกำหนด: 261 mg/kg ในนมทุกวันในช่วง 28 วันแรกที่คลอดออกมา