กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งที่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเต้านม
  • โรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1A มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และ 1B มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ร่วมกับมีกลุ่มเซลล์มะเร็งเล็กๆ ในต่อมน้ำเหลือง หรือไม่มีก้อนในเต้านม แต่มีกลุ่มเซลล์มะเร็งไม่เกิน 2 เซนติเมตรในต่อมน้ำเหลือง
  • โรคมะเร็งเต้านมระยะแรกสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และหากเข้ารับการการรักษาอย่างครบถ้วน จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุดถึง 100%
  • แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ประเภท ความรุนแรง การลุกลาม หรือฮอร์โมน โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดความกลัว หรือกังวลใจได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ เพราะโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ มีโอกาสรักษาหายสูงมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะของโรคมะเร็งเต้านม (Stage of Cancer) คืออะไร?

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 ควรทำความเข้าใจการแบ่งระยะของโรคมะเร็งเสียก่อน โดยโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะแบ่งระยะของโรคด้วยระบบ TNM มีรายละเอียดดังนี้

  • T (Tumor) หมายถึง ขนาดก้อน
  • N (Lymph nodes) หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งลุกลามไป
  • M (Metastasis) หมายถึง การแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น

ผลที่ได้จากการแบ่งระยะโรคด้วยระบบ TNM จะถูกนำมาจัดอีกครั้งเป็นระยะ 0, 1, 2, 3 และ 4 นั่นเอง

รู้จักกับมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งเต้านมระยะ 0 จะถูกจัดเป็น T0N0M0 คือ เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งที่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเต้านม

ในขณะที่มะเร็งเต้านมระยะ 1 หากมีค่าเป็น T1 จะหมายความว่า มีก้อนขนาดเล็กกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร และอาจมีการแพร่กระจายในระดับที่ตามองไม่เห็นน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.1 เซนติเมตร

แต่หากมีค่าเป็น N1 จะหมายความว่า ไม่พบก้อนในเต้านม แต่พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง

มะเร็งเต้านมระยะ 1 แบบ 1A และ 1B คืออะไร?

มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 ยังสามารถแบ่งย่อยเป็นแบบ 1A และ 1B ได้อีกด้วย โดยพิจารณาจากขนาดของเนื้องอก และการตรวจพบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มะเร็งเต้านมระยะ 1A มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และไม่มีก้อน หรือเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งเต้านมระยะ 1B มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร มีกลุ่มเซลล์มะเร็งเล็กๆ ในต่อมน้ำเหลือง หรือไม่มีก้อนในเต้านม แต่มีกลุ่มเซลล์มะเร็งขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 2 เซนติเมตรในต่อมน้ำเหลือง

อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

จากข้อมูลของ National Cancer Database พบว่า มะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 มีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี 100% สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาครบถ้วน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 5 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย

ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะได้พบแพทย์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี เพื่อติดตามให้แน่ใจว่า การฟื้นตัวเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่จำเป็นต้องมีการรักษาสำหรับการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งหากสามารถควบคุมโรคได้เป็นเวลานานขนาดนั้นแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกก็ลดลงมาก 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจต้องเผชิญกับโรค หรือภาวะอื่นๆ ที่เกิดจากการกระบวนการรักษาโรคมะเร็ง แต่ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมระยะแรก

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เช่น 

  • ลักษณะความรุนแรงของเซลล์มะเร็ง
  • ฮอร์โมน 
  • ผลการทดสอบโปรตีนที่มีส่วนต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (HER 2/neu status) 
  • การกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 
  • ขอบเขตของการผ่าตัด
  • สารบ่งชี้มะเร็ง 

ระยะของโรคเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยที่แพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยต้องนำมาพิจารณาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแนวทางการรักษามีหลายรูปแบบ เช่น 

  • ตัดก้อนมะเร็งออก (Lumpectomy) ร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซ็นติเนล (Centinel node biopsy) ต่อด้วยการฉายแสง และให้ฮอร์โมนบำบัดเป็นระยะเวลา 5 ปี 
  • หากก้อนมะเร็งอยู่ลึก หรือมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่ชัดเจน แพทย์อาจใช้วิธีการตัดเนื้อเต้านมออก แล้วเสริมสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูเรื่องการกระจายของโรค

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีใด แพทย์จะแนะนำให้มีการรักษาร่วมเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรืออาจใช้หลายแบบร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาในแง่อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์อ่อนไหวมากพอๆ กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะท้ายๆ แม้ว่า ในความจริงแล้วระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันมากก็ตาม

ในเบื้องต้นแนะนำให้มองหากลุ่มช่วยเหลือ หรือผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยคล้ายๆ กัน เพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นจากผู้มีประสบการณ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้แบ่งปันอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งอาจช่วยให้บรรเทาความเครียด และความกังวลใจลงได้

หลังจากนั้นผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาและดูแลร่างกายตัวเองตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ให้คิดไว้เสมอว่า โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ นั้น สามารถรักษาให้หายได้ และหลังจากรักษาหายแล้วก็อย่าลืมตรวจติดตามอาการ โดยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Breast cancer statistics. (2019). (https://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/statistics)
U.S. Preventive Services Task Force. (2019). Risk assessment, genetic counseling, and genetic testing for BRCA-related cancer. (https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2748515)
Qaseem, A., et al.. (2019). Screening for breast cancer in average-risk women: A guidance statement from the American College of Physicians. (https://annals.org/aim/fullarticle/2730520/screening-breast-cancer-average-risk-women-guidance-statement-from-american)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม
รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

รักษามะเร็งเต้านมมีกี่วิธี มีผลกระทบยังไง รักษานานแค่ไหน มาดูกัน

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ความเสี่ยงมีมากขนาดไหน รักษาหายได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

รู้เท่าทันโรคมะเร็งหายากที่เกิดขึ้นได้กับเต้านม

อ่านเพิ่ม