กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

รวมครบจบในบทความเดียวเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ภายในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนมแบ่งตัวผิดปกติ จนทำให้เกิดเซลล์มะเร็งภายในเต้านม และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะอื่นๆ หากรักษาไม่ทันเวลา
  • มะเร็งเต้านมแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยมีอาการหลักๆ คือ เต้านม 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน มีรอยบุ๋ม ลานนม หัวนม ผิวเต้านมมีสีเปลี่ยนไป มีของเหลวสีเหลือง หรือเลือดไหลออกมาจากเต้านม มีอาการปวดเจ็บที่เต้านม รู้สึกอ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  • คุณสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเอง ผ่านวิธีการยกแขนเหนือศีรษะ แล้วดูลักษณะเต้านมจากกระจก และการคลำกดเต้านมด้วยตนเอง 
  • โรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้หลายวิธี ทั้งการผ่าตัด ทำคีโม ฉายแสง ใช้ฮอร์โมนบำบัด แต่ถึงแม้รักษาหายแล้ว ผู้ป่วยก็ยังต้องมาตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมอีก เนื่องจากผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน ก็สามารถกลับมาเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้อีกครั้ง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

เมื่อได้ยินชื่อ “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้หญิงเกือบทุกคนต้องเกิดความกังวลขึ้นไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะผู้หญิงในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าคนปกติ เพราะโรคมะเร็งเต้านมจัดเป็นโรคที่เกิดในผู้หญิง และพรากชีวิตผู้หญิงมากมายไปเป็นอันดับ 1 ของโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย

ความหมายของโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) คือ โรคซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ภายในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนมจนกลายเป็นเชื้อมะเร็ง จากนั้นก็เริ่มแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง และลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงในกลุ่มต่อไปนี้ จัดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากกว่าปกติ

  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งมาก่อน โดยเฉพาะในญาติผู้หญิง เช่น ย่า ยาย แม่ พี่สาว
  • ผู้หญิงที่มีขนาด และลักษณะหน้าอกเต่งตึงกว่าอายุที่เหมาะสม
  • ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35-40 ปี แต่ส่วนมากโรคมะเร็งเต้านมจะพบได้มากในผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปี
  • ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งส่วนอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้หญิงที่มีบุตรในช่วงอายุมากกว่า 30 รวมถึงผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และประจำเดือนหมดช้าหลังจากอายุ 55 ปีไปแล้ว
  • ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้หญิงที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมีภาวะอ้วน
  • ผู้หญิงที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อนแล้ว
  • ผู้หญิงที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เรื้อรัง

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

อาการแสดงที่มักพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จะได้แก่

  • อ่อนเพลียอย่างหนัก
  • คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม หรือที่รักแร้
  • มีอาการปวดเจ็บที่เต้านม
  • เต้านม 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน และมีรูปร่างเปลี่ยนไป
  • เต้านมมีรอยบุ๋ม
  • สีผิวเต้านม หัวนม และลานนมเปลี่ยนไป รวมถึงผื่นขึ้น มีรอยย่นซึ่งไม่มีที่มาที่ไปเกิดขึ้น
  • มีของเหลวสีเหลือง สีเขียว หรือเลือดไหลออกาจากหัวนม

ผู้หญิงหลายคนเมื่อมีอาการปวดเต้านมก็มักจะเหมารวมว่า เป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป และยังต้องมีอาการร่วมอื่นๆ เข้ามาเป็นตัวชี้ว่า คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วย 

หากคุณมีอาการปวดเต้านมแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ก็อาจไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ และบอกอาการที่เกิดขึ้นเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยต่อไปว่า เกิดจากอะไร

ระยะของโรคมะเร็งเต้านม

ระยะของโรคมะเร็งเต้านมซึ่งมีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1

เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งยังอยู่ในขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร อาจมีการแพร่กระจายในระดับมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า

โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 สามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ ระยะ 1A เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ยังไม่เป็นก้อนะเร็ง หรือเป็นเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง

อีกแบบคือ ระยะ 1B เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตรเช่นกัน แต่จะมีกลุ่มเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร แต่ไม่ถึง 2 เซนติเมตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 อาจยังไม่มีการแสดงออกมามากมาย แต่อาจรู้สึกเจ็บ หรือปวดที่เต้านม ซึ่งไม่ใช่อาการของการมีประจำเดือน เริ่มอ่อนเพลีย มีผื่นขึ้นที่เต้านม แต่มักเกิดขึ้นได้น้อย หรือแทบจะไม่มีอาการแสดงออกมาเลยก็ได้

อ่านเพิ่มเติม: โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เป็นอย่างไร

ระยะที่ 2

เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งอยู่ในขนาดประมาณ 2-5 เซนติเมตร หรืออาจใหญ่กว่านั้นก็ได้ และมักจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือบริเวณใกล้เคียงแล้วด้วย

สัญญาณของอาการโรคมะเร็งเต้านมในระยะนี้ก็ยังถือว่า มีน้อย ผู้ป่วยจึงมักยังไม่รู้ตัวว่า ตนเองเป็นโรคมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติม: โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 มีกี่กลุ่ม ลุกลามแพร่กระจายไปถึงไหนแล้ว

ระยะที่ 3

เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตรไปแล้ว และลุกลามไปถึงผนังต้านม กล้ามเนื้อหน้าอกใต้เต้านม รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาจไม่ใช่แค่บริเวณรักแร้เท่านั้น แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 นี้ หากผิวหนังเต้านมบวม หรือพบว่า โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากแผลของโรคมะเร็งก่อนหน้า แสดงว่า ผู้ป่วยอาจเป็นโรคมะเร็งแบบอักเสบ (Inflammatory breast cancer: IBC)

อ่านเพิ่มเติม: รวมรายละเอียดโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 

ระยะที่ 4

เป็นระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งเต้านม โดยเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ นอกเหนือจากต่อมน้ำเหลืองแล้ว และผู้ป่วยจะมีอาการแสดงทางร่างกายอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเห็นได้ชัด

หากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะนี้แล้ว และวิธีรักษาต่างๆ ไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ เชื้อมะเร็งก็อาจไม่หยุดการแบ่งตัว และจะลุกลามไปหาอวัยวะอื่นๆ ทางกระแสเลือด หรือทางน้ำเหลืองอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่สมอง ปอด ตับ กระดูก

วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. การตรวจด้วยตนเอง
  2. การตรวจวินิจฉัยกับแพทย์

1. การตรวจด้วยตนเอง

เป็นการตรวจหาก้อนมะเร็งเต้านมผ่านการดู และคลำหาก้อนมะเร็ง โดยวิธีตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองสามารถใช้เป็นวิธีตรวจหาความเสี่ยง และป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ โดยควรตรวจเดือนละ 1 ครั้ง

  • วิธีสำรวจดูเต้านม เริ่มจากยืนตรงหน้ากระจก ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อสังเกตว่า เต้านมมีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีก้อนนูน มีรอยบุ๋ม ขนาดเต้านมไม่เท่ากัน 2 สีเต้านมกับหัวนมเปลี่ยนไป
    จากนั้นให้เท้าสะเอว 2 ข้าง เกร็งตัวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า สังเกตว่า หน้าอกมีรอยดึงรั้งที่ผิวเต้านมหรือไม่

  • วิธีคลำเต้านม จะคลำทั้งหมด 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณรักแร้กับเหนือไหปลาร้า กับบริเวณเต้านม วิธีคลำ คือ การกดหนักไปทั่วเต้านม ไม่ใช่บีบ สามารถคลำได้ทั้งท่านอน ท่านั่ง และท่าระหว่างอาบน้ำ โดยอาศัยช่วงที่ผิวลื่นจากน้ำในการคลำหาก้อนมะเร็ง

อ่านเพิ่มเติม: รวมขั้นตอนการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ต้องทำท่ายังไง มีกี่ท่า

2. การตรวจวินิจฉัยกับแพทย์

จะเป็นการที่โรงพยาบาลกับแพทย์เฉพาะทาง โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นที่นิยมมี 3 วิธี ได้แก่

  • การตรวจทางรังสีด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเช่นเดียวกับการตรวจแบบอัลตราซาวด์ แต่จะใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่า สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก หรือไม่สามารถคลำหาเจอได้

  • การตรวจแบบอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูงยิงเข้าไปในเต้านมแล้วสะท้อนกลับที่ตัวเครื่อง

  • การนำเซลล์ไปตรวจผ่านการใช้เข็มเจาะที่เต้านม (Fine Needle Aspiration: FNA) เป็นการตรวจโดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กเจาะเข้าไปในก้อนเนื้อเต้านม แล้วดูดเอาเซลล์ของเนื้อเต้านมด้านนั้นออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบการตรวจโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธีทำแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

วิธีรักษาโรคมะเร็งสามารถแบ่งออกได้หลัก 5 วิธี ได้แก่

  • วิธีรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery) ซึ่งแบ่งออกได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับการลุกลาม และความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยบางรายอาจต้องตัดเต้านมออกทั้งหมด ผู้ป่วยบางรายอาจแค่ตัดเต้านมออกเพียงบางส่วน
  • วิธีรักษาโดยการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือเรียกอีกอย่างว่า “การทำคีโม” เป็นการรักษาโดยให้ยาซึ่งมีคุณสมบัติเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง
  • วิธีรักษาโดยการใช้รังสีรักษา (Radiotherapy) หรือเรียกอีกอย่างว่า “การฉายแสง” เป็นการรักษาโดยการปล่อยอนุภาครังสีเข้าไปหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง มักรักษาร่วมกับวิธีการผ่าตัด
  • วิธีรักษาโดยใช้ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy) เพราะโรคมะเร็งเต้านมนั้นเกิดได้จากฮอร์โมนในร่างกาย แพทย์จึงอาจใช้ยายับยั้งสารฮอร์โมนในตัวผู้ป่วยให้ลดลง โดยเรียกได้อีกอย่างว่า “ยาต้านฮอร์โมน”
  • วิธีรักษาโดยใช้ยาซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะ (Targeted Therapy) เป็นการรักษาโดยใช้ยากลุ่มใหม่ซึ่งสามารถรับสัญญาณของผิวเซลล์ในเต้านมได้ เมื่อผู้ป่วยใช้ยาตัวนี้แล้วตัวยาจับสัญญาณเซลล์มะเร็งได้ ยาก็จะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งให้หายไป

อ่านเพิ่มเติม: รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม 

วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านมโดยหลักๆ จะเป็นการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม ได้แก่

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผลเบอร์รี พืชตระกูลกะหล่ำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ระมัดระวังในการใช้ยาคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด
  • ระมัดระวังในการใช้ยาฮอร์โมนบำบัด
  • หมั่นไปตรวจสุขภาพ และความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติม: อยากป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ต้องทำอย่างไรบ้าง

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรมองข้าม และถึงแม้คุณจะไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคนี้ ก็ยังมีโอกาสที่คุณจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมอยู่ 

คุณจึงควรรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคนี้เอาไว้ เพื่อจะได้รู้เท่าทันความร้ายแรงเกี่ยวกับโรคนี้ และสามารถสังเกตอาการ รวมถึงรู้วิธีวินิจฉัยโรคนี้ด้วยตนเองได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านม


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง ทำยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-self-exam).
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ ทำแมมโมแกรม ดิจิทัลแมมโมแกรม ต่างกันอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-screening-test).
อัลตราซาวด์เต้านม ทำอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-ultrasound).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สำรวจตัวเองอยู่เสมอว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่? ด้วยการคลำตรวจก้อนเนื้อด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ความเสี่ยงมีมากขนาดไหน รักษาหายได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม