กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ลักษณะอาการ การวินิจฉัย การรักษา และอัตราการรอดชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งอาจมีขนาดตั้งแต่น้อยกว่า 2 ซม. จนถึงใหญ่กว่า 5 ซม. และแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงแล้ว แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ
  • ในบางครั้งอาจพบมะเร็งเต้านมอักเสบในระยะนี้ จะมีอาการเต้านมบวมและแดง มีรอยบุ๋มเหมือนผิวส้ม และอาจมีก้อนที่รู้สึกได้
  • อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ของมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 เป็น 72% ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ต่อได้มากที่สุด 5 ปีหลังการวินิจฉัย
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง และหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมเป็นชนิดของมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง แต่อาจพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

โรคมะเร็งเต้านมแบ่งเป็น 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งส่วนใหญ่ โดยในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวจนกว่ามะเร็งจะเข้าสู่ระยะท้ายๆ ดังนั้นการรู้จักสังเกตอาการ ความเปลี่ยนแปลงของเต้านม และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับโรคมะมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 เพื่อให้สามารถดูแลตัวเอง และเข้าใจวิธีการรักษามากยิ่งขึ้น

ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer) คืออะไร?

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 3 ควรทำความเข้าใจการแบ่งระยะของโรคมะเร็งเสียก่อน โดยโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะแบ่งระยะของโรคด้วยระบบ TNM มีรายละเอียดดังนี้

  • T (Tumor) หมายถึง ขนาดก้อน
  • N (Lymph nodes) หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งลุกลามไป
  • M (Metastasis) หมายถึง การแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น

ผลที่ได้จากการแบ่งระยะโรคด้วยระบบ TNM จะถูกนำมาจัดอีกครั้งเป็นระยะ 0, 1, 2, 3 และ 4 นั่นเอง

โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 เป็นอย่างไร?

โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 เป็นระยะที่รุนแรงกว่ามะเร็งเต้านมระยะที่ 2 แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มากนัก โดยเซลล์มะเร็งได้แพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ต่อมน้ำเหลืองใต้กระดูกหน้าอก หรือต่อมน้ำเหลืองใต้กระดูกไหปลาร้าแล้ว

ก้อนเนื้อมะเร็งในระยะที่ 3 อาจมีขนาดตั้งแต่น้อยกว่า 2 ซม. จนถึงใหญ่กว่า 5 ซม. แต่ในบางครั้งก็อาจไม่พบมะเร็งในเนื้อเต้านมเลย

มะเร็งเต้านมในระยะนี้อาจลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าอกใต้เต้านม หรืออาจเป็นผิวหนังเต้านม หากผิวหนังของเต้านมบวม หรือเป็นแผลจากมะเร็ง นั่นอาจเป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ (Inflammatory breast cancer: IBC) ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มะเร็งเต้านมแบบอักเสบเป็นมะเร็งแบบลุกลามที่พบไม่บ่อย และเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พบได้ในมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ขึ้นไปเท่านั้น โดยจะมีอาการเต้านมบวมและแดง (เศษสามส่วนสี่ของเต้านม) ผิวเต้านมอาจมีรอยบุ๋มเหมือนผิวส้ม และอาจมีก้อนที่รู้สึกได้

การแบ่งระยะโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ด้วยระบบ TNM

ในกรณีที่ใช้การแบ่งระยะของโรคมะเร็งด้วยระบบ TNM โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ยังแบ่งย่อยเป็นแบบ 3A, 3B และ 3C มีรายละเอียดดังนี้

ลักษณะอาการมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ในกลุ่ม 3A

  • T0 N2 M0 หมายถึง ไม่มีก้อนมะเร็งในเนื้อเต้านม แต่พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือต่อมน้ำเหลืองในเต้านม
  • T1 N2 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาด 2 ซม. หรือเล็กกว่านั้น และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือต่อมน้ำเหลืองในเต้านม
  • T2 N2 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 ซม. แต่ไม่เกิน 5 ซม. และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือต่อมน้ำเหลืองในเต้านม
  • T3 N1 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่า 5 ซม. และยังไม่ลุกลามไปยังผิวหนังเต้านม หรือกล้ามเนื้อหน้าอก แต่พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • T3 N2 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. ยังไม่ลุกลามไปยังผิวหนังเต้านม หรือกล้ามเนื้อหน้าอก และพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือในต่อมน้ำเหลืองในเนื้อเต้านม

ลักษณะอาการมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ในกลุ่ม 3B

  • T4 N0 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดเท่าใดก็ได้ และลุกลามไปยังผิวหนังเต้านม หรือโตเข้าไปในผนังหน้าอก แต่ไม่ลุกลามไปยังกล้ามเนื้อ pectoralis ซึ่งอาจเป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบได้
  • T4 N1 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดเท่าใดก็ได้ อาจอยู่ชิดผิวหนัง หรือผนังหน้าอก หรืออาจเป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • T4 N2 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดเท่าใดก็ได้ และอาจลุกลามไปที่ผิวหนังเต้านม หรือผนังหน้าอก หรืออาจเป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ และพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือต่อมน้ำเหลืองในเต้านม

ลักษณะอาการมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ในกลุ่ม 3C

  • T(ใดๆ) N3 M0 หมายถึง ก้อนมะเร็งมีขนาดใดก็ได้ แต่ยังอยู่ในเนื้อเต้านมเท่านั้น โดยไม่ลุกลามไปยังผนังหน้าอก และผิวหนังเต้านม และพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือใต้กระดูกไหปลาร้า หรือตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ

ลักษณะอาการของมะเร็งเต้านมในระยะนี้อาจทำให้หลายคนกลัว หรือรู้สึกกังวล เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงทุกคนจึงควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้หญิง มักรวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ช่วยให้ผู้หญิงรู้เท่าทันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้

อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งเต้านมระยะที่ 3

อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ของมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 เป็น 72% ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ต่อได้มากที่สุด 5 ปีหลังการวินิจฉัย แต่หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 5 ปี หลังการวินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ได้นานกว่านั้นหากเข้ารับการรักษาครบถ้วน

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 

แผนการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจาย ฮอร์โมน หรือผลการทดสอบโปรตีน เช่น

กรณีที่ก้อนมะเร็งขนาดเล็ก และยังไม่ลุกลามไปยังผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อ

อาจรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อ และเนื้อเยื่อรอบๆ บางส่วนออกไป และผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซ็นติเนล (Sentinel node biopsy) เพื่อดูการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งออกจากเต้านม

กรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่านั้น รวมถึงกลุ่มที่ลุกลามไปยังผนังหน้าอก 

อาจรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านม (Mastectomy) และต่อมน้ำเหลืองออก นอกจากนี้อาจได้รับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ซึ่งบางครั้งอาจต้องทำภายหลัง เนื่องจากต้องฉายแสงก่อน

กรณีที่มะเร็งลามไปถึงผิวหนังเต้านม หรือเป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ 

รักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง ทำให้ผ่าตัดออกได้ง่ายขึ้น และยังทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่รอบๆ ก้อน และที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ชัดเจนว่า มีการลุกลามด้วย

หากไม่กำจัดเซลล์มะเร็งที่อยู่รอบๆ ก้อนมะเร็งออก จะทำให้ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัด และต้องผ่าตัดซ้ำ ทำให้แผลผ่าตัดดูไม่สวย

การตรวจติดตามหลังการรักษาหลัก

การรักษาต่อจากนั้นจะขึ้นกับสถานะของฮอร์โมน และผล HER2 โดยจะต้องมาตรวจติดตามอาการต่ออีก 5 ปี ซึ่งระหว่างนั้นอาจได้รับการรักษาทางฮอร์โมน หากมะเร็งมีความไวต่อฮอร์โมน เพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ 

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย แต่สามารถรักษาหายได้หากพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆ

ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง และหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง ทำยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-self-exam).
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ ทำแมมโมแกรม ดิจิทัลแมมโมแกรม ต่างกันอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-screening-test).
อัลตราซาวด์เต้านม ทำอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-ultrasound).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 แม้ว่าจะจะอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองมาก แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มีโอกาสรักษาหายสูงเหมือนระยะที่ 1

อ่านเพิ่ม