โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลืองเป็นเนื้อเยื่อในระบบโรคเลือด/โลหิตวิทยา มีหน้าที่สร้าง ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย เป็นเนื้อเยื่อที่มีกระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ช่องอก ช่องท้อง อุ้งเชิงกราน/ช่องท้องน้อย ม้าม และต่อมทอนซิล (จัดเป็นอวัยวะที่เป็นต่อมน้ำเหลืองด้วยทั้งคู่) นอกจากนั้นยัง มีเซลล์ต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ทั่วร่างกายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ และต่อมสร้าง ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น สมอง กระเพาะอาหาร และต่อมไทรอยด์

ต่อมน้ำเหลืองและเซลล์ต่อมน้ำเหลืองในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ทั้งหมด ที่กล่าวมา สามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ โดยต่อมน้ำเหลืองที่พบ บ่อยว่าเป็นมะเร็งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้ทั้งซ้าย/ขวา ตามลำดับ ส่วนอวัยวะที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้บ่อยคือ กระเพาะ อาหาร ลำไส้เล็ก และสมอง ตามลำดับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร ?

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จากการศึกษาเชื่อว่าน่าจะมาจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

  • ความผิดปรกติทางพันธุกรรมบางชนิด ทั้งชนิดถ่ายทอดได้และชนิด ไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการแบ่งตัวหรือการตายของเซลล์ปรกติ
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่นไวรัสเอชไอวี (HIV)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่นเชื้อเอชไพโลริ (เอชไพโลไร (H. pylor)
  • ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นโรค ภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง (โรคเอดส์) หรือในคนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • จากการได้รับสารเคมีบางชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม

รคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองพบได้บ่อยหรือไม่ ?

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งชนิดที่พบเกิดได้บ่อยทั้งในเด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย โดยติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อยในเด็กไทย และติดใน 10 อันดับแรกโรคของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ไทยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ชนิด ?

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรง ของโรคต่างกัน แต่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มฮอดจ์กิน (Hodgkin'sdisease/Hodgkin's lymphoma) และชนิดน็อนฮอดจ์กิน (NonHodgkin's lymphoma) ซึ่งชนิดนอนฮอดจ์กินจะมีความรุนแรงของ โรคสูงกว่าชนิดฮอดจ์กิน

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการอย่างไร ? 

ไม่มีอาการเฉพาะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จะมีอาการเหมือนการ อักเสบของต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ จากสาเหตุทั่วไป ทั่วไป อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่  ต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย

  • ถ้าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะอื่น อาการก็จะเป็นเช่นเดียว กับโรคมะเร็งของอวัยวะนั้นๆ (อ่านเพิ่มเติมในเรื่องโรคมะเร็งของแต่ละอวัยวะ)
  • มีไข้สูงหลายวัน เป็น ๆ หาย ๆ และ/หรือผอมลง/น้ำหนักลด และมี เหงื่อชุมตัวในตอนกลางคืน เป็น ๆ หาย ๆ อาการทั้ง 3 อาการเกิดขึ้นโดยหา สาเหตุไม่ได้ และอาจพบเพียงอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้ง 3 อาการร่วมกัน รวมเรียกว่าเป็นอาการบี(B) ส่วนคนที่ไม่มีอาการดังกล่าวเรียกว่า อาการเอ(A) โดยอาการปีจะมีความรุนแรงโรคสูงกว่าอาการเอ

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตัดต่อมน้ำเหลือง หรือตัดชิ้นเนื้อ จากต่อมน้ำเหลือง/เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ไปตรวจทางพยาธิวิทยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกระยะ ?

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมี 4 ระยะ แต่ละระยะอาจแบ่งเป็น อาการเอหรืออาการบี นอกจากนี้ ยังแบ่งต่อมน้ำเหลืองเป็น 2 ฟาก คือ ฟากที่อยู่สูงกว่ากะบังลม (ได้แก่ ศีรษะลำคอ ลำตัวช่วงบน และแขน) และ ฟากที่อยู่ต่ำกว่ากะบังลม (ได้แก่ ช่องท้องและขา)

  • ระยะที่ 1 โรคมะเร็งเกิดกับต่อมน้ำเหลืองเพียงกลุ่มเดียว และอยู่ใน ฟากเดียวกันของกะบังลม เช่นเฉพาะที่ลำคอ หรือเกิดกับต่อมน้ำเหลืองใน เนื้อเยื่อ/อวัยวะเดียว เช่นเฉพาะในกระเพาะอาหาร
  • ระยะที่ 2 เป็นโรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มยังอยู่ ในฟากเดียวกันของกะบังลม เช่นเป็นโรคในต่อมน้ำเหลืองลำคอ รักแร้ และใน ช่องอก หรือเกิดในเนื้อเยื่อ/อวัยวะเดียว แต่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ เช่น กระเพาะอาหารร่วมกับต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 3 มีโรคเกิดกับต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม โดยเกิดขึ้นทั้งสองฟาก ของกะบังลม เช่น มีโรคทั้งที่ต่อมน้ำเหลืองลำคอและต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ หรือเป็นโรคของเนื้อเยื่อ/อวัยวะหลายๆ แห่ง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง หลายๆ บริเวณ เช่น กระเพาะอาหาร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรอบๆ กระเพาะอาหาร ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง และต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้า
  • ระยะที่ 4 โรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ส่วนที่พบได้บ่อยคือ ไขกระดูก ไขสันหลัง น้ำหล่อเลี้ยงสมอง/ไขสันหลัง และสมอง

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่เท่าไร ?

แพทย์วินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่เท่าไร จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจไขกระดูก การ ตรวจน้ำไขสันหลัง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์/เอ็มอาร์ไออวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีวิธีรักษาอย่างไร ?

การรักษาหลักของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือ เคมีบำบัด แต่ถ้าก้อน มะเร็งมีขนาดโต ดื้อต่อเคมีบำบัด หรือโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจะใช้รังสีรักษาร่วมด้วย และระยะที่โรคลุกลามรุนแรงจะมีการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า และ/หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์ร่วมด้วย (ซึ่งทั้ง 2 วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายสูง เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงได้)

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาหายได้หรือไม่ ?

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงของโรค . ปานกลาง มีโอกาสรักษาหายได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะโรค การตอบสนองต่อเคมีบำบัด อายุและสุขภาพของผู้ป่วย

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ ?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ เริ่มเป็น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ เมื่อมีต่อมน้ำเหลืองโต ผิดปรกติ คลำได้ หรือมีอาการปี ควรรีบปรึกษาแพทย์

มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ ?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงได้) ดังที่ได้ กล่าวแล้ว

คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "ถาม-ตอบมะเร็งร้าย สารพัดชนิด" โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง 


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Non-Hodgkin lymphoma. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/non-hodgkin-lymphoma/)
Lymphoma: Treatment, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/146136)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 แม้ว่าจะจะอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองมาก แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มีโอกาสรักษาหายสูงเหมือนระยะที่ 1

อ่านเพิ่ม
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)

ภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม มักเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถหายไปได้เอง ถ้าอาการติดเชื้อนั้นดีขึ้น แต่บางครั้งการบวมของต่อมน้ำเหลือง ก็อาจมีสาเหตุจากโรคร้ายบางชนิดได้

อ่านเพิ่ม
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)

ภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม มักเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถหายไปได้เอง ถ้าอาการติดเชื้อนั้นดีขึ้น แต่บางครั้งการบวมของต่อมน้ำเหลือง ก็อาจมีสาเหตุจากโรคร้ายบางชนิดได้

อ่านเพิ่ม