กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 แม้ว่าจะจะอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองมาก แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มีโอกาสรักษาหายสูงเหมือนระยะที่ 1
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลักษณะอาการโดยรวมของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 คือ มีก้อนมะเร็งที่มีขนาดอย่างน้อย 2-5 ซม. ในเต้านม หรือในต่อมน้ำเหลือง
  • ฐานข้อมูลมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอัตราการรอดชีวิต 5 ปี ของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ของผู้ที่รับการรักษาสำเร็จเท่ากับ 93% แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 5 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย
  • การรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะ 2 จะมีตัวเลือกคล้ายกับการรักษาในโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เช่น ผ่าตัดก้อนมะเร็งออก ให้ยาเคมีบำบัด หรือฉายรังสี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง และหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย

ในบางครั้ง อาจตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว ซึ่งสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาอย่างครบถ้วน มีโอกาสรักษาหายสูงเหมือนกับมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เพราะแม้ว่า มะเร็งระยะนี้จะอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองมาก แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ

ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer) คืออะไร?

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 2 ควรทำความเข้าใจการแบ่งระยะของโรคมะเร็งเสียก่อน

โรคมะเร็งส่วนใหญ่รวมถึงมะเร็งเต้านม แบ่งระยะของโรคด้วยระบบ TNM มีรายละเอียดดังนี้

  • T (Tumor) หมายถึง ขนาดก้อน
  • N (Lymph nodes) หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งลุกลามไป
  • M (Metastasis) หมายถึง การแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น

โดยผลที่ได้จากการแบ่งระยะโรคด้วยระบบ TNM จะถูกนำมาจัดอีกครั้งเป็นระยะ 0, 1, 2, 3 และ 4

โรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 เป็นอย่างไร?

ลักษณะอาการโดยรวมของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 คือ มีก้อนมะเร็งที่มีขนาดอย่างน้อย 2-5 ซม. ในเต้านม หรือในต่อมน้ำเหลือง

อย่างไรก็ตาม สามารถจำแนกอาการอย่างละเอียดด้วยระบบ TNM โดยแบ่งเป็น 2A 3 รูปแบบ และ 2B 2 รูปแบบ มีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะอาการมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ในกลุ่ม 2A

  • T0 N1 M0 หมายถึง ไม่พบก้อนมะเร็งในเต้านม แต่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • T1 N1 M0 หมายถึง มีก้อนมะเร็งขนาด 2 ซม. หรือเล็กกว่า และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้อย่างน้อย 1 ต่อม
  • T2 N0 M0 หมายถึง มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. ไม่เกิน 5 ซม. และยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

ลักษณะอาการมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ในกลุ่ม 2B

  • T2 N1 M0 หมายถึง มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. แต่ไม่ใหญ่กว่า 5 ซม. และมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  • T3 N0 M0 หมายถึง มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แต่ไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

อาการของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ยาก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้หญิงมักรวมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจช่วยให้ผู้หญิงรู้เท่าทันโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

อัตราการรอดชีวิตของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

ฐานข้อมูลมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอัตราการรอดชีวิต 5 ปี ของโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ของผู้ที่รับการรักษาสำเร็จเท่ากับ 93%

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 5 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะ 2 จะมีตัวเลือกคล้ายกับการรักษาในโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การผ่าตัดก้อนมะเร็งออก โดยผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง หรือผ่าตัดเต้านมออก
  • การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน ในกรณีที่เซลล์มะเร็งเป็นชนิดตัวรับฮอร์โมน
  • การให้ยาเคมีบำบัด หรือฉายรังสี เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต หรือแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม สามารถใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด

อย่างไรก็ตาม หลังการรักษาผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจติดตามอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย แต่สามารถรักษาหายได้หากพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆ

ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง และหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ ทำแมมโมแกรม ดิจิทัลแมมโมแกรม ต่างกันอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-screening-test).
Stages of breast cancer 0-4: Treatment options and outlook. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322760)
Treatment Options for Stage II Breast Cancer. WebMD. (https://www.webmd.com/breast-cancer/stage_2_breast_cancer_treatment_options)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ลักษณะอาการ การวินิจฉัย การรักษา และอัตราการรอดชีวิต

อ่านเพิ่ม
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)

ภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม มักเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถหายไปได้เอง ถ้าอาการติดเชื้อนั้นดีขึ้น แต่บางครั้งการบวมของต่อมน้ำเหลือง ก็อาจมีสาเหตุจากโรคร้ายบางชนิดได้

อ่านเพิ่ม